ความจริงแล้ว ผมได้เตรียมยุทธศาสตร์888 นี้ไว้เพื่อโค่นพรรคขนาดยักษ์อย่าง "เพื่อไทย" ที่ได้ทรยศต่อเสียงของประชาชนในกรณี พรบ.นิรโทษกรรม อย่างไรก็ดี พรรคใหญ่อีกพรรคที่ไม่ลงต่อสู้ในศึกเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ณ เวลานี้คงไม่ใช่เวลาที่จะคิดช่วยพรรคใด เพราะ การช่วยประเทศไทยต่างหากที่สำคัญ
ยุทธศาสตร์นี้คือ 8 นโยบายทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ ศก.ไทยโตได้ 8% โดยมีขนาดใหญ่กว่านโบบายเดิมของคุณทักษิณ 8 เท่าตัว แค่อ่านหัวเรื่องเท่านี้ท่านผู้อ่านก็คงคิดว่า "เพ้อเจ้อ" อย่างแน่นอน แค่สถานการณ์บ้านเมืองปกติก็ยากที่จะทำได้อยู่แล้ว
ตอนนี้สถานการณ์การเมืองแตกแยกขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
ซึ่งกระทบต่อการบริโภค การท่องเที่ยว และ
การลงทุนอีกมากมายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
ถ้าคิดว่าผมได้คาดหวังจากการเบิกจ่ายงบโครงสร้างพื้นฐาน
พรบ.2 ล้านล้านบาท และ การบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านนะหรือ
นั่นไม่ใช่หรอกครับ ดูเหมือนว่า2เรื่องนี้อาจจะไม่ง่ายนักเสียแล้ว
หรือหากคิดว่า ผมคาดหวังจากเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวอย่างเร็ว
จนการส่งออกรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก นั่นก็ไม่ใช่เลย
ถ้าหากจะทำให้โจทย์นี้ยากขึ้นอีกด้วยการบอกว่า
นโยบายเหล่านี้จะไม่เพิ่ม "ภาระการคลัง"
ให้กับภาครัฐเลยแม้แต่น้อย นี่จึงนับเป็นโจทย์ที่ยากอย่างยิ่งปีนี้ 8% จะทำได้อย่างไรกัน
เพราะขนาดอัดงบจำนำข้าวไปถึง 6-7 แสนล้านบาท
โครงการรถยนต์คันแรกใช้เงินภาษีไปถึง 1 แสนล้าน
เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังเติบโตเพียง 3% เท่านั้นเอง
โจทย์ยากขนาดนี้เชื่อว่า ไม่เพียงแต่นักเศรษฐศาสตร์ของทั้งภาครัฐและเอกชนเท่านั้น
แม้แต่รัฐมนตรีเศรษฐกิจหลายท่านก็คง "งุนงง"
อย่างมากว่ามันจะทำได้จริงๆ นะหรือ เราลองมาดูกันครับ นโยบายทั้ง 8 ที่ว่านี้ก็คืออะไรกันบ้าง
1.สินเชื่อไท้เก๊ก
: ด้วยการยอมให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สมาชิก กบข.
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ผู้ถือหน่วย RMF LTF สามารถยืมเงินผ่านแบงก์รัฐ
โดยองค์กรที่บริหารเงินบำนาญเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อได้
โดยอัตราดอกเบี้ยก็อาจกำหนดไว้ราว 9% โดย 6% จ่ายให้กับแบงก์รัฐ
2% เป็นเงินภาษีรัฐ และ 1% เป็นค่าค้ำประกัน
ดังนั้น คาดว่าจะมีผู้ได้ประโยชน์ราว 8 ล้านคน
สร้างสินเชื่อเฉลี่ยหัวละ 8 หมื่นบาท เป็นเงินถึง
6.4 แสนล้าน ซึ่งวงเงินนี้ใหญ่กว่ากองทุนหมู่บ้านของพรรคไทยรักไทยถึง 8 เท่าตัว
ประชาชนจากเดิมที่เคยผ่อนสินเชื่อเงินด่วนทั้งในและนอกระบบเดือนละ 3% ก็อาจเหลือแค่
1% ของยอดสินเชื่อ ทำให้ประหยัดไปได้ 24% ต่อปีเป็นเงิน
1.5 แสนล้านบาท ประเมินค่าตัวทวีที่ 2 เท่าจะเพิ่ม
GDP ได้ 3 แสนล้านบาท และ รัฐบาลได้ภาษีเพิ่ม 1.3 หมื่นล้าน
2. RMF-LTF ไท้เก๊ก
: ลดวงเงินการหักลดหย่อนภาษีของเงิน 2 กองนี้ลงมาจาก
5 แสนบาทเหลือแค่ 1 แสนบาทต่อปี
ด้วยวิธีนี้จะทำให้เงินที่เคยไหลเข้าราว 4 หมื่นล้านต่อปีก็จะกลับไปใช้จ่ายแทนที่จะไหลเข้าลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น
ซึ่งจะไปหมุนสร้าง GDP ได้ 8 หมื่นล้านบาท และ รัฐบาลได้ภาษีเพิ่ม 1 หมื่นล้าน
3.สลากไท้เก๊ก
: หลังจากรัฐบาลได้เงินภาษีเพิ่มมาจาก 2 แหล่งข้างต้นเป็นเงินถึง
2.3 หมื่นล้าน ก็นำมาจัดทำเป็น "สลากไท้เก๊ก" ออกเลขท้าย
2 ตัว รางวัลละ 2 พันบาท และ เลขท้าย 3 ตัวรางวัลละ
2 หมื่นบาท
ทุกเดือนตามเลขท้ายบัตรประชาชนของคนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งราว 48 ล้านคน
นี่จะสร้าง GDP เพิ่ม 5 หมื่นล้านบาท
4.แทนคุณไท้เก๊ก
: ในระบบประกันสังคมมีเงินกองทุนเหลือถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท
ขณะที่ผู้ประกันตนนั้นมีหลายคนที่มีภาระให้เงินแก่บิดามารดาทุกเดือน
หาก สปส.จ่ายเงินให้กับบิดามารดาผู้ประกันตนซึ่งอายุเกิน 60 ปีคนละ 1 พันบาททุกเดือน
ก็อาจดูแลได้ถึง 3 ล้านคน ตกเป็นเงิน 3.6 หมื่นล้านต่อปี
ไม่มากเลยแม้เทียบกับเงินกองทุนของระบบประกันสังคม
และเรื่องนี้ไม่เป็นภาระการคลังเลยแม้แต่น้อย แต่หมุน GDP เพิ่มได้
7 หมื่นล้านบาท
5. เลี้ยงบุตรไท้เก๊ก : เพิ่มอายุจาก 0-6 ปี กลายเป็น 0-12 ปี ของผู้ประกันตน จ่ายเดือนละ 400 บาท ดังนั้นรัฐไม่ต้องใช้เงินเลย
แต่นำเงินจากกองทุนประกันสังคมเพิ่มอีกปีละ 5 พันล้านบาท จะหมุน GDP ได้ราว 1 หมื่นล้านบาท
6. แทรกแซงไท้เก๊ก : กำหนดให้กองทุนบำนาญทั้งหลายต้องลงทุนในสัญญาซื้อเกษตรล่วงหน้าของประเทศไทยโดยเฉพาะ
ข้าว และ ยาง เป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 5% ของสินทรัพย์ เรื่องนี้จะทำให้เกิดการแทรกแซงสินค้าเกษตรเป็นเงินถึง
2 แสนล้านบาท ทำให้ข้าว และ
ยางมีราคาดีขึ้น
โดยที่กองทุนบำนาญให้เงินลงทุนเพียงเล็กน้อยราว 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่เพิ่มกำลังซื้อได้ถึง 20 เท่าผ่านตลาดล่วงหน้า เรื่องนี้น่าจะเพิ่มราคาสินค้าเกษตรได้ไม่ต่ำกว่า
10% ดังนั้นเป็น
GDP เพิ่มราว
1 แสนล้านบาท
7. ตลาดหุ้นไท้เก๊ก : กำหนดให้กองทุนบำนาญ
(ซึ่งมี 4 ล้านล้านบาท จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 15% ของสินทรัพย์
ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยพยุงตลาดหุ้นได้อย่างดี อาจมีเงินไหลเข้าตลาดหุ้นได้ถึง 2 แสนล้านบาทในปี 2557 ทดแทนการขายออกของต่างชาติได้อย่างดี อาจเพิ่ม GDP ได้อีก 1 แสนล้านบาท
8.ข้าวกล่องไท้เก๊ก : เรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เงินภาครํฐ แต่เนื่องจาก GDP ที่เพิ่มมา 7 รายการรวมแล้ว 7 แสนล้าน
(หรือราว 6% GDP) รัฐจึงมีรายรับจากภาษีเพิ่มขึ้นราว
1.2 แสนล้านบาท (17% ของ GDP ที่เพิ่ม) สามารถนำมาทำโครงการนี้ได้สบายๆ คือ การทำข้าวกล่องแจก
8 แปดหมื่นหมู่บ้านๆ ละ 100 กล่องทุกวัน
หรือราวๆ 8 ล้านกล่องทุกวัน
เป็นข้าวแบบพื้นๆ เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวกระเพราไก่ เป็นต้น โดยอาจแจกให้คนละ 2 กล่องทุกวัน วิธีนี้จะช่วยคนจนโดยตรงได้ถึง 4 ล้านคนต่อวัน ชาวบ้านก็จะประหยัดค่าอาหาร 2 กล่องไปได้ราววันละ
50 บาท
หรือเดือนละ 1500 บาท
ต้นทุนในการจัดโครงการนี้น่าจะตกราว 5 หมื่นล้านบาทต่อปี
แต่ก็ช่วยลดสต็อกข้าวในโกดังลงไปได้บ้างพอสมควร จะหมุน GDP ได้ราว 1 แสนล้านบาท
เมื่อรวมทั้ง 8 นโยบายจะเห็นว่าสามารถเพิ่ม
GDP ได้ถึง 8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นราว 6.5%
GDP และ เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในระดับต่ำๆ ปกติคือ 2% ต่อปีอยู่แล้ว
ดังนั้น เป้าหมายที่เติบโตสูงได้ถึง 8% ต่อปีจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ยาก
และ ที่สำคัญก็คือ ด้วยนโยบายเหล่านี้หนี้สินภาครัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่บาทเดียวครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น