โดยประเทศ SIT มีโครงสร้างของเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับ TIP ในช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งเป็นอย่างมาก คือ ต้องพยายามให้ดอกเบี้ยสูงไว้เพื่อดึงดูดเงินต่างชาติเอาไว้ ขณะที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระดับสูง ปัญหาก็คือว่าตั้งแต่เดือน พ.ค. ความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงอย่างเร็วในประเทศตลาดเกิดใหม่นี้ โดยค่าเงิน Rand ของ แอฟริกาใต้นั้นอ่อนค่าลง 11% ในเดือน พ.ค.เพียงเดือนเดียว และ เงิน Lira ของตุรกี และ Rupee ของอินเดียก็อ่อนค่าลงไปราว 5% โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็ชะลอตัวลงอย่างเร็ว โดยอินเดียเติบโตต่ำสุดในรอบทศวรรษที่ 4.8% ขณะที่แอฟริกาใต้ และ ตุรกี ซึ่งเคยเติบโตระดับสูงนั้น ก็เติบโตเพียง 1-2% เท่านั้นเอง
ประเทศ SIT จึงต้องพยายามลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว อย่างไรก็ดี นี่คือภาวะหนีเสือปะจระเข้ (dilemma) ของนโยบาย คือ หากดอกเบี้ยสูงเศรษฐกิจก็จะแย่ ขณะที่เมื่อลดดอกเบี้ยลงเงินทุนต่างชาติก็จะไหลออก เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ความน่าสนใจลดลงไปด้วย มีการขายพันธบัตรของ 3 ประเทศออกมาทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปีได้ดีดขึ้นสูงกว่าระดับ 7% เมื่อเกิดความไม่เชื่อมั่นขึ้นในใจของนักลงทุนต่างชาติ ประเทศเหล่านี้จะหาเงินทุนที่ไหนไปไฟแนนซ์ส่วนขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ??
ผมได้เคยตั้งค่าตัวชี้วัด "สัญญาเตือนภัยเรืองศิริกูลชัย" (Ruang Alarm) ไว้แล้ว ซึ่งเป็นรวมค่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 3 ปีย้อนหลัง ก็จะพบว่า แอฟริกาใต้มีค่า -12.5% GDP อินเดียมีค่านี้ที่ -12.1% GDP ซึ่งจัดว่ามีความเสี่ยงของวิกฤติในระดับสูง ขณะที่ ตุรกี นั้นมีค่านี้ที่ -22.4% GDP จัดว่ามีความเสี่ยงของวิกฤติเศรษฐกิจที่สูงมาก
เมื่อรวมเข้ากับวิกฤติทางการเมืองใน "ตุรกี" ที่มีการประท้วงของภาคประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลปะทะกับตำรวจด้วยความรุนแรง หากเรื่องนี้เกิดกับประเทศไทยตลาดหุ้นก็อาจลงสัก 1-2% แต่ตลาดหุ้นอิสตัลบูลในตุรกีนั้นกลับร่วงแรงถึง 10.5% ภายในวันเดียว นั่นแสดงถึงความเชื่อมั่นที่เปราะบางมากๆ
ยิ่งมีเมื่อความกังวลว่า อเมริกาอาจลดปริมาณ QE ลงในเร็ววันนี้ ประเทศกำลังพัฒนาอย่าง SIT น่าจะประสบปัญหาการหาเงินทุนไปไฟแนนซ์ส่วนขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เมื่อ SIT แปลว่า "นั่ง" ประเทศเหล่านี้เปรียบเสมือนนั่งอยู่บนเก้าอี้เงินทุนต่างชาติ 4 ขา คือ 1.ตลาดบอนด์ทั้งระยะสั้นและยาว 2.ตลาดหุ้น 3.ตลาดอสังหาริมทรัพย์ 4.การลงทุนโดยตรง (FDI) ขาของเก้าอี้ก็เริ่มหักไปทีละขา จาก 4 เหลือ 3 เหลือ 2 เหลือ 1 สุดท้ายแล้วคงไม่เหลือขาเก้าอี้ของเงินทุนต่างชาติอีกเลย เศรษฐกิจก็จะล้มระเนระนาดในแบบเดียวกับที่ประเทศ TIP เคยประสบกับ วิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อ 16 ปีที่ผ่านมาแล้วนั่นเอง
การเรียงลำดับของวิกฤตินั้ันแบ่งเป็น 3 เฟส คือ 1.วิกฤติดุลบัญชีเดินสะพัด 2.วิกฤติเศรษฐกิจ และ 3.วิกฤติการคลัง สำหรับเฟสแรกนั้นเศรษฐกิจยังแทบไม่ส่ออาการใดๆ เลยเพียงแต่มีหนี้สินต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น สำหรับประเทศ SIT อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในเฟสแรกที่กำลังเดินเข้าสู่เฟส 2
ดังนั้น ผมจึงได้ตั้งชื่อวิกฤติที่จะเริ่มต้นจากตุรกีนี้ว่า "วิกฤติไก่งวง" (Turkey Crisis) โดยได้คาดการณ์ไว้ว่าจะเริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป จากนั้น แรงระเบิดของฟองสบู่แตกใน "ตุรกี" จะไปกระแทกให้ข้อต่อที่อ่อนแอสุด (weakest link) ซึ่งก็คือ กรีซ และ ไซปรัส ให้หลุดออกจาก "โซ่ตรวนเงินยูโร" โดยเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้ก็อ่อนแออยู่แล้วให้ย่ำแย่ลงไปอีก และท่านผู้นำอาจต้องเปลี่ยนใจยอมรับต่อชะตากรรมว่าไม่สามารถนำพาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้หากยังใช้ค่าเงินยูโรต่อไป เหตุการณ์เหล่านี้เองอาจจะนำมาซึ่งความไม่เชื่อมั่นในยูโรโซน ประกอบกับฟองสบู่การลงทุนเกินขอบเขตทั้งอสังหาริมทรัพย์ และ โรงงานของจีนน่าจะแตกพอดี จึงนำไปสู่ "วิกฤติหมูหัน" (Roasted Pig Crisis) ซึ่งน่าจะเริ่มก่อตัวขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ ดังนั้น กระแสเงินทุนอาจจะหันหลังให้กับตลาดเกิดใหม่ตั้งแต่เดือน พ.ค.ไปนานจนถึงสิ้นปีกันเลย
สำหรับประเทศไทยนั้น เดือน เม.ย. ที่ผ่านมาไทยได้มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.36 พันล้านดอลลาร์ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้ดูแลนโยบายการเงิน การคลัง การค้า และ การลงทุน คงจะดูแลประเทศเป็นอย่างดีไม่ให้ต้องเดินเข้าสู่เฟสแรกของวิกฤติ เพราะหากยังปล่อยให้ไทยขาดดุลหนักหน่วงเช่นนี้ไปอีกสักระยะแล้วละก็ ประเทศ SIT อาจต้องเปลี่ยนใหม่เป็น SITT (รวม Thailand ด้วย) และ ประเทศไทยที่เคยร่วมโต๊ะกิน "ต้มยำกุ้ง" อาจต้องร่วมโต๊ะเพื่อกิน "ไก่งวง" และ "หมูหัน" กันอีกด้วยนะครับ
การเรียงลำดับของวิกฤตินั้ันแบ่งเป็น 3 เฟส คือ 1.วิกฤติดุลบัญชีเดินสะพัด 2.วิกฤติเศรษฐกิจ และ 3.วิกฤติการคลัง สำหรับเฟสแรกนั้นเศรษฐกิจยังแทบไม่ส่ออาการใดๆ เลยเพียงแต่มีหนี้สินต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น สำหรับประเทศ SIT อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในเฟสแรกที่กำลังเดินเข้าสู่เฟส 2
ดังนั้น ผมจึงได้ตั้งชื่อวิกฤติที่จะเริ่มต้นจากตุรกีนี้ว่า "วิกฤติไก่งวง" (Turkey Crisis) โดยได้คาดการณ์ไว้ว่าจะเริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป จากนั้น แรงระเบิดของฟองสบู่แตกใน "ตุรกี" จะไปกระแทกให้ข้อต่อที่อ่อนแอสุด (weakest link) ซึ่งก็คือ กรีซ และ ไซปรัส ให้หลุดออกจาก "โซ่ตรวนเงินยูโร" โดยเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้ก็อ่อนแออยู่แล้วให้ย่ำแย่ลงไปอีก และท่านผู้นำอาจต้องเปลี่ยนใจยอมรับต่อชะตากรรมว่าไม่สามารถนำพาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้หากยังใช้ค่าเงินยูโรต่อไป เหตุการณ์เหล่านี้เองอาจจะนำมาซึ่งความไม่เชื่อมั่นในยูโรโซน ประกอบกับฟองสบู่การลงทุนเกินขอบเขตทั้งอสังหาริมทรัพย์ และ โรงงานของจีนน่าจะแตกพอดี จึงนำไปสู่ "วิกฤติหมูหัน" (Roasted Pig Crisis) ซึ่งน่าจะเริ่มก่อตัวขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ ดังนั้น กระแสเงินทุนอาจจะหันหลังให้กับตลาดเกิดใหม่ตั้งแต่เดือน พ.ค.ไปนานจนถึงสิ้นปีกันเลย
สำหรับประเทศไทยนั้น เดือน เม.ย. ที่ผ่านมาไทยได้มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.36 พันล้านดอลลาร์ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้ดูแลนโยบายการเงิน การคลัง การค้า และ การลงทุน คงจะดูแลประเทศเป็นอย่างดีไม่ให้ต้องเดินเข้าสู่เฟสแรกของวิกฤติ เพราะหากยังปล่อยให้ไทยขาดดุลหนักหน่วงเช่นนี้ไปอีกสักระยะแล้วละก็ ประเทศ SIT อาจต้องเปลี่ยนใหม่เป็น SITT (รวม Thailand ด้วย) และ ประเทศไทยที่เคยร่วมโต๊ะกิน "ต้มยำกุ้ง" อาจต้องร่วมโต๊ะเพื่อกิน "ไก่งวง" และ "หมูหัน" กันอีกด้วยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น