วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หักล้างทฤษฎีการเงิน : อย่าแค่อ่านเพลินๆ

บิดาแห่งทฤษฎีการเงิน ก็คือ เออร์วิง ฟิชเชอร์  โดย มิลตัน ฟรีดแมน (เจ้าสำนักการนิยม) ได้กล่าวไว้ว่า "ฟิชเชอร์" เป็นนักเศรษฐศาสตร์ของอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  ซึ่งผมก็เห็นด้วยตามนั้น

MV=PQ  คือ สมการของฟิชเชอร์ ที่ได้ถ่ายทอดกันมาถึงกว่า 1 ศตวรรษแล้ว  โดย M  คือ ปริมาณเงิน V คือ การหมุนของเงิน  P คือ ระดับราคา และ Q คือ ผลผลิตหรือ GDP  

เมื่อ diff แล้วก็จะได้สมการ   อัตราการเปลี่ยนแปลง M + อัตราการเปลี่ยนแปลง V = อัตราการเปลี่ยนแปลง P + อัตราการเปลี่ยนแปลง Q   และ  เมื่อสมมติฐานกำหนดให้ V คงที่จากรูปแบบการบริโภคที่เหมือนเดิม  หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์   ดังนัน  สรุปได้ว่า อัตราการเพิ่มปริมาณเงิน เท่ากับ  อัตราการเพิ่มขึ้นของ nominal GDP (real GDP+อัตราเงินเฟ้อ)

นั่นหมายถึง  การลดอัตราดอกเบี้ย และ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน  จะช่วยเร่งให้ทั้ง GDP และ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น   และ จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามหากขึ้นอัตราดอกเบี้ย   และ นี่นำไปสู่ "นโยบายการเงิน" นั่นเอง

อย่างไรก็ดี  ผมพบว่า V ไม่ได้คงที่  ไม่สามารถจะตั้งสมมติฐานที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้  เป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิด  V จะลดลงโดยอัตโนมัติหากเพิ่ม M   ในสมัยของ ฟิชเชอร์ อาจกล่าวได้ว่า ตลาดของสต็อก (ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดอสังหาฯ เงินฝาก สินเชื่อ และ กองทุนบำนาญ) อาจมีขนาดที่เล็กกว่า GDP อยู่มาก  ดังนั้น การเพิ่มปริมาณเงิน M  จึงไปส่่งผลเกือบทั้งหมดที่ P และ Q  โดย V แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ดี  ปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้นมาก  ค่า V จะลดลงเมื่อ M  เพิ่มขึ้น

ผลสรุปก็คือ  การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการเพิ่มปริมาณเงิน จะไม่ช่วยเร่งเงินเฟ้อ   แม้ว่าทำให้ Q สูงขึ้นเล็กน้อยจากผลของความมั่งคั่ง (wealth effect)   เมื่อ V ลดลง  จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ (P)  ชะลอตัวลงต่่างหาก  และ  ในทางตรงกันข้าม  การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรือ การลดปริมาณเงินจะไม่สกัดเงินเฟ้อ  แต่กลับทำให้ค่า P หรืออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่างหาก   เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายการเงินทั่วโลก

โดยประธาน ECB  นายมาริโอ ดาร์กี  ที่พยายามเร่งเงินเฟ้อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการทำแบบทิศทางนั่นกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหาก  โดยยูโรโซนมีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี   และ ประเทศ PIIGS นั่นเข้าเขตอัตราเงินฝืดในเดือน กย.ที่ผ่านมา  ในทางตรงกันข้าม  ประเทศรัสเซีย ได้พยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ  แต่ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่า  อัตราเงินเฟ้อของรัสเซียวิ่งไปเรื่อยๆ จนสูงสุดในรอบ 3 ปีกันเลย

แล้วผู้กำหนดนโยบายการเงินไม่เอะใจบ้างหรือ..... มันเป็นเรื่องยากที่เชื่อได้ว่า เรื่องในตำราคือสิ่งที่ผิด เหมือนักฟิสิกส์  คงจะมีน้อยคนนักที่บอกว่า  สมการในตำราอย่าง  F=ma ของนิวตัน หรือ E=mc^2   ของไอน์สไตน์ เป็นสมการที่ผิดพลาด  อย่างไรก็ดี  ทางสังคมศาสตร์  สามารถศึกษาผลลัพธ์ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้  หากสังเกตเพิ่มขึ้นอีกสักนิด  ก็จะพบว่า  สมการการเงินของฟิชเชอร์นั้นเริ่มมีปัญหาเสียแล้ว

แล้วเมื่อศึกษาถึงผลกระทบของ QE ก็จะพบว่า  ประเทศสหรัฐฯ และ อังกฤษ  ก่อนหน้านี้จะมีอัตราเงินเฟ้อระดับสูงระดับ 2-4%  แต่เมื่อใช้ QE ปรากฏว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือระดับ 1% เศษเท่านั้น  ซึ่งก็ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการเงินเดิม   แต่เป็นไปตามแนวคิดของทฤษฎี "การเงินไท้เก๊ก"  คือ  การเพิ่มปริมาณเงินจะกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหากไม่ใช่เพิ่มสูงขึ้น

บทสรุปตรงนี้ก็คือ โลกควรพิจารณานโยบายการเงินกันใหม่ทั่วโลก  ซึ่งดูเหมือนว่าผู้กำหนดนโยบายการเงิน จะทำแบบผิดทิศผิดทางเสียแล้ว  ดังนั้นอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกันใหม่หมด

ผมขอสมัคร 2 มหาวิทยาลัย  เพื่อร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่และพิสูจน์การหักล้างทฤษฏีการเงินการคลังเดิม  ดำเนินการ "ปฏิบัติการไท้เก๊ก"   เสนอข่าวต่อสื่อ  รวมถึงเผยแพร่ความรู้ใหม่ต่อนักเรียนม.ปลายและนักศึกษาไทยก่อน  จะนำเผยแพร่ไปสู่ระดับโลก   เร่งติดต่อเข้ามานะครับ  prawitruang@gmail.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น