ความกังวลได้เริ่มก่อตัวอีกครั้งจากเขตยูโรโซน โดยอาจกล่าวได้ว่า "เงินยูโร" คือ ต้นตอของสรรพปัญหาทั้งปวงในเขตยูโรโซน โดยเริ่มตั้งแต่
1. ปัญหาเศรษฐกิจ : การจำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ โดยประเทสในเขตนี้มีหน้าที่ต้องทำให้การขาดดุลการคลังต่อ GDP ลดลงให้ได้เหลือระดับ 3% เท่านั้น และ สำหรับประเทศลูกหนี้อย่าง PIIGS นั้น การไฟแนนซ์เงินผ่านพันธบัตรรัฐบาล จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก
2.ปัญหาสังคม : เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ก็เกิดว่างงานสูง โดยอัตราว่างงานในสเปน และ กรีซ นั้นสูงระดับ 26-27% ไปแล้ว และ สำหรับคนหนุ่มสาวนั้น อัตราว่างงานสูงระดับ 60% เลยทีเดียว นี่นับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญยิ่งอันหนึ่ง
3.ปัญหาการเมือง : ซึ่งเกิดจากการปะทะกันระหว่างแนวคิด สนับสนุนการรัดเข็มขัดการคลัง เพราะ การมีเงื่อนไข "ยูโร" มาค้ำคอ ทำให้จำเป็นต้องเลือกทางนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ขณะที่ แนวคิดต่อต้านการรัดเข็มขัด เน้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นก็เพื่อดูแลปากท้องประชาชน จึงอาจกล่าวได้ว่า "เงินยูโร" นำไปสู่ปัญหาการเมืองในอิตาลีในที่สุด
การที่ ECB ประกาศว่าจะพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อรักษาระบบยูโรปัจจุบันเอาไว้ จึงเปรียบเหมือนการพูดว่า "จะพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ด้วยการเก็บรักษาต้นตอของปัญหาเอาไว้"...... นี่จึงยังไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องนัก โดยวิธีที่ถูกต้องน่าจะเป็นการยอมรับความผิดพลาดของ "เงินยูโร" และจะจัดการแก้ไขระบบยูโรอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบต่อความเชื่อมั่นของระบบการเงินโลกต่างหาก
วิธีจัดการกับ "เงินยูโร" นั้นมี 4 วิธี ตามแบบฉบับ "วิถีไท้เก๊ก" โดย 2 วิธีแบบสามัญธรรมดา
1. ใช้ระบบเดิมๆไป ไม่ต้องเปลี่ยน : วิธีนี้ก็คือวิธีปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศอ่อนแอ (PIIGS) ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง จำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย เป็นวิธีที่ขาด "ดุลยภาพ" ของระบบเศรษฐกิจ
2. ให้ประเทศอ่อนแอเลิกใช้ "ยูโร" และ กลับไปใช้เงินสกุลเดิม : วิธีนี้ก็อาจไม่เลวนัก น่าจะทำให้ประเทศอย่าง กรีซ ไซปรัส โปรตุเกส กลับมามีสมดุลบัญชีเดินสะพัด และ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ แต่ก็อาจส่งผลให้สูญเสียความเชื่อมั่น และ กระทบไปยังประเทศอื่นๆ ทำให้ขาด "เอกภาพ" ไป
สำหรับวิธีที่ 3 และ 4 นั้น เป็น วิถีไท้เก๊ก ทางหนึ่งคือ แย่กว่าเดิม ส่วนทางที4 คือ คำตอบสุดท้าย
3. ประเทศอื่นๆ เลิกใช้เงินสกุลเดิม เปลี่ยนมาใช้ "ยูโร" กัน : ซึ่งก็มีหลายประเทศในเขตยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ จะปรับเปลี่ยนมาใช้ "เงินยูโร" เพื่อสร้างภาพว่า เงินยูโร มีความมั่นคงสูงมีเสถียรภาพ ในความเป็นจริงแล้ววิธีนี้แย่กว่าเดิมเสียอีก เพราะ แทนที่ดูแลจัดการแค่ 17 ประเทศในยูโรโซน อาจจะต้องยุ่งยากในการจัดการถึงกว่า 20 ประเทศในการแตกตัว เรื่องนี้สะท้อนภาพว่า ชาวยุโรปที่รู้ว่า เงินยูโร คือ ต้นตอแห่งปัญหาทั้งปวงในยูโรโซนนั้นยังมีอยู่น้อย และ อยู่ในวงจำกัดเท่านั้น
4. วิธีนี้น่าจะดีที่สุดก็คือ เลิกใช้เงิน "ยูโร" แล้วเปลี่ยนมาใช้ "ยูโร" : ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าผมเขียนผิดหรือเปล่า ไม่ผิดหรอกครับ ก็ถ้าไม่เป็นเรื่องที่ดูแปลกๆ จะเข้าข่าย "วิถีไท้เก๊ก" หรือครับ ??
หลักการก็คือ แตกเงิน Euro ออกเป็น Euro-A Euro-B และ Euro-C ตามลำดับ ตามสภาพความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ โดย Euro-A คือส่วนใหญ่ในยูโรโซน รวม 11 ประเทศ ขณะที่ Euro-B มี อิตาลี สเปน และ ไอร์แลนด์ และ Euro-C คือกลุ่มประเทศอ่อนแอสุด กรีซ โปรตุเกส และ ไซปรัส การแบ่งก็โดยอิงกับความเสี่ยงของประเทศที่วัดจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ต่ำกว่า 3% ก็คือ Euro-A ระหว่าง 3-6% ก็คือ Euro-B และ เกินกว่า 6% ก็คือ Euro-C
อัตราส่วนในการแตกค่าเงินก็น่าจะเป็นตามสัดส่วน GDP ของแต่ละกลุ่มซึ่งอาจใช้สัดส่วน 70:25:5 ก็น่าจะเหมาะสม โดย Euro-B นั้นอ่อนค่ากว่า Euro-A (ซึ่งเป็นสกุลหลัก) อยู่ 10% และ Euro-C อ่อนค่ากว่า Euro-A 20% และในอนาคตก็ผูกค่าไว้โดยยอมปล่อยให้อ่อนค่าลดทีละน้อย (Crawling Peg) กับ เงินสกุล Euro-A
ด้วยวิธีการนี้จะส่งผลดีใน 4 ประการดังนี้
1. ดุลยภาพ : ประเทศอ่อนแอ (PIIGS และ ไซปรัส) จะสามารถปรับสมดุลบัญชีเดินสะพัดได้ เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว และ ฟื้นการจ้างงานได้ด้วย จากธุรกิจส่งออก ท่องเทียว และ ธุรกิจทดแทนการนำเข้า
2.ภราดรภาพ : จากภาพที่ประเทศลูกหนี้มอง "ยูโร"ว่าเป็นโซ่ตรวนที่ทำให้หมดสิ้นอิสรภาพทั้งการเงินการคลัง อยู่ในความสัมพันธ์แบบรู้สึกตกเป็นทาสของ เยอรมนี ก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากมุมมองของเจ้าหนี้ที่ว่า ประเทศ PIIGS เป็นลูกหนี้ที่ฟุ่มเฟือย ชอบเบี้ยวกฎเกณฑ์ ต้องนำภาษีของชาติและประชาชนมาอุ้มประเทศลูกหนี้เหล่านี้ ก็จะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นมิตรกันมากขึ้น
3.เอกภาพ : เมื่อเงินยูโร แตกออกเป็น 3 สกุล แต่ยังคงใช้ยูโรเหมือนเดิม ทุกประเทศยังคงอยู่ใน "ยูโรโซน" อย่างเป็นเอกภาพ และ ECB ดูแลเงินทั้ง 3 สกุลนี้ โดยน่าจะปรับกฏเกณฑ์ไปด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อสำหรับ Euro-A,B,C นั้นก็อาจเป็นไม่เกิน 3%, 5% และ 7% ตามลำดับ การขาดดุลการคลังต่อ GDP ก็เป็น 3 ระดับโดยไม่เกิน 3% 5% และ 7% ตามลำดับ หนี้ภาครัฐ ต่อ GDP ก็อาจปรับเป็นไม่เกิน 100% 125% และ 150% ตามลำดับ เพราะ กฏเกณฑ์ปัจจุบันแทบไม่มีประเทศไหนทำได้ นั่นแปลได้ว่าเป็นกฎระเบียบที่ล้าสมัยและไม่เหมาะสม เมื่อปรับกฎให้อ่อนลงเช่นนี้ ประเทศต่างๆ ก็สามารถทำตามกฎระเบียบได้โดยไม่ยากลำบากนัก และเกิดเอกภาพในกลุ่มได้
4.ศักยภาพ : ประเทศต่างๆ ในยูโรโซนก็จะกลับมาเติบโตได้ตามศักยภาพ ซึ่งก็น่าจะเป็นระดับต่ำๆ แต่ไม่ถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอยอย่างในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มศักยภาพด้วยการดึงเอา ประเทศใน EU แต่ยังไม่ได้ใช้เงินยูโร เข้ามาร่วมใช้เงิน 1 ใน 3 สกุลนี้ ตามความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจได้ด้วย โดย เดนมาร์ก สวีเดน ก็อาจเข้าร่วม Euro-A อังกฤษ โปแลนด์ ก็อาจเข้าร่วม Euro-B ส่วนตุรกีและยุโรปตะวันออก ก็อาจเข้าร่วม Euro-C เป็นต้น วิธีนี้ก็จะทำให้ในอนาคตขนาดเศรษฐกิจของยูโรโซน จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ ใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกาเสียอีก และ นี่อาจเป็นต้นแบบในการกำหนดค่าเงินสกุลร่วมให้กับภูมิภาคเอเชียได้อีกด้วย
เชื่อได้ว่าหากผู้นำในยูโรโซนได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้น่าจะตื่นเต้นดีใจเป็นอันมาก เพราะ "ยูโรไท้เก๊ก" หรือ การเลิกใช้ "ยูโร" เปลี่ยนมาใช้ "ยูโร" น่าจะเป็น คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาวิกฤติยูโรโซน นั่นเองครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เงินบาทไท้เก๊ก
เงินบาทกลับมาแข็งค่าตั้งแต่ต้นปีอย่างเร็วถึงราว 3% เนื่องมาจากแรงเก็งกำไรของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกับต่างประเทศ เพื่อหวังผลของส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย เรื่องนี้ได้ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความกังวลต่อความสามารถในการแข่งขันเพื่อส่งออก รวมไปถึง ภาวะฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์
เราจะใช้แนวคิด "วิถีไท้เก๊ก" แบบเดิมๆ ก็จะแยกได้เป็น 4 กรณี
1. ธปท.ไม่แทรกแซง และ บาทแข็ง : ซึ่งก็แน่นอน นี่คือ วิธีการในปัจจุบันที่ แบงก์ชาติพยายามแทรกแซงน้อยที่สุด และ ปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าไป จากเงินเก็งกำไรของต่างชาติ
2. ธปท.แทรกแซง และ บาทอ่อน : การแทรกแซงอย่างหนักหน่วง ก็อาจทำให้บาทอ่อนค่าลงได้ แต่ก็เสี่ยงมากๆ ว่าจะสำเร็จหรือไม่ เพราะ การต่อสู้กับเงินทุนมหาศาลจากต่างชาติก็ยากนักที่จะชนะ ที่ทำไปในอดีตก็มากมายแต่ไม่เห็นผล ธปท.มีส่วนทุนลดลงไปอย่างมาก
2 วิธีแรก คือ วิธีการแบบธรรมดาๆ แบบสามัญธรรมดาว่ามันควรจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าหากจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง แทนที่เงินทุนจะไหลเข้าตลาดพันธบัตร ก็อาจไปกระตุ้นให้เงินทุนไหลเข้าในส่วนของสินทรัพย์เสี่ยง อย่าง หุ้น และ อสังหาริมทรัพย์ ให้เกิดฟองสบู่ใหญ๋ขึ้นก็เป็นได้ รวมไปถึง การสร้างฟองสบู่ของภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่ ธปท.กังวลอยู่ให้เพิ่มไปอีกด้วย
วิธีที่ 3 และ 4 คือ แนวคิดแบบ "ไท้เก๊ก" ....
3. ธปท.แทรกแซง แต่ บาทกลับแข็งค่า ซึ่งวิธีนี้แย่กว่า 2 วิธีแรกเสียอีก นั่นก็ืคือ หาก ธปท.เข้าแทรกแซง จะเป็นการเชิญแขกต่างชาติที่รู้ว่ากำลังของ ธปท.นั้นมีไม่พอ จะเข้ามาโจมตีรุนแรงยิ่งขึ้นทำให้บาทกลับแข็งค่า เพราะ ที่ผ่านมาหลายๆ ปี ธปท.แทรกแซงด้วยเงินที่สูงกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือกว่า 1 แสนล้านเหรียญ โดยอดีตที่ผ่านมาแบงก์ชาติก็ขาดทุนไปแล้วจากการแทรกแซงค่าเงินในระยะเวลา 8 ปี จากปี 2003-2011 ถึง 12% GDP หรือกว่า 1 ล้านล้านบาท (ข้อมูล: IMF)
4. ธปท.ไม่แทรกแซง แต่ บาทกลับอ่อนค่า : วิธีนี้ดีที่สุด แต่จะสามารถทำเรื่องแบบนี้ได้ด้วยหรือ?? ก็ถ้าไม่เป็นเรื่องแปลกๆ ที่ดูเหมือนจะทำไม่ได้ จะเข้าข่าย "วิถีไท้เก๊ก" หรือครับ
4. ธปท.ไม่แทรกแซง แต่ บาทกลับอ่อนค่า : วิธีนี้ดีที่สุด แต่จะสามารถทำเรื่องแบบนี้ได้ด้วยหรือ?? ก็ถ้าไม่เป็นเรื่องแปลกๆ ที่ดูเหมือนจะทำไม่ได้ จะเข้าข่าย "วิถีไท้เก๊ก" หรือครับ
ด้วยการ "ยืมพลัง" จากแหล่งอื่นๆ ทำให้ ธปท.ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลค่าเงินมาตลอดนั้น จะไม่ต้องแบกรักภาระนี้ไว้แต่ผู้เดียวอีกต่อไป โดยอาจจะทำได้ในแนวนี้
1. ยืมพลังภาครัฐ : โดยรัฐบาลอาจออกกฎเพื่อให้ ภาครัฐทั้งหมด (รัฐบาล และ รัฐวิสาหกิจ) ต้องเปลี่ยนเงินกู้ต่างประเทศ เป็น เงินบาท ไม่ต่ำกว่า 50% ของยอดรวม อาจด้วยการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจ์) ภายในเวลา 1 ปี วิธีนี้จะทำให้ประเทศไทยพึ่งพาเงินทุนในประเทศเพิ่มขึ้น พึ่งพาเงินทุนต่างชาติลดลง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี โดยจะได้กระสุนมาราว 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ก็ให้รัฐเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจำนวนมาก
2. ยืมพลังธนาคาร : ออกกฏให้ธนาคาพาณิชย์ทั้งระบบ ต้องเพิ่มสินทรัพย์สุทธิต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 2.5% ของสินทรัพย์รวมโดยการซื้อสินทรัพย์ต่างประเทศ หรือ ลดหนี้สินต่างประเทศ ทำให้เสร็จภายใน 1 ปี วิธีนี้จะได้กระสุนมาอีก 2.5 แสนล้านบาท เป็นการเตรียมตัวของธนาคารเพื่อรองรับ AEC ในอนาคตด้วย
3. ยืมพลังกองทุนบำนาญ : ออกกฎให้กองทุนบำนาญ (กบข. สปส. สำรองเลี้ยงชีพ และ ประกันชีวิต) ต้องลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ มากกว่า 10% ของสินทรัพย์รวม 3.5 ล้านล้านบาท ประโยชน์เพื่อให้กองทุนเหล่านี้ได้เรียนรู้การลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นรองรับ AEC อีกด้วย วิธีน่าจะได้กระสุนเพิ่มอีก 2 แสนล้าน
4. ยืมพลังประชาชน : จัดตั้งกองทุนคล้ายๆกับ LTF ด้วยเงื่อนไขหักลดหย่อนภาษีแบบเดียวกัน แต่เป็นวัตถุประสงค์แบบ FIF (Foreign Investment Fund) ประโยชน์เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การลงทุนในต่างประเทศ อาจเป็น LFF (Long Term Foreign Fund) อาจได้กระสุนอีก 5 หมื่นล้าน
เมื่อรวมพลังกระสุนทั้ง 4 ทาง ก็เป็นเงินถึง 7 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับ กระสุนจากการขาดดุลการค้าราวปีละ 5 แสนล้าน (ปี 2012 ขาดดุลการค้าราว 5.5 แสนล้าน) ก็จะเป็นกระสุนถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะเหลือพอที่จะต่อกรกับเงินทุนร้อนๆ ที่เข้ามาจากต่างชาติเพื่อเก็งกำไรได้ หากผลักดันให้ค่าเงินบาทอ่อนไประดับ 32 บาทต่อ 1 เหรียญ ก็หมายถึง จะช่วยสนับสนุนการส่งออกได้มาก แถม ส่วนทุนของแบงก์ชาติก็ดีขึ้นมากด้วย
สรุปก็คือ นี่คือการต่อสู้กับเงินบาทแข็งค่า ด้วยการที่ ธปท.ไม่ต้องใช้พลังของตนเอง (เพราะใช้ไปแยะแล้ว) แต่ใช้การยืมพลังจากแหล่งอื่นๆ อีก 4 ทาง เพื่อสะท้อนพลังกลับสู้เงินทุนเก็งกำไรต่างหาก และ คงแทบไม่ต้องกังวลกับค่าเงินบาทที่อาจจะอ่อนมากเกินไปกว่าระดับ 33 บาทเลย เพราะหากไปถึงตรงนั้นจริง ธปท.มีเงินดอลลาร์ที่เคยแทรกแซงเก็บไว้เต็มหน้าตัก สามารถนำออกมาขายบ้าง วิธีนี้จะช่วยลดภาระหนี้สินพันธบัตร ธปท.ลงไปได้ไม่น้อย
สรุปก็คือ นี่คือการต่อสู้กับเงินบาทแข็งค่า ด้วยการที่ ธปท.ไม่ต้องใช้พลังของตนเอง (เพราะใช้ไปแยะแล้ว) แต่ใช้การยืมพลังจากแหล่งอื่นๆ อีก 4 ทาง เพื่อสะท้อนพลังกลับสู้เงินทุนเก็งกำไรต่างหาก และ คงแทบไม่ต้องกังวลกับค่าเงินบาทที่อาจจะอ่อนมากเกินไปกว่าระดับ 33 บาทเลย เพราะหากไปถึงตรงนั้นจริง ธปท.มีเงินดอลลาร์ที่เคยแทรกแซงเก็บไว้เต็มหน้าตัก สามารถนำออกมาขายบ้าง วิธีนี้จะช่วยลดภาระหนี้สินพันธบัตร ธปท.ลงไปได้ไม่น้อย
เรื่องนี้หากทำสำเร็จ และ บาทอ่อนค่าลงได้จริง ผลลัพธ์ก็คือ จะเป็นประโยชน์จากกำไรของค่าเงินต่อเกือบทุกฝ่ายทั้ง ธปท. โดยจะมีส่วนทุนที่เพิ่มขึ้นกลับมา ผู้ส่งออกจะมีอัตรากำไรดีขึ้น และ ผู้ให้ยืมพลังทั้ง 4 (ภาครัฐ ธนาคาร กองทุนบำนาญ และ ประชาชน) ก็จะมีกำไรส่วนต่างค่าเงินเพิ่มนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)