กับดักเงินด่อง
เงินด่องซึ่งเป็นสกุลเงินของเวียดนามกำลังจะประสบปัญหาครั้งใหญ่แล้วในปี 2011 นี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... ตอบง่ายๆ ก็คือ เวียดนามได้เดินอยู่บนเส้นทางเดียวกับ เม็กซิโก ไทย และอาร์เจนตินา ในอดีต และ ประเทศทั้ง 3 นี้ก็ไม่สามารถจะหลบเลี่ยงวิกฤติค่าเงินมาได้เลย
การผูกค่าเงินด่องกับเงินดอลลาร์ แม้จะมีการลดค่าเงินด่องลงถึง 3 ครั้ง แต่เทียบไม่ได้เลยกับส่วนต่างเงินเฟ้อของประเทศเวียดนามกับอเมริกา โดยเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ธ.ค.53 นั้นสูงถึง 11.75% สูงที่สุดในรอบ 22 เดือน ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เวียดนามอาจขาดดุลการค้าถึง 12 พันล้านเหรียญ สรอ.ในปี 2553 ซึ่งเป็นระดับถึง 12% GDP ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศก็ร่อยหรอลดน้อยลงจนน่ากังวล รัฐวิสาหกิจต่อเรืออย่าง Vinashin ก็เข้าขั้นล้มละลาย ส่งผลให้เวียดนามถูกลดอันดับเครดิตลงอีกด้วย
เมื่อค่าเงินไม่สะท้อนความเป็นจริง จึงเกิดอัตราแลกเปลี่ยนใน "ตลาดมืด" ขึ้น ตามร้านขายทองคำซึ่งกำหนดค่าเงินที่ต่ำกว่าทางการอยู่ประมาณ 10% ประชาชนเวียดนามไม่มั่นใจในค่าเงินด่อง แทนที่จะฝากเงินกับธนาคารได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึง 13-15% ต่อปี กลับเอาเงินนั้นไปซื้อทองคำเก็บเป็นสินทรัพย์แทน
"สัญญาณเตือน 333" (Triple 3 Signal) สัญญาณเตือนก่อนประเทศต่างๆ จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น คือ 1.ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่า 3% GDP 2. การขาดดุลนั้นต่อเนื่องกันนานกว่า 3 ปี และ 3. ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สูงกว่าประเทศอ้างอิงมากกว่า 3% แน่นอนว่า วิกฤติเตกีล่า และ ต้มยำกุ้ง ประเทศเม็กซิโกและไทยก็เข้าประเด็นนี้อย่างเต็มๆ เพราะ การกำหนดค่าเงินให้แข็งค่าเกินระดับเหมาะสมเป็นเวลานาน ทำให้ขาดดุลการค้า และ ขาดดุลเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องหนักหน่วง การลงทุนอยู่สูงกว่าการออมอย่างมาก ประเทศจึงต้องระดมเงินจากต่างประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง เมื่อไปถึงจุดหนึ่งทีทุนสำรองฯ ร่อยหรอจนนำไปสู่ความเชื่อมั่นที่ถดถอยและ การไหลออกของเงินในที่สุด ซึ่งอาจเรียกชื่อได้ว่าเป็น "วิกฤติแห่งความไม่พอเพียง" (Insufficiency Crisis)
สภาพเศรษฐกิจของเวียดนาม เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งมาอย่างเร็ว เข้าโค้งหักศอกบนถนนเปียก ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการขับขี่เป็นอย่างมาก จึงจะรอดพ้นมาได้อย่างปลอดภัย และ สภาพเช่นนั้นในอดีตทั้งเม็กซิโก ไทย และ อาร์เจนตินา ก็พิสูจน์มาแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะผ่าน "โค้งหักศอก" แบบนั้นได้โดยไม่เสียหายหนัก
ประเทศไทยคววรแสดงบทบาทในการประเทศผู้นำด้านการป้องกัน และ แก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญจาก ธปท.ซึ่งมีประสบการณ์สมัย "วิกฤติเงินบาท" เพื่อช่วยเหลือเวียดนามในการผ่อนหนักให้เป็นเบาสำหรับ "วิกฤติเงินด่อง" ในอนาคต ด้วยการถ่ายทอด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" แนะนำให้เวียดนามลดค่าเงินด่องลงอย่างเร็วเท่ากับระดับตลาดมืด คือ ราว 10% จากนั้นก็ต้องพยายามรัดเข็มขัดการคลัง ส่งเสริมการออมผ่านระบบประกันสังคมและเงินบำนาญ รวมทั้งควบคุมสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรต่างๆ
เวียดนามจำเป็นที่จะต้องเติบโตให้ช้าลง เพื่อรักษาสมดุลบัญชีเดินสะพัดให้ได้ จะส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบัน (11.75%)โดยอัตโนมัติ มันแทบไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับเวียดนาม...คือเดินให้ช้าลง หรือว่า วิ่งอย่างเร็วแล้วแหกโค้ง...เท่านั้นเอง
หากค่าเงินด่องอ่อนค่าลง 10% นั่นอาจเป็นภาวะลำบากของชาวนาไทย ที่ต้องแข่งขันขายข้าวกับเวียดนาม แต่หากเวียดนามเกิดวิกฤติเงินด่องขึ้นมาจริงๆ แล้วละก็เงินด่องอาจอ่อนค่าลงได้ถึง 50% และนั่นคือ "นรก" ของชาวนาไทยอย่างแน่นอน เวียดนามอาจจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในการส่งออกข้าวแทนไทย และ ราคาข้าวเป็นดอลลาร์จะตกต่ำลงได้อีกมาก ดังนั้น การเข้าช่วยเหลือเวียดนามของ ธปท.จึงไม่เพียงแต่ช่วยเวียดนามเท่านั้น...แต่ยังเป็นการช่วยเหลือชาวนาไทยให้รอดพ้นจากหายนะอีกด้วย
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
รู้สึกตัวบ้างไหม...เศรษฐกิจไทยขาลง
อยากถามท่านผู้อ่านและผู้บริหารประเทศครับว่า "รู้สึกตัวกันบ้างไหมว่า..ตอนนี้เศรษฐกิจไทยเป็นขาลงแล้ว" แม้ท่านนายกฯ จะได้พูดไปในสถานที่ต่างๆ ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้สดใสมากๆ อาจเติบโตได้ถึง 8% และปีหน้าน่าจะโตได้ 4% สบายๆ ในอดีตยามที่เศรษฐกิจเริ่มเป็น "ขาขึ้น" ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์จะบอกว่าให้ดู GDP แบบเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งก็เป็นหลักมาตรฐานสากลจะเห็นเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเป็น V แล้วตั้งแต่กลางปี 2009 .. แต่ยามเริ่มเป็นขาลงนี่ ท่านกลับมาใช้มาตรฐานแบบไทยๆ เน้นๆ พูดเฉพาะแบบเทียบกับปีก่อน ตัวเลขเทียบกับไตรมาสก่อนนั้นแทบไม่เคยพูดถึงอีกเลย คำตอบอยู่ตรงนี้ครับ GDP ไตรมาส 2 แบบปรับผลตามฤดูกาลแล้วนั้นนั้น -0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ไตรมาส 3 นั้น -0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเช่นกัน เห็นได้ชัดเลยว่าตัวเลขเหล่านี้เลวร้ายกว่า +9.2% และ +6.7% ตามลำดับเมื่อเทียบแบบปีต่อปีชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ (ข้อมูล :NESDB)
ดังนั้นที่แม่ค้าตามตลาดบอกว่า เศรษฐกิจไม่เห็นจะดีเลยนั่นก็เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้องแล้ว เศรษฐกิจไทยตามมาตรฐานสากลเริ่มเข้าสู่ "ขาลง" รอบ 2 ฟอร์มเป็นตัว W แล้วตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เป็นลักษณะการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลงอย่างเร็ว เทียบเคียงได้กับภูมิภาคที่อ่อนแอที่สุดของโลก คือ บริเวณประเทศริมขอบยูโรโซนอย่าง PIIGS กันเลยทีเดียว การที่เศรษฐกิจเติบโตติดลบ 2 ไตรมาสติดกัน นั่นหมายถึง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ดังนั้นไทย และ PIIGS จึงเป็นกลุ่มประเทศแรกๆ ที่เข้าสู่ขาลงรอบ 2 (double dip recession) ก่อนหน้าภูมิภาคอื่นๆ ในโลกซึ่งอาจตามมาติดๆ ในปีหน้า โดยที่พวกเราแทบไม่รู้สึกตัวกันเลย เพราะ ถูกตัวเลขสวยหรูของรัฐบาลหลอกตามาตลอด
หากไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจริง การที่ ธปท.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และ ชะลอเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นความคิดที่ผิด ถ้าหากคิดได้เช่นนี้ ท่านผู้อ่านได้ยกระดับการเป็นกูรูทางเศรษฐกิจที่เหนือชั้นกว่า กนง.ไปแล้ว ทั้งธปท.และ รัฐบาลอาจกำลังเดินหลงทางกันอยู่ โดยเฉพาะเมื่อมองไปในปีหน้าแล้วเห็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกและไทยดังนี้
1.กับดักเงินหยวน : ได้สร้างสภาพคล่องล้นเหลือในประเทศจีน สร้างฟองสบู่อสังหาฯลูกใหญ่มาก ในเขตเมืองใหญ่นั้น ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงถึง 20 เท่าของรายได้ต่อปีของประชากร ขณะที่ตัวเลขนี้ในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 8 และ อเมริกาตอนนี้อยู่ที่ระดับ 5 เท่าเอง จีนหากปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าเร็วขึ้น เพื่อสร้างสมดุลการค้าโลก นั่นอาจเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ อัตราการสำรองเงินของธนาคาร เพื่อชะลอสินเชื่อ รวมทั้งค่าเงินหยวนที่แข็งค่าเร็ว ก็อาจส่งผลให้ฟองสบู่อสังหาฯ แตกเร็วยิ่งขึ้น เพราะ ราคาอสังหาฯ เป็นดอลลาร์นั้นจะแพงขึ้นอีก 10-20% ซึ่งเกินกว่าดีมานด์จะวิ่งตามได้ทัน นั่นอาจทำให้ราคาอสังหาฯ เป็นหยวนดิ่งลงได้ไม่ต่ำกว่า 20% ในปีหน้าตามที่นักวิเคราะห์หลายแห่งคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก และ ตลาดหุ้นทั่วโลกได้มาก เพราะ จีนคือ "หัวรถจักร" สำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกตอนนี้
2.กับดักเงินยูโร : จะสร้างปัญหาอย่างหนักต่อประเทศที่อ่อนแอริมขอบยูโรโซน ซึ่งไม่สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ เพราะ จำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง และ ยังไม่สามารถจะทำมาค้าขายได้ดุลการค้าได้เพราะ ค่าเงินผูกอยู่กับประเทศแข็งแรงอย่างเยอรมนี การที่ ECB พยายามจะยื้อรักษาระบบ Euro ให้เป็นเงินสกุลเดียวต่อไปนั้น จะส่งผลเสียหายอย่างหนักต่อไป การไม่พยายามแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดจะเพิ่มความเสียหายเป็นทวีคูณ ก่อนที่จะมีการแยกค่าเงินเป็น 2 สกุล ก็น่าจะคาดได้ว่าจะเกิดความปั่นป่วนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุล "Euro" ได้อย่างสูงในปีหน้าที่จะถึงนี้
3.กับดักเงินบาท : ธปท.เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการไม่ฟื้นตัวจริงของประเทศพัฒนาแล้ว รวมๆ กับความเสี่ยงจากฟองสบู่แตกในประเทศจีน และ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการในประเทศอย่างเร็ว จะส่งผลให้การส่งออกในปีหน้าเต็มไปด้วยปัญหา โดยอาจเป็นไปได้ว่ามูลค่าส่งออกคิดเป็นเงินบาทน่าจะติดลบด้วยซ้ำไป
4.กับดักการออม : สิ่งอันตรายในปีหน้าก็คือ กอช.หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ (ผมขอเรียกว่า "กับดักการออมแห่งชาติ") นั้น รัฐบาลจะใส่เงินเข้ามาราว 2 หมื่นล้าน และ ให้ประชาชนสมทบเงินราว 3 หมื่นล้าน หากโครงการนี้สำเร็จตามที่คาดจริง อาจจะเป็นหายนะของเศรษฐกิจไทย ทำไมนะหรือ ?? เพราะ เงินของประชาชนนอกระบบนั้นมีระดับการหมุนเงินที่สูงมากอาจถึง 3 เท่าตัว การนำเงินราว 5 หมื่นล้านไปใส่ไว้ในกองทุนโดยเงินไม่หมุนเลยนั้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจมี GDP ลดลงไปถึง 1.5 แสนล้านบาท (ราว 1.5% GDP)
การขัดแย้งจากความมัธยัสถ์ (paradox of thrift) คือ สภาพที่คนกลุ่มหนึ่งประหยัดเงินแล้ว จะไปกระทบรายได้ของคนอีกกลุ่มหนึ่งด้วย ก็วนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปรายได้ลดลงจึงทำให้การออมลดลงไปด้วย ปกติแล้วการขาดดุลการคลังที่ดี โครงการนั้นๆควรมีค่าตัวทวีคูณ (multiplier) สูงกว่า 2 เท่า แต่สำหรับโครงการนี้ ตัวทวีคูณอาจอยู่ที่ระดับ -7.5 เท่า (รัฐใส่เงิน 2 หมื่นล้าน แต่เศรษฐกิจหดตัว 1.5 แสนล้าน) ซึ่งเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับที่นโยบายการคลังที่ดีโดยสิ้นเชิง เวลา 10 ปีเต็มๆ ที่เงินก้อนนี้จะจมกับ กอช.โดยไม่หมุนก็อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงระดับ 30 เท่าของความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ระดับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็น่าจะพอเข้าใจได้ดี เพราะ มีอยู่ในหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคเกือบทุกเล่ม แต่เพราะเหตุใด กูรูด้านเศรษฐกิจ เซียนด้านการเงิน รวมไปถึง คณะรัฐมนตรี และ สส.ผู้ทรงเกียรติในสภา จึงสนับสนุนแนวคิด กอช.อย่างท่วมท้น เหตุผลหลักก็อาจอยู่ที่ว่า พวกเขาสนใจแต่เรื่องของ "แรงกิริยา" โดยใส่ใจกับ "แรงปฏิกิริยา" หรือ "แรงสะท้อนกลับ" น้อยมาก ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็น 1 ในกฎ 3 ข้อของ "เคล็ดวิชาไท้เก๊ก" และ ยังเป็น 1 ใน 3 ของ "กฏนิวตัน" อีกด้วย การสนใจแต่ว่า กอช.จะเป็นสวัสดิการที่ช่วยให้แรงงานนอกระบบที่เกษียณอายุมีเงินใช้จ่ายได้ในอนาคต โดยไม่ได้มองแรงสะท้อนกลับอีกด้านซึ่งหมายถึง การใช้จ่ายและรายได้ที่ลดลงของประชาชนในปัจจุบัน
หากเป็นไปได้ ขอให้วิญญาณของ "เคนส์" ซึ่งเป็นศิษย์พี่ของ ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ แห่งรร.มัธยมอีตั้นชื่อดังก้องโลก ช่วยไปเข้าฝันศิษย์น้องหน่อยเถอะ ช่วยแนะว่าโครงการ กอช.นั้นไม่น่าจะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล แต่มันน่าจะเป็นผลงานชิ้นโบดำเสียมากกว่า ผมจึงขอเรียกร้องให้การพิจารณา พรบ.กอช.วาระต่อไปในสภานั้น โปรดพิจารณาถึงผลดีผลเสียของโครงการนี้อย่างรอบคอบถี่ถ้วน เพื่อป้องกันความเสียหายใหญ่หลวงที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในอนาคต
ตอนนี้ทั้งรัฐบาล และ ธปท.ต่างก็บอกว่า "พวกเรากำลังมาถูกทางแล้ว" แต่ระวังหน่อยนะครับ มันอาจเป็นทางไปสู่หุบเหวก็ได้ และเศรษฐกิจปีหน้าที่คาดกันไว้ว่าจะโต 4% นั่นอาจเป็นได้แค่ฝันกลางวันของคนไทย เพราะ เศรษฐกิจไทยอาจถูก "กับดักเศรษฐกิจ"ทั้ง 4 ตรึงแขนขาทั้ง 4 ข้างเอาไว้จนไม่อาจขยับได้เลยแม้แต่คืบเดียว
ดังนั้นที่แม่ค้าตามตลาดบอกว่า เศรษฐกิจไม่เห็นจะดีเลยนั่นก็เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้องแล้ว เศรษฐกิจไทยตามมาตรฐานสากลเริ่มเข้าสู่ "ขาลง" รอบ 2 ฟอร์มเป็นตัว W แล้วตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เป็นลักษณะการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลงอย่างเร็ว เทียบเคียงได้กับภูมิภาคที่อ่อนแอที่สุดของโลก คือ บริเวณประเทศริมขอบยูโรโซนอย่าง PIIGS กันเลยทีเดียว การที่เศรษฐกิจเติบโตติดลบ 2 ไตรมาสติดกัน นั่นหมายถึง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ดังนั้นไทย และ PIIGS จึงเป็นกลุ่มประเทศแรกๆ ที่เข้าสู่ขาลงรอบ 2 (double dip recession) ก่อนหน้าภูมิภาคอื่นๆ ในโลกซึ่งอาจตามมาติดๆ ในปีหน้า โดยที่พวกเราแทบไม่รู้สึกตัวกันเลย เพราะ ถูกตัวเลขสวยหรูของรัฐบาลหลอกตามาตลอด
หากไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจริง การที่ ธปท.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และ ชะลอเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นความคิดที่ผิด ถ้าหากคิดได้เช่นนี้ ท่านผู้อ่านได้ยกระดับการเป็นกูรูทางเศรษฐกิจที่เหนือชั้นกว่า กนง.ไปแล้ว ทั้งธปท.และ รัฐบาลอาจกำลังเดินหลงทางกันอยู่ โดยเฉพาะเมื่อมองไปในปีหน้าแล้วเห็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกและไทยดังนี้
1.กับดักเงินหยวน : ได้สร้างสภาพคล่องล้นเหลือในประเทศจีน สร้างฟองสบู่อสังหาฯลูกใหญ่มาก ในเขตเมืองใหญ่นั้น ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงถึง 20 เท่าของรายได้ต่อปีของประชากร ขณะที่ตัวเลขนี้ในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 8 และ อเมริกาตอนนี้อยู่ที่ระดับ 5 เท่าเอง จีนหากปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าเร็วขึ้น เพื่อสร้างสมดุลการค้าโลก นั่นอาจเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และ อัตราการสำรองเงินของธนาคาร เพื่อชะลอสินเชื่อ รวมทั้งค่าเงินหยวนที่แข็งค่าเร็ว ก็อาจส่งผลให้ฟองสบู่อสังหาฯ แตกเร็วยิ่งขึ้น เพราะ ราคาอสังหาฯ เป็นดอลลาร์นั้นจะแพงขึ้นอีก 10-20% ซึ่งเกินกว่าดีมานด์จะวิ่งตามได้ทัน นั่นอาจทำให้ราคาอสังหาฯ เป็นหยวนดิ่งลงได้ไม่ต่ำกว่า 20% ในปีหน้าตามที่นักวิเคราะห์หลายแห่งคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก และ ตลาดหุ้นทั่วโลกได้มาก เพราะ จีนคือ "หัวรถจักร" สำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกตอนนี้
2.กับดักเงินยูโร : จะสร้างปัญหาอย่างหนักต่อประเทศที่อ่อนแอริมขอบยูโรโซน ซึ่งไม่สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ เพราะ จำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง และ ยังไม่สามารถจะทำมาค้าขายได้ดุลการค้าได้เพราะ ค่าเงินผูกอยู่กับประเทศแข็งแรงอย่างเยอรมนี การที่ ECB พยายามจะยื้อรักษาระบบ Euro ให้เป็นเงินสกุลเดียวต่อไปนั้น จะส่งผลเสียหายอย่างหนักต่อไป การไม่พยายามแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดจะเพิ่มความเสียหายเป็นทวีคูณ ก่อนที่จะมีการแยกค่าเงินเป็น 2 สกุล ก็น่าจะคาดได้ว่าจะเกิดความปั่นป่วนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุล "Euro" ได้อย่างสูงในปีหน้าที่จะถึงนี้
3.กับดักเงินบาท : ธปท.เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการไม่ฟื้นตัวจริงของประเทศพัฒนาแล้ว รวมๆ กับความเสี่ยงจากฟองสบู่แตกในประเทศจีน และ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการในประเทศอย่างเร็ว จะส่งผลให้การส่งออกในปีหน้าเต็มไปด้วยปัญหา โดยอาจเป็นไปได้ว่ามูลค่าส่งออกคิดเป็นเงินบาทน่าจะติดลบด้วยซ้ำไป
4.กับดักการออม : สิ่งอันตรายในปีหน้าก็คือ กอช.หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ (ผมขอเรียกว่า "กับดักการออมแห่งชาติ") นั้น รัฐบาลจะใส่เงินเข้ามาราว 2 หมื่นล้าน และ ให้ประชาชนสมทบเงินราว 3 หมื่นล้าน หากโครงการนี้สำเร็จตามที่คาดจริง อาจจะเป็นหายนะของเศรษฐกิจไทย ทำไมนะหรือ ?? เพราะ เงินของประชาชนนอกระบบนั้นมีระดับการหมุนเงินที่สูงมากอาจถึง 3 เท่าตัว การนำเงินราว 5 หมื่นล้านไปใส่ไว้ในกองทุนโดยเงินไม่หมุนเลยนั้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจมี GDP ลดลงไปถึง 1.5 แสนล้านบาท (ราว 1.5% GDP)
การขัดแย้งจากความมัธยัสถ์ (paradox of thrift) คือ สภาพที่คนกลุ่มหนึ่งประหยัดเงินแล้ว จะไปกระทบรายได้ของคนอีกกลุ่มหนึ่งด้วย ก็วนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปรายได้ลดลงจึงทำให้การออมลดลงไปด้วย ปกติแล้วการขาดดุลการคลังที่ดี โครงการนั้นๆควรมีค่าตัวทวีคูณ (multiplier) สูงกว่า 2 เท่า แต่สำหรับโครงการนี้ ตัวทวีคูณอาจอยู่ที่ระดับ -7.5 เท่า (รัฐใส่เงิน 2 หมื่นล้าน แต่เศรษฐกิจหดตัว 1.5 แสนล้าน) ซึ่งเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับที่นโยบายการคลังที่ดีโดยสิ้นเชิง เวลา 10 ปีเต็มๆ ที่เงินก้อนนี้จะจมกับ กอช.โดยไม่หมุนก็อาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงระดับ 30 เท่าของความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ระดับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็น่าจะพอเข้าใจได้ดี เพราะ มีอยู่ในหนังสือเศรษฐศาสตร์มหภาคเกือบทุกเล่ม แต่เพราะเหตุใด กูรูด้านเศรษฐกิจ เซียนด้านการเงิน รวมไปถึง คณะรัฐมนตรี และ สส.ผู้ทรงเกียรติในสภา จึงสนับสนุนแนวคิด กอช.อย่างท่วมท้น เหตุผลหลักก็อาจอยู่ที่ว่า พวกเขาสนใจแต่เรื่องของ "แรงกิริยา" โดยใส่ใจกับ "แรงปฏิกิริยา" หรือ "แรงสะท้อนกลับ" น้อยมาก ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็น 1 ในกฎ 3 ข้อของ "เคล็ดวิชาไท้เก๊ก" และ ยังเป็น 1 ใน 3 ของ "กฏนิวตัน" อีกด้วย การสนใจแต่ว่า กอช.จะเป็นสวัสดิการที่ช่วยให้แรงงานนอกระบบที่เกษียณอายุมีเงินใช้จ่ายได้ในอนาคต โดยไม่ได้มองแรงสะท้อนกลับอีกด้านซึ่งหมายถึง การใช้จ่ายและรายได้ที่ลดลงของประชาชนในปัจจุบัน
หากเป็นไปได้ ขอให้วิญญาณของ "เคนส์" ซึ่งเป็นศิษย์พี่ของ ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ แห่งรร.มัธยมอีตั้นชื่อดังก้องโลก ช่วยไปเข้าฝันศิษย์น้องหน่อยเถอะ ช่วยแนะว่าโครงการ กอช.นั้นไม่น่าจะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล แต่มันน่าจะเป็นผลงานชิ้นโบดำเสียมากกว่า ผมจึงขอเรียกร้องให้การพิจารณา พรบ.กอช.วาระต่อไปในสภานั้น โปรดพิจารณาถึงผลดีผลเสียของโครงการนี้อย่างรอบคอบถี่ถ้วน เพื่อป้องกันความเสียหายใหญ่หลวงที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในอนาคต
ตอนนี้ทั้งรัฐบาล และ ธปท.ต่างก็บอกว่า "พวกเรากำลังมาถูกทางแล้ว" แต่ระวังหน่อยนะครับ มันอาจเป็นทางไปสู่หุบเหวก็ได้ และเศรษฐกิจปีหน้าที่คาดกันไว้ว่าจะโต 4% นั่นอาจเป็นได้แค่ฝันกลางวันของคนไทย เพราะ เศรษฐกิจไทยอาจถูก "กับดักเศรษฐกิจ"ทั้ง 4 ตรึงแขนขาทั้ง 4 ข้างเอาไว้จนไม่อาจขยับได้เลยแม้แต่คืบเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)