วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟีนิกซ์ไท้เก๊ก : ทฤษฎีเด็ดใช้ปฏิวัติการศึกษาไทย

หลังจากที่ผมได้คิดค้น 4 ทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การคลังไท้เก๊ก  การเงินไท้เก๊ก  FX ไท้เก๊ก และ บำนาญไท้เก๊ก จนประกอบกันเป็นศาสตร์แขนงใหม่ "เศรษฐศาสตร์ไทเ้ก๊ก" เรียบร้อยแล้ว   ผมกลับได้พบรูปแบบของการสร้างทฤษฎีใหม่  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาของประเทศไทย  ผมให้ชื่อมันว่า "ทฤษฎีฟีนิกซ์ไท้เก๊ก"  (Taiji Phoenix Thoery)  โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นนี่คือ ทฤษฎีเพื่อสร้างทฤษฎีใหม่

หากคิดว่านี่เป็นการเลียนแบบ "ภาคีนกฟีนิกซ์" ในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ ละก็  คิดผิดแล้วครับ  เพราะว่า ผมและเพื่อนๆ ได้จัดตั้งกลุ่มฟีนิกซ์  มีเป้าหมายเพื่อพิชิต "ข้อสอบเอ็นทรานซ์" มาตั้งแต่สมัยเตรียมอุดมฯ เมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว  เค้าโครงเรื่องคล้ายๆ กันนี้เกิดก่อน  เจ.เค.โรลลิ่ง จะสร้างพล็อตเรื่องให้การรวมกลุ่ม "ภาคีนกฟีนิกซ์"  เพื่อหาทางพิชิตเจ้าแห่งศาสตร์มืดลอร์ดโวลเดอร์เมอร์นานหลายปีทีเดียว

แนวคิดของทฤษฎีนี้ก็คือ  จากกรอบแนวคิดของคนธรรมดา  ประกอบไปด้วย 4 จุดสร้างเป็นสี่เหลี่ยม  หากเราลากเส้นทแยงมุมเชื่อมความสัมพันธ์แบบย้อนแย้ง  ทะลุกรอบแนวคิดเดิมๆ  วาดเป็น "ปีกนกฟีนิกซ์" ขึ้นมา  จึงอาจไม่ใช่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์  (paradigm shift)   แต่เป็นการติดปีกให้กับกรอบความรู้เดิม   สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้  

ยกตัวอย่างเช่น  คนธรรมดาจะคิดว่า "สุขคือไม่ทุกข์ และ ไม่สุขคือทุกข์"  นี่คือกรอบแนวคิดปกติ  หากเราลากเส้นทแยงมุมตีทะลุกรอบเดิม  สร้างเป็น "ปีกนกฟีนิกซ์" ขึ้นมา  ก็จะได้ว่า  "สุขคือทุกข์ และ ไม่สุขคือไม่ทุกข์"  นี่ืคือ ความรู้ใหม่ในยุคสมัยนั้น  พระพุทธเ้จ้าได้้ค้นพบ  โดยเป็นการกล่าวถึงลักษณะของจิตใจที่กระเพื่อมหรือว่านิ่งๆ   ความรู้ใหม่นี้เองได้กลายมาเป็น "ศาสนาพุทธ" ในปัจจุบัน

นอกจากนี้  คนธรรมดาจะคิดว่า "นิ่งคือนิ่ง เคลื่อนคือเคลื่อน"  นี่่คือกรอบแนวคิดปกติ  จนกระทั่งปรมาจารย์จางซานฟง  ได้ค้นพบความรู้ใหม่ว่า "นิ่งคือเคลื่อน  เคลื่อนคือนิ่ง"  (อาจแปลได้ว่า  ในนิ่งมีเคลื่อน  ในเคลื่อนมีนิ่ง)   และ ได้กลายมาเป็น "มวยไท้เก๊ก" ที่โด่งดังตั้งแต่ 800 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน  ที่จริงแล้วท่านน่าจะได้รับการยกย่องให้เป็น   บิดาแห่งวิชาฟิสิกส์  ด้วยซ้ำ   มิใช่ กาลิเลโอ หรือว่า นิวตัน  เนื่องจากวางรากฐานของการหยุดนิ่งการเคลื่อนที่  การยืมแรงสะท้อนแรง  เอาไว้ทั้งหมด   และ เล่าจื๊อ ก็ได้กลายมาเป็น "ปรมาจารย์แห่งเต๋า" ก็เพราะได้ค้นพบว่า  "หยินคือหยาง หยางคือหยิน" นั่นเอง

คนธรรมดาจะคิดว่า "สสารคือสสาร และ พลังงานคือพลังงาน"  นี่คือ กรอบแนวคิดปกติ   จนกระทั่ง  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ได้ค้นพบว่า "สสารคือพลังงาน   พลังงานคือสสาร"  ท่านจึงได้กลายเป็น บิดาแห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ไป  และ สมการอันโด่งดังนั้นก็ัยังคงยืนยงมาถึงปัจจุบัน

ทางด้านเศรษฐศาสตร์   กรอบความรู้เดิมคือ "หากรัดเข็มขัดการคลังเศรษฐกิจจะแย่ลง   หากทุ่มงบประมาณไปเศรษฐกิจจะดีขึ้น"   การใช้แนวคิดแบบย้อนแย้งแบบ จึงเกิดเป็น "การคลังไท้เก๊ก" ที่สามารถจะรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ กับทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้โดยการยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะ กองทุนบำนาญ   ความรู้ใหม่ชี้ว่า  สำนักเคนส์บอกว่า ค่าตัวทวีสูงกว่า 1 นั้นเป็นจริง เพราะ ในอดีต 80 ปีก่อนนั้นกองทุนบำนาญต่างๆ ไม่มี  จึงไม่มีตัวดูดพลังของนโยบายการคลัง  และ สำนักนีโอคลาสสิคที่บอกว่า ค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 นั้นก็เป็นจริงอีก เพราะ ปัจจุบันกองทุนบำนาญต่างๆ มีมากมาย  รัฐบาลใส่เงินทั้งสมทบโดยตรง  สมทบอ้อม (หักลดหย่อนภาษี)  หรือ การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร ก็ล้วนทำให้เงินเหล่านั้นเปลี่ยนสภาพเป็นนิ่งในกองทุน  ไม่ได้มาหมุนเศรษฐกิจแต่อย่างใด   การค้นพบว่าบางโครงการนั้นมีค่าตัวทวี "ติดลบ" กันเลย  การรัดเข็มขัดในโครงการเหล่านี้จึงช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้

ผมใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะคิดค้น "การคลังไท้เก๊ก"  ออกมาได้ (แต่ยังมีนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลหลายท่านที่ยังเดินวนๆ อยู่ในกรอบความรู้ของเคนส์อยู่เลย)  หากผมรู้เรื่องราวของ "ฟีนิกซ์ไท้เก๊ก" มาก่อน  ก็คงไม่ต้องหลงทางไปนานขนาดนั้น   อาจย่นระยะเวลาเหลือแค่ 8 วินาทีเท่านั้นเอง

"ฟีนิกซ์ไท้เก๊ก"  จึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะ  หากบทความนี้ได้เผยแพร่ออกไปจะทำให้ย่นระยะเวลาการคิดทฤษฎีใหม่ๆ ลงได้มาก    ภายใน 1 ปีก็อาจมีคนไทยคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ ให้กับโลกได้เป็นร้อยทฤษฎี   บางคนอาจกำลังเรียนอยู่ระดับมัธยมหรือเป็นนักศึกษาด้วยซ้ำ  ไม่เพียงแต่ทำให้ไทยได้เป็นผู้นำด้านความรู้วิชาการในกลุ่มประเทศ AEC เท่านั้น   แต่ยังนำหน้าประเทศจีนและญี่ปุ่นอีกด้วย

นอกจากนี้  วิทยาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะฯ)   วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (แพทยศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ เภสัชศาสตร์)  รวมไปถึงด้านสังคมศาสตร์ (เศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์  นิติศาสตร์)  ชาวตะวันตกได้ก้าวหน้าอย่างมากและถ่ายทอดให้กับเอเชียมาหลายร้อยปี    โดยอาจเริ่มมาตั้งแต่สมัยกาลิเลโอ (บิดาแห่งวิทยาศาตร์ยุคใหม่) ได้ทำการทดลองโยนก้อนหินที่หอเอนปิซ่าเมื่อ 500 ปีก่อนหน้านี้   ไม่แน่ว่าไทยอาจเปลี่ยนสถานะจากการเป็นลูกศิษย์หลานศิษย์ของฝรั่ง  กลายมาเป็น  อาจารย์เพื่อถ่ายทอดวิทยาการให้แก่ชาวตะวันตกบ้างก็เป็นได้

ความคิดที่ไม่ได้ไปสู่การกระทำนั้นบางทีมันก็ไร้ประโยชน์  นั่นก็อาจจะจริง  แต่ลองมองย้อนไปดูเราจะพบว่า  คนเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคนรู้จัก จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ในฐานะ "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค"  ขณะที่คนนำทฤษฎีเคนส์ไปใช้คนแรกนั้นน่าจะเป็น  อดีต รมว.คลังของญี่ปุ่น สามารถฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุคนั้นภายในปีเดียว เขาได้รับฉายา "เคนส์แห่งญี่ปุ่น"  แต่มีคนเรียนเศรษฐศาสตร์รู้จักชื่อของเขากี่คน .....   คนเรียนฟิสิกส์ทุกคนรู้จัก  อัลเบิร์ต ไอสไตน์  ในฐานะ "บิดาแห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์" แต่ถามว่ามีกี่คนที่รู้จักชื่อของคนสร้างระเบิดนิวเคลียร์ และ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ??   โลกให้เครดิตแก่ "นักคิด" หรือ "นักทำ" มากกว่ากันละครับ ??

การศึกษาไทยที่ปฏิรูปอย่างไรก็ไม่สำเร็จเสียที  หายใจรวยรินใกล้สิ้นชีพ  ก็อาจฟื้นชีวิตขึ้นมาใหม่กลายเป็น "นกฟีินิกซ์" ที่สดใสได้อย่างเหลือเชื่อ  นี่อาจเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนการศึกษาโดยสิ้นเชิง เพราะ ความรู้เก่าๆ เดิมๆ นั้นหาได้จาก google และ youtube หมดแล้ว   นี่ไม่ใช่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ไทยวิ่งตามหลังเพื่อนบ้านได้ทัน  แต่เป็นการ "ปฏิวัติการศึกษา" เพื่อให้ไทยขึ้นไปอยู่ระดับแนวหน้าด้านวิทยาการของโลกกันเลยทีเดียว  ......  ฝันไกลไปหน่อยไหมครับ ??

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Econ.Cliff หน้าผาทางเศรษฐศาสตร์

"หน้าผาทางเศรษฐศาสตร์"  อาจเป็นคำศัพท์ที่ค้นหาความหมายได้ยากหน่อยใน google  เพราะเป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้นมาใหม่   แนวคิดคือ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามแนวทฤษฎีเดิมๆ  เมื่อไปถึงจุดหนึ่่งจำเป็นจะต้องมีการกลับทิศทาง  ก่อให้เกิดสภาพการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้านเศรษฐกิจ  อันรวมถึง  การคลัง การเงิน และ อัตราแลกเปลี่ยน

Fiscal Cliff  "หน้าผาการคลัง" หมายถึง  การรัดเข็มขัดการคลังอย่างเร็ว  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจได้  เรื่องนี้ทางอเมริกาเป็นห่วงมากๆ ว่าอาจเกิดขึ้นได้ในปี 2013 หลังเลือกตั้งประธานาธิบดี  หากไม่เร่งรีบแก้ไขกฏหมายด้านลดหย่อนภาษีเสียก่อน

ในความเป็นจริงแล้ว  เมื่อทฤษฎีเคนส์ เดินหน้าไปเรื่อยๆ  ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระดับต่ำเนื่องจาก โครงสร้างประชากรเปลี่ยนจาก "พีระมิด" เป็น "โอ่งน้ำ" ทำให้การเติบโตชะลอตัวลงมากโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว   หนี้สินภาครัฐต่อ GDP จะวิ่งสูงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ต้องมีการพิจารณาจะ  "รัดเข็มขัดการคลัง" อยู่ดี  ขึ้นกับว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น   และ  ประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ และ ประเทศอ่อนแอในยูโรโซน (PIIGS) นั้นได้เลือกที่จะเดินตก "หน้าผาการคลัง" ไปแล้วด้วยซ้ำ   โดยได้เลือกหนทางรัดเข็มขัดการคลัง  และผลลัพธ์คือ เศรษฐกิจเดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบ 2  ไปแล้ว

วิธีแก้ไขในเรื่องนี้คือ "การคลังไท้เก๊ก" ที่ใช้แนวคิด "ยืมพลัง" และ "นิ่งคือเคลื่อน" ของกองทุนต่างๆ โดยเฉพาะกองทุนบำนาญ  มาเพื่อให้เอกชนสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้เอง โดยพึ่งพาพลังของภาครัฐลดลง  วิธีนี้จึงสามารถจะรัดเข็มขัดการคลังไปพร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจได้

Monetary Cliff  "หน้าผาการเงิน"  หมายถึง สภาพที่ประเทศต่างๆ ได้พยายามสกัดเงินเฟ้อด้วย การขึ้นอัตราดอกเบี้ย   มีการเพิ่มปริมาณเงิน (M2) มากกว่าระดับการเิติบโตทางเศรษฐกิจรวมเงินเฟ้อ (Nominal GDP Growth)   ซึ่งเป็นการสร้างภาวะฟองสบู่ให้เกิดขึ้น   เมื่อขึ้นดอกเบี้ยก็ยิ่งดึงดูดเงินจากต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไรมากขึ้น  แทนที่จะสกัดเงินเฟ้อ  กลับยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นจากต้นทุนการเงินที่เพิ่ม และ จากปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาเก็งกำไร

เมื่ออัตราดอกเบี้้ยสูงขึ้นเรื่อยๆ  ไปถึงจุดหนึ่งจะเหมือนกับการนำเข็มไปจิ้มลูกโป่ง  ซึ่งอันตรายมากๆ ที่มันจะแตกในที่สุด  โดยทฤษฎีการเงินเดิมๆ ที่ว่า  "ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ"  นำมาซึ่งผลลัพธ์ของวิกฤติวาซาบิในญี่ปุ่นปี 1991  แทบไม่น่าเชื่อว่าก่อนหน้านั้นญี่ปุ่นได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ไปถึง 6% เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ แต่ความจริงแล้วมันสกัดการเิติบโตและทำให้ฟองสบู่แตก  จนต้องลดดอกเบี้ยลดอย่างเร็วเป็น "หน้าผา" แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่นัก  เศรษฐกิจติดอยู่ใน "กับดักสภาพคล่อง" มาถึง 20 ปี  นอกจากนี้ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาปี 2008 ก็เช่นเดียวกัน  อเมริกาได้ขึ้นดอกเบี่้ยนโยบายจาก 1% ไปจนถึง 5.25% เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ  แต่ผลลัพธ์กลับเป็นการทำให้ฟองสบู่อสังหาฯ แตกลง  และ วิกฤติได้ลุกลามไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก

เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน QE ไปส่งผลให้ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดียและีจีน)  ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อในปี 2010-11  เนื่องจากการดูดซับสภาพคล่องไม่หมดจึงมีการเพิ่มของปริมาณเงิน (M2) วิ่งเร็วมาก  ประเทศจีนสูงถึง 28%  อินเดียสูงถึง 22%  ทั้งๆที่ควรดูแลไม่ให้เกิน 12-15% เท่านั้น   เมื่อ บราซิลขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปถึง 12.5% และ อินเดีย 8.5%  ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกินไปกว่าเศรษฐกิจจะรับได้  ฟองสบู่ก็แตกตัวออก  การเติบโตลดลงกว่าระดับศํกยภาพอย่างเร็ว  บราซิลเหลือแค่ 0.8%  อินเดียเหลือแค่ 5.3% ในไตรมาสล่าสุด   ทั้งๆ ที่น่าจะโตได้ระดับ 5% และ 8% ตามลำดับ   หากรวมผลจากค่าเงินที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ลงไปแล้วราว 20%   แปลได้ว่า  GDP ของ 2 ประเทศใหญ่นี้เดินหน้าสู่ภาวะในถดถอยในรูปเงินดอลลาร์ไปแล้ว  สถานการณ์อาจเลวร้ายลงกว่านี้ได้อีก   โดยเศรษฐกิจ BRIC อาจชะลอตัวถึงขั้นถดถอยเมื่อรวมผลลัพธ์กับวิกฤติในยูโรโซนจะกลายเป็น "วิกฤติหมูหัน"   อาจกล่าวได้ว่า BRIC กลายเป็นเหยื่อของมาตรการ QE  ที่พิมพ์เงินจำนวนมากออกมาจากประเทศพัฒนาแล้ว

"หน้าผาการเงิน" จึงอันตรายยิ่งนัก  การเิดินขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยหวังสกัดเงินเฟ้อ เป็นแนวคิดที่ผิดพลาดเพราะมันจะไม่ช่วยสกัดเงินเฟ้อแ่ต่จะสกัดการเติบโตแทน   ในที่สุดแล้วจะตกหน้าผากลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในที่สุด   "การเงินไท้เก๊ก" จึงเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ  เพราะจะลดต้นทุนทางการเงินลง  พร้อมๆ กับ ลดแรงจูงใจการดึงดูดเงินเก็งกำไรจากต่างชาติอีกด้วย  นอกจากนี้จะต้องดูแล M2 ให้อยู่ระดับเหมาะสมไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่โดยตั้งมีการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันเงินร้อนที่เข้ามาเก็งกำไรและดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกไป

Forex Cliff  "หน้าผาอัตราแลกเปลี่ยน"  คือ เมื่อการรักษาการผูกค่าเงินคงที่ไว้ไม่ได้  เงินตราต่างประเทศไหลออกอย่า่งต่อเนื่อง  จนต้องมีการลดค่าเงินจากระดับเดิม  จะ่ส่งผลให้เกิดวิกฤติค่าเงิน เช่น วิกฤติเตกีล่าในเม็กซิโก และ วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย

แนวคิดของทฤษฎีอัตราแลกเปลี่่ยนเดิมๆ คือ การพยามรักษาให้มีเสถียรภาพและคงที่  แต่ในความเป็นจริงแล้วมันกลับทำให้เสียสมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นอย่างมาก  เพราะ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าประเทศอ้างอิง   โดย  กรีซ ผูกค่าเงินกับ เยอรมัน ย่อมเป็นไปไม่ได้โดยธรรมชาิติอยู่แล้ว   เมื่อไปถึงจุดหนึ่งที่ทนไม่ได้ก็ต้องมีการลดค่าเงินลงอยู่ดี  และ ความเีสียหายตรงนี้น่าจะถึงระดับวิกฤติ   โดย GDP ของไทยนั้นลดลงไป 10% คิดเป็นเงินบาท  แต่หากรวมผลกระทบจากค่าเงินที่อ่อนลง 40% เมื่อเทียบกับดอลลาร์  หมายถึง  GDP ไทยสูญหายไปถึง 50% เลยทีเดียวหากคิดเป็นเงินดอลลาร์ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง

Forex ไท้เก๊ก  จึงเป็นทางแก้ไขโดยให้ดูแลดุลบัญชีเดินสะัพัดอย่าให้ขาดดุลเกินกว่า 3% ต่อปีติดต่อกัน 3 ปี และ ดูแลอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไม่ให้เกิดส่วนต่าง (premium)  เกินกว่า 3% กับประเทศอ้างอิง  กรณีของเงินยูโรนั้น  การกดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของ อิตาลี และ สเปน ลงเพื่อให้ใช้ระบบ "ยูโร" ต่อไปโดยการยืมพลังจาก CDS นั้นอาจพอเป็นไปได้   แต่สำหรับกรีซแล้วเป็นนั่นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย    การนำค่าเงิน 3 สกุลที่เหมาะสมมาใช้กับแต่ละกลุ่มประเทศ  เช่น Eura Euri และ Euro  ก็อาจเป็นคำตอบที่ดีกว่า

จะเห็นได้ว่าแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เดิมๆ นั้นไม่เพียงแต่ไม่สามารถนำพาเศรษฐกิจโลกให้เดินออกจากเขาวงกตแห่ง "กับดักเศรษฐกิจ" ได้เท่านั้น  เมื่อมองย้อนอดีตดูกลับพบว่า  "ป้ายบอกทาง" เหล่านั้นล้าสมัยและผิดพลาด  มักจะนำพาให้ประเทศต่างๆ  เดินหน้าไปสู่  "หน้าผาทางเศรษฐศาสตร์" และ ประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้งหลายหน   ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่คนขับซึ่งปกติมักจะมีความเชี่ยวชาญชำนาญอยู่แล้ว  แต่ปัญหากลับอยู่ที่ "ป้ายบอกทาง" ต่างหาก   บางทีโลกอาจต้องพิจารณาการนำทางด้วย GPS ที่ทันสมัยกว่าป้ายบอกทางแบบเดิมๆ  และ  "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก"  อาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบนั้นครับ