บิดาแห่งทฤษฎีการเงิน ก็คือ เออร์วิง ฟิชเชอร์ โดย มิลตัน ฟรีดแมน (เจ้าสำนักการนิยม) ได้กล่าวไว้ว่า "ฟิชเชอร์" เป็นนักเศรษฐศาสตร์ของอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งผมก็เห็นด้วยตามนั้น
MV=PQ คือ สมการของฟิชเชอร์ ที่ได้ถ่ายทอดกันมาถึงกว่า 1 ศตวรรษแล้ว โดย M คือ ปริมาณเงิน V คือ การหมุนของเงิน P คือ ระดับราคา และ Q คือ ผลผลิตหรือ GDP
เมื่อ diff แล้วก็จะได้สมการ อัตราการเปลี่ยนแปลง M + อัตราการเปลี่ยนแปลง V = อัตราการเปลี่ยนแปลง P + อัตราการเปลี่ยนแปลง Q และ เมื่อสมมติฐานกำหนดให้ V คงที่จากรูปแบบการบริโภคที่เหมือนเดิม หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์ ดังนัน สรุปได้ว่า อัตราการเพิ่มปริมาณเงิน เท่ากับ อัตราการเพิ่มขึ้นของ nominal GDP (real GDP+อัตราเงินเฟ้อ)
นั่นหมายถึง การลดอัตราดอกเบี้ย และ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน จะช่วยเร่งให้ทั้ง GDP และ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และ จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามหากขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ นี่นำไปสู่ "นโยบายการเงิน" นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ผมพบว่า V ไม่ได้คงที่ ไม่สามารถจะตั้งสมมติฐานที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิด V จะลดลงโดยอัตโนมัติหากเพิ่ม M ในสมัยของ ฟิชเชอร์ อาจกล่าวได้ว่า ตลาดของสต็อก (ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดอสังหาฯ เงินฝาก สินเชื่อ และ กองทุนบำนาญ) อาจมีขนาดที่เล็กกว่า GDP อยู่มาก ดังนั้น การเพิ่มปริมาณเงิน M จึงไปส่่งผลเกือบทั้งหมดที่ P และ Q โดย V แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้นมาก ค่า V จะลดลงเมื่อ M เพิ่มขึ้น
ผลสรุปก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการเพิ่มปริมาณเงิน จะไม่ช่วยเร่งเงินเฟ้อ แม้ว่าทำให้ Q สูงขึ้นเล็กน้อยจากผลของความมั่งคั่ง (wealth effect) เมื่อ V ลดลง จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ (P) ชะลอตัวลงต่่างหาก และ ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรือ การลดปริมาณเงินจะไม่สกัดเงินเฟ้อ แต่กลับทำให้ค่า P หรืออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่างหาก เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายการเงินทั่วโลก
โดยประธาน ECB นายมาริโอ ดาร์กี ที่พยายามเร่งเงินเฟ้อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการทำแบบทิศทางนั่นกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหาก โดยยูโรโซนมีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และ ประเทศ PIIGS นั่นเข้าเขตอัตราเงินฝืดในเดือน กย.ที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้าม ประเทศรัสเซีย ได้พยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่า อัตราเงินเฟ้อของรัสเซียวิ่งไปเรื่อยๆ จนสูงสุดในรอบ 3 ปีกันเลย
แล้วผู้กำหนดนโยบายการเงินไม่เอะใจบ้างหรือ..... มันเป็นเรื่องยากที่เชื่อได้ว่า เรื่องในตำราคือสิ่งที่ผิด เหมือนักฟิสิกส์ คงจะมีน้อยคนนักที่บอกว่า สมการในตำราอย่าง F=ma ของนิวตัน หรือ E=mc^2 ของไอน์สไตน์ เป็นสมการที่ผิดพลาด อย่างไรก็ดี ทางสังคมศาสตร์ สามารถศึกษาผลลัพธ์ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ หากสังเกตเพิ่มขึ้นอีกสักนิด ก็จะพบว่า สมการการเงินของฟิชเชอร์นั้นเริ่มมีปัญหาเสียแล้ว
แล้วเมื่อศึกษาถึงผลกระทบของ QE ก็จะพบว่า ประเทศสหรัฐฯ และ อังกฤษ ก่อนหน้านี้จะมีอัตราเงินเฟ้อระดับสูงระดับ 2-4% แต่เมื่อใช้ QE ปรากฏว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือระดับ 1% เศษเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการเงินเดิม แต่เป็นไปตามแนวคิดของทฤษฎี "การเงินไท้เก๊ก" คือ การเพิ่มปริมาณเงินจะกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหากไม่ใช่เพิ่มสูงขึ้น
บทสรุปตรงนี้ก็คือ โลกควรพิจารณานโยบายการเงินกันใหม่ทั่วโลก ซึ่งดูเหมือนว่าผู้กำหนดนโยบายการเงิน จะทำแบบผิดทิศผิดทางเสียแล้ว ดังนั้นอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกันใหม่หมด
ผมขอสมัคร 2 มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่และพิสูจน์การหักล้างทฤษฏีการเงินการคลังเดิม ดำเนินการ "ปฏิบัติการไท้เก๊ก" เสนอข่าวต่อสื่อ รวมถึงเผยแพร่ความรู้ใหม่ต่อนักเรียนม.ปลายและนักศึกษาไทยก่อน จะนำเผยแพร่ไปสู่ระดับโลก เร่งติดต่อเข้ามานะครับ prawitruang@gmail.com
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
หักล้างทฤษฎีเคนส์ : ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
การหักล้างทฤษฎี ปกติแล้วในรอบ 1 ศตวรรษ จึงจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากเย็นยิ่ง เหมือน โคเปอร์นิคัสและกาลิเลโอหักล้างทฤษฎีโลกแบนและเป็นศูนย์กลางจักรวาล ดาร์วิน หักล้างทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก ไอน์สไตน์หักล้างกฎนิวตัน หรือแม้แต่ เคนส์หักล้างทฤษฎีของอดัม สมิธ
หลังจากผ่านไปหลายปี ในที่สุดผมได้สร้างสมการของ "การคลังไท้เก๊ก" ที่คิดว่าสมบูรณ์ได้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้หักล้างทฤษฎีการคลังของเคนส์ ซึ่งก็คือบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การคลังนั่นเอง ทฤษฎีต่างๆ มักจะมี สมการ เข้าไปเพื่ออธิบายด้วยเสมอ จะขอนำเสนอดังต่อไปนี้
ในกรอบของเคนส์ นั้น การใช้จ่ายภาครัฐ G = Gc+Gi เข้านั้น คือ มีเพียง 2 พจน์ ที่การใช้จ่ายภาครัฐมีไว้เพื่อการบริโภค และ การลงทุน ทำให้สมการการคลังคือ
การเปลี่ยนแปลง Y = M * การเปลี่ยนแปลง G
หรือว่าการเปลี่ยนแปลงของ GDP เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายภาครัฐ คูณด้วยตัวทวี (Multiplier) นั่นเอง
สำนักเคนส์บอกว่า M นั้นมากกว่า 1 ขณะที่สำนักนีโอคลาสิกบอกว่า M นั้นอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ต่างหาก
นี่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ส่วนการคลังไท้เก๊ก บอกว่าถูกต้องทั้ง 2 สำนัก และ ผิดทั้ง 2 สำนักด้วย
การคลังไท้เก๊ก ได้ทำให้สมการยาวขึ้นเป็น 6 พจน์ คือ G = Gc+Gi+Gx+Gm+Gs+Gp และ สมการของการคลังไท้เก๊ก ก็คือ การเปลี่ยนแปลง Y = ผลรวมของ Mi * การเปลี่ยนแปลง Gi โดย i ตั้งแต่ 1 ถึง 6 นั่นเอง
โดยอธิบายและยกตัวอย่างได้คร่าวๆ ดังนี้
Gc คือ ภาครัฐใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการบริโภค เช่น การแจกเช็คช่วยชาติ และ การประกันรายได้ชาวนา ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และ การแจกเงินให้ชาวนาและชาวสวนยาง ในรัฐบาลประยุทธ์
Gi คือ ภาครัฐใช้จ่ายเงินเพื่อลงทุนสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ นี่คือสิ่งที่เคนส์ มุ่งหวังให้ใช้เป็นหลัก
Gx คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่ใส่ลงเพื่อกระตุ้นให้มีการส่งออกมากขึ้น เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ส่งออก และ การให้สิทธิ BOI แก่บริษัทส่งออก เป็นต้น
3 พจน์ข้างต้นนั้นไม่มีปัญหาเลย ค่าตัวทวีเป็นไปตามที่ เคนส์ ว่าไว้ คือ มากกว่า 1 อย่างไรก็ดี ปัญหาอยู่ที่ 3 พจน์ต่อไป
Gm คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวกับการนำเข้า เช่น สมมติหากรัฐเพิ่มภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าจากประเทศใน AEC ก็จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม (หรือเป็นการรัดเข็มขัดการคลัง) ในเวลาเดียวกันการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น GDP ของประเทศกลับเพิ่มขึ้น ซึี่งเรื่องแบบนี้ ไม่ได้อยู่ในกรอบความคิดของทฤษฎีเคนส์เลย ค่าตัวทวีในส่วนนี้มีค่า "ติดลบ"
Gs คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเก็บสต็อก ทำให้เงินไม่หมุน โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้นโยบายแนวนี้มาก เช่น การรับจำนำข้าวราคาสูง และ การซื้อยางเก็บสต็อก แม้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น แต่ถูกชดเชยความเสียหายจาก การส่งออกที่ลดลง การเสื่อมค่าของสต็อก และ การทุจริตแล้ว ทำให้ค่าตัวทวีของนโยบายแนวนี้เข้าใกล้ "ศูนย์" นอกจากนี้ การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ด้วย เพราะเงินจะไหลเข้าแบงก์ และ กองทุนบำนาญเป็นหลัก
Gp คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อดูดเงินภาคเอกชนไปร่วมออมด้วย ทำให้การใช้จ่ายในปัจจุบันลดลง หรือ GDP ต่ำลงนั่นเอง โดยการสมทบ กบข. การให้สิทธิภาษีสูงๆ ในกองทุนอย่าง RMF, LTF ก็เข้าประเด็นนี้ได้ ขณะที่การให้ "สินเชื่อไท้เก๊ก" ด้วยการให้ผู้ประกันตนยืมเงินออมตนเองมาใช้ได้ก่อน โดยรัฐเก็บภาษีดอกเบี้ยบางส่วนนั้น จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม โดยเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย ค่าตัวทวีของเรื่องนี้จึง "ติดลบ"
นี่เป็นการเปลี่ยนกรอบกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของทฤษฎีเคนส์และสมการการคลังเดิมไปเลย จากที่หากรัฐทุ่มงบแล้วเศรษฐกิจจะต้องดีขึ้น และ รัดเข็มขัดแล้วเศรษฐกิจจะต้องแย่ลงนั้น กลับพบว่าไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะในส่วนของ Gm และ Gp จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามได้
ในยุคของเคนส์นั้น ไม่มีกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนบำนาญมากนัก ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อการบริโภค และ การลงทุนจริงๆ ค่าตัวทวีจึงมากว่า 1 นั้นถูกต้องแต่ในยุคต่อมา รัฐบาลต้องใช้เงินต่างๆ ที่มีค่าตัวทวีต่ำลงมาก ถึงขั้น "ติดลบ" ก็มี ดังนั้น แนวคิดของสำนักนีโอคลาสสิกก็ถูกต้องเช่นกัน อย่างไรก็ดีทั้ง 2 สำนักก็ผิดที่ไม่ได้กล่าวถึง ค่าตัวทวีติดลบ (Negative Multiplier) เอาไว้เลย จึงไม่มีแนวทางที่จะช่วยให้รัฐสามารถรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ ไปกับการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นด้วย
หากจะพูดกันตรงๆ แบบเติมฝันนิดหน่อยก็คือ "เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากพัฒนาต่อน่าจะไปได้ถึงรางวัลโนเบล เพราะ เป็นเรื่องสำคัญในรอบศตวรรษไม่ใช่แค่ในรอบปี ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตำราเศรษฐกิจมหภาคกันใหม่ทั้งโลก"
ผมจึงคิด "ปฏิบัติการไท้เก๊ก" ขึ้นมา โดยขอรับสมัคร 2 มหาวิทยาลัย และ 2 สื่อ เราจะร่วมกันประกาศข่าวใหญ่ของโลกในเรื่องการหักล้างทฤษฎีการคลัง และ การเงินของโลก 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศข่าวการหักล้างทฤษฎีการเงินและการคลัง รวมถึงการร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่ต่อไปด้วยกัน
2. จัดพิมพ์ตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคใหม่ ฉบับหักล้างทฤษฎีเดิม ให้นักเรียนและนักศึกษาไทย
3. อีก 1 ปีให้หลังจึงทำการแปลเพื่อเผยแพร่ตำราเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องนี้มีแต่ "ได้" กับ "ได้" และ "ได้" โดยนักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องกันใหม่ และ มีความรู้ที่เหนือชั้นกว่า นศ.ของมหาวิทยาลัยท็อปเทนของโลก มหาวิทยาลัยไทยจะได้เป็นผู้นำในด้านนี้ และ ผลิตตำราให้แก่นักศึกษาทั่วโลกโอกาสติด Top 100 ของโลกนั้นไม่ยาก ส่วนประเทศไทยนั้น ไม่เพียงแต่จะได้นำหน้าประเทศ JKS (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์) แต่ยังนำหน้าประเทศผู้นำด้านการศึกษาอย่าง สหรัฐฯ และ อังกฤษ อีกด้วย ซึ่ง 2 ประเทศนี้ก็คือ ประเทศที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก และเป็นแหล่งก่อตั้งทฤษฎีการเงินและการคลัง นั่นเอง
หากพูดแบบเว่อร์ๆ หน่อยก็คือ นี่นับเป็น "โอกาสทองในรอบศตวรรษ"ของไทยเลยทีเดียวที่จะทำเรื่องแบบนี้ได้ โดยไม่ต้องรอให้ สปช.ด้านการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาไทยให้แซงกลับประเทศลาว เพราะ เรื่องนี้คือ "การปฏิวัติการศึกษาไทย" แบบเป็นฝันของฝันอีกที
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องใช้ความกล้าหาญมาก เพราะเหมือนกับเดินไปบอกอาจารย์เศรษฐศาสตร์ทั่วโลกว่า "พี่ครับ พวกพี่กำลังสอนสิ่งบกพร่องผิดพลาดให้นักเรียน นักศึกษาอยู่นี่ จะฝืนสอนต่อไปหรือ ควรจะต้องรีบเร่งปรับเปลี่ยนนะครับ" และ เป็นการบอกผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังทั่วโลกว่า "สิ่งที่พวกท่านได้ร่ำเรียนมานั้น มีข้อบกพร่องผิดพลาด ทำให้อาจออกนโยบายการเงินการคลังที่บกพร่องผิดพลาดออกมาได้ ดังนั้น ควรจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนะครับ" แต่ผมขอให้มาร่วมกันกล้าหาญอย่างสร้างสรรค์นะครับ
ดังนั้น กรุณารีบติดต่อเข้ามา เพื่อร่วมกันสานฝันที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยด้วยกัน เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยนะครับ prawitruang@gmail.com
ปล. บทความหน้าผมจะเขียนเกี่ยวกับ "การหักล้างทฤษฎีการเงิน" ครับ
หลังจากผ่านไปหลายปี ในที่สุดผมได้สร้างสมการของ "การคลังไท้เก๊ก" ที่คิดว่าสมบูรณ์ได้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้หักล้างทฤษฎีการคลังของเคนส์ ซึ่งก็คือบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การคลังนั่นเอง ทฤษฎีต่างๆ มักจะมี สมการ เข้าไปเพื่ออธิบายด้วยเสมอ จะขอนำเสนอดังต่อไปนี้
ในกรอบของเคนส์ นั้น การใช้จ่ายภาครัฐ G = Gc+Gi เข้านั้น คือ มีเพียง 2 พจน์ ที่การใช้จ่ายภาครัฐมีไว้เพื่อการบริโภค และ การลงทุน ทำให้สมการการคลังคือ
การเปลี่ยนแปลง Y = M * การเปลี่ยนแปลง G
หรือว่าการเปลี่ยนแปลงของ GDP เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายภาครัฐ คูณด้วยตัวทวี (Multiplier) นั่นเอง
สำนักเคนส์บอกว่า M นั้นมากกว่า 1 ขณะที่สำนักนีโอคลาสิกบอกว่า M นั้นอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ต่างหาก
นี่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ส่วนการคลังไท้เก๊ก บอกว่าถูกต้องทั้ง 2 สำนัก และ ผิดทั้ง 2 สำนักด้วย
การคลังไท้เก๊ก ได้ทำให้สมการยาวขึ้นเป็น 6 พจน์ คือ G = Gc+Gi+Gx+Gm+Gs+Gp และ สมการของการคลังไท้เก๊ก ก็คือ การเปลี่ยนแปลง Y = ผลรวมของ Mi * การเปลี่ยนแปลง Gi โดย i ตั้งแต่ 1 ถึง 6 นั่นเอง
โดยอธิบายและยกตัวอย่างได้คร่าวๆ ดังนี้
Gc คือ ภาครัฐใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการบริโภค เช่น การแจกเช็คช่วยชาติ และ การประกันรายได้ชาวนา ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และ การแจกเงินให้ชาวนาและชาวสวนยาง ในรัฐบาลประยุทธ์
Gi คือ ภาครัฐใช้จ่ายเงินเพื่อลงทุนสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ นี่คือสิ่งที่เคนส์ มุ่งหวังให้ใช้เป็นหลัก
Gx คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่ใส่ลงเพื่อกระตุ้นให้มีการส่งออกมากขึ้น เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ส่งออก และ การให้สิทธิ BOI แก่บริษัทส่งออก เป็นต้น
3 พจน์ข้างต้นนั้นไม่มีปัญหาเลย ค่าตัวทวีเป็นไปตามที่ เคนส์ ว่าไว้ คือ มากกว่า 1 อย่างไรก็ดี ปัญหาอยู่ที่ 3 พจน์ต่อไป
Gm คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวกับการนำเข้า เช่น สมมติหากรัฐเพิ่มภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าจากประเทศใน AEC ก็จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม (หรือเป็นการรัดเข็มขัดการคลัง) ในเวลาเดียวกันการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น GDP ของประเทศกลับเพิ่มขึ้น ซึี่งเรื่องแบบนี้ ไม่ได้อยู่ในกรอบความคิดของทฤษฎีเคนส์เลย ค่าตัวทวีในส่วนนี้มีค่า "ติดลบ"
Gs คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเก็บสต็อก ทำให้เงินไม่หมุน โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้นโยบายแนวนี้มาก เช่น การรับจำนำข้าวราคาสูง และ การซื้อยางเก็บสต็อก แม้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น แต่ถูกชดเชยความเสียหายจาก การส่งออกที่ลดลง การเสื่อมค่าของสต็อก และ การทุจริตแล้ว ทำให้ค่าตัวทวีของนโยบายแนวนี้เข้าใกล้ "ศูนย์" นอกจากนี้ การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ด้วย เพราะเงินจะไหลเข้าแบงก์ และ กองทุนบำนาญเป็นหลัก
Gp คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อดูดเงินภาคเอกชนไปร่วมออมด้วย ทำให้การใช้จ่ายในปัจจุบันลดลง หรือ GDP ต่ำลงนั่นเอง โดยการสมทบ กบข. การให้สิทธิภาษีสูงๆ ในกองทุนอย่าง RMF, LTF ก็เข้าประเด็นนี้ได้ ขณะที่การให้ "สินเชื่อไท้เก๊ก" ด้วยการให้ผู้ประกันตนยืมเงินออมตนเองมาใช้ได้ก่อน โดยรัฐเก็บภาษีดอกเบี้ยบางส่วนนั้น จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม โดยเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย ค่าตัวทวีของเรื่องนี้จึง "ติดลบ"
นี่เป็นการเปลี่ยนกรอบกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของทฤษฎีเคนส์และสมการการคลังเดิมไปเลย จากที่หากรัฐทุ่มงบแล้วเศรษฐกิจจะต้องดีขึ้น และ รัดเข็มขัดแล้วเศรษฐกิจจะต้องแย่ลงนั้น กลับพบว่าไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะในส่วนของ Gm และ Gp จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามได้
ในยุคของเคนส์นั้น ไม่มีกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนบำนาญมากนัก ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อการบริโภค และ การลงทุนจริงๆ ค่าตัวทวีจึงมากว่า 1 นั้นถูกต้องแต่ในยุคต่อมา รัฐบาลต้องใช้เงินต่างๆ ที่มีค่าตัวทวีต่ำลงมาก ถึงขั้น "ติดลบ" ก็มี ดังนั้น แนวคิดของสำนักนีโอคลาสสิกก็ถูกต้องเช่นกัน อย่างไรก็ดีทั้ง 2 สำนักก็ผิดที่ไม่ได้กล่าวถึง ค่าตัวทวีติดลบ (Negative Multiplier) เอาไว้เลย จึงไม่มีแนวทางที่จะช่วยให้รัฐสามารถรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ ไปกับการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นด้วย
หากจะพูดกันตรงๆ แบบเติมฝันนิดหน่อยก็คือ "เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากพัฒนาต่อน่าจะไปได้ถึงรางวัลโนเบล เพราะ เป็นเรื่องสำคัญในรอบศตวรรษไม่ใช่แค่ในรอบปี ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตำราเศรษฐกิจมหภาคกันใหม่ทั้งโลก"
ผมจึงคิด "ปฏิบัติการไท้เก๊ก" ขึ้นมา โดยขอรับสมัคร 2 มหาวิทยาลัย และ 2 สื่อ เราจะร่วมกันประกาศข่าวใหญ่ของโลกในเรื่องการหักล้างทฤษฎีการคลัง และ การเงินของโลก 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศข่าวการหักล้างทฤษฎีการเงินและการคลัง รวมถึงการร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่ต่อไปด้วยกัน
2. จัดพิมพ์ตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคใหม่ ฉบับหักล้างทฤษฎีเดิม ให้นักเรียนและนักศึกษาไทย
3. อีก 1 ปีให้หลังจึงทำการแปลเพื่อเผยแพร่ตำราเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องนี้มีแต่ "ได้" กับ "ได้" และ "ได้" โดยนักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องกันใหม่ และ มีความรู้ที่เหนือชั้นกว่า นศ.ของมหาวิทยาลัยท็อปเทนของโลก มหาวิทยาลัยไทยจะได้เป็นผู้นำในด้านนี้ และ ผลิตตำราให้แก่นักศึกษาทั่วโลกโอกาสติด Top 100 ของโลกนั้นไม่ยาก ส่วนประเทศไทยนั้น ไม่เพียงแต่จะได้นำหน้าประเทศ JKS (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์) แต่ยังนำหน้าประเทศผู้นำด้านการศึกษาอย่าง สหรัฐฯ และ อังกฤษ อีกด้วย ซึ่ง 2 ประเทศนี้ก็คือ ประเทศที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก และเป็นแหล่งก่อตั้งทฤษฎีการเงินและการคลัง นั่นเอง
หากพูดแบบเว่อร์ๆ หน่อยก็คือ นี่นับเป็น "โอกาสทองในรอบศตวรรษ"ของไทยเลยทีเดียวที่จะทำเรื่องแบบนี้ได้ โดยไม่ต้องรอให้ สปช.ด้านการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาไทยให้แซงกลับประเทศลาว เพราะ เรื่องนี้คือ "การปฏิวัติการศึกษาไทย" แบบเป็นฝันของฝันอีกที
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องใช้ความกล้าหาญมาก เพราะเหมือนกับเดินไปบอกอาจารย์เศรษฐศาสตร์ทั่วโลกว่า "พี่ครับ พวกพี่กำลังสอนสิ่งบกพร่องผิดพลาดให้นักเรียน นักศึกษาอยู่นี่ จะฝืนสอนต่อไปหรือ ควรจะต้องรีบเร่งปรับเปลี่ยนนะครับ" และ เป็นการบอกผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังทั่วโลกว่า "สิ่งที่พวกท่านได้ร่ำเรียนมานั้น มีข้อบกพร่องผิดพลาด ทำให้อาจออกนโยบายการเงินการคลังที่บกพร่องผิดพลาดออกมาได้ ดังนั้น ควรจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนะครับ" แต่ผมขอให้มาร่วมกันกล้าหาญอย่างสร้างสรรค์นะครับ
ดังนั้น กรุณารีบติดต่อเข้ามา เพื่อร่วมกันสานฝันที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยด้วยกัน เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยนะครับ prawitruang@gmail.com
ปล. บทความหน้าผมจะเขียนเกี่ยวกับ "การหักล้างทฤษฎีการเงิน" ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)