ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไรกันที่ ตัวแสบอย่าง CDS (Credit Default Swap) หรือ ตราสารอนุพันธ์เพื่อประกันความเสี่ยงจากการเบี้ยวหนี้ จะมาเป็น "ยาถอนพิษ" วิกฤติยูโรรอบนี้ได้อย่างไรกัน ??
หลักการของเรื่องนี้ก็คือ "ใช้พิษสกัดพิษ" ตามแบบจอมยุทธในหนังจีนกำลังภายในนั่นเอง และเป็นวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เร็วมากด้วย โดยพิษจาก CDS ที่ถูกปั่นโดยนักเก็งกำไร ทำให้พันธบัตร 10 ปีของ สเปน และ อิตาลี มี Yield ที่สูงขึ้นมากเกือบ 7% เราจะใช้ CDS เพื่อสกัดพิษของ CDS นั้น
สำหรับการออก "ยูโรบอนด์" นั้น นายกฯ เยอรมันพยายามต่อต้านเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะ ไม่อยากให้ภาระหนี้ทั้งหมดในเขตยูโรโซน มาตกอยู่บนบ่าของ เยอรมัน เป็นหลัก แต่การออก CDS นั้น ผลจะแตกต่างกันไป เพราะ จะได้ผลตอบแทนเป็นเงินกลับคืนมาด้วย
โดยหากยอมให้ประเทศใหญ่ 3 ประเทศในยูโรโซนที่มีเครดิต AAA คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส และ เนเธอร์แลนด์ สามารถขาย CDS เพื่อค้ำประกันพันธบัตรรัฐบาล PIIGS ได้ในราคายุติธรรมกว่าตลาด สำหรับประเทศอิตาลีและสเปน อาจกำหนดไว้ที่ 400 bps หรือ 4% ไว้ก่อน โดยที่ ไอร์แลนด์ และ โปรตุเกส อาจกำหนดไว้ที่ 6% เป็นต้น และอาจกำหนดขั้นสูงของการค้ำประกันไม่เกิน 50% GDP ของประเทศ PIIGS วิธีเช่นนี้จะทำให้ yield ของพันธบัตร PIIGS ลดลงอย่างเร็ว เมื่อตลาดเริ่มสงบแล้ว อาจปรับ CDS ให้ค่อยๆ ลดลง 0.5% ทุกไตรมาส เมื่อเวลาผ่านไปปีครึ่ง CDS ก็อาจลดเหลือแค่ 1% เท่านั้นเอง รัฐบาลเยอรมันจะกลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาด CDS และ เป็นผู้กำหนดความเสี่ยงของพันธบัตรของ PIIGS เอง แทนที่จะปล่อยให้เรื่องนี้อยู่ในมือของนักเก็งกำไร
นั่นหมายถึง เยอรมันค้ำประกันหนี้ก็จริง แต่ยังได้รับผลตอบแทนค่าค้ำประกันกลับคืนมาด้วย หากค้ำประกันพันธบัตรราว 5 แสนล้านยูโรให้กับสเปนและอิตาลี ก็จะได้เงินกลับมาถึง 2 หมื่นล้านยูโรต่อปี หรือ พอๆ กับดอกเบี้ยจ่ายของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันทั้งปีเลยทีเดียว
การทำเช่นนี้จะเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกถึง 5 ตัว
1. สำหรับเยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ จะมีรายได้เข้ารัฐมากขึ้น ทำให้การปฏิรูปการคลังเดินหน้าดี
2. สำหรับประเทศ PIIGS จะมีต้นทุนการออกพันธบัตรลดลงอย่างเร็ว ทำให้รายจ่ายการคลังลดลง รัดเข็มขัดการคลังได้ และ เมื่อความเสี่ยงลดลง สภาพการไหลออกของเงินทุนก็จะดีขึ้นด้วย
3. เป็นการช่วยสถาบันการเงินในภูมิภาค เพราะ หลายแบงก์ได้ยืมเงิน ECB มาลงทุนพันธบัตรอิตาลี และ สเปน เป็นจำนวนมาก และ เกิดการขาดทุนหนักเพราะ การดิ่งลงของราคาพันธบัตร (Yield สูงขึ้นหมายถึง ราคาที่ลดลง) การออก CDS แบบนี้มา จะช่วยให้ yield ลดลง ราคาพันธบัตรดีขึ้น และ อาจกลับมาเป็นกำไรได้
4. เป็นการดัดหลังนักเก็งกำไรไปในตัว เพราะ คนกลุ่มนี้ได้กำไรจาก CDS ที่ราคาวิ่งสูงขึ้นอย่างเร็ว สร้างกำไรหลายเท่าตัวบนความเสียหายของระบบการเงินยูโร การแทรกแซงตลาด CDS โดยภาครัฐจะ ทำให้ตลาดมีเสถียรภาพ และ ไม่ถูกนักเก็งกำไรเล่นงานได้ง่าย
5. เรื่องนี้ไม่ต้องใช้เงินเลยแม้แต่ยูโรเดียว การขาย CDS ออกไปนั้น จะได้เงินเข้ามา แทนที่จะใช้เงินทุนจำนวนมากหลายแสนล้านยูโร หากตั้งกองทุนเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร
ผู้นำยูโรโซนหากอ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างมาก เพราะ นี่คือ วิธีแก้ไขอย่างเร็วและง่าย ในระยะสั้นๆ 1-2 ปีวิธีนี้น่าจะเหมะสม แต่ผมเชื่อว่าในระยะยาวแล้ว การแบ่งเงินยูโรเป็น 3 สกุล ยังน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ยูโรโซนแย่ หากไม่แน่วแน่ แก้ไขในสิ่งผิด
การพยายามเร่งประเทศอ่อนแอให้รัดเข็มขัดปฏิรูปการคลัง รวมไปการอัดฉีดเงินผ่าน EFSF และ ESM เพื่อช่วยเหลือแบงก์ในสเปนก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นแค่การซื้อเวลาเท่านั้น ต้นเหตุที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดเลย สิ่งที่ยูโรโซนจะต้องทำก็คือ "การปฏิรูปเงินยูโร" ต่างหาก
ก่อนอื่นต้องยอมรับเสียก่อนว่า "เงินยูโร" คือต้นเหตุของวิกฤติในยูโรโซน โดยการผูกค่าเงินประเทศแข็งแรงไว้กับประเทศอ่อนแอนั้น จะทำให้ประเทศอ่อนแอ (PIIGS่) มีเศรษฐกิจที่ออกห่างจากจุดดุลยภาพออกไปเรื่อยๆ ยิ่งทิ้งไว้นายยิ่งเป็นปัญหา การผูกค่าเงินโดยหวังให้ค่าเงินมั่นคงมีเสถียรภาพนั้น ในระยะยาวแล้วกลับทำให้เศรษฐกิจเสียดุลยภาพและขาดเสถียภาพต่างหาก ผมตั้งชื่อให้ว่า Paradox of Peg (ความขัดแย้งของการผูกค่าเงิน)
International Fisher Effect คือ ทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศที่ชี้ว่า ในระยะยาวประเทศที่มีเงินอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า (กรีซ) ค่าเงินจะต้องชดเชยลงด้วยการอ่อนลงของค่าเงิน แต่การผูกค่าเงินกับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ (เยอรมัน) เป็นเงินยูโร ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ การใช้เงินยูโรหากเป็นแค่ 2-3 ปีแรกจะไม่มีปัญหาอะไรนัก แต่เมื่อเวลายิ่งผ่านไปเกิน 10 ปี PIIGS จะเสียดุลยภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หากประเมินอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 12 ปีของกรีซอยู่ที่ 3% ขณะที่เยอรมัน 1.5% หมายถึง ข้าวของในกรีซมีราคาสูงขึ้นเร็วกว่าในเยอรมันไปแล้วราว 20% ในช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินของกรีซ ควรจะอ่อนลงด้วยอัตราเดียวกัน ค่าเงินที่เหมาะสมกับกรีซ ควรอ่อนค่ากว่าปัจจุบัน 20% เช่นกัน .... แต่ "ยูโร" เป็นตัวบีบไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นตามทฤษฎีนี้
โดยปกติเมื่อเศรษฐกิจถดถอย ประเทศต่างๆ จะปรับตัว การนำเข้าจะลดลงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเข้าสู่สมดุล หรือ เป็นบวก แต่นั่นไม่ใช่กับประเทศ PIIGS ซึ่งแม้ ศก.จะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว แต่ค่าเงินที่ปรับตัวลดลงไม่ได้ ยังคงผูกกับ "ยูโร" จึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบหนักๆ ต่อไป โดย กรีซ โปรตุเกส สเปน และ อิตาลี ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 9.8% 6.4% 3.5% และ 3.2% ตามลำดับในปี 2011 ซึ่งนั่นหมายถึง แม้ประเทศเหล่านี้พยายามรัดเข็มขัดการคลังจนเศรษฐกิจถดถอย การว่างงานสูงกว่า 20% แล้วก็ตาม PIIGS ยังคงใช้จ่ายเงินเกินตัวอยู่อย่างมาก หนี้สินต่างประเทศยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง นับเป็นเรื่องน่ากังวลมากๆ เพราะ ประเทศเหล่านี้ยังพึ่งพามากขึ้น ยังยืนบนเงินกู้ของประเทศแข็งแรงมากขึ้น แทนที่จะพยายามหาวิธียืนบนขาของตนเองให้ได้
การปล่อยเงินกู้ไม่ว่าจะมาจาก ECB, IMF, EFSF หรือ ESM ก็ตาม ก็เหมือนการใช้ "พลังเงิน" จำนวนมาก เพื่อนำช้อนมาคนน้ำและน้ำมันเข้าด้วยกัน แล้วใช้วาทกรรมว่า "พวกเรายังคงเป็นหนึ่งเดียว" เรื่องแบบนี้คงหลอกคนในยูโรโซนและคนทั่วโลกได้อีกไม่นานนักเป็นแน่
สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การรีบแก้ไขในสิ่งผิด ยอมรับว่า "ยูโร" คือ สิ่งผิดพลาดและเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง ทำให้ PIIGS ใช้เงินเกินตัว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด สร้างหนี้่ต่างประเทศจำนวนมาก มีการปล่อยกู้จนเกิดฟองสบู่แตก ภาครัฐจึงต้องเข้าไปรับหนี้แทนภาคเอกชนด้วยการเพิ่มทุนเข้าไปในแบงก์ พร้อมๆ กับประคองเศรษฐกิจไว้ด้วย การขาดดุลการคลังและหนี้สินภาครัฐจึงพองตัวขึ้น เมื่อความเชื่อมั่นถดถอยลง เงินไหลออกนอกประเทศ ดอกเบี้ยพันธบัตรจึงวิ่งขึ้นสูงลิ่ว เศรษฐกิจก็ถดถอยต่อเนื่อง เมื่อไม่สามารถลดค่าเงินลงได้ ทุกอย่างจึงมืดมิดยิ่งนัก เหมือนเดินเข้าสู่อุโมงค์โดยไม่มีหวังเห็นแสงสว่าง
"การปฏิรูปเงินยูโร" จึงเป็นทางออกสุดท้าย ด้วยการแตกเงินยูโรเป็น 3 สกุล เพื่อรองรับกลุ่มประเทศอ่อนแอ กลางๆ และแข็งแรง โดยอาจใช้ชื่อเป็น Eura Euri และ Euro ซึ่งเป็นแนวทางให้ PIIGS หยุดใช้เงินยูโร โดยใช้เงินที่อ่อนค่าลงเพื่อฟื้นเศรษฐกิจและดึงดุลยภาพกลับมาได้ แต่ประเทศเหล่านี้ยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป โดย ECB ดูแลค่าเงินทั้ง 3 สกุล นอกจากนี้ก็พยามยามชวนประเทศใน EU ที่อยู่นอกยูโรโซนอีก 10 ประเทศ มาเลือกใช้ค่าเงินสกุลร่วมที่เหมาะสม 1 ใน 3 สกุลนั้น ก็จะทำให้ "ยูโรโซน" มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแทนที่จะเล็กลง ผมคิดว่ามีแต่วิธีแบบนี้เท่านั้น จึงจะทำให้ยุโรปกลับมามีเสถียรภาพ มีดุลยภาพ และ มีเอกภาพได้อีกครั้งหนึ่ง
ก่อนอื่นต้องยอมรับเสียก่อนว่า "เงินยูโร" คือต้นเหตุของวิกฤติในยูโรโซน โดยการผูกค่าเงินประเทศแข็งแรงไว้กับประเทศอ่อนแอนั้น จะทำให้ประเทศอ่อนแอ (PIIGS่) มีเศรษฐกิจที่ออกห่างจากจุดดุลยภาพออกไปเรื่อยๆ ยิ่งทิ้งไว้นายยิ่งเป็นปัญหา การผูกค่าเงินโดยหวังให้ค่าเงินมั่นคงมีเสถียรภาพนั้น ในระยะยาวแล้วกลับทำให้เศรษฐกิจเสียดุลยภาพและขาดเสถียภาพต่างหาก ผมตั้งชื่อให้ว่า Paradox of Peg (ความขัดแย้งของการผูกค่าเงิน)
International Fisher Effect คือ ทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศที่ชี้ว่า ในระยะยาวประเทศที่มีเงินอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า (กรีซ) ค่าเงินจะต้องชดเชยลงด้วยการอ่อนลงของค่าเงิน แต่การผูกค่าเงินกับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ (เยอรมัน) เป็นเงินยูโร ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ การใช้เงินยูโรหากเป็นแค่ 2-3 ปีแรกจะไม่มีปัญหาอะไรนัก แต่เมื่อเวลายิ่งผ่านไปเกิน 10 ปี PIIGS จะเสียดุลยภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หากประเมินอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 12 ปีของกรีซอยู่ที่ 3% ขณะที่เยอรมัน 1.5% หมายถึง ข้าวของในกรีซมีราคาสูงขึ้นเร็วกว่าในเยอรมันไปแล้วราว 20% ในช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินของกรีซ ควรจะอ่อนลงด้วยอัตราเดียวกัน ค่าเงินที่เหมาะสมกับกรีซ ควรอ่อนค่ากว่าปัจจุบัน 20% เช่นกัน .... แต่ "ยูโร" เป็นตัวบีบไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นตามทฤษฎีนี้
โดยปกติเมื่อเศรษฐกิจถดถอย ประเทศต่างๆ จะปรับตัว การนำเข้าจะลดลงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเข้าสู่สมดุล หรือ เป็นบวก แต่นั่นไม่ใช่กับประเทศ PIIGS ซึ่งแม้ ศก.จะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว แต่ค่าเงินที่ปรับตัวลดลงไม่ได้ ยังคงผูกกับ "ยูโร" จึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบหนักๆ ต่อไป โดย กรีซ โปรตุเกส สเปน และ อิตาลี ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 9.8% 6.4% 3.5% และ 3.2% ตามลำดับในปี 2011 ซึ่งนั่นหมายถึง แม้ประเทศเหล่านี้พยายามรัดเข็มขัดการคลังจนเศรษฐกิจถดถอย การว่างงานสูงกว่า 20% แล้วก็ตาม PIIGS ยังคงใช้จ่ายเงินเกินตัวอยู่อย่างมาก หนี้สินต่างประเทศยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง นับเป็นเรื่องน่ากังวลมากๆ เพราะ ประเทศเหล่านี้ยังพึ่งพามากขึ้น ยังยืนบนเงินกู้ของประเทศแข็งแรงมากขึ้น แทนที่จะพยายามหาวิธียืนบนขาของตนเองให้ได้
การปล่อยเงินกู้ไม่ว่าจะมาจาก ECB, IMF, EFSF หรือ ESM ก็ตาม ก็เหมือนการใช้ "พลังเงิน" จำนวนมาก เพื่อนำช้อนมาคนน้ำและน้ำมันเข้าด้วยกัน แล้วใช้วาทกรรมว่า "พวกเรายังคงเป็นหนึ่งเดียว" เรื่องแบบนี้คงหลอกคนในยูโรโซนและคนทั่วโลกได้อีกไม่นานนักเป็นแน่
สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การรีบแก้ไขในสิ่งผิด ยอมรับว่า "ยูโร" คือ สิ่งผิดพลาดและเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง ทำให้ PIIGS ใช้เงินเกินตัว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด สร้างหนี้่ต่างประเทศจำนวนมาก มีการปล่อยกู้จนเกิดฟองสบู่แตก ภาครัฐจึงต้องเข้าไปรับหนี้แทนภาคเอกชนด้วยการเพิ่มทุนเข้าไปในแบงก์ พร้อมๆ กับประคองเศรษฐกิจไว้ด้วย การขาดดุลการคลังและหนี้สินภาครัฐจึงพองตัวขึ้น เมื่อความเชื่อมั่นถดถอยลง เงินไหลออกนอกประเทศ ดอกเบี้ยพันธบัตรจึงวิ่งขึ้นสูงลิ่ว เศรษฐกิจก็ถดถอยต่อเนื่อง เมื่อไม่สามารถลดค่าเงินลงได้ ทุกอย่างจึงมืดมิดยิ่งนัก เหมือนเดินเข้าสู่อุโมงค์โดยไม่มีหวังเห็นแสงสว่าง
"การปฏิรูปเงินยูโร" จึงเป็นทางออกสุดท้าย ด้วยการแตกเงินยูโรเป็น 3 สกุล เพื่อรองรับกลุ่มประเทศอ่อนแอ กลางๆ และแข็งแรง โดยอาจใช้ชื่อเป็น Eura Euri และ Euro ซึ่งเป็นแนวทางให้ PIIGS หยุดใช้เงินยูโร โดยใช้เงินที่อ่อนค่าลงเพื่อฟื้นเศรษฐกิจและดึงดุลยภาพกลับมาได้ แต่ประเทศเหล่านี้ยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป โดย ECB ดูแลค่าเงินทั้ง 3 สกุล นอกจากนี้ก็พยามยามชวนประเทศใน EU ที่อยู่นอกยูโรโซนอีก 10 ประเทศ มาเลือกใช้ค่าเงินสกุลร่วมที่เหมาะสม 1 ใน 3 สกุลนั้น ก็จะทำให้ "ยูโรโซน" มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแทนที่จะเล็กลง ผมคิดว่ามีแต่วิธีแบบนี้เท่านั้น จึงจะทำให้ยุโรปกลับมามีเสถียรภาพ มีดุลยภาพ และ มีเอกภาพได้อีกครั้งหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)