ปัจจุบันโลกมี 2 สำนักเศรษฐศาสตร์ใหญ่ๆ ก็คือ 1.สำนักเคนส์ เป็นกลุ่มที่ศรัทธาใน "นโยบายการคลัง" เน้นให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน แนวคิดนี้เริ่มจากอังกฤษ และ แพร่เข้าไปยังอเมริกาในส่วนที่ติดกับมหาสมุทร จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า เศรษฐศาสตร์ "น้ำเค็ม" 2.สำนักการเงินนิยม เป็นกลุ่มที่ศรัทธาใน "นโยบายการเงิน" และ ไม่เชื่อในนโยบายการคลัง โดยคิดว่ารัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมเศรษฐกิจน้อยที่สุด แนวคิดนี้เริ่มจากในอเมริกาด้านใน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยชิคาโก้ เรียกว่าเศรษฐศาสตร์ "น้ำจืด"
คงไม่ต้องถึงกับเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ "น้ำกร่อย" แต่ สำนักเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก ซึ่งแปลตรงๆ จากภาษาจีนได้ว่า "เศรษฐศาสตร์ขั้นสุดยอด" ใช้แนวคิดของการยืมแรงสะท้อนแรง และ นิ่งคือเคลื่อน-เคลื่อนคือนิ่ง ซึ่งประกอบด้วย 4 ทฤษฎีใหม่ที่หักล้างแนวคิดทฤษฎีการเงินและการคลังแบบเดิมๆ ประกอบไปด้วย "การคลังไท้เก๊ก" "การเงินไท้เก๊ก" "ปริวรรตไท้เก๊ก" และ "บำนาญไท้เก๊ก" น่าจะสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกในอนาคตได้
ข้อเสนอของผมก็คือ หากนำเรื่องนี้บรรจุเข้าไปในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย น่าจะเกิดผลดีต่อ 4 ฝ่ายดังนี้
1. นักศึกษา : นักศึกษาของไทยจะมีความรู้ระดับเหนือชั้นกว่านักศึกษามหาวิทยาลับ top 10 ของโลกกันเลย นี่ดูเหมือนเรื่องที่แม้แต่ฝันยังไม่กล้าจะฝันด้วยซ้ำ แต่ลองคิดดูสิว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านั้นจะรู้จัก "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" (Taiji-Econ.) บ้างไหมละครับ?? หากนักศึกษาไทยถึงแม้เรียนรู้เข้าใจในเรื่องนี้ได้เพียง 5 ส่วน แต่ก็ยังดีกว่านักศึกษาต่างชาติเหล่านั้นที่มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นศูนย์ นี่มิได้เรียกว่า "เหนือชั้น" กว่าหรอกหรือ ??
2. มหาวิทยาลัย : 3 ปีที่ผ่านมาจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS พบว่า จุฬาฯ อันดับแย่ลงไปราว 100 อันดับตกไปอยู่อันดับที่ 239 ของโลก หากมหาวิทยาลัยไทยได้มีการสอนในวิชาที่แทบไม่มีที่ใดในโลกจัดการเรียนการสอนกัน แต่เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก นี่มิใช่เป็นการสร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นหรอกหรือ ?? มหาวิทยาลัยที่มีสำนักเศรษฐศาสตร์ล้วนแล้วแต่ติดอันดับ top 10 ทั้งสิ้นอย่าง ฮาร์วาร์ด เคมบริดจ์ พริ้นซ์ตัน หรือ ชิคาโก้ เผลอๆ มหาวิทยาลัยไทยอาจวิ่งดีขึ้นอย่างเร็วจนติดอันดับ top 100 ก็เป็นได้
3.ประเทศไทย : หากมองย้อนหลังกลับไปหลายทศวรรษที่ผ่านมา เคยมีสักวันไหมที่ประเทศไทยจะก้าวล้ำนำหน้าประเทศพัฒนาแล้วในเอเชีย 3 ประเทศอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์
เมื่อดูด้านคมนาคม : ไทยอาจสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สายเสร็จได้ใน 7 ปี ใช้เงินลงทุนถึง 8 แสนล้านบาท แต่นั่นก็เป็นการเดินตามหลังญี่ปุ่นถึง 55 ปี อย่างไรก็ดี ผมยังสนับสนุนให้สร้างอยู่ดี เพราะการรอไปอีก 45 ปีแล้วสร้างนั้น คนรุ่นลูกอาจไปบอกรุ่นหลานว่า "ดีใจไหมที่ไทยมีรถไฟความเร็วสูงเสียที ลงทุนไปหลายล้านล้านบาท แถมเดินตามหลังญี่ปุ่นแค่ 100 ปีเอง"
เมื่อดูด้านการสื่อสาร : การลงทุน 3G 4G อาจใช้เงินเป็นแสนล้านบาท แต่คงไม่ต้องเทียบกับญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้ เพราะไทยเรายังตามหลังประเทศลาวด้วยซ้ำไป
เมื่อดูด้านการศึกษา : คงไม่ต้องไปเทียบอะไรกับ 3 ประเทศนั้น ใช้งบกระทรวงศึกษาฯ ถึงปีละ 5 แสนล้านบาทแต่ไทยยังคงเหนื่อยกับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนอยู่เลย
แต่สำหรับเรื่องนี้ หากมีการบรรจุ "สำนักเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" เข้าไปในหลักสูตรวิชาเศรษฐศาสตร์แล้วละนี่จะแตกต่างอย่างแน่นอน เพราะ 3 ประเทศนั้นไม่ได้มีสำนักเศรษฐศาสตร์ของประเทศตนเองเลย ตอนนี้ก็ยังคงใช้แนวคิดของสำนักเคนส์ และ สำนักการเงินนิยม กันอยู่ ดังนั้นจึงอาจแปลได้ว่า ไทยได้เดินนำหน้าญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์ ไปแล้วอย่างน้อยก็ 1 ก้าว โดยแทบไม่ต้องใช้เงินลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ น่าทึ่งไหมละครับ ??
4. โลก : เนื่องจาก "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" เป็นความรู้ใหม่ของโลกซึ่งน่าจะนำไปใช้เพื่อปลดล็อก 4 กับดักเศรษฐกิจพิษร้ายแรงของโลกคือ "กับดักเคนส์" "กับดักเงินเฟ้อ" "กับดักยูโร" และ "กับดักประกันสังคม" ได้ หากทำได้สำเร็จนี่นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ต่อโลกของเรา
ผมจึงขอเรียนเชิญท่านคณบดีเศรษฐศาตร์ และท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทยผู้มีวิสัยทัศน์ชั้นยอดมาร่วมกันสานฝันอันยิ่งใหญ่นี้ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยและเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ลองติดต่อเข้ามานะครับ prawitruang@gmail.com
สุดท้ายผมขอฝากคำพูดอมตะของ สตีฟ จ็อบส์ไว้ตรงนี้ "กลุ่มคนที่บ้าพอจะเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนโลกได้ คือพวกที่่จะทำได้จริง"
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมการเปลี่ยนโลกเศรษฐศาสตร์
หากเป็นวิชาฟิสิกส์แล้วละก็ คงต้องยกให้ 2 สมการนี้ที่มีอิทธิพลต่อโลกอย่างมากก็คือ 1. F = ma ของนิวตัน โดยหากไม่มีแรงมากระทำ (F=0) แล้ว วัตถุย่อมหยุดนิ่งหรือเคลื่อนด้วยความเร็วคงที่ (ความเร่ง a=0) ซึ่งนี่ก็คือ กฏของนิวตันนั่นเอง และสมการ 2. E = mc^2 ของไอน์สไตน์ ที่บอกว่า มวลสารสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานมหาศาลได้ ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของระเบิดนิวเคลียร์ และ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งเปลี่ยนโลกไปตลอดกาล
สำหรับก่อนวิกฤติในยูโรโซนก็เช่นกัน กรีซ และ สเปน มีอัตราเงินเฟ้อ และ ดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศเยอรมัน และ เนเธอร์แลนด์ ดังนั้นค่าเงินควรอ่อนลงในระยะยาว แต่เมื่อทั้งหมดผูกค่าเงินด้วย "ยูโร" ระบบจึงเดินหน้าไปไม่ได้ กรีซและสเปน จึงต้องพบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาจึงไม่ได้เกิดจากวิกฤติการคลังเป็นต้นเหตุแต่อย่างใด แต่เกิดจากใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่แย้งกับ "สมการ" นั่นเอง โดยก่อนหน้านี้ สเปน ไอร์แลนด์ นั้นมีหนี้ภาครัฐ ต่อ GDP ที่ต่ำมากอยู่แล้ว
นอกจากนี้ สมการนี้ยังชี้ว่าอย่ามองโลกในแง่ดีเกินไปนักสำหรับประเทศเกิดใหม่ หากคิดว่า อินเดีย จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าเยอรมัน อินโดนีเซียจะวิ่งแซงอังกฤษ ภายในไม่กี่ปีละก็ควรคิดให้ดีเสียก่อนอีกรอบเพราะว่า ประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงอย่าง อินเดีย อินโดนีเซียนั้น สมการนี้บ่งชี้ว่าในระยะยาวแล้วค่าเงินยังคงต้องอ่อนลงไปกว่านี้ได้อีกมาก นั่นหมายถึง GDP หากคิดเป็นดอลลาร์แล้วอาจไม่วิ่งเร็ววิ่งสูงอย่างที่กระแสคาดการณ์กันมาก่อนหน้านี้ก็เป็นได้
ส่วนสมการ MV = PQ ของ มิลตัน ฟรีดแมนบิดาแห่งสำนักการเงินบ้างเล่า สมการชี้ประเด็นว่า หากมีการเพิ่มปริมาณเงิน (M) ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ GDP (Q) สูงขึ้น และ อัตราเงินเฟ้อ (P) สูงขึ้นด้วย แต่ว่าผมไม่คิดเช่นนั้น ผมคิดว่า M ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้การหมุนของเงิน (V) ลดลงโดยอัตโนมัติ เงินจะไหลเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ทีเป็น stock ไม่ได้เข้าสู่เศรษฐกิจจริงที่เป็น flow มากนัก
ผมจึงเปลี่ยนสมการการเงินเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน = อัตราการเพิ่มของ GDP + อัตราเงินเฟ้อ + อัตราการไหลเข้าสุทธิในตลาดสินทรัพย์ สมการนี้จึงเป็นตัวชี้ว่าทำไม Fed ได้เพิ่มเงินถึงปีละ 1 ล้านล้านดอลล์ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาจึงไม่แข็งแรง เงินเฟ้อก็ต่ำ แต่ตลาดบ้าน และ ตลาดหุ้นของอเมริกากลับแข็งแกร่ง
เมื่อดูอัตราการเพิ่มของปริมาณเงิน M2 อยู่ที่ 6.5% ต่อปีของสหรัฐฯ จึงเท่ากับ การเพิ่มของ GDP (1.6%) บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อ (1.5%) ขณะที่อีก 3.4% นั้นเงินไหลสุทธิเข้าไปยังตลาดสินทรัพย์ (บ้าน และ หุ้น) จะเห็นว่าปริมาณเงินที่เพิ่มไหลเข้าไปสู่ส่วนที่เป็น stock มากกว่า flow เสียอีก ซึ่งสมการใหม่นี้จะทำให้อธิบายผลของการเปลียนแปลงปริมาณเงินได้ดีขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยังได้กล่าวอีกว่า "การเมืองคือเรื่องชั่วคราว สมการสิถาวร" นั่นดูเหมือนจะเป็นจริง เพราะ สมการของนิวตันนั้นใช้มาหลายศตวรรษแล้ว และเชื่อว่าอีก 100 ปีข้างหน้า สมการของไอน์สไตน์ก็จะยังคงอยู่คู่กับโลกต่อไปอีกเป็นแน่
ถ้าหากเป็นด้านวิชาปรัชญาตะวันออกบ้างละ สมการของพระพุทธเจ้าก็อาจเป็น "ไม่ทุกข์ = ไม่สุข" หากไม่มีตัวตนเสียแล้วจะละความสุขความทุกข์ทางโลกได้ นี่คงเป็นแก่นของพุทธศาสนา ส่วนสมการของท่านเล่าจื่อเจ้าลัทธเต๋านั่นอาจเป็น "หยิน = หยาง" แล้ว สมการของท่านจางซานฟงปรมาจารย์มวยไท้เก๊กก็อาจเป็น "นิ่ง = เคลื่อน" ส่วนสมการของท่านเติ้งเสี่ยวผิง ก็คงเป็น "แมวดำ=แมวขาว" จับหนูเก่งก็ใช้ได้ เหล่านี้คือ สมการด้านปรัชญาลึกซึ้งโดยคิดย้อนแย้งกับสามัญสำนึกแต่สำคัญกับโลกมาก
แล้วถ้าเรามาเข้าเรื่องด้านเศรษฐศาสตร์กันดูบ้าง อุปสงค์ = อุปทาน คือ สมการที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อตั้งวิชาเศรษฐศาตร์ทุนนิยมคลาสสิค โดย อดัม สมิธ เมื่อ 200 ปีก่อนและ เซย์ ก็ได้นำไปตั้งเป็น "กฏของเซย์" แต่ เคนส์ได้หักล้างสมการนี้เสียและบอกว่า บางเวลาอาจเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน หรือ อุปทานส่วนเกินได้ เมื่อเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป หรือ เศรษฐกิจตกต่ำมากๆ
ยังมีสมการที่สร้างโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา เออร์วิง ฟิชเชอร์ (บิดาแห่งทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยน) ได้สร้างสมการที่เรียกว่า Fisher Effect ทีน่าสนใจมาก โดยได้ตั้งไว้ดังนี้ อัตราดอกเบี้ย = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง + อัตราเงินเฟ้อที่คาดหวัง และ International Fisher Effect ที่เขียนไว้ว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน = ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย นั่นหมายถึง ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง ก็ควรมีอัตราดอกเบี้ยสูงด้วย และ ค่าเงินก็ควรอ่อนลงในระยะยาว
เรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงต้นเหตุแห่งวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้ง เช่น เตกีล่า และ ต้มยำกุ้ง โดยก่อนวิกฤตินั้น เม็กซิโก และ ไทย ล้วนมีเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอเมริกา แต่ค่าเงินเปโซ และ เงินบาทดันไปผูกกับเงินดอลลาร์ไว้ ซึ่งมันเป็นการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบแย้งสมการเต็มๆ สุดท้ายก็ไปไม่รอด การใช้ค่าเงินที่แข็งเกินจริงทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง และเมื่อความเชื่อมั่นถดถอย เงินทุนไหลออก ก็จำเป็นต้องลดค่าเงินลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับก่อนวิกฤติในยูโรโซนก็เช่นกัน กรีซ และ สเปน มีอัตราเงินเฟ้อ และ ดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศเยอรมัน และ เนเธอร์แลนด์ ดังนั้นค่าเงินควรอ่อนลงในระยะยาว แต่เมื่อทั้งหมดผูกค่าเงินด้วย "ยูโร" ระบบจึงเดินหน้าไปไม่ได้ กรีซและสเปน จึงต้องพบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาจึงไม่ได้เกิดจากวิกฤติการคลังเป็นต้นเหตุแต่อย่างใด แต่เกิดจากใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่แย้งกับ "สมการ" นั่นเอง โดยก่อนหน้านี้ สเปน ไอร์แลนด์ นั้นมีหนี้ภาครัฐ ต่อ GDP ที่ต่ำมากอยู่แล้ว
นอกจากนี้ สมการนี้ยังชี้ว่าอย่ามองโลกในแง่ดีเกินไปนักสำหรับประเทศเกิดใหม่ หากคิดว่า อินเดีย จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าเยอรมัน อินโดนีเซียจะวิ่งแซงอังกฤษ ภายในไม่กี่ปีละก็ควรคิดให้ดีเสียก่อนอีกรอบเพราะว่า ประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงอย่าง อินเดีย อินโดนีเซียนั้น สมการนี้บ่งชี้ว่าในระยะยาวแล้วค่าเงินยังคงต้องอ่อนลงไปกว่านี้ได้อีกมาก นั่นหมายถึง GDP หากคิดเป็นดอลลาร์แล้วอาจไม่วิ่งเร็ววิ่งสูงอย่างที่กระแสคาดการณ์กันมาก่อนหน้านี้ก็เป็นได้
ส่วนสมการ MV = PQ ของ มิลตัน ฟรีดแมนบิดาแห่งสำนักการเงินบ้างเล่า สมการชี้ประเด็นว่า หากมีการเพิ่มปริมาณเงิน (M) ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ GDP (Q) สูงขึ้น และ อัตราเงินเฟ้อ (P) สูงขึ้นด้วย แต่ว่าผมไม่คิดเช่นนั้น ผมคิดว่า M ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้การหมุนของเงิน (V) ลดลงโดยอัตโนมัติ เงินจะไหลเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ทีเป็น stock ไม่ได้เข้าสู่เศรษฐกิจจริงที่เป็น flow มากนัก
ผมจึงเปลี่ยนสมการการเงินเป็น อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน = อัตราการเพิ่มของ GDP + อัตราเงินเฟ้อ + อัตราการไหลเข้าสุทธิในตลาดสินทรัพย์ สมการนี้จึงเป็นตัวชี้ว่าทำไม Fed ได้เพิ่มเงินถึงปีละ 1 ล้านล้านดอลล์ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาจึงไม่แข็งแรง เงินเฟ้อก็ต่ำ แต่ตลาดบ้าน และ ตลาดหุ้นของอเมริกากลับแข็งแกร่ง
เมื่อดูอัตราการเพิ่มของปริมาณเงิน M2 อยู่ที่ 6.5% ต่อปีของสหรัฐฯ จึงเท่ากับ การเพิ่มของ GDP (1.6%) บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อ (1.5%) ขณะที่อีก 3.4% นั้นเงินไหลสุทธิเข้าไปยังตลาดสินทรัพย์ (บ้าน และ หุ้น) จะเห็นว่าปริมาณเงินที่เพิ่มไหลเข้าไปสู่ส่วนที่เป็น stock มากกว่า flow เสียอีก ซึ่งสมการใหม่นี้จะทำให้อธิบายผลของการเปลียนแปลงปริมาณเงินได้ดีขึ้นกว่าเดิม
และก็มาเข้าถึงประเด็นสำคัญ โดยยังจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ได้สร้างสมการไว้แบบนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของ GDP = m * การเปลี่ยนแปลงของ G โดย m คือ ค่าตัวทวีการคลังซึ่งมีค่ามากกว่า 1 ดังนั้นหากรัฐทุ่มงบประมาณเข้าไปมากๆ และ เลือกโครงการที่มีค่าตัวทวีสูงๆ ก็จะเป็นผลบวกต่อศรษฐกิจได้มาก ซึ่งเรื่องนี้ยอดเยี่ยมเมื่อ 80 ปีก่อนในยุคที่เชื่อกันว่ารัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ ปล่อยให้กลไกตลาดของภาคเอกชนทำงานไปจะดีกว่า สมการได้เปลี่ยนมุมมองของเศรษฐศาสตร์มหภาคกันเลย
แต่ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายตั้งแต่ อเมริกา ญี่ปุ่น ยูโรโซน ล้วนแล้วแต่ติด "กับดักเคนส์" คือ ไม่ว่าจะเลือกทาง "รัดเข็มขัด" หรือ "คลายเข็มขัด" เศรษฐกิจก็ไม่เติบโตมากพอจะทันกับหนี้สินภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ หนี้ภาครัฐ ต่อ GDP ยังคงวิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ผมคิดว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ทฤษฎีเคนส์ต้องติด "กับดักเคนส์" ก็คือ "โครงสร้างประชากร" ที่เปลี่ยนจาก "พีระมิด" เป็น "โอ่งน้ำ" โดยที่รัฐต้องแบกรับภาระของผู้สูงอายุมากขึ้นทั้งด้านเงินบำนาญ และ ประกันสุขภาพ ขณะที่เด็กรุ่นใหม่มีน้อยลงทำให้ประชากรที่ก้าวเข้าสู่วัยทำงานน้อยลง รัฐจึงเก็บภาษีได้จากประชากรกลุ่มที่เล็กลงนั่นเอง
ผมจึงได้คิดสมการขึ้นมาใหม่บ้าง นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงของ GDP = m * การเปลี่ยนแปลงของ Gp โดยที่ Gp คือ G pension เป็นส่วนหนึ่งของ G ที่ใช้เพื่อสมทบเงินเข้ากองทุนบำนาญ และ การให้หักลดหย่อนภาษีสำหรับเงินออมบำนาญ และ m (ตัวทวี) มีค่าติดลบ นี่คือ การเปิดช่องให้ประเทศพัฒนาแล้วที่มีวิกฤติการคลัง จะสามารถรัดเข็มขัดไปพร้อมๆ กับทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้
ท่านผู้นำของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น รวมไปถึงท่านผู้นำของยูโรโซน หากได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงจะตื่นเต้นดีใจอย่างมาก เพราะ แนวทางการดูแลวิกฤติการคลังไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วยนั้นอาจอยู่ที่สมการข้างต้นนี่เอง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เจรจาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในเรื่องเพดานหนี้ได้เลย โดยแนวคิดแบบย้อนแย้งนี้จะไม่สามารถทำได้เลยในโลกเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสำนักเคนส์ หรือ สำนักนีโอคลาสสิกก็ตาม นี่มิได้เป็นการ "เปลี่ยนโลกเศรษฐศาสตร์" หรอกหรือ ??
ท่านผู้นำของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น รวมไปถึงท่านผู้นำของยูโรโซน หากได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงจะตื่นเต้นดีใจอย่างมาก เพราะ แนวทางการดูแลวิกฤติการคลังไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วยนั้นอาจอยู่ที่สมการข้างต้นนี่เอง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เจรจาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในเรื่องเพดานหนี้ได้เลย โดยแนวคิดแบบย้อนแย้งนี้จะไม่สามารถทำได้เลยในโลกเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสำนักเคนส์ หรือ สำนักนีโอคลาสสิกก็ตาม นี่มิได้เป็นการ "เปลี่ยนโลกเศรษฐศาสตร์" หรอกหรือ ??
แล้วท่านผู้อ่านละ....มีสมการที่จะใช้เปลี่ยนโลกบ้างหรือเปล่าครับ ??
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เส้นทางการหักล้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
หากเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คงต้องใช้เวลานานหลายศตวรรษกว่าจะหักล้างทฤษฎีกันได้ เช่น โคเปอร์นิคัส หักล้าง ทฤษฎี "โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล" ของปโตเลมี หรือ กาลิเลโอ หักล้างทฤษฎีของอริสโตเติล ด้วยการทดลองโยนก้อนหินที่หอเอนปิซา หรือแม้แต่ไอน์สไตน์ หักล้างทฤษฎีของนิวตันก็ตาม
แต่สำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น มีความเป็น "วิทยาศาสตร์" น้อยกว่า และมีความเป็น "สังคมศาสตร์" มากกว่า ดังนั้นแม้ว่าเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมเสรีได้ก่อกำเนิดโดย อดัม สมิธ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์) ราว 200 ปี แต่มีการพยายามหักล้างทฤษฎีของศาสตร์นี้ในหลายรูปแบบมากมาย ตัวอย่างเช่น
คาร์ล มาร์กซ์ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์) ได้พยายามชี้ประเด็นว่า ปัจจัยการผลิตทั้ง "ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการ" นั้น ควรอยู่ในการดูแลของภาครัฐเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ควรปล่อยให้ภาคเอกชนจัดการ เพราะจะก่อให้เกิดเอาเปรียบจากชนชั้นนายทุนและเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบบ "เศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์" นั้้น การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ สินค้าไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เศรษฐกิจซบเซาตกต่ำ เช่นกรณีของพม่า และ เกาหลีเหนือ
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศจีน ท่านเติ้งเสี่ยวผิงได้นำเอา "ทฤษฎีแมวดำแมวขาว" โดยพึ่งพาระบบเศรษฐกิจ "ทุนนิยม" แม้การเมืองจะเป็นแบบ "คอมมิวนิสต์" ก็ตาม จนทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างน่ามหัศจรรย์มาหลายสิบปี เมื่อถึงเวลานี้จึงอาจกล่าวได้ว่า "เศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์" พ่ายแพ้แก่ "เศรษฐศาสตร์ทุนนิยม" แม้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยังคงอยู่ก็ตาม
แต่สำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น มีความเป็น "วิทยาศาสตร์" น้อยกว่า และมีความเป็น "สังคมศาสตร์" มากกว่า ดังนั้นแม้ว่าเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมเสรีได้ก่อกำเนิดโดย อดัม สมิธ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์) ราว 200 ปี แต่มีการพยายามหักล้างทฤษฎีของศาสตร์นี้ในหลายรูปแบบมากมาย ตัวอย่างเช่น
คาร์ล มาร์กซ์ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์) ได้พยายามชี้ประเด็นว่า ปัจจัยการผลิตทั้ง "ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการ" นั้น ควรอยู่ในการดูแลของภาครัฐเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ควรปล่อยให้ภาคเอกชนจัดการ เพราะจะก่อให้เกิดเอาเปรียบจากชนชั้นนายทุนและเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบบ "เศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์" นั้้น การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ สินค้าไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เศรษฐกิจซบเซาตกต่ำ เช่นกรณีของพม่า และ เกาหลีเหนือ
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศจีน ท่านเติ้งเสี่ยวผิงได้นำเอา "ทฤษฎีแมวดำแมวขาว" โดยพึ่งพาระบบเศรษฐกิจ "ทุนนิยม" แม้การเมืองจะเป็นแบบ "คอมมิวนิสต์" ก็ตาม จนทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างน่ามหัศจรรย์มาหลายสิบปี เมื่อถึงเวลานี้จึงอาจกล่าวได้ว่า "เศรษฐศาสตร์คอมมิวนิสต์" พ่ายแพ้แก่ "เศรษฐศาสตร์ทุนนิยม" แม้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยังคงอยู่ก็ตาม
และเมื่อมาถึงยุคของ อี.เอฟ.ชูมาร์กเกอร์ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ) ได้มุ่งประเด็นไปที่ "การเพิ่มประสิทธิภาพการบริโภค" แทนที่ "การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต" เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูง หากทำได้สำเร็จ ก็หมายถึง การบริโภคที่น้อยลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง แต่มีความพึงพอใจสูงขึ้น แม้ว่าโลกได้ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติมากมาย จนผู้คนเริ่มคุ้นชินกับ "การบริโภคน้อยลง แต่มีความสุขมากขึ้น" ได้แล้วก็ตาม การเดินหน้าไปตามแนวทางนี้ อาจหมายถึง การใช้จ่ายที่น้อยลง GDP ลดลง เศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ผู้คนมีความสุขมากขึ้น สิ่งนี้ก็ดูเหมือนจะเป็น "ศาสนศาสตร์" ไปมากกว่า "เศรษฐศาสตร์" ถึงแม้จะหักล้าง "ทุนนิยม" ซึ่งเป็นกระแสหลักยังไม่สำเร็จ แต่ความรุนแรงจากภาวะโลกร้อนและความเสียหายของเศรษฐกิจจากความโลภที่เกินขอบเขต ก็น่าจะส่งผลให้ "เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ" ดูดีมีน้ำหนักมากขึ้นในอนาคตเป็นแน่
แล้วภายในแวดวงของ "ทุนนิยม" บ้างละ อดัม สมิธ เน้นที่คำว่า "แข่งขันเสรี" ปล่อยให้ "มือที่มองไม่เห็น" ทำงานแล้วจะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดได้เอง แต่ จอห์น แนช (บิดาแห่งทฤษฎีเกม) ได้แทนที่ "การแข่งขัน" ด้วย "การร่วมมือ" ต่างหากที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่่ดีกว่าเป็น "win-win" ตามแนวคิดของ ทฤษฎีเกม และ ดุลยภาพแนช (Nash Equilibrium) ซึ่งเป็นไปตามเรื่องราวในภาพยนตร์ A Beautiful Mind นั่นเอง และ รางวัลโนเบลก็ดูเหมือนเป็นตัวบ่งชี้ว่าเขาได้หักล้างทฤษฎีของอดัม สมิธ จริง
ส่วน จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค) ไม่เห็นด้วยกับคำว่า "เสรี" แต่การที่รัฐบาลเข้าไป "แทรกแซง" โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำต่างหากที่จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า สิ่งนี้ได้พัฒนากลายเป็นทฤษฎีการคลัง หรือ "ทฤษฎีเคนส์" มาจนถึงปัจจุบัน โดยเคนส์ บอกว่า "ค่าตัวทวี" (multiplier) นั้นจะมากกว่า 1 หมายถึง การที่รัฐบาลใส่เงินเข้าไปจะกระตุ้นให้ภาคเอกชนบริโภค และ ลงทุนตามมาด้วย
แน่นอนว่าแนวคิดแบบนี้ก็ถูกโต้แย้งโดย มิลตัน ฟรีดแมน (บิดาแห่งสำนักการเงินนิยม) ที่ว่าการใช้จ่ายของภาครัฐนั้นจะไปแย่งเงินของภาคเอกชน (crowding out) ซึ่งจะทำให้สุดท้ายแล้ว "ค่าตัวทวี" จะเหลืออยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เท่านั้นเอง
โดยในกรอบทฤษฎีเคนส์นั้น G = Gc+Gi คือ การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น มีเพื่อการบริโภค และ การลงทุนเท่านั้น โดยเคนส์เชื่อว่า เมื่อเพิ่ม G ก็ดึงให้เอกชนเพิ่มการบริโภค และ ลงทุน (C และ I) เพิ่มตามไปด้วย ขณะที่ฟรีดแมนบอกว่าการเพิ่ม G จะไปแย่งเงินเอกชนส่งผลให้ C และ I ลดลงต่างหาก
แต่สำหรับ "ทฤษฎีการคลังไท้เก๊ก" G = Gc+Gi+Gs+Gp ซึ่งกว้างออกไปกว่าเดิมนั้น แล้วสมการที่ยาวขึ้นนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างละ
Gs : G stock ซึ่งหมายถึง การที่รัฐบาลนำเงินไปใช้เพื่อการเก็บสต็อกสินค้าบางอย่างที่เสื่อมค่าลงไปได้ เงินไม่หมุน และ ค่าตัวทวีจะต่ำมาก
เรื่องนี้ทำให้เข้าใจได้ว่ากรณีของการจำนำข้าว แม้รัฐบาลเพื่อไทยใช้เงินถึง 6.7 แสนล้านบาทเพื่อรับจำนำข้าว พร้อมเก็บสต็อกถึงเกือบ 20 ล้านตัน แต่ผลทางเศรษฐกิจนั้นน่าจะแค่พอๆ กับรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ใช้ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรราว 6-7 หมื่นล้านต่อปี นั่นก็เพราะว่า Gs มี "ค่าตัวทวี" ที่ต่ำมากนั่นเอง
นอกจากนี้กรณีการนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท เข้าซื้อยางราว 2 แสนตันเก็บเป็นสต็อกเพื่อพยุงราคายางก็เช่นกัน จะเห็นว่าผลประโยชน์ที่ตกกับชาวสวนยางนั้นก็มีน้อยมาก
ยังรวมไปถึงโครงการ "รถยนต์คันแรก" ที่กลายเป็น สต็อกรถยนต์ มีผู้จองสิทธิแต่ไม่มารับรถก็มาก ผ่อนไม่รอดก็เยอะ ไม่ใช่การบริโภคแบบครั้งเดียวจบ แต่มีภาะที่ต้องดูแลผ่อนค่างวดไปอีกหลายปี จนลดทอนกำลังซื้อของคนชั้นกลางไปไม่น้อยเลย
ไม่เพียงแต่ "ค่าตัวทวี" ที่ต่ำเพราะเงินไม่หมุนเท่านั้น แต่การเสื่อมค่าของสต็อก และ การเปิดช่องให้ทุจริตได้ก็ดูเหมือนจะทำให้นโยบายการคลังแบบ Gs ของรัฐบาลดูแย่ไปเลย
ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ Gp หรือ G pension ซึ่งหมายถึง การที่ภาครัฐส่งเงินสมทบ หรือ ให้วงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนบำนาญอย่าง กบข.ประกันสังคม RMF, LTF และ ประกันชีวิต การที่รัฐบาลใช้เงินมากขึ้น ทำให้มีการออมเข้ามาในกองทุนบำนาญมากขึ้นด้วย แม้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตแต่นั่นกลับทำให้การใช้จ่ายในปัจจุบันลดลง ค่าตัวทวีของ Gp จึงถึงขั้น "ติดลบ" ซึ่งเรื่องนี้หักล้างทฤษฎีของเคนส์ที่ว่าตัวทวีมากกว่า 1 และ ยังหักล้างแนวคิดการคลังของกลุ่มการเงินนิยมที่บอกว่าค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 อีกด้วย
นั่นหมายถึง หากรัฐบาลรัดเข็มขัดการคลังในส่วนนี้จะกลับทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่สามารถจะเป็นไปได้เลยในกรอบทฤษฎีเคนส์ ดังนั้น "การคลังไท้เก๊ก" จึงเป็นการหักล้าง "ทฤษฎีเคนส์" เต็มๆ และ เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้ประเทศซึ่งมีวิกฤติการคลังอย่าง อเมริกา ญี่ปุ่นและ ยูโรโซน อาจรวมถึงประเทศไทยในอนาคตนั้น สามารถหาช่องทางที่จะ "รัดเข็มขัดการคลัง" พร้อมๆ ไปกับการ "กระตุ้นเศรษฐกิจ" ได้ด้วย
และเนื่องจากปรมาจารย์ "เคนส์" คือ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค ดังนั้น การหักล้างทฤษฎีเคนส์ จึงอาจหมายความว่า โลกได้เวลาที่จะต้องเขียนตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคกันใหม่แล้ว คิดแบบนั้นไหมครับ ??
ส่วน จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค) ไม่เห็นด้วยกับคำว่า "เสรี" แต่การที่รัฐบาลเข้าไป "แทรกแซง" โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำต่างหากที่จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า สิ่งนี้ได้พัฒนากลายเป็นทฤษฎีการคลัง หรือ "ทฤษฎีเคนส์" มาจนถึงปัจจุบัน โดยเคนส์ บอกว่า "ค่าตัวทวี" (multiplier) นั้นจะมากกว่า 1 หมายถึง การที่รัฐบาลใส่เงินเข้าไปจะกระตุ้นให้ภาคเอกชนบริโภค และ ลงทุนตามมาด้วย
แน่นอนว่าแนวคิดแบบนี้ก็ถูกโต้แย้งโดย มิลตัน ฟรีดแมน (บิดาแห่งสำนักการเงินนิยม) ที่ว่าการใช้จ่ายของภาครัฐนั้นจะไปแย่งเงินของภาคเอกชน (crowding out) ซึ่งจะทำให้สุดท้ายแล้ว "ค่าตัวทวี" จะเหลืออยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เท่านั้นเอง
โดยในกรอบทฤษฎีเคนส์นั้น G = Gc+Gi คือ การใช้จ่ายของภาครัฐนั้น มีเพื่อการบริโภค และ การลงทุนเท่านั้น โดยเคนส์เชื่อว่า เมื่อเพิ่ม G ก็ดึงให้เอกชนเพิ่มการบริโภค และ ลงทุน (C และ I) เพิ่มตามไปด้วย ขณะที่ฟรีดแมนบอกว่าการเพิ่ม G จะไปแย่งเงินเอกชนส่งผลให้ C และ I ลดลงต่างหาก
แต่สำหรับ "ทฤษฎีการคลังไท้เก๊ก" G = Gc+Gi+Gs+Gp ซึ่งกว้างออกไปกว่าเดิมนั้น แล้วสมการที่ยาวขึ้นนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างละ
Gs : G stock ซึ่งหมายถึง การที่รัฐบาลนำเงินไปใช้เพื่อการเก็บสต็อกสินค้าบางอย่างที่เสื่อมค่าลงไปได้ เงินไม่หมุน และ ค่าตัวทวีจะต่ำมาก
เรื่องนี้ทำให้เข้าใจได้ว่ากรณีของการจำนำข้าว แม้รัฐบาลเพื่อไทยใช้เงินถึง 6.7 แสนล้านบาทเพื่อรับจำนำข้าว พร้อมเก็บสต็อกถึงเกือบ 20 ล้านตัน แต่ผลทางเศรษฐกิจนั้นน่าจะแค่พอๆ กับรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ใช้ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรราว 6-7 หมื่นล้านต่อปี นั่นก็เพราะว่า Gs มี "ค่าตัวทวี" ที่ต่ำมากนั่นเอง
นอกจากนี้กรณีการนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท เข้าซื้อยางราว 2 แสนตันเก็บเป็นสต็อกเพื่อพยุงราคายางก็เช่นกัน จะเห็นว่าผลประโยชน์ที่ตกกับชาวสวนยางนั้นก็มีน้อยมาก
ยังรวมไปถึงโครงการ "รถยนต์คันแรก" ที่กลายเป็น สต็อกรถยนต์ มีผู้จองสิทธิแต่ไม่มารับรถก็มาก ผ่อนไม่รอดก็เยอะ ไม่ใช่การบริโภคแบบครั้งเดียวจบ แต่มีภาะที่ต้องดูแลผ่อนค่างวดไปอีกหลายปี จนลดทอนกำลังซื้อของคนชั้นกลางไปไม่น้อยเลย
ไม่เพียงแต่ "ค่าตัวทวี" ที่ต่ำเพราะเงินไม่หมุนเท่านั้น แต่การเสื่อมค่าของสต็อก และ การเปิดช่องให้ทุจริตได้ก็ดูเหมือนจะทำให้นโยบายการคลังแบบ Gs ของรัฐบาลดูแย่ไปเลย
ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ Gp หรือ G pension ซึ่งหมายถึง การที่ภาครัฐส่งเงินสมทบ หรือ ให้วงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนบำนาญอย่าง กบข.ประกันสังคม RMF, LTF และ ประกันชีวิต การที่รัฐบาลใช้เงินมากขึ้น ทำให้มีการออมเข้ามาในกองทุนบำนาญมากขึ้นด้วย แม้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตแต่นั่นกลับทำให้การใช้จ่ายในปัจจุบันลดลง ค่าตัวทวีของ Gp จึงถึงขั้น "ติดลบ" ซึ่งเรื่องนี้หักล้างทฤษฎีของเคนส์ที่ว่าตัวทวีมากกว่า 1 และ ยังหักล้างแนวคิดการคลังของกลุ่มการเงินนิยมที่บอกว่าค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 อีกด้วย
นั่นหมายถึง หากรัฐบาลรัดเข็มขัดการคลังในส่วนนี้จะกลับทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่สามารถจะเป็นไปได้เลยในกรอบทฤษฎีเคนส์ ดังนั้น "การคลังไท้เก๊ก" จึงเป็นการหักล้าง "ทฤษฎีเคนส์" เต็มๆ และ เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้ประเทศซึ่งมีวิกฤติการคลังอย่าง อเมริกา ญี่ปุ่นและ ยูโรโซน อาจรวมถึงประเทศไทยในอนาคตนั้น สามารถหาช่องทางที่จะ "รัดเข็มขัดการคลัง" พร้อมๆ ไปกับการ "กระตุ้นเศรษฐกิจ" ได้ด้วย
และเนื่องจากปรมาจารย์ "เคนส์" คือ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาค ดังนั้น การหักล้างทฤษฎีเคนส์ จึงอาจหมายความว่า โลกได้เวลาที่จะต้องเขียนตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคกันใหม่แล้ว คิดแบบนั้นไหมครับ ??
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)