วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หักล้างทฤษฎีการเงิน : อย่าแค่อ่านเพลินๆ

บิดาแห่งทฤษฎีการเงิน ก็คือ เออร์วิง ฟิชเชอร์  โดย มิลตัน ฟรีดแมน (เจ้าสำนักการนิยม) ได้กล่าวไว้ว่า "ฟิชเชอร์" เป็นนักเศรษฐศาสตร์ของอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  ซึ่งผมก็เห็นด้วยตามนั้น

MV=PQ  คือ สมการของฟิชเชอร์ ที่ได้ถ่ายทอดกันมาถึงกว่า 1 ศตวรรษแล้ว  โดย M  คือ ปริมาณเงิน V คือ การหมุนของเงิน  P คือ ระดับราคา และ Q คือ ผลผลิตหรือ GDP  

เมื่อ diff แล้วก็จะได้สมการ   อัตราการเปลี่ยนแปลง M + อัตราการเปลี่ยนแปลง V = อัตราการเปลี่ยนแปลง P + อัตราการเปลี่ยนแปลง Q   และ  เมื่อสมมติฐานกำหนดให้ V คงที่จากรูปแบบการบริโภคที่เหมือนเดิม  หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์   ดังนัน  สรุปได้ว่า อัตราการเพิ่มปริมาณเงิน เท่ากับ  อัตราการเพิ่มขึ้นของ nominal GDP (real GDP+อัตราเงินเฟ้อ)

นั่นหมายถึง  การลดอัตราดอกเบี้ย และ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน  จะช่วยเร่งให้ทั้ง GDP และ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น   และ จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามหากขึ้นอัตราดอกเบี้ย   และ นี่นำไปสู่ "นโยบายการเงิน" นั่นเอง

อย่างไรก็ดี  ผมพบว่า V ไม่ได้คงที่  ไม่สามารถจะตั้งสมมติฐานที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้  เป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิด  V จะลดลงโดยอัตโนมัติหากเพิ่ม M   ในสมัยของ ฟิชเชอร์ อาจกล่าวได้ว่า ตลาดของสต็อก (ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดอสังหาฯ เงินฝาก สินเชื่อ และ กองทุนบำนาญ) อาจมีขนาดที่เล็กกว่า GDP อยู่มาก  ดังนั้น การเพิ่มปริมาณเงิน M  จึงไปส่่งผลเกือบทั้งหมดที่ P และ Q  โดย V แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ดี  ปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้นมาก  ค่า V จะลดลงเมื่อ M  เพิ่มขึ้น

ผลสรุปก็คือ  การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการเพิ่มปริมาณเงิน จะไม่ช่วยเร่งเงินเฟ้อ   แม้ว่าทำให้ Q สูงขึ้นเล็กน้อยจากผลของความมั่งคั่ง (wealth effect)   เมื่อ V ลดลง  จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ (P)  ชะลอตัวลงต่่างหาก  และ  ในทางตรงกันข้าม  การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรือ การลดปริมาณเงินจะไม่สกัดเงินเฟ้อ  แต่กลับทำให้ค่า P หรืออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่างหาก   เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายการเงินทั่วโลก

โดยประธาน ECB  นายมาริโอ ดาร์กี  ที่พยายามเร่งเงินเฟ้อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นการทำแบบทิศทางนั่นกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหาก  โดยยูโรโซนมีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี   และ ประเทศ PIIGS นั่นเข้าเขตอัตราเงินฝืดในเดือน กย.ที่ผ่านมา  ในทางตรงกันข้าม  ประเทศรัสเซีย ได้พยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ  แต่ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่า  อัตราเงินเฟ้อของรัสเซียวิ่งไปเรื่อยๆ จนสูงสุดในรอบ 3 ปีกันเลย

แล้วผู้กำหนดนโยบายการเงินไม่เอะใจบ้างหรือ..... มันเป็นเรื่องยากที่เชื่อได้ว่า เรื่องในตำราคือสิ่งที่ผิด เหมือนักฟิสิกส์  คงจะมีน้อยคนนักที่บอกว่า  สมการในตำราอย่าง  F=ma ของนิวตัน หรือ E=mc^2   ของไอน์สไตน์ เป็นสมการที่ผิดพลาด  อย่างไรก็ดี  ทางสังคมศาสตร์  สามารถศึกษาผลลัพธ์ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้  หากสังเกตเพิ่มขึ้นอีกสักนิด  ก็จะพบว่า  สมการการเงินของฟิชเชอร์นั้นเริ่มมีปัญหาเสียแล้ว

แล้วเมื่อศึกษาถึงผลกระทบของ QE ก็จะพบว่า  ประเทศสหรัฐฯ และ อังกฤษ  ก่อนหน้านี้จะมีอัตราเงินเฟ้อระดับสูงระดับ 2-4%  แต่เมื่อใช้ QE ปรากฏว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือระดับ 1% เศษเท่านั้น  ซึ่งก็ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการเงินเดิม   แต่เป็นไปตามแนวคิดของทฤษฎี "การเงินไท้เก๊ก"  คือ  การเพิ่มปริมาณเงินจะกลับทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่างหากไม่ใช่เพิ่มสูงขึ้น

บทสรุปตรงนี้ก็คือ โลกควรพิจารณานโยบายการเงินกันใหม่ทั่วโลก  ซึ่งดูเหมือนว่าผู้กำหนดนโยบายการเงิน จะทำแบบผิดทิศผิดทางเสียแล้ว  ดังนั้นอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกันใหม่หมด

ผมขอสมัคร 2 มหาวิทยาลัย  เพื่อร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่และพิสูจน์การหักล้างทฤษฏีการเงินการคลังเดิม  ดำเนินการ "ปฏิบัติการไท้เก๊ก"   เสนอข่าวต่อสื่อ  รวมถึงเผยแพร่ความรู้ใหม่ต่อนักเรียนม.ปลายและนักศึกษาไทยก่อน  จะนำเผยแพร่ไปสู่ระดับโลก   เร่งติดต่อเข้ามานะครับ  prawitruang@gmail.com



วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หักล้างทฤษฎีเคนส์ : ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

การหักล้างทฤษฎี  ปกติแล้วในรอบ 1 ศตวรรษ จึงจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากเย็นยิ่ง  เหมือน  โคเปอร์นิคัสและกาลิเลโอหักล้างทฤษฎีโลกแบนและเป็นศูนย์กลางจักรวาล   ดาร์วิน หักล้างทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก   ไอน์สไตน์หักล้างกฎนิวตัน  หรือแม้แต่ เคนส์หักล้างทฤษฎีของอดัม สมิธ

หลังจากผ่านไปหลายปี  ในที่สุดผมได้สร้างสมการของ "การคลังไท้เก๊ก" ที่คิดว่าสมบูรณ์ได้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้หักล้างทฤษฎีการคลังของเคนส์  ซึ่งก็คือบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การคลังนั่นเอง  ทฤษฎีต่างๆ มักจะมี สมการ เข้าไปเพื่ออธิบายด้วยเสมอ  จะขอนำเสนอดังต่อไปนี้

ในกรอบของเคนส์ นั้น  การใช้จ่ายภาครัฐ G = Gc+Gi  เข้านั้น คือ มีเพียง 2 พจน์  ที่การใช้จ่ายภาครัฐมีไว้เพื่อการบริโภค และ การลงทุน  ทำให้สมการการคลังคือ
                                               การเปลี่ยนแปลง Y  =  M * การเปลี่ยนแปลง G    

หรือว่าการเปลี่ยนแปลงของ GDP  เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายภาครัฐ คูณด้วยตัวทวี (Multiplier)  นั่นเอง

สำนักเคนส์บอกว่า M นั้นมากกว่า 1   ขณะที่สำนักนีโอคลาสิกบอกว่า M  นั้นอยู่ระหว่าง 0 ถึง  1 ต่างหาก
นี่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่  ส่วนการคลังไท้เก๊ก บอกว่าถูกต้องทั้ง 2 สำนัก และ ผิดทั้ง 2 สำนักด้วย

การคลังไท้เก๊ก ได้ทำให้สมการยาวขึ้นเป็น 6 พจน์ คือ  G = Gc+Gi+Gx+Gm+Gs+Gp  และ สมการของการคลังไท้เก๊ก ก็คือ   การเปลี่ยนแปลง Y = ผลรวมของ Mi * การเปลี่ยนแปลง Gi   โดย i ตั้งแต่ 1 ถึง 6 นั่นเอง

โดยอธิบายและยกตัวอย่างได้คร่าวๆ ดังนี้

Gc คือ ภาครัฐใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการบริโภค เช่น การแจกเช็คช่วยชาติ และ การประกันรายได้ชาวนา ในรัฐบาลอภิสิทธิ์  และ  การแจกเงินให้ชาวนาและชาวสวนยาง ในรัฐบาลประยุทธ์

Gi คือ ภาครัฐใช้จ่ายเงินเพื่อลงทุนสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ  นี่คือสิ่งที่เคนส์ มุ่งหวังให้ใช้เป็นหลัก

Gx คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่ใส่ลงเพื่อกระตุ้นให้มีการส่งออกมากขึ้น เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ส่งออก และ การให้สิทธิ  BOI แก่บริษัทส่งออก เป็นต้น

3 พจน์ข้างต้นนั้นไม่มีปัญหาเลย  ค่าตัวทวีเป็นไปตามที่ เคนส์ ว่าไว้ คือ มากกว่า 1  อย่างไรก็ดี ปัญหาอยู่ที่ 3 พจน์ต่อไป

Gm คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวกับการนำเข้า  เช่น สมมติหากรัฐเพิ่มภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าจากประเทศใน AEC ก็จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม (หรือเป็นการรัดเข็มขัดการคลัง)  ในเวลาเดียวกันการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น GDP ของประเทศกลับเพิ่มขึ้น   ซึี่งเรื่องแบบนี้ ไม่ได้อยู่ในกรอบความคิดของทฤษฎีเคนส์เลย  ค่าตัวทวีในส่วนนี้มีค่า "ติดลบ"

Gs คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเก็บสต็อก ทำให้เงินไม่หมุน  โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้นโยบายแนวนี้มาก เช่น การรับจำนำข้าวราคาสูง และ การซื้อยางเก็บสต็อก   แม้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น  แต่ถูกชดเชยความเสียหายจาก การส่งออกที่ลดลง  การเสื่อมค่าของสต็อก และ การทุจริตแล้ว  ทำให้ค่าตัวทวีของนโยบายแนวนี้เข้าใกล้ "ศูนย์"   นอกจากนี้  การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ด้วย เพราะเงินจะไหลเข้าแบงก์ และ กองทุนบำนาญเป็นหลัก

Gp คือ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อดูดเงินภาคเอกชนไปร่วมออมด้วย  ทำให้การใช้จ่ายในปัจจุบันลดลง หรือ GDP ต่ำลงนั่นเอง  โดยการสมทบ กบข. การให้สิทธิภาษีสูงๆ ในกองทุนอย่าง RMF, LTF ก็เข้าประเด็นนี้ได้ ขณะที่การให้ "สินเชื่อไท้เก๊ก" ด้วยการให้ผู้ประกันตนยืมเงินออมตนเองมาใช้ได้ก่อน โดยรัฐเก็บภาษีดอกเบี้ยบางส่วนนั้น จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม  เพราะจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่ม โดยเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย  ค่าตัวทวีของเรื่องนี้จึง "ติดลบ"

นี่เป็นการเปลี่ยนกรอบกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift)  ของทฤษฎีเคนส์และสมการการคลังเดิมไปเลย  จากที่หากรัฐทุ่มงบแล้วเศรษฐกิจจะต้องดีขึ้น และ รัดเข็มขัดแล้วเศรษฐกิจจะต้องแย่ลงนั้น  กลับพบว่าไม่จริงเสมอไป  โดยเฉพาะในส่วนของ Gm และ Gp  จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามได้

ในยุคของเคนส์นั้น ไม่มีกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนบำนาญมากนัก  ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อการบริโภค และ การลงทุนจริงๆ  ค่าตัวทวีจึงมากว่า 1  นั้นถูกต้องแต่ในยุคต่อมา รัฐบาลต้องใช้เงินต่างๆ ที่มีค่าตัวทวีต่ำลงมาก  ถึงขั้น "ติดลบ" ก็มี  ดังนั้น  แนวคิดของสำนักนีโอคลาสสิกก็ถูกต้องเช่นกัน  อย่างไรก็ดีทั้ง 2 สำนักก็ผิดที่ไม่ได้กล่าวถึง  ค่าตัวทวีติดลบ (Negative Multiplier) เอาไว้เลย  จึงไม่มีแนวทางที่จะช่วยให้รัฐสามารถรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ ไปกับการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นด้วย

หากจะพูดกันตรงๆ แบบเติมฝันนิดหน่อยก็คือ  "เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก  หากพัฒนาต่อน่าจะไปได้ถึงรางวัลโนเบล  เพราะ เป็นเรื่องสำคัญในรอบศตวรรษไม่ใช่แค่ในรอบปี   ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตำราเศรษฐกิจมหภาคกันใหม่ทั้งโลก"

ผมจึงคิด "ปฏิบัติการไท้เก๊ก" ขึ้นมา โดยขอรับสมัคร 2 มหาวิทยาลัย และ 2 สื่อ  เราจะร่วมกันประกาศข่าวใหญ่ของโลกในเรื่องการหักล้างทฤษฎีการคลัง และ การเงินของโลก  3 ขั้นตอนดังนี้

1. ประกาศข่าวการหักล้างทฤษฎีการเงินและการคลัง  รวมถึงการร่วมพัฒนาทฤษฎีใหม่ต่อไปด้วยกัน
2. จัดพิมพ์ตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคใหม่  ฉบับหักล้างทฤษฎีเดิม  ให้นักเรียนและนักศึกษาไทย
3. อีก 1 ปีให้หลังจึงทำการแปลเพื่อเผยแพร่ตำราเป็นภาษาอังกฤษ

เรื่องนี้มีแต่ "ได้" กับ "ได้" และ "ได้"  โดยนักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องกันใหม่ และ มีความรู้ที่เหนือชั้นกว่า นศ.ของมหาวิทยาลัยท็อปเทนของโลก   มหาวิทยาลัยไทยจะได้เป็นผู้นำในด้านนี้ และ ผลิตตำราให้แก่นักศึกษาทั่วโลกโอกาสติด Top 100 ของโลกนั้นไม่ยาก  ส่วนประเทศไทยนั้น  ไม่เพียงแต่จะได้นำหน้าประเทศ JKS (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์)  แต่ยังนำหน้าประเทศผู้นำด้านการศึกษาอย่าง สหรัฐฯ และ อังกฤษ อีกด้วย ซึ่ง 2 ประเทศนี้ก็คือ ประเทศที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก และเป็นแหล่งก่อตั้งทฤษฎีการเงินและการคลัง นั่นเอง

หากพูดแบบเว่อร์ๆ หน่อยก็คือ นี่นับเป็น "โอกาสทองในรอบศตวรรษ"ของไทยเลยทีเดียวที่จะทำเรื่องแบบนี้ได้   โดยไม่ต้องรอให้ สปช.ด้านการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาไทยให้แซงกลับประเทศลาว เพราะ เรื่องนี้คือ "การปฏิวัติการศึกษาไทย" แบบเป็นฝันของฝันอีกที

อย่างไรก็ดี  เรื่องนี้ต้องใช้ความกล้าหาญมาก เพราะเหมือนกับเดินไปบอกอาจารย์เศรษฐศาสตร์ทั่วโลกว่า "พี่ครับ พวกพี่กำลังสอนสิ่งบกพร่องผิดพลาดให้นักเรียน นักศึกษาอยู่นี่ จะฝืนสอนต่อไปหรือ ควรจะต้องรีบเร่งปรับเปลี่ยนนะครับ"  และ  เป็นการบอกผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังทั่วโลกว่า  "สิ่งที่พวกท่านได้ร่ำเรียนมานั้น มีข้อบกพร่องผิดพลาด  ทำให้อาจออกนโยบายการเงินการคลังที่บกพร่องผิดพลาดออกมาได้ ดังนั้น ควรจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนะครับ"  แต่ผมขอให้มาร่วมกันกล้าหาญอย่างสร้างสรรค์นะครับ

ดังนั้น กรุณารีบติดต่อเข้ามา  เพื่อร่วมกันสานฝันที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยด้วยกัน  เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยนะครับ prawitruang@gmail.com

ปล. บทความหน้าผมจะเขียนเกี่ยวกับ "การหักล้างทฤษฎีการเงิน" ครับ


วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิกฤติปลาร้า อย่าชะล่าใจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 115 เดือน รวมทั้งการเร่งเบิกจ่ายเงินภาครัฐ และ ลงทุนสาธารณูปโภค น่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ราว 4-5% ในปี 2558 และ ประเทศไทยก็เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ได้อย่างสวยงาม  นั่นเป็นภาพที่ดูดีมากสำหรับประเทศไทย  แต่เดี๋ยวก่อน....

วิกฤติปลาร้า คือ วิกฤติที่ผมตั้งชื่อให้เอง โดยเป็นวิกฤติที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทย ซึ่งก็คือ ประเทศลาวนั่นเอง  โดยลาวได้รับการเตือนจาก IMF มาตั้งแต่เดือน พ.ย.ปี 2556 ให้ระมัดระวังการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ดี  เพราะ มีการขาดดุลการคลัง และ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงมาก  อาจทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไม่เพียงพอ จนนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจได้ในที่สุด

เมื่อดูตัวเลขทางเศรษฐกิจ  ก็พบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ คือ ลาวมีการขาดดุลการคลังถึง 12.4% GDP เมื่อปี 2556 โดยมีหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ระดับ 62% ซึ่งจัดว่าเป็นระดับที่สูง นอกจากนี้ยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องรุนแรง 3 ปีซ้อน (ค่า Rueng Alarm ที่ -73.8%) ซึ่งเป็นระดับปรอทแตกอันตรายมากๆ  ขณะที่ผมกำลังกังวลกับ "ลาว" อยู่นั้น สายตาก็เหลือบไปเห็นตัวเลขของ มองโกเลีย ซึ่งอันตรายกว่าเสียอีก คือ ค่า Rueng Alarm ที่ -92%  แทบไม่เชื่อสายตาว่าจะมี 2 ประเทศแบบนี้ในโลกใบนี้ด้วย

การที่ลาวซึ่งกำลังจะเข้าเป็น 1 ใน AEC เช่นเดียวกับประเทศไทย  ลาวมุ่งมั่นพัฒนาชาติให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดเพื่อตามให้ทันไทย  โดยมุ่งเน้นในด้านพลังงานไฟฟ้าด้วยเขือนพลังน้ำ  การสื่อสารด้วย 4G   การคมนาคมด้วยรถไฟความเร็วสูง   อย่างไรก็ดี  การวิ่งเร็วเกินไปถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมากสำหรับประเทศลาว   หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงของการรวมตัวปีหน้านั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อ AEC ทั้งภูมิภาคได้  โดยประเทศที่มีอันดับเครดิตไม่ดีนักอย่าง กัมพูชา  เวียดนาม และ อินโดนีเซีย (1 ใน Fragile Five) ก็อาจมีปัญหาทางเศรษฐกิจตามไปด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ประเทศไทยควรทำก็คือ รัฐบาลไทย และ ธปท. ควรส่งผู้เชี่ยวชาญทั้งการเงินการคลังไปยังประเทศลาวโดยด่่วน เพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ซึ่งอาจจะสามารถป้องกัน "วิกฤติปลาร้า" ได้   นอกจากจะเป็นการแสดงน้ำใจในฐานะบ้านพี่เมืองน้องแล้ว  ประเทศไทยยังได้แสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำ AEC ที่ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ต้นมือ  เพื่อให้การดำเนินการรวมเป็นหนึ่งเดียวของ AEC ได้อย่างราบรื่นไร้อุปสรรคใดๆ

อย่างไรก็ดี  "วิกฤติปลาร้า" อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะ ลาววิ่งมาอย่างเร็วจนถึงขอบหน้าผาเสียแล้ว และเรื่องนี้อาจจะเป็นบททดสอบแรกสำหรับบ้านหลังใหญ่อย่าง AEC ว่าจะสามารถบริหารจัดการวิกฤติเศรษฐกิจของสมาชิกได้อย่างไร







วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

3 ปรอทวัดไข้ Fragile Five

เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายคนคงรู้จัก Fragile Five เป็นอย่างดีแล้ว  ซึ่งหมายถึง ประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเสี่ยงสูงจากการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินทุนต่างชาติ  โดยโครงสร้างคือมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ได้แก่ ประเทศ บราซิล อินเดีย แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย และ ตุรกี หรือรวมๆ แล้วเรียกว่ากลุ่มประเทศ "BISIT" นั่นเอง

บทความนี้จะนำเสนอ ปรอทวัดไข้ 3 ชนิด เพื่อวัดดูว่าประเทศใดกันแน่ที่ความเสี่ยงสูงสุดและควรจะต้องจับตามองเป็นพิเศษ ผมได้นำเอา ประเทศไทย รวมเข้าไปด้วยเพื่อทำการวัดไข้ด้วยกัน โดยประเทศเหล่านี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  จากการที่เศรษฐกิจประเทศจีน ญี่ปุ่นและยุโรป ได้ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด  ขณะที่สภาพคล่องของโลกก็ลดลงจากการที่สหรัฐฯ กำลังจะยกเลิกมาตรการ QE ค่าเงินของประเทศทั้ง 5 นี้ได้อ่อนค่าลงอย่างเห็นได้ชัด  เรามาลองดูตัวชี้วัดทั้ง 3 กัน

1.TE Rating นี่คือ ดัชนีวัดค่าที่คิดค้นขึ้นโดย www.tradingeconomics.com เพื่อใช้วัดความเสียงของประเทศต่างๆ โดยถ่วงน้ำหนักจาก 5 ปัจจัยเท่าๆ กัน คือ 1.อันดับเครดิตโดย S&P  2.อันดับเครดิตโดยมูดี้ส์  3.อันดับเครดิตโดยฟิตซ์  4.ค่าชี้วัดทางเศรษฐกิจ 5.ตลาดเงินตลาดทุน โดยจะได้ค่าดัชนีออกมาเป็นตัวเลขทำให้เข้าใจได้ง่าย และ สามารถวัดการเปลี่นแปลงได้ง่ายด้วย  โดยประเทศที่ปลอดภัยมากๆ จะมีค่านี้สูง เช่น สวิตเซอร์แลนด์ (99.5) ส่วนประเทศที่เสี่ยงมากก็จะมีค่านี้ต่ำ เช่น กรีซ (5.8)

ผมต้องขอเปิดหมวกคารวะทีมงานที่ได้สร้างดัชนี้นี้ขึ้นมา เพราะต้องทุ่มเทผู้เชี่ยวชาญและเก็บข้อมูลมากมายเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ผมพบข้อบกพร่องของดัชนีชี้วัดนี้แล้ว ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เราลองมาเรียงความเสี่ยงจากมากไปน้อยของ Fragile Five โดยปรอทวัดไข้อันนี้กันดีกว่า
1.ตุรกี (44.6) 2.อินเดีย (47.1) 3.อินโดนีเซีย (48.5) 4.บราซิล (50.7) 5.แอฟริกาใต้ (57.4) และ 6.ไทย (58.8)

จะเห็นได้ว่าข้อบกพร่องของ TE Rating ก็คือ การทำให้ความเสี่ยงของแอฟริกาใต้ มาอยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แทนที่จะอยู่ใกล้เคียงกับประเทศ Fragile Five  อย่างไรก็ดี  การที่ "ตุรกี" มีค่าความเสี่ยงสูงสุดในกลุ่มนี้ นับได้ว่าน่าจะถูกต้อง โดยประเทศกลุ่มนี้จะมีค่า TE Rating อยู่ระหว่าง 40-50 โดยไทยจะอยู่ระดับปลอดภัยกว่านั้น  เมื่อดู 2 ประเทศล่าสุดที่ขอความช่วยเหลือจาก IMF ก็จะพบว่าค่า TE ชี้ความเสี่ยงได้อย่างดี คือ ยูเครน (28.8) และ กาน่า (32.5)  อาจสรุปได้สั้นๆ ว่า หากค่านี้ต่ำกว่าระดับ 40 แล้วละก็ ควรเตรียมมอบตัวเข้าโรงเรียน IMF ได้เลย และ ตุรกีนั้นใกล้จุดนี้ที่สุด

2.บอนด์ยีล 10 ปี โดยมีแนวคิดจากกฎข้อแรกของการลงทุนว่า "ความเสี่ยงย่อมควบคู่ไปกับผลตอบแทนเสมอ" ดังนั้น  ประเทศที่มีค่าความเสี่ยงสูง จึงควรมีค่าผลตอบแทนระยะยาวที่สูงตามไปด้วย โดยเรียงลำดับได้ดังนี้
1.บราซิล (12.2%) 2.ตุรกี (9.4%) 3.อินเดีย (8.5%) 4.อินโดนีเซีย (8.5%) 5.แอฟริกาใต้ (8.2%) 6.ไทย (3.4%)  จะเห็นว่า บราซิลเสี่ยงสุด รองลงมาคือ ตุรกี ส่วนไทยยังสบายๆมาก อาจกล่าวได้ว่า ประเทศที่มีบอนด์ยีลด์สูงกว่า 8% จัดได้ว่าเสี่ยง

3.Rueng Alarm คือ การรวมขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP 3 ปีล่าสุดเข้าด้วยกัน อาจเรียงลำดับความเสี่ยงได้ดังนี้
1.ตุรกี (-23.6%)  2.แอฟริกาใต้ (-13.3%)  3.อินเดีย (-10.6%) 4.บราซิล (-8.1%) 5.อินโดนีเซีย (-5.9%) และ 6.ไทย (+0.1%)  จะเห็นว่า ตุรกีเสียงสุด และ ไทยเสี่ยงน้อยสุด ยังสบายๆมาก

ถ้าถามว่า ผมคิดว่า ปรอทวัดไข้ อันไหนที่น่าจะใช้ได้ดีสุด ผมขอตอบว่า "Rueng Alarm" นะครับ เหตุผลคงไม่ใช่เพระว่าผมได้คิดค้นดัชนีชี้วัดตัวนี้  แต่เป็นเพราะค่านี้ไม่เพียงแต่ใช้วัดไข้ประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น  แต่ยังใช้เตือนภัยประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก่อนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มาแล้ว  โดยที่ปรอทวัดไข้อีก 2 อันที่เหลือจะใช้ไม่ได้เลย เพราะ สหรัฐฯ เป็นมีอันดับเครดิตที่ดีมาก และ ดอกเบี้ยระยะยาวก็ต่ำมากด้วย
 
ส่วนประเทศที่ Rueng Alarm ชี้วัดความเสี่ยงถึงขั้น "ปรอทแตก" นั้น แม้เป็นประเทศเล็กแต่อยู่ใกล้ไทยมากๆ ท่านผู้อ่านอาจเดาถูกก็ได้ว่าคือ "ประเทศลาว" นั่นเอง  โดยมีค่า Rueng Alarm ที่น่าตกใจระดับ -73.8% ผมคิดว่า ธปท.ควรเร่งรีบส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินระหว่างประเทศไปเพื่อให้คำแนะนำแก่ประเทศลาว ในการลดไข้ชะลอเศรษฐกิจ ทั้ง 3 ด้าน คือ 1.ด้านปริวรรต ด้วยการยอมให้ค่าเงินกีบอ่อนลง 2.ด้านการเงินด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ 3.ด้านการคลัง ด้วยการรัดเข็มขัด จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดจากระดับราว 8% เหลือ 4% สัก 2-3ปี ก็อาจช่วยให้ลาวไม่ต้องถูกหามเข้า รพ.IMF โดยหากเกิดวิกฤติในลาวจริงๆ น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาคอีสาน รวมไปถึง กระทบต่อความเชื่อมั่นของกระแสเงินทุนต่างชาติในภูมิภาค AEC ไปด้วย

ต่อจากนี้ควรจับตาดูใกล้ชิดว่า ประเทศใหญ่อย่างตุรกีที่มีไข้สูงมาก หรือว่า ประเทศเล็กๆอย่างลาวที่มีไข้สูงสุดยอด กันแน่ จะเป็นประเทศที่จุดชนวนให้เกิดวิกฤติในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งนั่นจะมีผลต่อชื่อของวิกฤติว่าจะเป็น "วิกฤติไก่งวง" หรือ "วิกฤติข้าวเหนียว" กันแน่ครับ







วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

เพราะประชานิยม หรือ เพราะงมไม่เจอต้นเหตุ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นความผิดพลาดของวงการเศรษฐศาสตร์ ที่พยายามจะชี้ประเด็นโยนบาปว่า "นโยบายประชานิยม" คือ ต้นเหตุของวิกฤติการคลัง และ ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา  ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่

แม้ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะใช้นโยบายประชานิยมสุดขั้ว อย่างการรับจำนำข้าวราคาแพงลิ่วภาระภาครัฐหลายแสนล้าน และ นโยบายรถยนต์คันแรกที่ต้องเป็นภาระรัฐบาลถึง 1 แสนล้านบาท  อย่างไรก็ดี ภาระหนี้สินภาครัฐ ต่อ GDP ของไทยยังยืนที่ 47% เท่านั้น และ ไม่ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจด้วย

เมื่อไปดูที่ปัญหาของยูโรโซน แม้นานาชาติพยายามจะโยนบาปว่า นโยบายประชานิยม คือต้นเหตุวิกฤติเศรษฐกิจของกรีซ  และ ลัทธิเปรอง คือ ลัทธิมารร้ายที่กัดกร่อนเศรษฐกิจของ อาร์เจนติน่ามาช้านาน

แต่เมื่อมาดูตัวเลขจริงๆ บ้าง กลับพบว่า ประเทศสเปน มีหนี้ภาครัฐต่อ GDP เพียง 36% ก่อนวิกฤติยูโรโซน และ เพิ่มขึ้นมาเป็น 94% เมื่อ 6 ปีต่อมา ประเทศไอร์แลนด์ หนี้ภาครัฐต่อ GDP เพียง 25% ก่อนวิกฤติยูโรโซน และ เพิ่มขึ้นมาเป็น 124% เมื่อ 6 ปีให้หลัง  จะเห็นได้ว่า ก่อนการวิกฤติเศรษฐกิจนั้น  หนี้สินภาครัฐต่อ GDP ยืนอยู่ระดับต่ำมาก แต่สูงขึ้นอย่างเร็วเพราะ รัฐบาลต้องใช้เงินทุนมากมายเพื่ออุ้มสถาบันการเงินและ ช่วยประชาชนในด้านประกันสังคม

และประเทศไทย มีหนี้ภาครัฐ ต่อ GDP 15% ก่อนวิกฤติเพิ่มเป็น 58% หลังเริ่มวิกฤติต้มยำกุ้งไป 4 ปี ส่วน อาร์เจนติน่าปี 1998 มีหนี้ภาครัฐต่อ GDP เพียง 38% พุ่งสูงขึ้นถึง 166% หลังเริ่มวิกฤติไป 4 ปี เช่นกัน

นั่นหมายถึงอะไร...หมายถึง นโยบายประชานิยม ไม่ได้เป็นต้นเหตุทำให้หนี้สินภาครัฐต่อ GDP วิ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ แต่เป็น วิกฤติเศรษฐกิจต่างหากที่เป็น "ต้นเหตุ" ที่ทำให้ภาครัฐต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่ออุ้มสถาบันการเงินที่อ่อนแอลงอย่างมาก จนก่อให้เกิด "วิกฤติการคลัง"  

และ การเกิด "วิกฤติเศรษฐกิจ" ก็ไม่ได้เป็นเพราะ นโยบายประชานิยมและวิกฤติการคลัง ที่เป็นต้นเหตุ แต่เป็นเพราะการเกิด "วิกฤติขาดดุลบัญชีเดินสะพัด" แบบหนักหน่วงและต่อเนื่องต่างหากซึ่งน่าจะมีสาเหตุหลักมาจาการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เหมาะสม  โดยผมได้ตั้งชื่อว่าตัวชี้วัด Rueng Alarm ซึ่งคือ ผลรวมของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP 3 ปีต่อเนื่องเข้าด้วยกัน  โดยค่า Rueng Alarm  นี้จะบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ของประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และค่านี้จะย่ำแย่มากๆ ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจบ่อยครั้ง

เมื่อมาดู 2 ประเทศล่าสุดที่ต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF ดูบ้าง โดยประเทศยูเครน หนี้ภาครัฐต่อ GDP ในระดับเพียง 41% (ต่ำกว่าไทยที่ 47% เสียอีก) แต่ค่า Rueng Alarm ที่ -20.7% และประเทศกาน่า ก็พบว่ามีค่าหนี้ภาครัฐต่อ GDP ในระดับเพียง 45% แล้วทำไมกาน่าจึงมีปัญหาเศรษฐกิจขณะที่ไทยยังสบายๆ  เพราะค่า Rueng Alarm นั้นย่ำแย่มากๆ ระดับ -36% GDP นั่นเอง คือ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดหนักหน่วงแและต่อเนื่อง โดยมีการใช้จ่ายเงินเกินตัวอย่างมาก  

ดังนั้นผมขอเรียกร้องให้ IMF เร่งรีบออกมายอมรับว่า "นโยบายประชานิยม" และ "หนี้สินภาครัฐ" ไม่ใช่ต้นเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่เป็น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่างหาก โดยควรเผยแพร่แนวคิดของ Rueng Alarm ไปทั่วโลก และออกกฏไปเลยว่า "ห้ามไม่ให้ประเทศใดมีค่า Rueng Alarm ที่ย่ำแย่กว่า -15%" มิเช่นนั้น IMF จะเข้าไปจัดการดูแลระบบตั้งแต่ต้นมือ  เชื่อว่าด้วยวิธีนี้ประเทศต่างๆ ที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF จะลดลงอย่างมากจนแทบไม่เหลือเลยก็เป็นไปได้  

"ตุรกี" (Rueng Alram ที่ -23.6%) คือประเทศใหญ่ที่อาจจะเป็นปัญหาได้มากที่สุด ณ เวลานี้ โดยขนาดเศรษฐกิจของตุรกียังใหญ่กว่าการรวม 4 ประเทศของยูโรโซน คือ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซ และ ไซปรัส เข้าด้วยกันเสียอีก นี่จึงอาจเป็นปัญหาใหญ่และภาระหนักที่ IMF อาจต้องเข้ามาดูแลในที่สุด โดยปัญหาจะยิ่งใหญ่ขึ้นอีกหากวิกฤติได้ลามไปสู่ประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆที่ค่า Rueng Alarm ย่ำแย่อย่าง แอฟริกาใต้ บราซิล โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย    

สำหรับประเทศไทย ควรเลิกโยนบาปให้ "นโยบายประชานิยม" เช่นเดียวกัน  แม้ว่าสิ่งนี้ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะ ทำให้หนี้สินภาครัฐสูงขึ้นบ้างแถมยังเปิดช่องให้ทุจริตได้ แต่ก็ไม่ได้แย่มากถึงขั้นนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ  เมื่อเทียบกับ "นโยบายประชาไม่นิยม" อย่างการขึ้นภาษี VAT เป็น 8% ของญี่่ปุ่นเสียอีกที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในไตรมาส 2 ปีนี้ที่ผ่านมา  

สำหรับประเทศไทยควรเผยแพร่ Rueng Alarm ออกไป  จับตาดูค่านี้ทั้งในประเทศไทยเอง และ ประเทศเพื่อนบ้านใน AEC เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสัญญาณเตือนภัยและระมัดระวังการเกิดฟองสบู่ที่จะก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันมี 2 ประเทศใน AEC ที่ส่งสัญญาณไม่ดีเลย โดยค่า Rueng Alarm ระดับ -21.4% คือ ประเทศกัมพูชา  แต่ที่หนักหนากว่านั้้นก็คือ ประเทศลาว มีค่า Rueng Alarm ที่ -73.8% ซึ่งเป็นระดับที่เหลือเชื่อมาก แทบจะไม่เคยพบเห็นมาก่อน คงเป็นเพราะการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดของลาวนั่นเอง

และสุดท้ายคือ ไทยควรนำเอา "นโยบายประชาชมชอบ" มาใช้  สิ่งนี่จะแตกต่างจาก "นโยบายประชานิยม" เพราะว่ารัฐบาลไม่ต้องสร้างหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย แต่ใช้การ "ยืมพลัง" แทนเพื่อทำให้ประชาชนกลุ่มใหญ่พอใจและชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น  


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ไฮเปอร์ลูป : ปฏิรูปคมนาคมไทยครั้งใหญ่

ไฮเปอร์ลูป (hyperloop)   ชื่อนี้คนไทยหลายคนคงรู้จักแล้ว  แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักดีนัก  นี่คือแนวคิดให้การคมนาคมแบบใหม่ที่ "อีลอน มัสก์"  เศรษฐีนักลงทุนชาวอเมริกันได้คิดขึ้น  จะทำให้สามารถวิ่งได้เร็วได้สูงสุดถึง 1.2 พันกม.ต่อชม. ภายในท่อที่ควบคุมความดัน   ประหยัดเวลาและพลังงานกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ

แล้วยังไงละ.... คือ ผมคิดว่ามันจะดีกว่าไหม หากประเทศไทยจะปฏิรูปไปใช้ ไฮเปอร์ลูป เสียเลยซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากๆ  แทนที่จะปฏิรูปรถไฟความเร็วต่ำ  ไปสู่  รถไฟความเร็วปานกลาง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตามหลังญี่ปุ่น 100 ปี มาดูข้อดีของ "ไฮเปอร์ลูป"  ที่ผมอาจแปลเป็นไทยได้ว่า "ท่อยิ่งยวด"

1. เร็วกว่า : การเดินทางในท่อที่เกือบสุญญากาศ ทำให้แรงเสียดทานลดลงมาก  จึงสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 1.2 พันกม.ต่อชม.  ซึ่งเร็กว่าเครื่องบินที่ 900 กม.ต่อ ชม. และ เร็วกว่าสุดยอดของระบบรางของญี่ปุ่นที่ใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ายกรถไฟให้ลอยอยู่เหนือราง  หรือที่เรียกว่า Maglev  ที่ความเร็วเกือบ 600 กม.ต่อชม.ถึง 2 เท่า  และ เร็วกว่ารถไฟความเร็วสูงของจีนที่วิ่งราว 300 กม.ต่อชม.ถึง 4 เท่าตัว
และ แน่นอนวิ่งเร็วกว่า รถไฟความเร็วปานกลางตามแผนที่วางไว้ 150 กม.ต่อ ชม.ถึง 8 เท่าตัว

2. ถูกกว่า : เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่  ประยุกต์มาจาก "ท่อส่งเอกสาร"  จึงไม่ต้องมีการวางรางเหล็ก ระบบสัญญาณ และ สายไฟฟ้าเลย   ต้นทุนการก่อสร้างมีการประเมินว่าน่าจะลดลงได้ครึ่งหนึ่ง จาก 600 ล้านบาทต่อ กม. ของรถไฟความเร็วสูง  เหลือเพียง 300 ล้านบาทต่อกม. เท่านั้นเอง

3. ประหยัดกว่า : มีการวางแผงโซลาร์เซลไปด้านบนท่อ  ดังนั้น การเดินทางนี้ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากเหมือนรถไฟความเร็วสูง  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก   ค่าก่อสร้างก็ถูกดังนั้น มีการประเมินว่า ค่าโดยสารจะอยู่ที่ราว 1 บาทต่อ กม. หรือพอๆ กับรถทัวร์ในปัจจุบันนั่นเอง  ซึ่งต่ำกว่า ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงที่ประเมินกันไว้ถึง 2.5 เท่า

แคปซูลของไฮเปอร์ลูป จะบรรจุผู้โดยสารได้ 28 คน  และ อาจออกได้ทุกๆ 2 นาที  จึงขนส่งผู้คนและสินค้าได้จำนวนมาก  โดยแทบไม่มีต้นทุนพลังงาน   เป็นการเปลี่ยนจาก "ระบบราง" ไปสู่ "ระบบท่อ"

ผมขอคาดการณ์ 3 เรื่องเกี่ยวกับ ไฮเปอร์ลูปไว้  เผื่อว่า จะได้เป็น "มิสเตอร์ไฮเปอร์ลูปของไทย" บ้าง

1. ประเทศไทยตัดสินใจเลือกไฮเปอร์ลูป :  หลังจากบทความนี้เผยแพร่ต่อสาธารณะ  คนไทยได้ถกเถียงกันอย่างมาก ว่าจะปฏิรูปรถไฟความเร็วต่ำ  ไปสู่ ความเร็วปานกลาง ความเร็วสูง หรือ ไฮเปอร์ลูปดี  จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของ ไฮเปอร์ลูป   ทั้งในด้านเทคโนโลยี  ความปลอดภัย และ ต้นทุน  เมื่อระดมสมองจากหลายฝ่ายแล้ว  พบว่า  เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนอะไร  หากได้ความช่วยเหลือเล็กน้อยจากต่างชาติ  วิศวกรไทยก็สามารถสร้างได้สบายๆ  แถมปลอดภัยมาก  ต้นทุนการก่อสร้างต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมเสียอีก   ท่านผู้มีอำนาจจึงอมุมัติให้สร้าง  "ไฮเปอร์ลูป"
           
โดยช่วงแรก 4 เส้นทางสั้นๆ คือ สายเหนือถึงพิษณุโลก   สายอีสานถึงโคราช   สานตะวันออกถึงพัทยา และ สายใต้ถึงหัวหิน   เพื่อดูผลสัมฤทธิ์   ปรากฏว่าสำเร็จอย่างงดงาม  ใช้เวลาเพียง 10 นาที คนจาก กทม.ก็ไปเดินเล่นที่หัวหิน และ พัทยาได้แล้ว  เป็นที่ตื่นเต้นไปทั่วโลก    เรื่องนี้มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์ไทย เพราะ ได้เปลี่ยนสถานะจากผู้ตาม ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  ไปเป็นผู้นำ 2 ประเทศนั้นได้เลย  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในรอบครึ่งศตวรรษนี้

2. ทั้งภูมิภาค AEC ร่วมใช้ไฮเปอร์ลูป : เมื่อเห็นประเทศไทยทำสำเร็จ  ประเทศใน AEC ก็ต้องการแบบเดียวกันด้วย 3 เหตุผล คือ เร็วกว่า-ถูกกว่า-ประหยัดกว่า   เครือข่ายจึงขยายออกไปอย่างมาก  โดยไทยได้วางไว้ 2 ฮับ คือ กทม.เชื่อมไปพม่าที่ทวาย และ เชื่อมไปเวียดนามที่เมืองโฮจิมินห์      ส่วนขอนแก่น เชื่อมพม่่าที่เมียววดีและย่างกุ้ง  เชื่อมเวียดนามตอนกลางที่ ดานัง   และทั้ง 2 เมืองเชื่อมกับ ประเทศจีนที่ คุนหมิง

เครือข่ายไฮเปอร์ลูป จึงกระจายไปทั่วภูมิภาค และ เป็นการคมนาคมความเร็วสูงหลักของภูมิภาคนี้  นอกจากนี้ยังกระจายไปยัง  ภูมิภาคเอเชียใต้ และ จีนตอนใต้อีกด้วย

3. ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของไฮเปอร์ลูป :  ไฮเปอร์ลูปได้สร้างปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ  ทำให้เศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะไทย  เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดนานนับทศวรรษ   โดยทั่วโลกยอมรับให้ไทยเป็นผู้นำในด้านการคมนาคมแบบใหม่ที่ไม่ใช่ "ระบบราง"  แต่เป็น "ระบบท่อ"

แต่เรื่องราวทั้ง 3 นี้จะเป็นผลไม่ได้เลย  หากท่านผู้มี อ.ไอเดียอย่างสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)  รวมถึง ท่านผู้มีอ.อำนาจอย่าง คณะรัฐมนตรี (ครม.)   ไม่ร่วมกันแสดง อ.อุดมการณ์ที่มุ่งมั่นพัฒนาประเทศชาติไทยให้นำหน้า ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้  แทนที่จะเดินตามหลังเป็น 100 ปี    ไม่เพียงแต่ผมเท่านั้น  ผมเชื่อว่ามีคนไทยอีกไม่น้อยเลย  หากได้อ่านเรื่องนี้จบแล้ว  จะหันมาเชียร์ "ไฮเปอร์ลูป" แทนที่ "รถไฟความเร็วปานกลาง" เป็นแน่ครับ

 

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รถไฟความเร็วสูง : ถ้าได้มาฟรีๆ จะยอมให้มีได้ไหม??

รถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการที่ดูเหมือนว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล เพื่อสร้างโครงข่ายหลายเส้นทาง  อย่างน้อยๆ ก็ระดับ 8 แสนล้านบาท   อย่างไรก็ดี  บทความนี้จะมีโมเดลที่จะทำให้ไทยไม่ต้องเสียเงินซักบาท  เพื่อให้ได้รถไฟความเร็วสูงมาฟรีๆ

หลักการก็คือ การร่วมทุนกับต่างประเทศนั่นเอง  โดยการร่วมทุนนั้นจะมีประโยชน์ 3 ด้านดังนี้

1. ป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่นได้ดีกว่า :  ญี่ปุ่น และ จีน มีมาตรฐานในการดูแลเรื่องนี้เข้มข้นกว่าประเทศไทยมาก  กรณีของประเทศเวียดนาม  ญี่ปุ่นได้จับได้ว่ามีการคอร์รัปชั่นส่งเรื่องให้เวียดนามว่ามีการรับเงินสินบน ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่การรถไฟไป 4 คน    เมื่อมีการร่วมทุนกันขึ้นจะเกิดการตรวจสอบดังนั้น  การตุกติกคอร์รัปชั่นก็จะทำได้ยากกว่า

2. เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี : เนื่องจาก ญี่ปุ่นและจีน มีทั้งเงินทุน รวมถึง เทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูง การร่วมทุนจะสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านนี้ดีกว่า  ทั้งการดูแลตู้โดยสาร  การเดินรถ  การบริหารความปลอดภัย  รวมไปถึง การบริหารจัดการพื่นที่รอบสถานีด้วย 

3.ประหยัดต้นทุน : เรื่องนี้คือประเด็นสำคัญเลยก็ว่าได้  หากมีการร่วมลงทุนแบบ 51:49  ซึ่งก็หมายถึงว่า ไทยจะประหยัดเงินลงทุนไปครึ่งหนึ่งแล้ว  จากแผนเดิม 8 แสนล้านก็เหลือเพียง 4 แสนล้านบาทเท่านั้น  อย่างไรก็ดี  มีแผนเด็ดกว่านั้นอีก คือ ให้ รฟท.ร่วมทุนโดย "ที่ดิน"  และให้ ญี่ปุ่น จีน นั้นลงทุนในระบบราง และ สัญญาณให้ฟรีๆ   เรื่องนี้ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้  แต่หากพิจารณาดูดีๆ แล้ว  ที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงนั้นมีศักยภาพมหาศาล  การเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% ก็หมายถึง 5 ปีมูลค่าเพิ่มขึันเท่าตัว ดังนั้นเวลาผ่านไป 25 ปีมูลค่าจะเพิ่มขึ้น 32 เท่า  และ เวลาผ่านไป 50 ปีมูลค่าที่ดินสูงขึ้นถึง 1 พันเท่าตัว.... ขณะที่รางรถไฟนั้นมูลค่าลดลงไปเรื่อยๆ ตามค่าเสื่อมสภาพ  มันจึงคุ้มค่ามากๆ  

มีความเป็นไปได้ว่า  เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นและจีน อ่านมาถึงบรรทัดนี้  ภายใน 1 สัปดาห์ อาจรีบแย่งกันประกาศว่า "ยินดีจะสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ประเทศไทยแบบฟรีๆ"   โดยสายที่เหมาะในการสร้างนำร่องก็คือ "สายตะวันออก" (กรุงเทพ-ระยอง)  เพราะ ผ่านเข้าไปยังพื้นที่ที่เจริญมากอยู่แล้ว  และ เส้นทางสั้นลงทุนไม่มากนักราว 1 แสนล้านบาท  โดยเส้นทางสายนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็สนใจในการลงทุนอยู่แล้ว เพราะ เชี่ยวชาญในการรบริหารจัดการพื้นที่ของสถานีรถไฟเป็นอย่างดี  หากได้แบ่งผลประโยชน์จากพื้นที่รอบสถานีสำคัญๆ  ในเส้นทางสายนี้ย่อมจะมองเห็นว่าคุ้มค่าการลงทุนเป็นแน่   และ เมื่อญี่ปุ่นสร้างให้ฟรีๆ 1 เส้นทาง  พวกเราคงไม่แปลกใจเลยแม้แต่น้อยหาก จีน จะขอสร้าง "สายอีสาน" (กทม.-หนองคาย)  ให้ไทยฟรีๆ บ้าง  เพื่อคานอำนาจและอิทธิพลของญี่ปุ่น

นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่า  "ไท้เก๊กโมเดล"  คือ การยืมพลัง เงินทุนและเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของ มหาอำนาจในเอเชีย ซึ่งก็คือ จีน และ ญี่ปุ่น  มาสร้างให้ประเทศยากจนในอินโดจีนแบบฟรีๆ  โดยได้ผลประโยชน์แบบครึ่งๆ ของที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงเป็นผลตอบแทน  แม้ระยะสั้นอาจดูไม่คุ้ม  แต่ระะยาวๆ แล้วน่าจะคุ้มค่าแน่นอน และ เรื่องนี้ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศระยะยาวแบบคานอำนาจกันอีกด้วย  

แล้ว "ไท้เก๊กโมเดล" จะมีประโยชน์อะไรกับประเทศไทย ??   ผมคิดว่ารถไฟความเร็วสูง ควรมี 5 เส้นทาง ตามนี้
1. เส้นทางเชื่อมมหาสมุทร (ทวาย-กทม.-ขอนแก่น-สะหวันเขต-ดานัง)  นี่จะเป็น land bridge ขนาดใหญ่มากของภูมิภาคอินโดจีนนี้  ทำให้การนำเข้า-ส่งออก  ไปได้ทั้งมหาสมุทรอินเดีย และ แปซิฟิก  โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู  ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของทั้งไทยและภูมิภาคลดลงได้มาก  ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวได้มาก  
2. เส้นทางเชื่อมจีน ( กทม.-ขอนแก่น-หนองคาย-คุนหมิง) 
3. เส้นทางเชื่อมแหลมมลายู ( กทม.-ปาร์ดังเบซาร์-กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์)  หรือ สายใต้
4. สายเหนือ (กทม.-เชียงใหม่) 
5. เส้นทางอาคเนย์   (กทม.-ระยอง-นครวัด-พนมเปญ-โฮจิมินห์)
เมื่อรวมทุกเส้นทางแล้วเฉพาะในประเทศไทยราว 3 พันกิโลเมตร  ต้นทุนราวกม.ละ 500 ล้านบาท  หมายถึง ไทยอาจจะได้มาฟรีๆ โดยไม่ต้องลงทุนเลยแม้แต่น้อย  จึงประหยัดเงินลงทุนไปได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

ก็คงต้องปิดท้ายด้วยคำถามที่ว่า "ถ้าได้รถไฟความเร็วสูงมาฟรีๆ แล้ว ท่านผู้อำนาจจะยอมให้มีได้ไหม หรือว่าต้องรอให้ถนนลูกรังหมดไปก่อนละครับ ??"  











วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิกฤคิไก่งวง : ควงสว่านขาลง

ทำไมจึงชื่อว่า "วิกฤติไก่งวง" (Turkey Crisis)  เพราะ ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นจะมาจากประเทศตุรกี ซึ่งคิดว่ามีปัญหามากที่สุดใน 50 ประเทศใหญ่ของโลก  จากค่า Ruang Alarm (ผลบวกของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP 3 ปีเข้าด้วยกัน)  ที่ใช้วัดการเสียสมดุลของความพอเพียงย่ำแย่กว่าระดับ -20%  ซึ่งมีความเสี่ยงระดับสูงมาก  และเป็นระดับเดียวกันกับประเทศไทยก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งเสียด้วย

ทำไมจึงเรียกว่า "ควงสว่านขาลง"  (Downward Spiral)  ก็เพราะ ผมเชื่อว่าปัญหาจะขยายวงกว้างขึ้น  โดยเชื้อร้ายนี้จะเริ่มต้นจากอ่อนตัวของค่าเงิน  ตลาดบอนด์ และ ตลาดหุ้น  จากนั้นก็ขยายวงไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงของตุรกี ไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆอีกไม่น้อย  เพราะ มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจในจุดที่คล้ายกัน  เช่น แอฟริกาใต้ ซึ่งขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในทวีปแอฟริกา   ประเทศบราซิล ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในทวีปอเมริกาใต้   แต่ประเทศทีไทยควรใส่ใจให้มากก็คือ "อินโดนีเซีย" ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการรวมตัวกันเป็น AEC ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้น

การที่ค่าเงิน Lira เริ่มอ่อนลงหลังจากแนวโน้มแข็งค่ามาถึง 4 เดือนนั้น จะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่น แม้ว่าจะมีส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเทียบกับอเมริกาจะสูงถึง 8% ก็ตาม  แต่ค่าเงินกลับอ่อนลงได้ 4% ภายในสัปดาห์เดียว  จนมีการขายทั้งบอนด์ และ หุ้นออกมา  เมื่อราคาสินทรัพย์ตกลง  ก็ยิ่งสร้างไม่เชือมั่น  เพราะ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดหนักอยู่แล้ว  เมื่อเงินทุนไหลออกมากขึ้น  ก็ยิ่งกดดันค่าเงินให้อ่อนลงได้อีกมาก  (ผมคาดว่าค่าเงินอาจอ่อนลงได้ถึง 20%)  จากนั้น  ปัญหาก็เริ่มเข้าสู่ "เศรษฐกิจจริง"  โดยบริษัทต่างๆ จะมีสภาพคล่องที่ลดลงมาก  จนถึงขั้นไม่สามารถชำระหนี้ได้ ล้มละลาย  เป็นปัญหา NPL ให้กับสถาบันการเงินอีก   เศรษฐกิจจึงเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง   ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้  คนไทยคงรู้จักกันดีในนามของ "วิกฤติต้มยำกุ้ง"  

เมื่อมีปัญหาของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินเช่นนี้ สุดท้ายแล้วก็จบด้วย วิกฤติเศรษฐกิจ  โดยได้เกิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เช่น วิกฤติเตกีล่าในเม็กซิโก   วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย  วิกฤติอาร์เจนติน่าปี 2000   วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐอเมริกา และ วิกฤติ PIIGS ในยูโรโซน  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีต้นเหตุมาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง  รวมไปถึงการใช้ค่าเงินที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น  ไม่ได้เกิดจาก นโยบายประชานิยม หรือ นโยบายการคลังขาดดุลแต่อย่างใด    ตอนนี้ตุรกีมีการเติบ่โตที่ดีถึง 4.3% ต่อปีสำหรับไตรมาสแรกที่ผ่านมา  แต่อาจเกิด "วิกฤติไก่งวง"  จนการเติบโตเข้าสู่ภาวะติดลบได้อย่างรวดเร็ว

หากประเมินว่า ค่าเงิน Lira ของตุรกี  ค่าเงิน Rand ของแอฟริกาใต้  ค่าเงิน Real ของบราซิล และ ค่าเงินรูเปี๊ยะของอินโดนีเซีย  รวมไปถึง ดัชนีตลาดหุ้น เป็นดัชนีชี้นำถึงสัญญาณอันตรายของ  พายุ "วิกฤติไก่งวง" แล้วละก็  ผมคิดว่า พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย.นี้แล้ว  การติดตามพัฒนาการว่าจะรุนแรงขึ้นไปถึงไต้ฝุ่นระดับ 5 หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง  และ  ประเทศไทยควรเตรียมการรับมือแต่เนิ่นๆ ไว้ก่อนหรือไม่นั้น  ท่านผู้มีอำนาจควรเริ่มคิดวางแผนได้แล้ว  ข้อเสนอของผมก็คือ "ยุทธศาสตร์888"  อาจช่วยพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ครับ


วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เลือกตั้งเร็วขึ้น 1 ปีจะดีกว่าไหม ??

จากแผนโรดแมปของ คสช.นั้น  การเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นได้ราว 1 ปี 3 เดือนหลังจากนี้ไป  โดยจะต้องมีการรักษาความสงบก่อน 3 เดือน จากนั้นมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อเดินหน้าการปฏิรูปราว 1 ปี  แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง

ปัญหาก็คือ "การยอมรับจากต่างชาติ" เนื่องจาก กระบวนการที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งยุโรป อเมริกา และ ออสเตรเลีย ประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทหารลงแล้ว  มีถึง 67 ประเทศที่ได้เตือนมาท่องเที่ยวประเทศไทย  ส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลงไปถึง 33% หลังช่วงการรัฐประหารไม่นานนัก  บางทีการมีอีกแผนโรดแมปที่เดินหน้าได้เร็วกว่า  ได้ประชาธิปไตยที่เร็วกว่าเดิม อาจเป็นเรื่องที่ดีกว่าสำหรับประเทศไทยก็ได้

ปัญหาของระบบรัฐสภาเดิมของไทยก็คือ ฝ่ายค้านมีกำลังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งฝ่ายรัฐบาลได้ ทั้งในสภาฯ และ คณะรัฐมนตรี  แม้จะเห็นว่ามีหลายเรื่องที่ทำไม่ถูกต้องก็ตาม  เพราะ สมการคณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ ก็คือ จำนวนมือของ สส.ฝ่ายค้านนั้นไม่เพียงพอนั่นเอง   และ ทำให้ประชาชนคนไทยสับสนว่า สส.นั้นย่อมาจาก "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"  หรือ  "สมาชิกสภาผู้แทนนายทุนพรรค"  กันแน่

แต่ ประชาธิปไตยไท้เก๊ก (หรือประชาธิปไตยยืมพลัง) จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ไปได้  โดยฝ่ายค้านจะมีอำนาจในการขอทำ "ประชามติ" ได้ โดย กกต.เป็นผู้จัดทำ  จะสามารถแก้ไขได้หลายๆ เรื่อง
1. พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง :  หากยืมพลังจากประชามติ  ก็เชื่อว่าเรื่องแบบนี้น่าจะไม่ผ่าน สภาฯ ล่างมาได้อย่างแน่นอน
2. นโยบายจำนำข้าว :  หากยืมพลังจากประชามติ  ก็เชื่อว่า จะสามารถหยุดยั้งนโยบายที่เปิดช่องให้ทุจริตมหาศาลนี้ได้ตั้งแต่แรกๆ แล้ว
3. ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี :  หากยืมพลังจากประชามติ  ก็สามารถไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีบางคนได้แน่

หากมีการลงสัตยาบันโดย หัวหน้าพรรค และ กรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ยอมรับว่า "ประชามติ" ถือเป็นสูงสุดและต้องปฏิบัติตามนั้น  อำนาจอธิปไตยซึ่งเคยใช้ผ่าน  สภาฯ และ รัฐบาล  ย้อนกลับไปยังประชาชนโดยตรงอีกครั้ง   ซึ่งก็จะช่วยได้มาก  ประชาชนไม่ต้องออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนกันอีกต่อไป   เพราะมีเครื่องมือที่จะใช้ "หยุด" สส.ฝ่ายรัฐบาล และ นโยบายบางเรื่องที่สร้างความเสียหายได้

นอกจากนี้ การทำ "ประชามติ" ไปพร้อมกับการหย่อนบัตรเลือกตั้ง  จะทำให้สามารถปฏิรูปไปได้อย่างเร็ว เพราะ สส.ใหม่ที่เข้ามานั้น จะมีหน้าที่โหวตตามผลลัพธ์นั้นๆ   ซึ่งจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องรวดเร็ว  ภายใน 3 เดือน อาจแก้ไขกฎหมายสำคัญๆ ไปได้หลายฉบับ  การหย่อนบัตรเลือกตั้ง พร้อม "ประชามติเพื่อการปฏฺิรูป" นั้น ประชาชนนกหวีดคงจะไม่ขวางเลือกตั้งอีกแน่  เพราะ จะกลายเป็นการขวางการปฏิรูปไปด้วยในตัว  และ ภายใต้กฎอัยการศึกเช่นนี้น่าจะวางใจได้แน่

หากเดินหน้าตามนี้  ข้อดีก็คือ ประเทศไทยจะได้ประชาธิปไตยเร็วขึ้น 1 ปี   ปฏิรูปเร็วขึ้นครึ่งปี  ทำให้ประชาชนนกหวีดพอใจ  ประชาชนเสื้อแดงพอใจ  และ ต่างชาติก็พอใจด้วย   หาก ดร.ปรีดี พนมยงค์ คือ รัฐบุรุษผู้ปฏิรูปการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ไปสู่  ประชาธิปไตยแบบผู้แทน   ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าระบอบนี้มีปัญหาไม่น้อยสำหรับประเทศไทยในช่วงเวลากว่า 8  ทศวรรษที่ผ่านมา    บางทีท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็อาจเป็น รัฐบุรุษผู้ปฏิรูปการปกครองจาก ระบอบประชาธิปไตยผู้แทน  ไปสู่ "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก"  (หรือประชาธิปไตยยืมพลัง)  ก็เป็นได้  ซึ่งจะทำให้การยึดอำนาจครั้งนี้  ไม่ใช่แค่เพียง รัฐประหารแบบธรรมดาๆ  แต่จะเป็น การปฏิวัติการปกครองไปด้วยเลย

อย่างไรก็ดี  นี่เป็นเพียง อ.ไอเดียข้อเสนอของ คนไทยคนหนึ่งมีที่ อ.อุดมการณ์  ซึ่งรักและเป็นห่วงประเทศชาติ  แต่การจะนำไปใช้ไปปฏิบัติหรือไม่  จะนำไปประยุกต์ต่อยอดหรือไม่นั้น   ก็ต้องขึ้นกับท่านผู้มี อ.อำนาจ นั่นเองละครับ



วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หยุด...เศรษฐศาสตร์ที่ผิดพลาด

เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า  กรอบวิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันไม่สามารถอธิบายและแก้ไขปัญหาของวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีนัก  ผมพบว่าประเด็นปัญหาไม่เพียงแต่เนื้อหาที่ไม่ครอบคลุมเท่านัน แต่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ทำการเรียนการสอนในปัจจุบันนั้น  "ผิดพลาด" อีกด้วย

ทฤษฎีการคลัง : หากทุ่มเงินงบประมาณเข้าไปแล้วจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  โดยสำนักเคนส์บอกว่าจะดีขึ้นมากกว่าเงินที่ใส่เข้าไป หรือค่าตัวทวีมากกว่า 1  ขณะที่สำนักนีโอคลาสิก  บอกว่าจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1   ในทางตรงกันข้ามหากรัดเข็มขัดการคลังก็จะทำให้เศรษฐกิจแย่ลง

อย่างไรก็ดี  สำนักไท้เก๊ก พบว่า ทฤษฎีนี้ไม่จริง.... มีบางกรณีที่รัฐบาลสามารถรัดเข็มขัดการคลังแล้วทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้  และในทางตรงกันข้าม ทุ่มเงินงบประมาณลงไปแต่กลับทำให้เศรษฐกิจแย่ลงได้เช่นกัน  โดยค่าตัวทวีของโครงการประเภทนี้ "ติดลบ"  โดยเฉพาะ การที่ทำธุรกรรมที่รัฐบาลเกี่ยวข้องกับ "กองทุนบำนาญ"

เช่น  หากรัฐบาลเก็บภาษีดอกเบี้ยของ "สินเชื่อไท้เก๊ก" ที่ยอมให้ผู้ประกันตน สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ สมาชิกกบข. สามารถยืมเงินออมตนเองมาหมุนก่อนได้  ก็จะเป็น "การรัดเข็มขัดการคลัง" ขณะที่เศรษฐกิจดีขึ้นได้

ในทางตรงกันข้าม  หากรัฐสนับสนุนให้ส่วนหักลดหย่อนภาษีจำนวนมากแก่ LTF, RMF หมายถึง สนับสนุนให้เกิดการออมมากขึ้น  แม้จะดีในระยะยาวแต่ระยะสั้นจะทำให้เงินหมุนเวียนเพื่อบริโภคลดลง  ในกรณีนี้ รัฐเก็บภาษีได้ลดลง  แทนที่จะทำให้เศรษฐกิจจะดีขึ้นตามทฤษฎี  กลับมีผลในทางตรงกันข้ามทำให้เศรษฐกิจกลับแย่ลงต่างหาก

สรุปตรงนี้ก็คือ ทฤษฎีการคลังที่เขียนไว้ในตำรานั้น "ผิดพลาด" ควรจะต้องมีการแก้ไขโดยด่วน และ แนวคิดใหม่นี้อาจช่วยให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย  สามารถเลือกเดินเส้นทางแบบ "รัดเข็มขัดการคลัง" ไปพร้อมๆ กับทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้

ทฤษฎีการเงิน :  MV = PQ   โดยหากมีการเพิ่มปริมาณเงิน (M)  โดยมีสมมติฐานว่าการหมุนของเงิน (V) ค่าทรงตัว  ดังนั้น  การเพิ่ม M  จึงมีแนวโน้มทำให้ GDP (Q)  และ อัตราเงินเฟ้อ (P)  เพิ่มขึ้น

สำนักไท้เก๊กบอกเลยว่า ทฤษฎีการเงินนี้ผิดพลาด  ตรงที่การกำหนดสมมติฐาน V คงที่นั้นไม่ถูกต้อง ไม่สามารถทำได้  เพราะ การเพิ่ม M นั้น จะทำให้ V ลดลงโดยอัตโนมัติต่างหาก  ขณะที่ PQ จะค่อนข้างทรงตัว   การลดอัตราดอกเบี้ย และ การเพิ่มปริมาณเงิน (M)  จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น (Q เพิ่ม)  ดังนั้น จะเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อ (P) มีแนวโน้มลดลงต่างหาก

การกำหนดนโยบายการเงินแบบ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ... จึงเป็นการทำตามทฤษฎีการเงินเดิม  แต่นั่นคือความผิดพลาด   ผมรอเวลา 3 เดือนเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีใหม่  โดยตุรกีได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย Repo จาก 4.5% เป็น 10%  ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา  ซึ่งนับว่าเป็นการขึ้นอย่างมากและน่าจะมีผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยได้ชัดเจน  ปรากฏว่า อัตราเงินเฟ้อของเดือน ม.ค.ถึง เม.ย. ปี 2557 คือ 7.75%, 7.89%, 8.39% และ 9.38% ตามลำดับ  นั่นแสดงว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยแทนที่จะสกัดเงินเฟ้อ  กลับทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่างหาก  และหมายถึงว่า ทฤษฎีการเงินเดิมนั้น "ผิดพลาด" ขณะที่ ทฤษฎีการเงินไท้เก๊กน่าจะถูกต้อง  โดยกรณีของ อินเดีย  บราซิล ทีขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ก็มีอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเช่นกัน

2 เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก  อาจนับได้ว่าสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ ปรมาจารย์เคนส์ ได้สร้างทฤษฎีการคลัง และ เศรษฐศาสตร์มหภาคขึ้นเมื่อ 84 ปีก่อนเลยทีเดียว   ไม่เพียงแต่ในชั้นมัธยม และ ปริญญาตรีที่มีการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ที่ผิดๆ เท่านั้น   ผู้กำหนดนโยบายของหลายประเทศก็ล้วนเรียนมาจากตำราที่ผิดๆ ด้วยเช่นกัน และมีแนวโน้มจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบผิดๆ นำพาประเทศไปในทิศทางที่ผิดๆ ในที่สุด

ดังนั้น ผมจึงขอเรียกร้องให้หยุดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์แบบเดิมๆ ไว้ก่อนเลย  หากมหาวิทยาลัยใดสนใจที่จะนำ "สำนักไท้เก๊ก" เข้าไปอยู่ในเขตรั้วมหาวิทยาลัย  เพื่อทำการเผยแพร่ความรู้ใหม่นี้ให้แก่นักศึกษา รวมถึง ทำการผลิตตำรา Macro Econ. ไปทั่วโลก  เพื่อเปลี่ยนโลกของเศรษฐศาสตร์เสียใหม่  ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องยิ่งขึ้น  โดยผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับนักศึกษา  มหาวิทยาลัย และ ประเทศไทยเรื่องนี้จึงเป็นการทำเพื่อชาติและเพื่อโลก    ผมยินดีร่วมมือเต็มที่นะครับ

ปล.สำหรับทางออกปลดล็อกการเมืองไทยนั้น .... ผมขอเสนอว่าควรนำแนวคิดแบบ "ไท้เก๊ก" มาประยุกต์ใช้ คือ รวม 2 เรื่องซึ่งไม่น่าเกิดขึ้นพร้อมกันให้มันเกิดขึ้นได้  เช่น  มีปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ยังมีคงมีเลือกตั้งเดือน ก.ค. , ได้โค่นระบอบทักษิณ  แต่ยังคงมีสภาฯ ผู้แทนราษฎร    พรรค ปชป.ลงสู้ศึกเลือกตั้ง แต่ยังมีลุ้นได้จัดตั้งรัฐบาล  เป็นต้น  ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทำได้  ตามบทความ "ปลดล็อก กปปส."  "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งถ้ามุ่งมั่นก็ยังทัน" และ "แต้มต่อที่อยากขอพรรคเพื่อไทย"  เป็นต้น







วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

แต้มต่อที่อยากขอพรรคเพื่อไทย

พวกเราคนไทยก็รู้ๆ กันดีว่า หากมีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย น่าจะมีคะแนนนำอย่างมาก ทิ้งห่างคู่แข่งและชนะเลือกตั้งได้อย่างสบายๆ  แต่นั่นกลับทำให้ การเลือกตั้งดูไม่ตื่นเต้นอะไรเลย   ประเทศไทยก็จะยังคงได้แต่ สส.หน้าเดิมๆ และ รัฐมนตรีหน้าเดิมๆ กลับมา

หากพรรคเพื่อไทยให้แต้มต่อแบบแทนที่จะสู้กันแบบ 1:1 ก็เปลี่ยนเป็น "ฉันขอสู้คนเดียว พวกท่านรุมกันเข้ามาเถิด"  หรือหมายถึง  พรรคเพื่อไทยควรขอท้าแบบ หากได้จำนวน สส.น้อยกว่า พรรคการเมืองทีเหลือรวมกัน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ พรรคเพื่อไทยได้ สส.น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภาฯ แล้ว   จะถือว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบที่จะให้พรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำในการปฏิรูประเทศ  ดังนั้น  ไม่เพียงแต่ตระกูลชินวัตรจะขอเว้นวรรค  แต่พรรคเพื่อไทยทั้งพรรคจะเว้นวรรคทางการเมืองด้วย 1 ปี  เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคคู่แข่งอย่าง ประชาธิปัตย์ ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน

ด้วยวิธีนี้จะมีข้อดีต่อทุกฝ่ายดังนี้คือ

1. พรรคเพื่อไทย : ได้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจลงสู้ศึกเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะได้ สส.ไม่ถึงครึ่งก็ยอมให้พรรค ปชป.เป็นรัฐบาลเพียงแค่ 1 ปี เพื่อทำการปฏิรูประเทศ  ระหว่างนี้จะได้สร้างนโยบายใหม่ๆ ที่โดนใจประชาชน  หลังจากล้มเหลวไม่เป็นท่ากับนโยบายจำนำข้าวทุกเม็ด และ รถยนต์คันแรก ด้วยวิธีนี้ทำให้การเลือกตั้งราบรื่น รักษากฎกติกา และ ประชาธิปไตยไว้ได้

2.พรรคประชาธิปัตย์ : หากเป็นตามรูปแบบเดิม แทบไม่มีโอกาสจะชนะเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลได้เลย  ด้วยวิธีนี้แม้แพ้เลือกตั้ง แต่ก็ยังอาจเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้   ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจลงสู้ในสนามเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น โอกาสได้เป็นรัฐบาลคือ 50-50  ผลงานของการฟื้นเศรษฐกิจ และ การปฏิรูประเทศ  น่าจะมีผลต่อคะแนนนิยมของพรรคนี้ด้วยในอนาคต

3.กปปส.: จะสามารถเข้าช่วยพรรค ปชป. ทำการปฏิรูประเทศได้เลย  เมื่อได้สภาฯใหม่เข้าทำหน้าที่  แทนที่จะมัวท่องประโยค "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" แล้วเดินไปเดินมายังสถานที่ต่างๆ  ผมขอเรียกร้องให้เร่งรีบทำการ "ปฎิรูป" ได้ตั้งแต่วินาทีเลยเพื่อให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง  ไม่ต้องรออะไรอีก โดยแบ่งเป็น

ปฏิรูปต้นน้ำ : ส่วนที่เป็น อ.ไอเดีย  เตรียมจัดทำแบบสอบถาม "ประชามติ" ในเรื่องของการปฏิรูปด้านต่างๆ เช่น โทษของการคอร์รัปชั่น  ที่มาของผู้ว่าฯ  ปฏิรูปภาษีทรัพย์สิน  ปฏิรูปพลังงาน  ปฏิรูปตำรวจ  เป็นต้น

ปฏิรูปกลางน้ำ : ส่วนทีเป็น อ.อำนาจ  คือ วางกรอบอำนาจใหม่ได้เลยว่าจะให้ "ประชามติ"มีผลในเรื่องใดบ้าง โดยผมคิดว่าอย่างน้อยควรมี 4 เรื่องสำคัญ คือ  1.ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี   2.การเพิ่มหรือแก้ไขกฎหมายสำคัญระดับชาติ  (เช่น พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง)  3. การยกเลิกนโยบายที่ส่อแววทุจริตของภาครัฐ (เช่น จำนำข้าวทุกเมล็ด)  4. การตัดสินคดีสำคัญระดับชาติ

ปฏิรูปปลายน้ำ : ส่วนที่เป็น อ.อุดมการณ์  โดยเชิญให้หัวหน้าพรรคการเมือง  องค์กรอิสระ  ทำการลงสัตยาบันว่า "ประชามติ" ถือเป็นที่สุดและมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร  จะทำให้ สส. รวมถึง องค์กรอิสระ จำเป็นต้องทำงานอย่างตรงไปตรงมาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ  ไม่ใช่ ตามใจนายทุนพรรค หรือว่า อำมาตย์

การปฏิรูปทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ นี้สามารถทำเสร็จได้เลยภายใน 1 เดือน  อันที่จริงแล้วหากมุ่งมั่นทำจริงๆ  1 สัปดาห์ก็เสร็จเรียบร้อยได้แล้ว  กปปส.มัวแต่ท่องประโยค "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" แทนที่จะเร่งรีบทำให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์  กลับเรียกประชาชนชุมนุมจนบาดเจ็บล้มตายกันไปมาก  เศรษฐกิจย่ำแย่ตกต่ำกันถึง 26 สัปดาห์ หรือครึ่งปีเข้าไปแล้ว  ยังไม่เห็นผลงานของการปฏิรูปอะไรเลยแม้แต่น้อย  ดังนั้น ควรเร่งรีบปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเดือน กค.ให้เสร็จ พร้อมๆ กับเสนอให้ กกต.จัดทำประชามติ พร้อมกับหย่อนบัตรเลยในวันเลือกตั้ง นั่นจะเป็นผลผูกพันให้ สภาฯใหม่จำเป็นต้องโหวตเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายตามผลของประชามตินั้น

กปปส.ไม่ควรจะต้องขวางการเลือกตั้งอีกต่อไป  หากได้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 3 ส่วน (ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ) ข้างต้น  ผลลัพธ์ก็คือ แม้ว่าอาจจะได้ สส.หน้าเดิม แต่เรื่องราวจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  คือ จาก สส.เดิมที่มีอำนาจ (นิติบัญญัติ) แต่ไร้อุดมการณ์   จะเปลี่ยน สภาพมาเป็น สส.ใหม่ที่ไร้อำนาจ แต่มีอุดมการณ์แทน   เพราะ อำนาจได้ถูกย้ายไปยังประชาชนทั้งประเทศแทนแล้วด้วย "ประชามติ"  และ สส.จำเป็นต้องยกมือโหวตตามเสียงประชาชนส่วนใหญ่ นั่นคือ อุดมการณ์ของการเป็นผู้แทนราษฎรนั่นเอง  นี่จึงเป็นการโค่นทั้งระบอบทักษิณ และ ระบอบอำมาตย์ ไปในคราวเดียวกัน

และนี่การผสมผสานระหว่าง ประชาธิปไตยทางตรง และ ทางอ้อม  เรียกว่า "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" หากทำตามนี้ได้จริง ทุกฝ่ายก็ได้จะได้บรรลุเป้าหมายหลัก  ขณะที่ประชาชนคนไทยทั้งชาติก็จะสนุกตื่นเต้นไปกับการเลือกตั้ง  และทำตามรหัสปลดล็อก "กปปส." ได้ คือ  ยึดมั่น ก.กฎกติกา  รักษา ป.ประชาธิปไตย  เดินหน้า ป.ปฏิรูป และ กลับสู่ ส.สันติภาพ

นี่ไม่เพียงเป็นข้อเสนอ แต่จะเป็นเป็นบทพิสูจน์ด้วยว่า  ที่รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์บอกว่าไม่ยึดติดอำนาจ  พร้อมยอมเสียสละให้ชาติเดินหน้าได้  แต่จะต้องรักษากฎกิตกา และ ประชาธิปไตยนั้นจริงหรือไม่  นี่นับเป็นโอกาสทองแล้วที่จะได้เดินหน้าสู่ทางออกของประเทศชาติ   ด้วยการประกาศให้ "แต้มต่อ" ผ่านสื่อทีวีได้เลย  แม้จะต้องใช้ความกล้าหาญ ความเสียสละอยู่ไม่น้อยแต่ผลตอบแทนก็อาจคุ้มค่า  เพราะขณะนี้ต่างชาติกำลังจับจ้องว่า  ประเทศไทยจะหาทางปลดล็อกการเมืองอย่างไร ให้เกิดสันติภาพ  ขณะเดียวกันก็ยังรักษากฎกติกาประชาธิปไตยได้  รวมถึง เดินหน้าปฏิรูปได้ด้วยนั้น  "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" นับได้ว่าเป็นทางออกหนึ่งที่มีรหัสปลดล็อกครบทั้ง 4 ตัว (กปปส.)    ไม่แน่ว่าต่างชาติอาจพิจารณามอบรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพให้แก่คุณยิ่งลักษณ์ก็ได้   อาจเรียกได้ว่าเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้เลย

ขอร้องให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาข้อเสนอนี้  โดยอาจนำไปปรับปรุงต่อยอด เพื่อเป็นทางออกที่ดีให้กับชาติบ้านเมืองต่อไปครับ




วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง... ถ้ามุ่งมั่นก็ยังทัน

หลังการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินการเลือกตั้งวันที่ 2 กพ.เป็นโมฆะ  พรรคการเมืองต่างๆ ได้เรียกร้องให้ กกต.จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน  อย่างไรก็ดี  กปปส.ต้องการให้มีปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง  บทความนี้ชี้ประเด็นว่า  น่าจะทำ่มให้ทั้ง 2 ข้อเรียกร้องนี้ไปด้วยกันได้แบบชนะทั้งคู่

โดยน่าจะสามารถเริมการปฏิรูปได้เลยตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ และ ปลายน้ำ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ปฏิรูปในส่วนที่เป็น อ.ไอเดีย  อ.อำนาจ และ อ.อุดมการณ์ ได้เลย  โดยยังไม่ต้องรอสภาฯ ใหม่ และ รัฐบาลใหม่

1.ปฏิรูปต้นน้ำ ส่วนที่เป็น อ.ไอเดีย    กปปส. คปท.และ พรรค ปชป.ได้จัดทำพิมพ์เขียวปฏิรูประเทศไทยมาบ้างแล้ว  นำมาดูได้เลยว่าจะจัดทำ "ประชามติ" ในเรื่องสำคัญใดบ้าง เช่น  บทลงโทษคอร์รัปชั่น  ที่มาของผู้ว่าฯ   ตำรวจควรขึ้นต่อจังหวัดหรือไม่  ควรจัดเก็บภาษีทรัพย์สินไหม  เป็นต้น  เตรียมพร้อมในการจัดทำแบบสอบถามได้เลย   ควรทำ "ประชามติ" ไปพร้อมๆ กับการเลือกตั้งครั้งใหม่

2.ปฏิรูปกลางน้ำ ส่วนที่เป็น อ.อำนาจ   กำหนดกรอบไปเลยว่า ประชาชนสามารถมีอำนาจอธิปไตยในเรื่องใดบ้าง  เช่น
อำนาจนิติบัญญัติ  หากเป็นกฎหมายสำคัญระดับประเทศต้องผ่านประชามติก่อน  และ การตัดสินไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีก็ใช้ ประชามติ  เช่นกัน
อำนาจบริหาร  : ประชาชนสามารถเลือกนายกฯ ได้โดยตรง  และ หากนโยบายเปิดช่องทุจริต  การลงประชามติสามารถหยุดยั้งนโยบายเหล่านั้นได้เลย
อำนาจตุลาการ : หากเป็นคดีสำคัญระดับชาติ  ให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้ตัดสิน

3. ปฏิรูปปลายน้ำ  ส่วนที่เป็น อ.อุดมการณ์   โดยให้หัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค  องค์กรอิสระ  มาลงสัตยาบันรับรองว่า "ประชามติ" ถือเป็นที่สุด  มีผลผูกพันต่อทุกองค์กร  ซึ่งจำเป็นต้องโหวต และ ปฏิบัติหน้าที่ตามผลของ "ประชามติ" นั้นๆ    นี่จึงเป็นทำหน้าที่ตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่  ไม่ใช่ ตามใจนายทุนพรรค หรือ อำมาตย์

เมื่อสามารถทำการปฏิรูป 3 เรื่องนี้ได้สำเร็จก่อนเลือกตั้ง  หากมุ่งมั่นก็น่าจะใช้เวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง  จะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง  นอกจากจะโค่นระบอบทักษิณ (หรือธนาธิปไตย) แล้ว ยังโค่นระบอบสุเทพ (หรืออมาตยาธิปไตย)  ไปได้ด้วยในคราวเดียว   อำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งจะย้ายไปอยู่ในมือประชาชน  จากที่เคยอยู่กับ สภาผู้แทนฯ  คณะรัฐมนตรี และ ตุลาการ

แนวคิดนี้จะชนะทั้ง 2 ฝ่ายขณะเดียวกันก็แพ้ทั้ง 2 ฝ่ายด้วย  เพื่อเป็นการเดินหน้าประเทศไทย  ด้วยรหัสปลดล็อก "กปปส." คือ  ยึดมั่น ก.กฎกติกา   รักษา ป.ประชาธิปไตย   เดินหน้า ป.ปฏิรูป  และ คืนสู่ ส.สันติภาพ   ประเทศชาติจะได้เดินหน้าทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ได้ต่อเสียที

"ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" จึงเป็นการยืมพลัง "ประชามติ" มาเพื่อกำหนดทิศทางของประเทศ  สำหรับ ม็อบนกหวีดคนเสื้อเหลือง  จะสามารถโค่นระบอบทักษิณ และ ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งได้   สำหรับ  พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง  ด้วยแนวคิดนี้จะสามารถโค่นระบอบอำมาตย์ได้  จัดเลือกตั้งได้ราบลื่น  เปิดสภาฯ ได้เร็ว  สำหรับคนเสื้อขาว นี่คือ การสานฝันของ ดร.ปรีดี พนามยงค์  บิดาแห่งประชาธิปไตย  ปฏิรูปต่อยอดประชาธิปไตยไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง หลังจาากต้องอยู่ภายใต้ระบอบธนาธิปไตย และ อมาตยาธิปไตย มายาวนานถึง 82 ปี  

ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาในเรื่องนี้ และ รีบเร่งปฏิรูปการเลือกตั้งได้อย่างเร็ว  และ จัดโครงสร้างอำนาจเพื่อพร้อมเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงครับ

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฟองสบู่ซ่อนอยู่ที่ไหน ??

บทความนี้จะกล่าวถึง "ฟองสบู่" ตลาดหุ้นที่ถูกซ่อนอยู่  โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสนใจนัก  แต่อาจก่อปัญหายิ่งใหญ่ให้กับโลกในอนาคตอันใกล้ได้

ตลาดหุันอเมริกา S&P500  แม้จะดูไม่แพงนัก P/E 17 เท่า  แต่ว่า ดัชนีหุ้นเล็กอย่าง Russell2000 ซึ่งประกอบไปด้วยหุ้นเล็ก 2 พันตัว แต่มีขนาดของมูลค่าตลาดเพียง 12% ของ S&P500 นั้น มี P/E สูงถึง 50 เท่า  ตลาดหุ้นอเมริกาได้มองโลกในแง่ดีปั่นหุ้นเล็กๆ ขึ้นมาถึง 3 เท่าตัวจากระดับต่ำสุดในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์   ขณะที่กำไรวิ่งตามไม่ทัน ค่า P/E ปัจจุบันนั้นจึงสูงมาก  เป็นฟองสบู่พร้อมแตก ราคาหุ้นพร้อมจะลงได้ครึ่งหนึ่ง

ในทวีปอเมริกาอย่าง สหรัฐฯ และ แคนาดา  นั้น P/E อยู่ระหว่าง 17-19 เท่าตัว  อย่างไรก็ดีมีฟองสบู่ซ่อนอยู่เหมือนกัน   โดยในตลาดหุ้นอเมริกาใต้นั้น  ตลาดหุ้นบราซิล  แม้จะมีค่า P/E 18 เท่าระดับเดียวกัน  แต่ความแตกต่างอยู่ตรงนี้   ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี (หรือดอกเบี้ยระยะยาว) ของบราซิลยืนที่ 13% หมายถึง การคาดหวังผลตอบแทนในตลาดหุ้นจะตกราว 16% ต่อปี (รวมค่า premium อีก 3%)  ค่า P/E ที่เหมาะสมของตลาดหุ้นนั้นควรอยู่ราว 7 เท่าตัวเอง  แค่ดัชนี IBovespa  นั้นมีกลับค่านี้สูงถึง 18 เท่าตัว  ราคาหุ้นพร้อมดิ่งลงได้อีกมาก    เหตุการณ์เช่นนี้ก็เช่นเดียวกับตลาดหุ้นโคลัมเบีย เช่นเดียวกัน

แล้วแวะมาดูที่ตลาดหุ้นยุโรปกันบ้าง  แม้ตลาดขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ ตลาดหุ้นเยอรมัน  อังกฤษ และ ฝรั่งเศส  จะอยู่ที่ราว 17-18 เท่า  ไม่นับว่าแพงนักเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย  แต่ตลาดหุ้นในกลุ่ม PIIGS หลายตลาดนั้นแพงมากๆ  เช่น ตลาดหุ้นอิตาลี  โปรตุเกส  นั้นผลกำไรทั้งตลาดอยู่ระดับติดลบ คือ ไม่มี P/E  นอกจากนี้  ตลาดหุ้นไอร์แลนด์นั้น P/E สูงถึง 61 เท่าตัว  เป็นฟองสบู่พร้อมแตก 

นอกจากนี้ในทวีปแอฟริกา  อย่างแอฟริกาใต้ ซึ่งมี bond yield 10 ปีที่ 8.4% อาจหมายถึง ผลตอบแทนคาดหวังจากตลาดหุ้นราว 11.4%  ค่า P/E ที่เหมาะสมควรจะอยู่ราว 9 เท่าตัว  อย่างไรก็ดี ค่า P/E ปัจจุบันยืนสูงถึง 18 เท่าตัวสำหรับ ดัชนี TOP40  ของแอฟริกาใต้  ตลาดหุ้นพร้อมตกลงได้อย่างแรง

สำหรับทวีปเอเชียดูบ้าง  แม้จะตลาดขนาดใหญ่อย่าง ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง จะดูเหมือนไม่แพงนัก อยู่ระดับปกติ  แต่ตลาดหุ้นอย่างอินโดนีเซีย มีค่า P/E ถึง 22 เท่า  ทั้งที่ bond yield 10 ปีที่ 8%  P/E ที่เหมาะสมควรอยู่ราว 9 เท่าตัว เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินเดียวซึ่งมี P/E 17เท่า  ก็ไม่แตกต่างกันนัก  ดังนั้นตลาดหุ้นอย่างอินเดีย  อินโดนีเซีย  ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงมากนั้น  ราคาหุ้นพร้อมจะตกลงได้อย่างแรงเช่นกัน 

และสุดท้ายสำหรับประเทศไทยเอง  แม้ SET index จะไม่แพงมากนัก  ระดับ P/E 15 เท่าซึ่งดูเหมาะสม  แต่สำหรับ ดัชนีตลาด MAI กลับสูงถึง 38 เท่าตัว  ซึ่งอันตรายมากๆ ราคาหุ้นเกินพื้นฐาน  เป็นฟองสบู่พร้อมแตก

สรุปก็คือ มีฟองสบู่ตลาดหุ้นที่ซ่อนอยู่เกือบทุกจุดในโลก   โดยเฉพาะในตลาดหุ้นขนาดเล็ก  ปัญหาก็คือ นักวิเคราะห์ไม่ได้ใส่ใจในประเด็นเหล่านี้นัก  หากฟองสบู่เหล่านี้แตกตัวลงพร้อมๆ กัน  นั่นอาจสิ่งที่พึงจะระวังให้ดี เพราะ อาจส่อปัญหาใหญ่ต่อเศรษฐกิจโลกได้นะครับ  

ข้อมูล : Bloomberg




วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

เหนือ จีน ยูเครนกับตุรกี ยังมีประเทศไทย

ขณะที่จีนมีปัญหาการเมืองในการต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย  ที่ก่อเหตุแทงคนจำนวนมากเสียชีวิตราว 34 คนที่สถานีคุนหมิง โดยกลุ่มอุยกูร์แบ่งแยกดินแดนมณฑลซินเจียง

ยูเครนก็มีปัญหาการเมืองที่คล้ายกับไทย คือ ประชาชนแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนยุโรป และ อเมริกา  ส่วนอีกฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย   เรื่องราวเริ่มหนักหนาจนถึงขั้นรัสเซีย ส่งทหารเข้าไปยึดพื้นที่คาบสมุทรไครเมีย  และอาจมีการลงประชามติ เพื่อขอแบ่งแยกดินแดนนั้นจากยูเครนกลับไปสู่รัสเซีย

ส่วนในตุรกีนั้นก็มีปัญหาคอร์รัปชั่น ที่เกี่ยวข้องกับลูกๆ ของรัฐมนตรีหลายคน และมีคลิปเสียงที่ดูเหมือนเป็นปัญหาที่ว่า นายกฯ เออร์โดกัน ได้คุยกับ ลูกชายให้ซ่อนเงินจำนวนมากไว้  ซึ่งนี่เป็นปัญหาคอร์รัปชั่นนั่นเอง

แต่ละประเทศมี 1 ปัญหา แต่ประเทศไทยมีถึง 3 เด้ง คือ รวม 3 ปัญหานี้ไว้ด้วยกันทั้งหมด  คือ มีทั้งปัญหาคอร์รัปชั่น  ปัญหาก่อการร้าย รวมไปถึง ปัญหาการแตกแยกประชาชนเป็น 2 ฝ่าย จนถึงขั้นข่าวลือแบ่งแยกดินแดน  แล้วอย่างนี้จะเหนือกว่า 3 ประเทศข้างต้นได้อย่างไร ??   มี 2 ประเด็นหลักอยู่ตรงนี้ครับ

1. เศรษฐกิจไทยไม่ได้มีสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ

ขณะที่ประเทศจีนนั้น มีการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกของบริษัทในตลาดฯ  ชื่อ Chaori Solar ซึ่งเป็นบริษัทผลิตแผงพลังแสงอาทิตย์  และ ยังอาจมีอีกหลายบริษัทที่ขาดทุน และ หนี้สินต่อทุนสูง เช่น Tianwei Baobian Electric และ Sinovel Wind  ซึ่งล้วนเป็นบริษัทที่ทำด้านพลังงานทดแทน ทั้งลมและแสงอาทิตย์  ซึงน่าจะมีอนาคตดี  แต่กลับมีกำลังผลิตส่วนเกินมาก และ หนี้สินสูง  นี่อาจนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ "วิกฤติหมูหัน"  โดยจีนมี "ธนาคารเงา" หรือ shadow-banking ที่เป็นบริษัททรัสต์ และ ผลิตภัณฑ์กองทุนบริหารความมั่งคั่ง รวมกันสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์  ซึ่งอาจเป็นปัญหาหนี้เสียในอนาคตอันใกล้ได้   โดยปัญหาเกิดจากการลงทุนที่มากเกินไป (overinvestment) ฟองสบู่อาจแตกก็เป็นได้  โดยดัชนีหุ้น CSI300 ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้นนั้นได้ลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี   และ ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคล่าสุดก็ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงเร็วมาก

ขณะที่ประเทศยูเครน มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ย่ำแย่อย่างหนักต่อเนื่อง  เมื่อบวก 3 ปีของค่านี้เข้าด้วยกันแล้วได้สัญญาณเตือนภัย Ruang Alarm ที่ -20.0  ซึ่งอยู่ในระดับเสี่ยงต่อวิกฤติเศรษฐกิจสูงมาก   ประเทศตุรกี ก็เช่นเดียวกัน  เศรษฐกิจมีการเติบโตดี แต่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง โดยเฉพาะการนำเข้าพลังงาน  มีค่า Ruang Alarm ที่ -23.8  ก็มีความเสี่ยงระดับสูงมากเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า "เมฆดำ" เค้าลางแห่งวิกฤติเศรษฐกิจได้ปกคลุม 2 ประเทศที่อยู่รอบ "ทะเลดำ" เรียบร้อยแล้ว โดยเชื้อโรคก็เริ่มกระทบไปรอบๆ  ด้านเหนือทะเลดำ คือ "ยูเครน"  ด้านใต้ คือ "ตุรกี" และ ด้านตะวันออกคือ "รัสเซีย"  ที่ค่าเงินและดัชนีหุ้นดิ่งลงอย่างหนัก  เชื่่อได้ว่าปัญหาจะปะทุ "ฟองสบู่แตก"  เป็นวิกฤติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  นับเป็นปัญหาของการลงทุนมากเกินกว่าการออม  ใช้ค่าเงินที่แข็งค่าเกินไป  แข่งขันไม่ได้  ทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติ   โดยเฉพาะทั้ง 2 ประเทศก็มีปัญหาทางการเมืองเป็นปัจจัยคอยซ้ำเติมด้วย   ปัญหาเงินทุนไหลออกน่าจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับ 2 ประเทศนี้  จนอาจเกิดเป็นวิกฤติที่ชื่อว่า "วิกฤติไก่งวง"  (Turkey Crisis)

ขณะที่ประเทศไทยนั้น  สัญญาณ Ruang Alarm อยู่ในระดับปลอดภัยมากๆ  นี่จึงนับได้ว่าเหนือชั้นกว่า

2. ประเทศไทยได้เตรียมทางออกไว้แล้ว

ขณะที่ 3 ประเทศนั้นยังแทบหาทางแก้ไขปัญหาทั้งการเมือง และ เศรษฐกิจไม่เจอเลย  แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีทางออกเตรียมพร้อมไว้แล้ว  จึงนับได้ว่าเหนือชั้นกว่า

- โดยทางออกของปัญหาการเมืองก็คือ "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" และ "รหัสปลดล็อก กปปส." ซึ่งจะเป็นทางออกแบบเสื้อขาว  โดยอำนาจอธิปไตยจะอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง  ใช้การยืมพลังจาก "ประชามติ"  เพื่อโค่นทั้งระบอบทักษิณ และ ระบอบสุเทพ  โดยยังคงรักษากฎกิตกา  เป็นประชาธิปไตย  ได้ปฏฺิรูประเทศ และ นำสันติภาพมาสู่ชาติบ้านเมืองได้

- ส่วนหนทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งอาจถูกรุมเร้าทั้งจากการเมืองในประเทศ  วิกฤติเศรษฐกิจ
โลกทั้งวิกฤติหมูหัน และ วิกฤติไก่งวง  ซึ่งน่าจะกดดันเศรษฐกิจให้เติบโตต่ำมากๆ ไม่เกิน 2%  ดังนั้นหนทางที่เหมาะสม ก็คือ "การคลังไท้เก๊ก" และ "ยุทธศาสตร์888"   ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยเติบโตได้ถึง 8% ในช่วงครึ่งปีหลังได้  โดยการยืมพลังจากกองทุนบำนาญ  ขณะที่หนี้ภาครัฐไม่เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อยนิดนะครับ




วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาธิปไตยไท้เก๊ก

"ประชาธิปไตยไท้เก๊ก"คืออะไร??  เรื่องนี้สรุปสั้นๆ ได้ว่า คือ ประชาธิปไตยแบบที่ ยืมพลัง "ประชามติ"  เพื่อให้อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือประชาชนที่แท้จริง  ไม่ใช่ อยู่ในมือของ นายทุนพรรค หรือ อำมาตย์ หรือว่า ผบ.เหล่าทัพ  ตามระบอบทักษิณ  ระบอบสุเทพ หรือ ระบอบรัฐประหาร

ขณะที่คนเสื้อแดง พยายามสู้เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งแบบเดิมๆ  ได้ สส.หน้าเดิมๆ เป็นไปตาม "ระบอบ ทักษิณ" ที่นายทุนพรรคสามารถสั่งการได้   ขณะที่คนเสื้อเหลือง พยายามโค่นระบอบทักษิณ และใช้ "ระบอบสุเทพ" ที่สภาประชาชนถูกคัดเลือกมาจาก คุณสุเทพและพวก

แนวทางทั้ง 2 นี้ล้วนไม่ใช่คำตอบของชาติ  เพราะว่า จากแบบสำรวจพบว่า คนเสื้อแดงในประเทศมีราว 20% คนเสื้อเหลือง 20% ขณะที่คนอีก 60% ที่เหลือนั้นเป็นคนเสื้อขาว  ดังนั้น การพยายามต่อสู้เพื่อให้ระบอบทักษิณชนะ หรือ ระบอบสุเทพชนะ ก็จะได้รับการสนับสนุนเพียงแค่ 20%  แต่ได้รับการต่อต้านถึง 80%  หรือเป็นอัตราส่วนสนับสนุน : ต่อต้านที่ 2:8  ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติและไม่ใช่คำตอบของชาติ  แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ ทางออกแบบเสื้อเขียวหรือ "ระบอบรัฐประหาร" นี่ยิ่งแล้วใหญ่  คนสนับสนุนน่าจะไม่ถึง 10% ของประชากรด้วยซ้ำ

คำตอบสุดท้าย ซึ่งผมฝันว่าวิญญาณของ อจ.ปรีดี พนมยงค์ ได้ปรบมือชื่นชมยินดีกับแนวคิดนี้เป็นอย่างมากที่ได้สานต่อเจตนารมย์ของท่านในการทำให้ประชาธิปไตยของไทยนั้นกลายเป็น ประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที   หลังจากล้มลุกคลุกคลานมานานถึง 82 ปี   สลับเปลี่ยนมือของอำนาจไปเรื่อยระหว่าง  อำมาตย์ ทหาร และ นายทุนพรรค  ผมคาดหวังว่าแนวคิดนี้จะได้รับการสนับสนุน : ต่อต้านราว 8:2  โดยคนเสื้อขาว+เหลืองอ่อน และ แดงอ่อน  น่าจะสนับสนุนแนวคิดนี้   ซึ่งน่าจะเป็น "ทางออกแบบเสื้อขาว" และเป็นคำตอบสุดท้ายให้กับประเทศชาติได้

แนวคิดนี้ยังคงอิงตามกรอบรัฐธรรมนูญเดิม แต่เพิ่มไปอีก 3 เรื่อง คือ 1.สส.ใหม่จะต้องทำสัตยาบันว่าจะโหวตตามผลประชามติเท่านั้้น ไม่ใช่ตามใจนายทุนพรรค   2.จะมีการทำประชามติทุกๆ 6 เดือนเป็นประจำในเรื่องสำคัญๆ  3. หากมีเรื่องเร่งด่วนและสำคัญมากๆ สามารถจัดทำประชามติได้เลยเร็วที่สุด ดังนั้นหากเป็นเรื่่องไม่สำคัญ สส.ดำเนินการไปได้เลย  นี่จึงเป็นการผสมระหว่าง ประชาธิปไตยทางตรง และ ทางอ้อม เข้าด้วยกัน  เมื่อ สส.ถูกลดบทบาทอำนาจลง  กปปส.ควรเปิดทางให้เลือกตั้งได้ราบรื่นเปิดสภาฯ และจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเร็ว

สิ่งนี้จะดีกว่า "ระบอบทักษิณ" เดิมอย่างไรบ้าง  ลองมาดูกัน 3 เรื่อง

1. พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง : ระบอบทักษิณ จะเห็นว่า สส.ฝ่ายรัฐบาลยกมือกันเต็มสภา  ทั้งๆที่หากใช้ระบอบไท้เก๊ก แล้วด้วยผลประชามติที่ราว 90% ของคนไทยไม่เห็นด้วย  เรื่องแบบนี้ไม่มีทางผ่านสภาผู้แทนฯ มาได้เลย

2. การไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี : ระบอบทักษิณ จะให้การไว้วางใจรัฐมนตรีทุกคนที่ดูเหมือนว่าแม้จะโกงก็ตาม เพราะ จำนวนมือของ สส.ฝ่ายรัฐบาลที่มากกว่านั่นเอง   แต่หากใช้ ระบอบไท้เก๊ก  ด้วยการยืมพลังประชามติ  รัฐมนตรีเหล่านี้มีโอกาสสูงที่จะกระเด็นไปจากเก้าอี้ได้ง่ายๆ

3. นโยบายเสียหายอย่างจำนำข้าว :  ระบอบทักษิณ ยังยื้อนโยบายที่ขาดทุนไปถึง 4 แสนล้านบาทมาได้ยาวนานถึง 4 ฤดูกาลผลิต  หากเป็นระบอบไท้เก๊ก  ด้วยประชามติที่ประชาชนราาว 80% คัดค้านเสียแล้ว  ก็คงขัดขวางนโยบายแบบนี้ได้ตั้งแต่ฤดูแรกแล้ว  เสียหายเพียง 1 แสนล้านบาท  ประหยัดงบความเสียหายจากการทุจริตไปได้ถึง 3 แสนล้านบาท

จาก 3 เรื่องข้างต้น  คงจะเห็นแล้วว่า "ระบอบไท้เก๊ก" นั้นดีกว่า "ระบอบทักษิณ" อย่างไร  นี่เป็นการลดบทบาทอำนาจของ สส.ลงนั่นเอง (เสื้อเหลืองมีเฮ)  ขณะที่ก็น่าจะลดบทบาทและอำนาจขององค์กรอิสระลงด้วย (เสื้อแดงมีเฮ)  ดังนั้น เป็นไปได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนทั้งจากคนเสื้อขาว  เสื้อเหลืองอ่อน และ แดงอ่อน อย่างท่วมท้นถึง 80% ของประชากรกันเลยทีเดียว  และ ส่วนการปฏฺิรูปใดๆ ก็ให้ผ่านเสียง "ประชามติ" แล้วโหวตกันในสภาฯ ตามผลลัพธ์นั้นๆ  เรื่องก็จะเดินไปเร็วมาก

ขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ท้า กำนันสุเทพ ให้ลองมาทำ "ประชามติ" กันดูไหมว่า คนไทยจะเอา สภาฯ ผู้แทนตามระบอบทักษิณ หรือว่า สภาประชาชนตามระบอบสุเทพ  กันแน่  กำนันสุเทพผู้กล้าหาญกลับไม่กล้าพอที่จะรับคำท้านี้  แต่ผมขอท้ากลับไปทั้ง 2 ฝ่ายเลยว่า เพิ่มตัวเลือก สภาไท้เก๊ก ตามระบอบไท้เก๊ก เข้าไปด้วยได้หรือไม่??  จัดทำไปพร้อมๆ กับ การเลือกตั้ง สว.ทั่วประเทศได้เลย  งบฯที่ใช้คงเพิ่มน้อยมาก ผมเชื่อว่าระบอบใหม่หรือ "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" นี้จะชนะด้วยผล "ประชามติ" แน่และ การชนะนี้จะหมายถึงเป็นการชนะของประเทศไทยในการหาทางออกแบบสันติวิธีไปด้วย

สุดท้ายหากเรื่องนี้สามารถพัฒนาต่อยอดจนเป็นทางออกการเมืองของไทยได้แล้ว  คงต้องยกเครดิตความดีงามนี้ให้แก่ ท่านจางซานฟง  ปรมาจารย์มวยไท้เก๊ก  มหาบุรุษผู้ค้นพบว่า ทางออกไม่ได้มีแค่ 2 ทางแบบ "นิ่งคือนิ่ง" และ "เคลื่อนคือเคลื่อน" เท่านั้น  แต่ยังมี "เคลื่อนคือนิ่ง" และ "นิ่งคือเคลื่อน" อีกด้วยรวมเป็น 4 ทางด้วยกัน  และ "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" ก็คือ การประยุกต์มาจากแนวทางนี้นั่นเอง




วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

จากม็อบ "กปปส." สู่ รหัสปลดล็อก "กปปส."

กปปส.นั้นย่อมาจาก "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"  นำโดยกำนันสุเทพ และเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลรักษาการอยู่ ณ ตอนนี้นั้น  ช่างเป็นความบังเอิญเหลือเกินที่ "กปปส."นั่นเอง ที่เป็นรหัสจะนำไปสู่การปลดล็อกการเมืองประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ก.: กฎกติกา  ในเมื่อ กปปส.เรียกร้องให้รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ "ลาออก" แต่เนื่องจากทำไม่ได้เพราะ ขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น   ทางเลี่ยงที่พอจะทำได้ตามกฎกติกาก็คือ "ชินวัตรควรยอมถอยเพื่อชาติ"   คุณยิ่งลักษณ์ควรประกาศ "เว้นวรรคทางการเมือง" เพื่อแลกกับ การที่ลุงกำนันสุเทพจะไม่ขัดขวางเลือกตั้ง  ไม่ปิดล้อมสถานที่ราชการ และ ยุติการชุมนุม   นี่จะเป็นการแลกกันแบบคุ้มๆ  เป็นการลงจากอำนาจ แบบเป็นไปตาม "กฎกติกา"  

ป : ประชาธิปไตย   มองจากมุมของรัฐบาลรักษาการ  การเลือกตั้งจะนำไปสู่ "ประชาธิปไตยตามหลักสากล"  อย่งไรก็ดี  สส.ในประเทศไทยนั้นจะสวมหมวก 2 ใบ คือ ใบหนึ่งคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนหมวกอีกใบหนึ่ง เป็นลูกจ้างของนายทุนพรรค  ดังนั้นนี่อาจเรียกได้ว่าเป็น "ระบอบทักษิณ" นั่นเอง

แต่หากมองจากมุมของ กปปส. ก็พบว่า  การจัดตั้งสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน โดยคัดเลือกจากคนกลุ่มเดียวที่มีคุณสุเทพเป็นผู้นำนั้น  แม้จะอ้างว่านี่คือ "ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์"  ความจริงแล้วมันคือ "ระบอบสุเทพ" นั่นเอง  

สำหรับคนเสื้อขาว ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นจะไม่ชอบใจทั้ง "ระบอบทักษิณ" และ "ระบอบสุเทพ" ดังนั้น ผมได้ทุ่มเทสติปัญญาเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยไท้เก๊ก" (คำแปล: สุดยอดประชาธิปไตย)  ซึ่งสิ่งนี้ก็คือ การนำเอาอำนาจที่แท้จริงกลับสู่มือประชาชนคนไทยทั้งประเทศ  ส่วน สส.มีอำนาจตามรูปแบบเท่านั้น  โดยอำนาจของ สส.3 เรื่องหลัก คือ 1.เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมาย 2.เลือกนายกฯ และ 3.ไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี    จะให้อำนาจ 3 เรื่องหลักนี้เป็นไปตาม "ประชามติ" หรือนี่คือประชาธิปไตยแบบทางตรง  ผ่านประชามติ  เพื่อให้อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริงนั่นเอง  สส.มีหน้าที่ยกมือโหวตตามผลของ "ประชามติ" เท่านั้น  ไม่ใช่ตามใจนายทุนพรรรค  นี่คือ ข่าวดีสำหรับคนเสื้อเหลือง เพราะเป็นการ "โค่นระบอบทักษิณ" และ เป็นข่าวดีสำหรับคนเสื้อแดง เพราะ เป็นการ "สกัดระบอบสุเทพ"  

ป: ปฏิรูป  ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการเป็นฝ่ายปฏิรูปประเทศไทย  อย่างไรก็ดี  จะให้มาคุยเจรจาร่วมมือกันเพื่อปฏิรูปนั้นก็คงจะยากเย็น  ผมขอเสนอแนวทางแบบ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ  ซึ่งจะทำให้เกิดการบูรณาการของการปฏิรูปได้ในทุกภาคส่วน

ต้นน้ำ  คือ ส่วนที่เป็น อ.ไอเดีย   โดยให้ฝ่าย กปปส.และ พรรคประชาธิปัตย์ที่บอกว่ามีไอเดียในการปฏิรูปมากมาย  จัดการประชุมมาหลายครั้งคงมีเรื่องดีๆ อยู่เต็มหัวแน่นอน  จัดทำแบบสอบถามเพื่อเตรียมทำประชามติทั่วประเทศ  ในการแก้ไขปัญหากฎหมายสำคัญๆ หลายเรื่องได้เลย  

กลางน้ำ คือ อ.อุดมการณ์  ซึ่งจะส่งมอบอุดรการณ์ในการทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่  ด้วยการทำ "ประชามติ"  โดยประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปกฎหมายนั่นเอง

ปลายน้ำ คือ อ.อำนาจ  โดย สส.ใหม่ที่เข้ามาซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากพรรคเพื่อไทยนั้น จะมีอำนาจในการยกมือโหวต (ตามผลประชามติ)  เพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายคอร์รัปชั่น   กฎหมายผู้ว่าฯ   ปฏิรูปตำรวจ  และอื่นๆ  

ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงมีส่วนร่วมในการ "ปฏิรูปประเทศไทย"  โดยเป็นลักษณะของ ต้นน้ำ-กลางน้ำ และ ปลายน้ำ  ซึ่งหากทำดีๆ กระบวนการทั้งหมดนี้อาจทำให้สำเร็จได้อย่างเร็วภายในเวลา 6 เดือนเท่านั้นเอง

และสุดท้าย คือ ส.สันติภาพ   ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการนำพาประเทศให้ลดความขัดแย้งไปได้ นำไปสู่สันติภาพ  ให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้  เศรษฐกิจก็จะเริ่มฟิ้นตัว
ด้วยรหัส 4 ตัว กปปส. หรือ กฎกติกา  ประชาธิปไตย  ปฏิรูป และ สันติภาพ นี้เอง  น่าจะนำทางให้ประเทศสามารถแก้ไขวิกฤติการเมืองความขัดแย้งกับ กปปส.ได้  แม้ผลลัพธ์ที่ออกมาแต่ละฝ่ายจะไม่ได้ที่ตนเองต้องการทั้งหมด  แต่ก็สามารถบรรลุเป้าหมายหลักๆ ของแต่ละฝ่ายไปได้สำหรับพรรคเพื่อไทยคือ   มีการเลือกตั้งราบรื่น จัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว    สำหรับ กปปส. คือ สามารถโค่นระบอบทักษิณได้ และ ปฏิรูปประเทศได้   สำหรับคนไทยก็คือ กลับคืนสู่สันติภาพ และ เศรษฐกิจเดินหน้าได้  

ผมขอร้องให้แต่ละฝ่ายได้โปรดพิจารณาแนวคิดเหล่านี้ซึ่งอาจนำไปพัฒนาต่อยอด  เพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ทางออกแบบสันติได้โดยเร็ว   และนำมาซึ่งความสุขความเจริญของประชาชนคนไทยนะครับ  

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยุทธศาสตร์888 : เศรษฐกิจไทยโตได้ 8%


ความจริงแล้ว ผมได้เตรียมยุทธศาสตร์888 นี้ไว้เพื่อโค่นพรรคขนาดยักษ์อย่าง "เพื่อไทย" ที่ได้ทรยศต่อเสียงของประชาชนในกรณี พรบ.นิรโทษกรรม  อย่างไรก็ดี  พรรคใหญ่อีกพรรคที่ไม่ลงต่อสู้ในศึกเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย  ดังนั้น ณ เวลานี้คงไม่ใช่เวลาที่จะคิดช่วยพรรคใด เพราะ การช่วยประเทศไทยต่างหากที่สำคัญ

ยุทธศาสตร์นี้คือ  8 นโยบายทางเศรษฐกิจ  ที่จะทำให้ ศก.ไทยโตได้ 8%  โดยมีขนาดใหญ่กว่านโบบายเดิมของคุณทักษิณ 8 เท่าตัว   แค่อ่านหัวเรื่องเท่านี้ท่านผู้อ่านก็คงคิดว่า "เพ้อเจ้อ" อย่างแน่นอน  แค่สถานการณ์บ้านเมืองปกติก็ยากที่จะทำได้อยู่แล้ว  ตอนนี้สถานการณ์การเมืองแตกแยกขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  ซึ่งกระทบต่อการบริโภค การท่องเที่ยว และ การลงทุนอีกมากมายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

ถ้าคิดว่าผมได้คาดหวังจากการเบิกจ่ายงบโครงสร้างพื้นฐาน พรบ.2 ล้านล้านบาท และ การบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านนะหรือ  นั่นไม่ใช่หรอกครับ  ดูเหมือนว่า2เรื่องนี้อาจจะไม่ง่ายนักเสียแล้ว  หรือหากคิดว่า ผมคาดหวังจากเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวอย่างเร็ว จนการส่งออกรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก  นั่นก็ไม่ใช่เลย

ถ้าหากจะทำให้โจทย์นี้ยากขึ้นอีกด้วยการบอกว่า  นโยบายเหล่านี้จะไม่เพิ่ม "ภาระการคลัง" ให้กับภาครัฐเลยแม้แต่น้อย  นี่จึงนับเป็นโจทย์ที่ยากอย่างยิ่งปีนี้ 8% จะทำได้อย่างไรกัน  เพราะขนาดอัดงบจำนำข้าวไปถึง 6-7 แสนล้านบาท โครงการรถยนต์คันแรกใช้เงินภาษีไปถึง 1 แสนล้าน  เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังเติบโตเพียง 3% เท่านั้นเอง  โจทย์ยากขนาดนี้เชื่อว่า ไม่เพียงแต่นักเศรษฐศาสตร์ของทั้งภาครัฐและเอกชนเท่านั้น  แม้แต่รัฐมนตรีเศรษฐกิจหลายท่านก็คง "งุนงง" อย่างมากว่ามันจะทำได้จริงๆ นะหรือ เราลองมาดูกันครับ  นโยบายทั้ง 8 ที่ว่านี้ก็คืออะไรกันบ้าง

1.สินเชื่อไท้เก๊ก : ด้วยการยอมให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม  สมาชิก กบข. สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ผู้ถือหน่วย RMF LTF สามารถยืมเงินผ่านแบงก์รัฐ  โดยองค์กรที่บริหารเงินบำนาญเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อได้  โดยอัตราดอกเบี้ยก็อาจกำหนดไว้ราว 9% โดย 6% จ่ายให้กับแบงก์รัฐ 2% เป็นเงินภาษีรัฐ และ 1% เป็นค่าค้ำประกัน  ดังนั้น  คาดว่าจะมีผู้ได้ประโยชน์ราว 8 ล้านคน  สร้างสินเชื่อเฉลี่ยหัวละ 8 หมื่นบาท  เป็นเงินถึง 6.4 แสนล้าน ซึ่งวงเงินนี้ใหญ่กว่ากองทุนหมู่บ้านของพรรคไทยรักไทยถึง 8 เท่าตัว   ประชาชนจากเดิมที่เคยผ่อนสินเชื่อเงินด่วนทั้งในและนอกระบบเดือนละ 3% ก็อาจเหลือแค่ 1% ของยอดสินเชื่อ ทำให้ประหยัดไปได้ 24% ต่อปีเป็นเงิน 1.5 แสนล้านบาท  ประเมินค่าตัวทวีที่ 2 เท่าจะเพิ่ม GDP ได้ 3 แสนล้านบาท  และ รัฐบาลได้ภาษีเพิ่ม 1.3 หมื่นล้าน

2. RMF-LTF ไท้เก๊ก : ลดวงเงินการหักลดหย่อนภาษีของเงิน 2 กองนี้ลงมาจาก 5 แสนบาทเหลือแค่ 1 แสนบาทต่อปี  ด้วยวิธีนี้จะทำให้เงินที่เคยไหลเข้าราว 4 หมื่นล้านต่อปีก็จะกลับไปใช้จ่ายแทนที่จะไหลเข้าลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น  ซึ่งจะไปหมุนสร้าง GDP ได้ 8 หมื่นล้านบาท  และ รัฐบาลได้ภาษีเพิ่ม 1 หมื่นล้าน

3.สลากไท้เก๊ก : หลังจากรัฐบาลได้เงินภาษีเพิ่มมาจาก 2 แหล่งข้างต้นเป็นเงินถึง 2.3 หมื่นล้าน ก็นำมาจัดทำเป็น "สลากไท้เก๊ก"  ออกเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2 พันบาท และ เลขท้าย 3 ตัวรางวัลละ 2 หมื่นบาท ทุกเดือนตามเลขท้ายบัตรประชาชนของคนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งราว 48 ล้านคน  นี่จะสร้าง GDP เพิ่ม 5 หมื่นล้านบาท

4.แทนคุณไท้เก๊ก : ในระบบประกันสังคมมีเงินกองทุนเหลือถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท  ขณะที่ผู้ประกันตนนั้นมีหลายคนที่มีภาระให้เงินแก่บิดามารดาทุกเดือน  หาก สปส.จ่ายเงินให้กับบิดามารดาผู้ประกันตนซึ่งอายุเกิน 60 ปีคนละ 1 พันบาททุกเดือน  ก็อาจดูแลได้ถึง 3 ล้านคน  ตกเป็นเงิน 3.6 หมื่นล้านต่อปี ไม่มากเลยแม้เทียบกับเงินกองทุนของระบบประกันสังคม และเรื่องนี้ไม่เป็นภาระการคลังเลยแม้แต่น้อย  แต่หมุน GDP เพิ่มได้ 7 หมื่นล้านบาท

5. เลี้ยงบุตรไท้เก๊ก : เพิ่มอายุจาก 0-6 ปี  กลายเป็น 0-12 ปี  ของผู้ประกันตน  จ่ายเดือนละ 400 บาท  ดังนั้นรัฐไม่ต้องใช้เงินเลย แต่นำเงินจากกองทุนประกันสังคมเพิ่มอีกปีละ 5 พันล้านบาท  จะหมุน GDP ได้ราว 1 หมื่นล้านบาท

6. แทรกแซงไท้เก๊ก : กำหนดให้กองทุนบำนาญทั้งหลายต้องลงทุนในสัญญาซื้อเกษตรล่วงหน้าของประเทศไทยโดยเฉพาะ ข้าว และ ยาง  เป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 5% ของสินทรัพย์  เรื่องนี้จะทำให้เกิดการแทรกแซงสินค้าเกษตรเป็นเงินถึง 2 แสนล้านบาท   ทำให้ข้าว และ ยางมีราคาดีขึ้น  โดยที่กองทุนบำนาญให้เงินลงทุนเพียงเล็กน้อยราว 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น  แต่เพิ่มกำลังซื้อได้ถึง 20 เท่าผ่านตลาดล่วงหน้า  เรื่องนี้น่าจะเพิ่มราคาสินค้าเกษตรได้ไม่ต่ำกว่า 10% ดังนั้นเป็น GDP เพิ่มราว 1 แสนล้านบาท

7. ตลาดหุ้นไท้เก๊ก : กำหนดให้กองทุนบำนาญ (ซึ่งมี 4 ล้านล้านบาท จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 15% ของสินทรัพย์  ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยพยุงตลาดหุ้นได้อย่างดี  อาจมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นได้ถึง 2 แสนล้านบาทในปี 2557 ทดแทนการขายออกของต่างชาติได้อย่างดี   อาจเพิ่ม GDP ได้อีก 1 แสนล้านบาท  

8.ข้าวกล่องไท้เก๊ก : เรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เงินภาครํฐ  แต่เนื่องจาก GDP ที่เพิ่มมา 7 รายการรวมแล้ว 7 แสนล้าน (หรือราว 6% GDP)  รัฐจึงมีรายรับจากภาษีเพิ่มขึ้นราว 1.2 แสนล้านบาท (17% ของ GDP ที่เพิ่ม)  สามารถนำมาทำโครงการนี้ได้สบายๆ คือ การทำข้าวกล่องแจก 8 แปดหมื่นหมู่บ้านๆ ละ 100 กล่องทุกวัน  หรือราวๆ 8 ล้านกล่องทุกวัน  เป็นข้าวแบบพื้นๆ เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวกระเพราไก่ เป็นต้น  โดยอาจแจกให้คนละ 2 กล่องทุกวัน  วิธีนี้จะช่วยคนจนโดยตรงได้ถึง 4 ล้านคนต่อวัน  ชาวบ้านก็จะประหยัดค่าอาหาร 2 กล่องไปได้ราววันละ 50 บาท หรือเดือนละ 1500 บาท  ต้นทุนในการจัดโครงการนี้น่าจะตกราว 5 หมื่นล้านบาทต่อปี  แต่ก็ช่วยลดสต็อกข้าวในโกดังลงไปได้บ้างพอสมควร  จะหมุน GDP ได้ราว 1 แสนล้านบาท

เมื่อรวมทั้ง 8 นโยบายจะเห็นว่าสามารถเพิ่ม GDP ได้ถึง  8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นราว 6.5% GDP และ เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในระดับต่ำๆ ปกติคือ 2% ต่อปีอยู่แล้ว  ดังนั้น  เป้าหมายที่เติบโตสูงได้ถึง 8% ต่อปีจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ยาก  และ ที่สำคัญก็คือ ด้วยนโยบายเหล่านี้หนี้สินภาครัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่บาทเดียวครับ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิกฤติไก่งวง : อย่าห่วงแต่การเมือง

แน่นอนว่าสำหรับประเทศไทยเวลานี้  การเมืองยังคงร้อนระอุ  การเลือกตั้ง 2 กพ.ที่ผ่านไป แม้ไม่มีเรื่องราวปะทะกันมากนัก  แต่ก็ยังมีบางส่วนโดยเฉพาะภาคใต้ที่ไม่สามารถเปิดคูหาให้ลงคะแนนได้  สรุปก็คือมีราว 89.2% ของหน่วยเลือกตั้งที่เปิดให้ลงคะแนนได้  และ 45.8% คือสัดส่วนของประชากรที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง  ปัญหาก็คือ ยังคงต้องมีการเลือกตั้งซ่อมเสริม อีกหลายครั้งเพื่อให้ได้ สส.ครบตามจำนวน  และ เปิดสภา และ เลือกนายกฯ ได้ซึ่งอาจกินเวลาอีกหลายเดือน

อย่างไรก็ดี  ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้  ได้สอดแทรกเข้ามา  "วิกฤติไก่งวง"  คือ ชื่อที่ผมตั้งขึ้นเองครึ่งปีก่อนหน้าวิกฤติจริงนี้  เป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเริ่มต้นจากประเทศ "ตุรกี" (อันดับ 17 ของโลก)   โดยวัดจากระดับสัญญาณเตือนภัย "Ruang Alarm" ที่มีค่าย่ำแย่ที่สุดใน 40 ประเทศใหญ่ของโลก  โดยค่านี้เกิดจากผลรวมของ ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP  3 ปีรวมเข้าด้วยกัน   ตุรกีมีค่านี้อยู่ที่ -22.4%   ซึ่งย่ำแย่พอๆ กับ ไทยในวิกฤติต้มยำกุ้ง (-21.2%)   แม้จะดีกว่า กรีซ (-44%) และ ไซปรัส (-34%) ในช่วงก่อนวิกฤติยูโรอยู่บ้างก็ตาม

แม้อาร์เจนติน่า ดูว่าจะมีปัญหาจากค่าเงินที่อ่อนลงอย่างเร็ว แต่ความจริงแล้วประเทศนี้มีค่าเงินแบบเป็น ทางการ และ ตลาดมืด ซึ่งอยู่ที่ระดับ 8 และ 13 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์ตามลำดับ   "ตลาดมืด" นั้นปกติแล้วสะท้อนอุปสงค์และอุปทานที่แท้จริง  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยหากอัตราเงินเฟ้อที่สูงระดับ 28% ของอาร์เจนตินา จะทำให้ระดับค่าเงินแบบเป็นทางการ  หากมีการผ่อนปรนค่าจำกัดในการซื้อเงินตราต่างประเทศ  จะอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ จากระดับ 8 เปโซไปใกล้เคียงกับ ระดับของ "ตลาดมืด"

ปัญหาของเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จริงๆ จึงอยู่ที่ "ตุรกี" นั่นเอง ที่กังวลต่อการไหลออกของเงินทุน จึงประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย Repo แรงมากจากระดับ 4.5% ไป 10% ซึ่งเป็นระดับที่ช็อกผู้ประกอบการอย่างมาก  เพื่อรักษาเงินทุนไว้ไม่ให้ไหลออก  อย่างไรก็ดี  ประเทศตุรกี ตกอยู่ในสภาพที่ "ฟองสบู่แตก" อันเนื่องจาก กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าในช่วงมาตรการ QE จะเปลี่ยนทิศไหลออกไปอย่างเร็วเมื่อมาถึงการลด QE ลง (อาจเทียบเคียงได้กับ BIBF ของไทยช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง)  และ นักลงทุนก็ไม่เชื่อมั่นอยู่ดีเนื่องจาก ปัญหาเรื่องของคดีคอร์รัปชั่น รวมถึง ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเรื้อรัง   ดัชนีตลาดหุ้น และ ค่าเงิน Lira ยังคงดิ่งลงต่อเนื่อง   โอกาสที่เชื้อโรคนี้จะแพร่กระจายไปยังตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ อย่าง BRICS นั้นมีไม่น้อยเลย และ ประเทศไทยเองย่อมหลีกหนีปัญหานี้ไม่พ้นเช่นกัน

ดังนั้นตอนนี้ไทยเราจึงมีปัญหาทั้ง "วิกฤติม็อบนกหวีด" และ "วิกฤติไก่งวง" เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติทับกันอยู่ ต่อจากนี้ผมจะนำเสนอแผนเพื่อสยบทั้ง 2 วิกฤตินี้   โดยผมเริ่มจากข้อเสนอให้รีบเร่งแก้ไขวิกฤติการเมืองไปก่อนเลย  ด้วยแผน "อรหันต์ไท้เก๊ก" ซึ่งมีกุญแจ 3 ดอก ดังนี้

1. นิมนต์ "พระสงฆ์" ชื่อดังของไทย 9 รูปมาเป็น "คนกลาง" เทศนาธรรมถ่ายทอดสด  เพื่อสลายความขัดแย้งรุนแรงของในประเทศไทย

2. "เริ่มต้น" ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง (ซ่อมเสริม) :  อันที่จริง กปปส.ก็ได้เริ่มเดินหน้าไปแล้ว  ด้วยการจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับ "ประชามติ"  เราจะทำ "ประชามติ" กันทั่วประเทศ  เพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายสำคัญๆ ในหลายเรื่อง  อาจถามว่า  โทษของคดีคอร์รัปชั่นควรทำอย่างไร?  ผู้ว่าฯ ควรมาจากการเลือกตั้งไหม? ตำรวจควรขึ้นกับใคร?   สภาประชาชน หรือว่า สภาผู้แทนฯ ดีกว่ากัน?   นี่จะเป็น "ประชาธิปไตยทางตรง" เพราะ สส.ใหม่จะมีหน้าที่แค่ยกมือตามเสียงของ "ประชามติ" เท่านั้น   ไม่ใช่  ยกมือตามคำสั่งนายทุนพรรค  ดังนั้น กปปส.น่าจะพอใจในเรื่องนี้

3.โค่นระบอบทักษิณ :  คุณยิ่งลักษณ์ควรออกมาทำ "ข้อเสนอชินวัตร" โดยสัญญาว่าจะยอมถอยเพื่อชาติ  หมายถึง  "ชินวัตรและญาติ" จะขอเว้นวรรคทางการเมืองตลอดอายุสภาฯ  หาก คุณสุเทพและพวก  ไม่คัดค้านขัดขวางการเลือกตั้ง และ ยอมสลายม็อบนกหวีดไป   การเลือกนายกฯ อาจใช้วิธี "ประชามติ" ว่าจะเลือกจาก สส.ท่านใดดี  แล้วให้ สส.ยกมือโหวตตามนั้น

ขณะที่ทั่วโลกกำลังจับจ้องวิธีการสลายความขัดแย้งของประเทศไทยอยู่นั้น  ก้าวย่างสำคัญของคุณยิ่งลักษณ์นี้  อาจหมายถึง การยอมสละ "อำนาจ" ที่พึงจะได้รับตามระบอบ  เพื่อแลกกับ 2 สิ่งที่สำคัญกว่า คือ "ประชาธิปไตย" และ "สันติภาพ" ของประเทศไทย  ไม่แน่ว่าความหวังของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพก็อาจอยู่ไม่ไกล

ด้วยกุญแจ 3 ดอกนี้   จะเป็นผลดีต่อทั้ง 4 ฝ่าย ดังนี้คือ
1. ชินวัตร : เลือกตั้งราบรื่น  ได้จัดตั้งรัฐบาลเร็ว  ได้แสดงความใจกว้าง และ ได้ลุ้นโนเบลสันติภาพ
2. กปปส. :ได้ "เริ่มต้น" ปฏฺิรูปก่อนเลือกตั้ง (ซ่อมเสริม)  และ ได้โค่นระบอบทักษิณ (ยกแรก)
3. คนไทยและประเทศไทย : ได้ประชาธิปไตยทางตรง  ได้ปฏิรูป   ได้สันติสุขความปรองดองกลับคืนมา
4. โลก : ได้ท่องเที่ยว  ลงทุน และ ค้าขายกับไทยอย่างสบายใจดังเดิม

สำหรับแผนในการรับมือ "วิกฤติไก่งวง" ซึ่งเป็นวิกฤติเศรษฐกิจระดับโลกนั้น ผมมีแผนที่จะได้เขียนในบทความหน้าที่มีชื่อว่า "ยุทธศาสตร์888" ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ 8% โดยหนี้ภาครัฐไม่เพิ่มเลย  แทนที่จะเติบโตราว 3% หรือต่ำกว่าตามที่หลายๆ ฝ่ายได้คาดกันไว้  แน่นอนว่า  นักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งประเทศจะต้องงแน่ๆ  เพราะหลักเศรษฐศาสตร์ธรรมดานั้นจะทำเรื่องแบบนี้ไม่ได้  แต่ "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ทำได้สบายมากครับ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

อรหันต์ไท้เก๊ก : ปลดล็อกการเมืองไทยภาค 2

หลังจากได้นำเสนอแนวความคิด "กุญแจไท้เก๊ก" เพื่อปลดล็อกการเมืองไทยไปแล้ว  ปรากฏว่าคงยังไม่โดนใจทั้ง 2 ฝ่าย  จึงไม่สามารถผ่าทางตันทางการเมืองไปได้  ผมจึงเสี่ยงขอเสนอรอบ 2 มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเพื่อให้โอกาสจะได้รับการตอบรับจากทั้งฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่ในปัจจุบันของรัฐบาลรักษาการ และ กปปส.มีสูงขึ้น

สถานการณ์บ้านเมืองเริ่มมีความรุนแรงยิ่งขึ้น  หลังจากมีระเบิดเกิดขึ้นที่ ถ.บรรทัดทอง และ อนุสาวรีย์ชัยฯ โดยมีคนตาย  และ บาดเจ็บจำนวนมาก  ประเทศจำเป็นต้องเร่งรีบหาทางออกโดยด่วน และ เนื่องจาก "ไท้เก๊ก" คือ แนวคิดที่แตกจากธรรมดา 2 ทางเป็น 4 ทาง  เราจึงอาจพบทางออกได้แบบนี้
โดยเริ่มจาก "คนกลาง" ก่อน แบบธรรมดามี 2 ทาง

1. จากสถาบันวิชาการ : นี่คือ "ฝ่ายบุ๋น" โดยนักวิชาการจากสำนักต่างๆ พยายามเสนอทางออก  อย่างไรก็ดี  ขณะที่รัฐบาลต้องการเลือกตั้ง 2 กพ. และ ปฺฏิรูปหลังเลือกตั้ง   ขณะที่ กปปส.ต้องการเลื่อนเลื่อนตั้งไปโดยต้องมีการปฏฺิรูปก่อน  จึงยังหาคำตอบที่โดนใจทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้   และในปัจจุบันก็มีการแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนจนถึงกับต้องถามกันว่า  นักวิชาการ "สีไหน" จะมาช่วยได้

2. จากสถาบันความมั่นคง : นี่คือ "ฝ่ายบู๊"  หรือ ทหารนั่นเองครับ  เนื่องจากมีอำนาจกำลังทหารอยู่ในมือ จึงมีอำนาจการต่อรองสูง  อาจกล่าวได้ว่ากำลังเล่นบท "ลิโป้"  ในกรณีห้ามทัพ เล่าปี่ กับ อ้วนสุด คือ หากใครล้ำเส้นสร้างความรุนแรงขึ้นก่อน  กองทัพพร้อมจะไปยืนอยู่อีกฝ่าย

3-4 จึงเป็นคนกลางที่ไม่ธรรมดานะครับ
3. สถาบันพระมหากษัตริย์ : เป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงท่านเป็นอย่างสูง  ซึ่งคนไทยรวมไปถึงชาวต่างชาติล้วนซาบซึ้งประทับใจในบทบาท และ พระราชดำรัสในห้วงวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตยุค ตุลาวิปโยค 2516 และ พฤษภาทมิฬ 2535

4. สถาบันศาสนา : อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่า "พุทธศาสนา" คือจุดแข็งของประเทศไทย แต่อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยแทบไม่ได้ใช้จุดแข็งนี้เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองอย่างจริงจังเลย   แนวคิดตรงนี้ข้อเสนอของผมก็คือ "ยืมพลัง" ความดีของศาสนานะครับ   เชิญพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 7 รูป  ผู้นำศาสนาคริสต์ 1 ท่าน  และ ผู้นำศาสนาอิสลาม 1 ท่าน  รวมเป็น 9 ท่าน มาเทศน์ หรือ ให้ข้อคิดกับคนไทยในธรรมะที่่ลดความเกลียดชัง  ลดความรุนแรง  ลดความขัดแย้ง  มีเมตตากรุณาต่อกัน  โดยประโยคสุดท้ายอาจเป็น  "อาตมาขอบิณฑบาตความขัดแย้ง ความรุนแรงในชาติเถอะ"  ประมาณนั้นละครับ

อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลเพียงนี้จะให้สลายม็อบนกหวีดไปง่ายๆ โดยไม่มีอะไรติดมือ และ ไปเลือกตั้งกันวันที่ 2 กพ. นั่นคงไม่ใช่ทางออกที่สมบูรณ์นัก  แนวคิดผ่าทางตันอย่างหนึ่ง คือ "หากเลื่อนเลือกตั้ง 3 เดือน ปฏิรูปเล็กน้อย  แล้วให้ กปปส.สลายม็อบ" แต่ก็ไม่ได้มีรับการตอบรับจากฝ่าย กปปส. ทางที่ดีกว่าก็คือ แนวคิดแบบไท้เก๊ก  ด้วยการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมซึ่งรัฐบาลรักษาการพอใจ และ ทำให้ กปปส.พอใจให้ได้ด้วย  โดยสิ่งที่ กปปส.เรียกร้องนั้นแบ่งเป็น 2 อย่างคือ

1. ปฏิรูปก่อน : รัฐบาลรักษาการควรจัดให้เลย  ด้วยการมอบหมายให้ กปปส. และ พรรค ปชป. เป็นผู้นำในการเดินหน้าปฏิรูปไปเลย  ด้วยการจัดทำรูปแบบสอบถามของ "ประชามติ"  ว่าจะปฏิรูปอะไรบ้าง เช่น  ระดับโทษและอายุความของการคอร์รัปปชั่น   โทษของการซื้อสิทธิขายเสียง   ผู้ว่าฯ ควรมาจากเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง   ควรเก็บภาษีทรัพย์สินไหม  ถ้ากล้าๆ หน่อยก็คือประชาชนจะเอาสภาคนดี (สภาประชาชน) ไหม??  ให้เวลาไปเลย 1-2 เดือน ทำออกมาให้สำเร็จ นี่คือเรื่องสำคัญเพราะ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปนั่นเอง   ผลลัพธ์ของ "ประชามติ" ที่ประชาชนได้ใช้อำนาจของตนเองเลือกแล้วนั้น  จะถูกส่งต่อให้กับ สส.ใหม่ (ส่วนใหญ่น่าจะมาจากพรรคเพื่อไทย)  ซึ่งได้ทำ "สัตยาบัน" ไว้แล้วว่าจะโหวตตามผล "ประชามติ"  แม้จะขัดกับผลประโยชน์ส่วนตนของ สส.ก็ตาม  และนี่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้และ ปฏิรูปในทางที่ดีขึ้นได้

2.โค่นระบอบทักษิณ : รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ควรออกมาทำ "เทียบเชิญชินวัตร" ซึ่งหมายถึง การส่งเทียบเชิญไปยังคนไทยทั้งประเทศให้มาโหวตกัน  ว่าจะเอา (เลือกพรรคเพือไทย) หรือไม่เอา (เลือกพรรคอื่นๆ รวม โหวตโน)  "ระบอบทักษิณ" กันแน่  หากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยกว่าที่เหลือทั้งหมดจะถือว่า "ระบอบทักษิณ" แพ้  ดังนั้น  "ชินวัตรและญาติ" ขอยอมถอยเพื่อชาติ  จะไม่รับตำแหน่งนายกฯ และ รัฐมนตรีใดๆ ตลอดอายุสภาใหม่

ผลลัพธ์การเลือกตั้งครั้งก่อน 2554 พรรคเพื่อไทยได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 47.0%  (คะแนนทั้งหมดรวมโหวตโน)  ขณะที่มีกระแสคนเสื้อแดงอุดมการณ์คงไม่เลือกพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้  ดังนั้น หากประเมินคร่าวๆ  กปปส. น่าจะชนะเป็นต่อราว  3 : 1  โอกาสโค่นระบอบทักษิณในยกแรกก็ไม่ไกลแล้ว  ไปรณรงค์เลือก "โหวตโน" จะมีคุณค่ากว่าการชัตดาวน์ กทม.  มีคุณค่ากว่าการขัดขวางการเลือกตั้ง หรือ ไม่ไปเลือกตั้งเอาเลย  เพราะ 1 คะแนนเสียงที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นจะมีน้ำหนักในการ "โค่นระบอบทักษิณ" ได้ด้วย

ผมเชื่อว่านี่จะเป็น หนทางปลดล็อกการเมืองที่เหมาะสมสำหรับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้การเลือกตั้งเดินหน้าได้อย่างราบรื่น  ซึ่งจะทำให้เกิด win-win-win-win ถึง 4 ฝ่าย

1. รัฐบาลรักษาการได้เลือกตั้งตามแผนเดิม และ พรรคเพื่อไทยยังคงได้อำนาจนิติบัญญัติ และ บริหาร
2. กปปส. จะได้เป็นผู้นำการปฏิรูป และ ยังได้โค่น "ระบอบทักษิณ"  ระดับหนึ่งด้วย
3. คนไทยทั้งชาติได้เลือกตั้งอย่างราบรื่น  สังคมกลับมาสู่สันติภาพ  เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว
4. สำหรับโลกที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย ได้ท่องเที่ยว  ค้าขาย และ ลงทุนกับประเทศไทยได้อย่างสบายใจ  โล่งใจ  โดยเฉพาะในภูมิภาค AEC นี้

ผมขอร้องวิงวอนแทนคนไทยส่วนใหญ่  เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ win-win แต่เป็น win-win-win-win  ขอให้ทั้งรัฐบาลรักษาการ และ กปปส.ได้โปรดพิจารณาข้อเสนอนี้ด้วยครับ