หลังจากได้นำเสนอแนวความคิด "กุญแจไท้เก๊ก" เพื่อปลดล็อกการเมืองไทยไปแล้ว ปรากฏว่าคงยังไม่โดนใจทั้ง 2 ฝ่าย จึงไม่สามารถผ่าทางตันทางการเมืองไปได้ ผมจึงเสี่ยงขอเสนอรอบ 2 มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเพื่อให้โอกาสจะได้รับการตอบรับจากทั้งฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่ในปัจจุบันของรัฐบาลรักษาการ และ กปปส.มีสูงขึ้น
สถานการณ์บ้านเมืองเริ่มมีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังจากมีระเบิดเกิดขึ้นที่ ถ.บรรทัดทอง และ อนุสาวรีย์ชัยฯ โดยมีคนตาย และ บาดเจ็บจำนวนมาก ประเทศจำเป็นต้องเร่งรีบหาทางออกโดยด่วน และ เนื่องจาก "ไท้เก๊ก" คือ แนวคิดที่แตกจากธรรมดา 2 ทางเป็น 4 ทาง เราจึงอาจพบทางออกได้แบบนี้
โดยเริ่มจาก "คนกลาง" ก่อน แบบธรรมดามี 2 ทาง
1. จากสถาบันวิชาการ : นี่คือ "ฝ่ายบุ๋น" โดยนักวิชาการจากสำนักต่างๆ พยายามเสนอทางออก อย่างไรก็ดี ขณะที่รัฐบาลต้องการเลือกตั้ง 2 กพ. และ ปฺฏิรูปหลังเลือกตั้ง ขณะที่ กปปส.ต้องการเลื่อนเลื่อนตั้งไปโดยต้องมีการปฏฺิรูปก่อน จึงยังหาคำตอบที่โดนใจทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ และในปัจจุบันก็มีการแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนจนถึงกับต้องถามกันว่า นักวิชาการ "สีไหน" จะมาช่วยได้
2. จากสถาบันความมั่นคง : นี่คือ "ฝ่ายบู๊" หรือ ทหารนั่นเองครับ เนื่องจากมีอำนาจกำลังทหารอยู่ในมือ จึงมีอำนาจการต่อรองสูง อาจกล่าวได้ว่ากำลังเล่นบท "ลิโป้" ในกรณีห้ามทัพ เล่าปี่ กับ อ้วนสุด คือ หากใครล้ำเส้นสร้างความรุนแรงขึ้นก่อน กองทัพพร้อมจะไปยืนอยู่อีกฝ่าย
3-4 จึงเป็นคนกลางที่ไม่ธรรมดานะครับ
3. สถาบันพระมหากษัตริย์ : เป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงท่านเป็นอย่างสูง ซึ่งคนไทยรวมไปถึงชาวต่างชาติล้วนซาบซึ้งประทับใจในบทบาท และ พระราชดำรัสในห้วงวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตยุค ตุลาวิปโยค 2516 และ พฤษภาทมิฬ 2535
4. สถาบันศาสนา : อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่า "พุทธศาสนา" คือจุดแข็งของประเทศไทย แต่อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยแทบไม่ได้ใช้จุดแข็งนี้เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองอย่างจริงจังเลย แนวคิดตรงนี้ข้อเสนอของผมก็คือ "ยืมพลัง" ความดีของศาสนานะครับ เชิญพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 7 รูป ผู้นำศาสนาคริสต์ 1 ท่าน และ ผู้นำศาสนาอิสลาม 1 ท่าน รวมเป็น 9 ท่าน มาเทศน์ หรือ ให้ข้อคิดกับคนไทยในธรรมะที่่ลดความเกลียดชัง ลดความรุนแรง ลดความขัดแย้ง มีเมตตากรุณาต่อกัน โดยประโยคสุดท้ายอาจเป็น "อาตมาขอบิณฑบาตความขัดแย้ง ความรุนแรงในชาติเถอะ" ประมาณนั้นละครับ
อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลเพียงนี้จะให้สลายม็อบนกหวีดไปง่ายๆ โดยไม่มีอะไรติดมือ และ ไปเลือกตั้งกันวันที่ 2 กพ. นั่นคงไม่ใช่ทางออกที่สมบูรณ์นัก แนวคิดผ่าทางตันอย่างหนึ่ง คือ "หากเลื่อนเลือกตั้ง 3 เดือน ปฏิรูปเล็กน้อย แล้วให้ กปปส.สลายม็อบ" แต่ก็ไม่ได้มีรับการตอบรับจากฝ่าย กปปส. ทางที่ดีกว่าก็คือ แนวคิดแบบไท้เก๊ก ด้วยการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมซึ่งรัฐบาลรักษาการพอใจ และ ทำให้ กปปส.พอใจให้ได้ด้วย โดยสิ่งที่ กปปส.เรียกร้องนั้นแบ่งเป็น 2 อย่างคือ
1. ปฏิรูปก่อน : รัฐบาลรักษาการควรจัดให้เลย ด้วยการมอบหมายให้ กปปส. และ พรรค ปชป. เป็นผู้นำในการเดินหน้าปฏิรูปไปเลย ด้วยการจัดทำรูปแบบสอบถามของ "ประชามติ" ว่าจะปฏิรูปอะไรบ้าง เช่น ระดับโทษและอายุความของการคอร์รัปปชั่น โทษของการซื้อสิทธิขายเสียง ผู้ว่าฯ ควรมาจากเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ควรเก็บภาษีทรัพย์สินไหม ถ้ากล้าๆ หน่อยก็คือประชาชนจะเอาสภาคนดี (สภาประชาชน) ไหม?? ให้เวลาไปเลย 1-2 เดือน ทำออกมาให้สำเร็จ นี่คือเรื่องสำคัญเพราะ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปนั่นเอง ผลลัพธ์ของ "ประชามติ" ที่ประชาชนได้ใช้อำนาจของตนเองเลือกแล้วนั้น จะถูกส่งต่อให้กับ สส.ใหม่ (ส่วนใหญ่น่าจะมาจากพรรคเพื่อไทย) ซึ่งได้ทำ "สัตยาบัน" ไว้แล้วว่าจะโหวตตามผล "ประชามติ" แม้จะขัดกับผลประโยชน์ส่วนตนของ สส.ก็ตาม และนี่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้และ ปฏิรูปในทางที่ดีขึ้นได้
2.โค่นระบอบทักษิณ : รักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ควรออกมาทำ "เทียบเชิญชินวัตร" ซึ่งหมายถึง การส่งเทียบเชิญไปยังคนไทยทั้งประเทศให้มาโหวตกัน ว่าจะเอา (เลือกพรรคเพือไทย) หรือไม่เอา (เลือกพรรคอื่นๆ รวม โหวตโน) "ระบอบทักษิณ" กันแน่ หากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนน้อยกว่าที่เหลือทั้งหมดจะถือว่า "ระบอบทักษิณ" แพ้ ดังนั้น "ชินวัตรและญาติ" ขอยอมถอยเพื่อชาติ จะไม่รับตำแหน่งนายกฯ และ รัฐมนตรีใดๆ ตลอดอายุสภาใหม่
ผลลัพธ์การเลือกตั้งครั้งก่อน 2554 พรรคเพื่อไทยได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 47.0% (คะแนนทั้งหมดรวมโหวตโน) ขณะที่มีกระแสคนเสื้อแดงอุดมการณ์คงไม่เลือกพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ ดังนั้น หากประเมินคร่าวๆ กปปส. น่าจะชนะเป็นต่อราว 3 : 1 โอกาสโค่นระบอบทักษิณในยกแรกก็ไม่ไกลแล้ว ไปรณรงค์เลือก "โหวตโน" จะมีคุณค่ากว่าการชัตดาวน์ กทม. มีคุณค่ากว่าการขัดขวางการเลือกตั้ง หรือ ไม่ไปเลือกตั้งเอาเลย เพราะ 1 คะแนนเสียงที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นจะมีน้ำหนักในการ "โค่นระบอบทักษิณ" ได้ด้วย
ผมเชื่อว่านี่จะเป็น หนทางปลดล็อกการเมืองที่เหมาะสมสำหรับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้การเลือกตั้งเดินหน้าได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะทำให้เกิด win-win-win-win ถึง 4 ฝ่าย
1. รัฐบาลรักษาการได้เลือกตั้งตามแผนเดิม และ พรรคเพื่อไทยยังคงได้อำนาจนิติบัญญัติ และ บริหาร
2. กปปส. จะได้เป็นผู้นำการปฏิรูป และ ยังได้โค่น "ระบอบทักษิณ" ระดับหนึ่งด้วย
3. คนไทยทั้งชาติได้เลือกตั้งอย่างราบรื่น สังคมกลับมาสู่สันติภาพ เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว
4. สำหรับโลกที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย ได้ท่องเที่ยว ค้าขาย และ ลงทุนกับประเทศไทยได้อย่างสบายใจ โล่งใจ โดยเฉพาะในภูมิภาค AEC นี้
ผมขอร้องวิงวอนแทนคนไทยส่วนใหญ่ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ win-win แต่เป็น win-win-win-win ขอให้ทั้งรัฐบาลรักษาการ และ กปปส.ได้โปรดพิจารณาข้อเสนอนี้ด้วยครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ปฏิรูปไท้เก๊ก
มีการพูดถึงคำว่า "ปฏิรูป" กันอย่างมากมาย และทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปในหลายๆ ด้าน และ "ปฏิรูปไท้เก๊ก" คือ ทฤษฎีใหม่ที่ผมคิดค้นขึ้นมา แปลตามความหมายจากภาษาจีนก็คือ สุดยอดการปฏิรูป นั่นเอง
ผมคิดว่าในการ "ปฏิรูป" ระดับประเทศนั้นจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อ.ซึ่งจะต้องครบถ้วนถึงจะทำให้เดินหน้าบรรลุผลได้ ก็คือ
1.ไอเดีย : จะปฏิรูปอะไรและมีวิธีการอย่างไรบ้าง
2.อุดมการณ์ : มีความตั้งใจจริงที่จะทำให้ดีขึ้น ยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักไม่ใช่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และอยู่ในกรอบกติกาประชาธิปไตยโดยไม่รุนแรง
3.อำนาจ : อำนาจนิติบัญญัติ และ บริหาร เพื่อเปลี่ยนแปลงกฏหมาย หรือ การกำหนดนโยบายต่างๆ
4.อุปสรรค : การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบขาดคุณธรรม การค้านสุดตัวอย่างไม่ดูเหตุผล การใช้มวลชนแบบผิดกติกา รวมไปถึง องค์กรอิสระบางองค์กรนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปได้
และแน่นอนแนวคิดแบบ "ไท้เก๊ก" ก็จะแตกออกเป็น 4 กรณี จากมีแค่ 2 แบบ "นิ่งคือนิ่ง" "เคลื่อนคือเคลือน" โดยเพิ่ม "นิ่งคือเคลื่อน" และ "เคลื่อนคือนิ่ง" เข้าไปด้วย สำหรับ "ปฏิรูปไท้เก๊ก" ก็คือ
1. กลุ่มที่ไม่มีไอเดีย และ อุดมการณ์ และ ไม่มีอำนาจด้วย : นี่คือกลุ่มชาวบ้านทั่วไป
2. กลุ่มที่มีไอเดียและอุดมการณ์ แต่ไม่มีอำนาจ : นี่คือ กลุ่มนักวิชาการ และ ข้าราชการบางส่วน
3. กลุ่มที่ไม่มีไอเดียและอุดมการณ์ แต่มีอำนาจ : นี่คือ กลุ่มนักการเมืองส่วนใหญ่
4. กลุ่มที่มีทั้งไอเดีย อุดมการณ์ และ อำนาจ : กลุ่มนี้น่าสนับสนุนที่สุดให้ทำการปฏิรูปประเทศ อาจเรียกว่าเป็น "นักวิชาการเมือง" ซึ่งเป็นการรวม "นักวิชาการ" และ "นักการเมือง" เข้าด้วยกัน
อย่างไรก็ดี การทำให้ชาติเสียหายได้อย่างมากนั้นอาจเป็น กลุ่มที่มีอำนาจ มีไอเดีย แต่ไม่มีอุดมการณ์ เช่น "นโยบายจำนำข้าวทุกเม็ดในราคาสูงลิ่ว" ด้วยการออกนโยบายแบบนี้ บวกกับ ไอเดียบรรเจิดในการเปิดช่องให้ทุจริตหลายๆ ทาง เมื่อไม่มีอุดมการณ์ก็หมายถึง ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ แต่ไปคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องเสียมากกว่า ประเทศชาติจึงเสียหายจากนโยบายแบบนี้ได้ถึงหลายแสนล้านบาท
ดังนั้น หลังจากได้ไอเดียการปฏิรูป ซึ่งก็ทำกันมาหลายครั้งหลายคนแล้ว การเดินหน้าปฏิรูปประเทศต่อไป จึงมีอยู่ 2 ทางเลือก คือ
1. บีบให้ผู้มีอำนาจ (สส. และ รัฐมนตรี) ต้องกลับมามีอุดมการณ์ด้วยประชามติหรือนโยบายพรรค : เช่น การลงประชามติในเรื่องสำคัญอย่าง ภาษีทรัพย์สิน หรือ การเพิ่มโทษทุจริตคอร์รัปชั่น นั้นเชื่อได้ว่าน่าจะได้คะแนนเกิน 80% ของการลงคะแนนทั้งประเทศเป็นแน่ อย่างไรก็ดี เรื่องพวกนี้มีการขัดแย้งผลประโยชน์กับ สส.ในสภาฯ โดยตรง ดังนั้น สส.จึงไม่ได้ทำตัวให้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง แต่การมี "ประชามติ" จะเป็นการบีบให้ สส.จำเป็นจะต้องยกมือเป็นตัวแทนประชาชนอย่างมีอุดมการณ์ หรือแม้แต่ในศึกเลือกตั้งที่นโยบายพรรค กลายมาเป็นสวัสดิการสังคมเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศถูกผลักดันออกมาเป็นการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ เช่น "โครงการบัตรทอง 30 บาท" เป็นต้น
2. เอาอำนาจตำแหน่ง ไปส่งมอบให้ผู้ที่มีไอเดียและอุดมการณ์ : เลือกเอาคนดีคนเก่งขึ้นสู่อำนาจนั่นเอง ก็น่าจะทำให้การปฏิรูปเดินหน้าไปได้อย่างดี แต่ก็ควรต้องอยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตยด้วย การคัดกรองคุณภาพ สส. และ รัฐมนตรี จะช่วยในเรื่องนี้ได้
ดังนั้นก็ขอสรุปจบตรงนี้ว่า หากจะเดินหน้าปฏฺิรูปก็ให้คำนึงถึง 4อ.ให้ดี ทำองค์ประกอบ 3อ. แรกให้ครบ จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลยนั่นคือ "ไอเดีย" "อุดมการณ์" และ "อำนาจ" นอกจากนี้ พยายามลดทอน "อุปสรรค" ที่ขัดขวางการปฏิรูปให้เหลือน้อยที่สุด
ผมคิดว่าในการ "ปฏิรูป" ระดับประเทศนั้นจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อ.ซึ่งจะต้องครบถ้วนถึงจะทำให้เดินหน้าบรรลุผลได้ ก็คือ
1.ไอเดีย : จะปฏิรูปอะไรและมีวิธีการอย่างไรบ้าง
2.อุดมการณ์ : มีความตั้งใจจริงที่จะทำให้ดีขึ้น ยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักไม่ใช่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และอยู่ในกรอบกติกาประชาธิปไตยโดยไม่รุนแรง
3.อำนาจ : อำนาจนิติบัญญัติ และ บริหาร เพื่อเปลี่ยนแปลงกฏหมาย หรือ การกำหนดนโยบายต่างๆ
4.อุปสรรค : การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบขาดคุณธรรม การค้านสุดตัวอย่างไม่ดูเหตุผล การใช้มวลชนแบบผิดกติกา รวมไปถึง องค์กรอิสระบางองค์กรนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปได้
และแน่นอนแนวคิดแบบ "ไท้เก๊ก" ก็จะแตกออกเป็น 4 กรณี จากมีแค่ 2 แบบ "นิ่งคือนิ่ง" "เคลื่อนคือเคลือน" โดยเพิ่ม "นิ่งคือเคลื่อน" และ "เคลื่อนคือนิ่ง" เข้าไปด้วย สำหรับ "ปฏิรูปไท้เก๊ก" ก็คือ
1. กลุ่มที่ไม่มีไอเดีย และ อุดมการณ์ และ ไม่มีอำนาจด้วย : นี่คือกลุ่มชาวบ้านทั่วไป
2. กลุ่มที่มีไอเดียและอุดมการณ์ แต่ไม่มีอำนาจ : นี่คือ กลุ่มนักวิชาการ และ ข้าราชการบางส่วน
3. กลุ่มที่ไม่มีไอเดียและอุดมการณ์ แต่มีอำนาจ : นี่คือ กลุ่มนักการเมืองส่วนใหญ่
4. กลุ่มที่มีทั้งไอเดีย อุดมการณ์ และ อำนาจ : กลุ่มนี้น่าสนับสนุนที่สุดให้ทำการปฏิรูปประเทศ อาจเรียกว่าเป็น "นักวิชาการเมือง" ซึ่งเป็นการรวม "นักวิชาการ" และ "นักการเมือง" เข้าด้วยกัน
อย่างไรก็ดี การทำให้ชาติเสียหายได้อย่างมากนั้นอาจเป็น กลุ่มที่มีอำนาจ มีไอเดีย แต่ไม่มีอุดมการณ์ เช่น "นโยบายจำนำข้าวทุกเม็ดในราคาสูงลิ่ว" ด้วยการออกนโยบายแบบนี้ บวกกับ ไอเดียบรรเจิดในการเปิดช่องให้ทุจริตหลายๆ ทาง เมื่อไม่มีอุดมการณ์ก็หมายถึง ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ แต่ไปคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องเสียมากกว่า ประเทศชาติจึงเสียหายจากนโยบายแบบนี้ได้ถึงหลายแสนล้านบาท
ดังนั้น หลังจากได้ไอเดียการปฏิรูป ซึ่งก็ทำกันมาหลายครั้งหลายคนแล้ว การเดินหน้าปฏิรูปประเทศต่อไป จึงมีอยู่ 2 ทางเลือก คือ
1. บีบให้ผู้มีอำนาจ (สส. และ รัฐมนตรี) ต้องกลับมามีอุดมการณ์ด้วยประชามติหรือนโยบายพรรค : เช่น การลงประชามติในเรื่องสำคัญอย่าง ภาษีทรัพย์สิน หรือ การเพิ่มโทษทุจริตคอร์รัปชั่น นั้นเชื่อได้ว่าน่าจะได้คะแนนเกิน 80% ของการลงคะแนนทั้งประเทศเป็นแน่ อย่างไรก็ดี เรื่องพวกนี้มีการขัดแย้งผลประโยชน์กับ สส.ในสภาฯ โดยตรง ดังนั้น สส.จึงไม่ได้ทำตัวให้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง แต่การมี "ประชามติ" จะเป็นการบีบให้ สส.จำเป็นจะต้องยกมือเป็นตัวแทนประชาชนอย่างมีอุดมการณ์ หรือแม้แต่ในศึกเลือกตั้งที่นโยบายพรรค กลายมาเป็นสวัสดิการสังคมเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศถูกผลักดันออกมาเป็นการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ เช่น "โครงการบัตรทอง 30 บาท" เป็นต้น
2. เอาอำนาจตำแหน่ง ไปส่งมอบให้ผู้ที่มีไอเดียและอุดมการณ์ : เลือกเอาคนดีคนเก่งขึ้นสู่อำนาจนั่นเอง ก็น่าจะทำให้การปฏิรูปเดินหน้าไปได้อย่างดี แต่ก็ควรต้องอยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตยด้วย การคัดกรองคุณภาพ สส. และ รัฐมนตรี จะช่วยในเรื่องนี้ได้
ดังนั้นก็ขอสรุปจบตรงนี้ว่า หากจะเดินหน้าปฏฺิรูปก็ให้คำนึงถึง 4อ.ให้ดี ทำองค์ประกอบ 3อ. แรกให้ครบ จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลยนั่นคือ "ไอเดีย" "อุดมการณ์" และ "อำนาจ" นอกจากนี้ พยายามลดทอน "อุปสรรค" ที่ขัดขวางการปฏิรูปให้เหลือน้อยที่สุด
วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557
กุญแจไท้เก๊ก : ปลดล็อกการเมืองไทย
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยได้มีช่องทางในการปลดล็อกทางการเมือง ซึ่งเวลาก็เหลือน้อยเต็มี ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้ว คือ รัฐบาลรักษาการ และ กปปส. ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ขณะที่ฝ่ายหลังต้องการให้มีปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ผมในฐานะ "คนเสื้อขาว" ขอเสี่ยงเสนอทางออกปลดล็อกให้กับการเมืองไทย
"ไท้เก๊ก" คือ การสร้างสภาพแบบ "นิ่งคือเคลื่อน" และ "เคลื่อนคือนิ่ง" ซึ่งดูเหมือนทำสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นได้ หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ. ฝ่ายรัฐบาลรักษาการพรรคเพื่อไทยจะพอใจ แต่หากรักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ลาออก และ เลื่อนวันเลือกตั้งไปสัก 1 ปี ฝ่าย กปปส.นำโดยคุณสุเทพก็จะพอใจ แนวคิดแบบ "ฟินิกซ์ไท้เก๊ก" ก็คือ การลากเส้นทแยงมุมแบบย้อนแย้งไป จึงได้คำตอบแบบผ่าทางตันว่า เราจะต้องหาวิธีซึ่งจะมีการเลือกตั้งตามหมายกำหนดการเดิม 2 กพ.โดยที่ทำให้ฝ่าย กปปส.พอใจให้ได้
แล้วจะทำอย่างไรละ ?? ข้อเสนอของ "กุญแจไท้เก๊ก" ก็คือ คุณยิ่งลักษณ์ควรออกมาทำ "สัญญาชินวัตร" ว่า หากมีการเลือกตั้งแล้วคะแนนของพรรคเพื่อไทย ได้น้อยกว่าที่เหลือ (พรรคอื่นๆ รวมกับ vote no) นั่นแสดงถึงว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เอา "ระบอบทักษิณ" แล้ว ดังนั้น ตระกูลชินวัตรและญาติ (ชินวัตร ดามาพงษ์ และ วงศ์สวัสดิ์) ขอยอมแพ้และจะขอเว้นวรรคทางการเมืองตลอดอายุสภา โดยแลกกับการเลิกชุมนุมม็อบนกหวีด และ การไม่ขัดขวางการเลือกตั้งอีกต่อไป
ข้อดีสำหรับทางออกปลดล็อกนี้จะเป็นการ win-win-win ทั้ง 3 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายทักษิณและพรรคเพื่อไทย win : พรรคเพื่อไทยน่าจะชนะเลือกตั้งเป็นแน่ ยังได้กุมอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และ บริหารต่อไปได้ โดยอาจให้ รองฯพงษ์เทพ หรือ รองฯ ประชา รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อบริหารรัฐบาลโดยเน้นการปฏิรูปเป็นหลักเป็นเวลา 1-2 ปี
2. ฝ่าย กปปส. และ พรรค ปชป. win : โอกาสที่จะโค่น "ระบอบทักษิณ" ผ่านการเลือกตั้งมีสูงเลย เพราะ การเลือกตั้งครั้งก่อนนั้น พรรคเพือไทยได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 48.4% ขณะที่กระแสคนเสื้อแดงอุดมการณ์จะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้นก็มีสูง
3. ฝ่ายประชาชนคนไทยและชาติไทย win : บ้านเมืองกลับสู่ความสงบสุข ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ทุกฝ่ายไปสู้กันที่ศึกเลือกตั้ง ไม่ได้ลุ้นว่าพรรคใดจะชนะ แต่ลุ้นว่า "ระบอบทักษิณ" จะชนะหรือแพ้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ โดยฝ่ายหนึ่งสู้เพื่อ "พิทักษ์ระบอบทักษิณ" อีกฝ่ายสู้เพื่อ "โค่นระบอบทักษิณ"
หากมองที่รัฐบาล ทางเลือกนี้น่าสนใจ เพราะ หากยื้อๆ ไปเหมือนในปัจจุบัน สถานการณ์ก็เสี่ยงต่อความรุนแรงที่สูงขึ้นจนอาจนองเลือดกันได้ และสุดท้ายทหารอาจเข้าแทรกแซงจนถึงขั้นรัฐประหาร ดังนั้น "กุญแจไท้เก๊ก" น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
สำหรับ กปปส.นั้น เมื่อเทียบกับทางเลือก "ปิดกรุงเทพฯ" แล้ว จะสร้างความเดือดร้อนให้กับคน กทม.ไปทั่ว ซึ่งทำให้ กปปส.ถูกเกลียชังอย่างหนัก และจะทำให้ฐานเสียงมวลชนลดลงไปได้อีกมาก โอกาสชนะก็ยังริบหรี่ ทางเลือกกลางๆ อย่าง "กุญแจไท้เก๊ก" น่าจะเป็นทางออกทางลงที่ดีกว่า ด้วยการประกาศชัยชนะ แล้วสลายม็อบไปรณรงค์ "โหวตโน" เพื่อโค่น "ระบอบทักษิณ" น่าจะดูดีมีคุณค่ายิ่งกว่า
ผมอยากจะวิงวอนขอร้องทั้ง 2 ฝายแทนคนไทยทั้งชาติให้ถอยคนละครึ่งก้าว เพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขของชาติบ้านเมือง หนทางปลดล็อกแบบคนเสื้อขาวอย่าง "กุญแจไท้เก๊ก" นี้ โปรดช่วยนำไปพิจารณาด้วยเถอะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)