ยูโร คือ หมูหัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...เงินยูโร นั้นเหมือนมีชะตากรรมที่เหมือนถูกสาปและต้องอายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น เพราะ มีการถือกำเนิดแบบไม่มีตรรกะเหตุผลที่ดีพอมารองรับ แม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุนในยูโรโซนได้เป็นอย่างดีมาช่วงเวลาหนี่งก็ตาม อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่ควรจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศกลับไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก็เพราะ "ระบบเงินยูโร" นี่เอง
เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี คนทั่วโลกก็เริ่มเห็น "ด้านมืด" ของเงินยูโรอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ประเทศที่แข็งแรง เงินเฟ้อต่ำ และ ประเทศที่อ่อนแอ เงินเฟ้อสูง กลับใช้เงินสกุลเดียวกัน ยิ่งเวลาผ่านไป ประเทศที่อ่อนแอยิ่งไม่สามารถจะแข่งขันด้านการส่งออกได้เลย เมื่อส่งออกได้น้อยนำเข้ามาก ก็พบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและติดหนี้กับต่างประเทศจำนวนมาก โดยในปี 2008 ที่ค่าเงินยูโรเคยแข็งค่าถึงระดับ 1.60 ดอลลาร์นั้น กรีซเคยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 15% GDP ส่วนสเปนและโปรตุเกสอยู่ระดับ 10% GDP ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขด้วยการรัดเข็มขัดการคลังเท่านั้น เพราะ ต้นตอของปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนั้น ถึงจะรัดเข็มขัดจนเหลือขาดดุล 3% GDP ประเทศก็ยังไม่สามารถค้าขายให้ได้ดุลมาเพื่อลดหนี้ได้ ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยน "ยูโร" ที่ไม่เหมาะสมกับประเทศอ่อนแอเหล่านี้ต่างหาก
ประเทศที่ประสบปัญหาจนต้องขอความช่วยเหลือก่อนเพื่อนก็คือ กรีซ (G) ถัดมาก็คือ ไอร์แลนด์ (I) และ น่าจะเป็นโปรตุเกส(P)คือรายต่อไป เมื่อเรียงลำดับอักษรจากหลังมาหน้า ก็จะได้คำว่า "PIG" นั่นเอง แล้วอีก 2 ประเทศขนาดใหญ่ที่จะตามมาก็คือ สเปน (S) และ อิตาลี (I) ก็ได้เป็นคำว่า "IS" ซึ่งหาก 2 ประเทศนี้ถูกโจมตีด้วยกองทุนเฮดจ์ฟันด์อย่างได้ผลจนผลตอบแทนพันธบัตรสูงลิ่วเสียแล้วละก็ ในที่สุดก็คงถึงเวลาล่มสลายของเงิน EURO ดังนั้น อาจเรียงประโยคได้ว่า "EURO IS PIG" เงินยูโรคือ หมูหัน ที่พร้อมถูกเชือด นี่คือคำสาปจากสวรรค์
Paradox of Euro หมายถึง การขัดแย้งกันเองของเงินยูโร ประเทศที่อ่อนแอ (PIIGS) ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง แถมด้วยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินควรอ่อนลงในระยะยาว ขณะที่ประเทศแข็งแกร่ง (เยอรมัน) ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อต่ำ ได้ดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินควรแข็งค่าขึ้นในระยะยาว แต่ 2 กลุ่มประเทศกลับใช้ค่าเงินเดียวกัน ดังนั้น ยูโรจึงควรทั้งแข็งค่า และ อ่อนค่าในระยะยาว ?? เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นไม่ได้เพราะมันขัดแย้งกันเอง สภาพเช่นนี้จะไม่สามารถคงอยู่ได้นานนักในอนาคต ในปี 2011 จึงควรเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบเงินสกุลเดียวนี้
"หมูหัน" ยังต้องมีการผ่าแบ่งซีกด้วยเช่นเดียวกันกับ "เงินยูโร" ทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดน่าจะเป็น การสร้างเงินอีกระบบหนึ่งขึ้นมารองรับ เพื่อแยกประเทศในยูโรโซน ออกเป็นอย่างน้อย 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแข็งแรง และ กลุ่มอ่อนแอ จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ และ ยังรักษาข้อดีของการใช้เงินสกุลร่วมกันได้ต่อไป
ธปท.ควรจะรีบนำเอาข้อความ 2 ประโยคไปบอกกับธนาคารกลางของยูโรโซน (ECB) ดังนี้ 1.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้มานานกว่า 10 ปี มันไม่แน่ว่ามันจะดีเสมอไป 2.การยื้อพยายามรักษาระบบที่ผิดพลาดเอาไว้ จะทำให้ความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นี่คือการสื่อสารว่า "ระบบตะกร้าเงินบาท"ในอดีต กับ "เงินยูโร" ในปัจจุบัน ต่างก็มีจุดบกพร่องและสมควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยเร็วที่สุด "ระบบตะกร้าเงินบาท" นั้นใช้เวลา 12 ปีกว่าจะยกเลิกไป ขณะที่เงินยูโร ก็จะครบรอบ 12 ปีในปี 2011 เช่นกัน
หากประเทศที่แข็งแรงก็ใช้เงิน Eura ใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเช่น ขาดดุลการคลังไม่เกิน 3% GDP กลุ่มนี้จะมีเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยต่ำ และ ค่าเงินจะแข็งค่าในระยะยาว ส่วนประเทศอ่อนแอใช้ Euro กันต่อไป ปรับเกณฑ์ขาดดุลการคลังให้ยืดหยุ่นขึ้นเป็น 5% GDP เบื้องต้นอาจกำหนดให้ Eura มีค่าแข็งกว่า Euro ราว 10% หลังจากนั้นก็เปิดเสรีให้ซื้อขายเป็นไปตามกลไกตลาด อาจเป็นไปได้ว่า Euro อาจดิ่งลงอย่างเร็วเหลือแค่เท่ากับ 1 ดอลลาร์ ขณะที่ Eura อาจแข็งค่าขึ้นเป็น 1.5 ดอลลาร์ นั่นหมายถึงว่า กรีซ ซึ่งฝืนใช้ค่าเงินเดียวกับ เยอรมัน เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะ ค่าเงินที่เหมาะสมนั้นอาจแตกต่างกันได้ถึง 50%
กลุ่ม PIIGS จะมีเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่า ค่าเงินจะอ่อนค่าลงในระยะยาว ซึ่งก็จะช่วยให้ภาระหนี้สินเป็น "ยูโร"ของประเทศกลุ่ม PIIGS นั้นด้อยค่าลง พร้อมๆ กับช่วยส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวให้แข่งขันได้ดีขึ้น ช่วยประเทศลูกหนี้เหล่านี้ให้ทำมาค้าขายมีกำไรเพื่อมาลดหนี้ได้ วิธีนี้จะปรับเศรษฐกิจของยุโรปเข้าสู่สมดุลในที่สุด แม้ว่า ประเทศเยอรมัน และประเทศเอเชียที่เป็นเจ้าหนี้ "เงินยูโร" จำนวนมาก อาจต้องมีสินทรัพย์เงินยูโรที่ด้อยค่าลงไปบ้างก็ตาม
ในที่สุดแล้ว ผมคิดว่าค่าเงินที่เหมาะสมสำหรับยุโรป อาจต้องใช้เงินถึง 3 สกุลด้วยกัน Eura,Euri และ Euro เพื่อให้ประเทศที่แข็งแรง กลางๆ และ อ่อนแอ ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศตนเอง ยังมีอีก 11 ประเทศใน EU ที่ยังไม่เข้าในระบบยูโรโซน ก็อาจได้ใช้จังหวะนี้เพื่อโดดเข้าใช้เงิน "สกุลร่วม" 1 ใน 3 สกุล ดังนั้น ทั้งยุโรปตะวันตก ตะวันออก รวมไปถึง แอฟริกาอีกหลายประเทศ อาจเหลือเงินแค่ 3 สกุลนี้เท่านั้น และ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการ "แตกเพื่อโต" ของยุโรป และ ช่วยสร้างต้นแบบที่ดีให้กับค่าเงินในเอเชียด้วย
สำหรับการป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจอันเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น วิกฤติเตกีล่าในเมกซิโก วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย และ วิกฤติในอาร์เจนตินาซึ่งปล่อยให้ค่าเงินแข็งเกินระดับเหมาะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องจนเกิดวิกฤตินั้น แนวคิดของนายไกธ์เนอร์ รมว.คลังอเมริกาถือว่าดีทีเดียว IMF และ WTO ควรมีหน้าที่เข้ามาดูแลประเทศที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งด้านได้ดุลและขาดดุลเกินกว่า 3% GDP ติดต่อกัน 3 ปี เพื่อปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมเกิดสมดุลขึ้นได้ หากมีการเตือนภัยเช่นนี้โลกคงลดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ ไปได้มาก รวมทั้ง "วิกฤติหมูยูโร" ในครั้งนี้ด้วย
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปัญหา ก็คือ ตำราเศรษฐศาสตร์
ปัญหา ก็คือ ตำราเศรษฐศาสตร์
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจโลกตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนขับรถ ไม่ได้อยู่ที่สภาพรถ ไม่ได้อยู่ที่สภาพถนน แต่มันกลับอยู่ที่ "ป้ายบอกทาง" ต่างหาก ลองคิดดูว่า ป้ายบอกทางที่ล้าสมัยและผิดพลาด ชี้บอกว่า "airport" ให้วิ่งไปทางเหนือของ กทม. แทนที่จะชี้ไปทางทิศตะวันออก เพราะ สนามบินระหว่างประเทศย้ายจาก "ดอนเมือง" ไป "สุวรรณภูมิ" นานแล้ว วิ่งกันแบบผิดๆ อย่างนี้ อีกนานเท่าใดจึงจะถึงที่หมาย มีรถหลายคันที่วิ่งชนกันเอง และ ยังมีรถอีกหลายคันที่กำลังจะวิ่งลงเหว
อาจกล่าวได้ว่า หลังจากสมัยของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ "เศรษฐศาสตร์" ซึ่งเป็นวิชาการที่เกี่ยวกับปากท้องความเป็นอยู่ของคนเกือบทั้งโลก แต่การพัฒนาของทฤษฎีแบบมีนัยสำคัญนั้นแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ตรงกันข้ามกับการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ประชากรวิ่งไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาสำคัญของ "สังคมศาสตร์" นั้นมีความแตกต่างกับ "พุทธธรรม" และ "วิทยาศาสตร์" อย่างมาก เพราะ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสังคม และ เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทำให้ทฤษฎีการเงินและการคลังเก่าๆ นั้นใช้ไม่ได้ผลดังเดิม ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเทียบกับวิชาบัญชี หรือ วิชาการลงทุนแล้ว "เศรษฐศาสตร์" ยังมีความสับสนในเรื่องของ stock และ flow อยู่มากทีเดียว
มาลองดูกันที่ "ทฤษฎีการคลัง" ก่อน ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และ ยุโรป ล้วนแล้วแต่ติด "กับดักเคนส์" ทั้งสิ้น เป็นภาระหนี้สาธารณะที่แม้จะใส่เงินก้อนโตขาดดุลจำนวนมหาศาล ก็ยังไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแรง ในเรื่องนี้เอง แม้แต่เจ้าของทฤษฎีเคนส์ เมื่อถูกถามว่าในระยะยาวแล้ว ภาระหนี้สาธารณะที่พอกพูนขึ้นจะเป็นปัญหาหรือไม่ เคนส์ได้ตอบเป็นประโยคดังก้องโลกว่า "ในระยะยาวแล้ว พวกเราทุกคนจะตายหมด" ใช่แล้วครับ เคนส์ได้เสียชีวิตไปแล้ว และ ผู้สร้างหนี้ภาครัฐก้อนโตให้ประเทศพัฒนาแล้ว หลายๆ ท่านก็เสียชีวิตไปแล้ว แต่ปัญหาก็คือ แม้นักวิชาการหรือท่านผู้นำจะเสียชีวิตไป แต่หนี้สาธารณะนั้นยังคงอยู่เป็นภาระให้กับรุ่นลูกหลานอยู่ดี มันไม่ได้หายไปพร้อมๆ กับคนสร้างหนี้นะครับ
ในปัจจุบันมีการพูดถึง 2 ด้านของนโยบายการคลัง ด้านที่ 1 ก็คือ ควรจะขาดดุลการคลังหนักๆ ต่อไปเพื่อพยุงเศรษฐกิจจะดีกว่าไหม ?? ดูเหมือนอเมริกาจะเลือกทางนี้ ส่วนด้านที่ 2 คือ ควรจะรัดเข็มขัดการคลัง โดยยอมให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงบ้างจะดีกว่าไหม ?? ประเทศแถบยุโรปเลือกด้านนี้
เหรียญทั้ง 2 ด้านนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะ ด้านแรกนั้น จะทำให้เกิดหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดวิกฤติการคลังได้ ส่วนวิธีหลังนั้น อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก จนทำให้รายได้ภาษีของรัฐลดลง และรัฐอาจต้องใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือคนว่างงานมากขึ้น ในที่สุดแล้วจะทำให้การขาดดุลการคลังสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) จึงได้เสนอทางออกแบบ "เหรียญด้านที่ 3" เพราะเหรียญไม่จำเป็นต้องอออก "หัว" หรือ "ก้อย" มันอาจจะออก "กลาง" ก็ได้ ซึ่งผมได้นำเสนอไปแล้วในบทความ "รัดเข็มขัดการคลังอย่างไรให้เศรษฐกิจดีขึ้น" ซึ่งหลักการก็คือ ให้ลดรายจ่ายภาครัฐในส่วนที่เงินนั้นวิ่งเข้าสู่ stock (กองทุนต่างๆ) แทนที่จะเป็น flow ในการใช้จ่ายบริโภคและลงทุน ซึ่งเงินที่วิ่งสู๋ stock เหล่านั้นมีค่าตัวทวีคูณ (multiplier) ที่ต่ำกว่า 1 เงินขาดดุลการคลังนั้นจึงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นผลบวก
ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ กอช. (กับดักการออมแห่งชาติ) ซึ่งรัฐบาลอาจใส่เงิน 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่แรงงานนอกระบบใส่เงินสมทบราวปีละ 3 หมื่นล้าน รวมเป็น 5 หมื่นล้านบาท แทนที่เงินจะไหลเป็น flow เพื่อบริโภคและลงทุน และสร้าง GDP 2 เท่าตัวได้ยอดถึง 1 แสนล้านบาท เงินกลับจมอยู่เป็นกองทุนซึ่งอาจได้ผลตอบแทนราว 2% ต่อปีได้ GDP เพียง 1 พันล้านบาท จะเห็นได้ว่าตัวเลขแตกต่างกันถึง 100 เท่าตัว ตัวทวีคูณของโครงการนี้อาจตกอยู่ที่ -5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าตัวเลข 1 เท่าอย่างมาก กอช.จะมีภาระผูกพัน 10 ปีเป็นอย่างต่ำก่อนที่จะเริ่มจ่ายเงินบำนาญ ด้งนั้น โครงการนี้จึงอาจสร้างความเสียหายต่อ GDP ไทยได้ถึง 1 ล้านล้านบาท (ราว 20 เท่าของความเสียหายทางเศรษฐกิจของอุทกภัยใหญ่ครั้งนี้) น่าแปลกใจไหมครับว่า ทำไม ครม.และสภาฯ จึงผ่านเรื่องแบบนี้มาได้อย่างง่ายดาย ??
การลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม และกบข. การลดวงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับ LTF,RMF รวมไปถึง การยืมพลังของกองทุนบำนาญมาเพื่อช่วยรัฐบาล เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการ "รัดเข็มขัดการคลัง" ที่ส่งผลบวกต่อ GDP ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศยุโรปในกลุ่ม PIIGS และ ญี่ปุ่น อาจต้องเร่งรีบศึกษาเพื่อนำไปใช้เพื่อแก้ไขวิกฤติการคลัง พร้อมๆ ไปกับกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว
สำหรับ "ทฤษฎีการเงิน" นั้น ความเชื่อที่ว่า "การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ" และ "การลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเร่งเงินเฟ้อ" นั้นเป็นความคิดที่ผิด โดยปัจจัยที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้เหมือนในอดีต แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามก็เพราะ ยังมีแรงสะท้อนกลับอีก 5 แรงที่ทฤษฎีการเงินเดิมๆ มองข้ามไป เช่น ต้นทุนการเงิน รายได้ของนายทุน และ การไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ นอกจานี้ยังมีปัจจัย "LOAD" (Liberalisation, Overcapacity, Aging Society และ Deleveraging) เป็นภาระถ่วงให้แรงกิริยาเดิมส่งผลน้อยลง และ แรงสะท้อนกลับส่งผลรุนแรงยิ่งขึ้น นันหมายถึง การหวังผลให้การลดอัตราดอกเบี้ยช่วยกระตุ้นสินเชื่อเพื่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศตนเองนั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้าม เกิดภาวะเงินฝืดแทน
และสำหรับ "ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยน" นั้น เงินยูโรสะท้อนเรื่องนี้เป็นอย่างดี หลังจากที่ชาวยุโรปเคยภาคภูมิใจกับ "ยูโร"เป็นอย่างมากเชื่อว่าจะช่วยในการค้าและการลงทุนได้อย่างดี แต่แท้ที่จริงแล้ว "ระบบเงินยูโร" คือ ต้นเหตุแห่งหายนะของยูโรโซนในปัจจุบัน กรีซมีอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง ดังนั้น ค่าเงินของกรีซควรจะอ่อนค่าลงในระยะยาว ขณะที่เยอรมันมีดอกเบี้ยและเงินเฟ้อต่ำ ค่าเงินควรจะแข็งค่าในระยะยาว (International Fisher Effect) แต่ทั้ง 2 ประเทศกลับใช้เงิน "ยูโร" เหมือนกัน นั่นหมายถึง เงินยูโร ควรจะทั้งอ่อนค่า และ แข็งค่า มันจึงเป็น "ความขัดแย้งกันเองของยูโร" (Paradox of Euro) ทางแก้ไขนั้น ก็คือ ควรต้องมีเงินอย่างน้อย 2 ระบบ ผมตั้งชื่อให้ว่า "Eura" เป็นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งควรใช้กับประเทศที่แข็งแรง อย่างเยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรีย ฯลฯ ยอมให้เงินยูโร อ่อนค่าลงไป เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ติดหนี้เหล่านี้ให้มีภาระหนี้ที่เบาลง ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพการส่งออกและท่องเที่ยวอีกด้วย
การที่ทฤษฎีการเงิน การคลัง และ อัตราแลกเปลี่ยน ชี้ทิศทางที่ผิดๆ อยู่เช่นนี้ จึงสร้างปัญหาต่อการกำหนดนโยบายของประเทศต่างๆ เพราะ ผู้กำหนดนโยบายล้วนเรียนมาจากตำราเล่มเดียวกัน เมื่อเชื่อผิดๆ ก็ย่อมดำเนินนโยบายผิดๆ ใน "ตำราเศรษฐศาสตร์" ปัจจุบันจะพบว่ามันสับสน และมีข้อผิดพลาดอยู่เป็นจำนวนมาก นี่อาจเป็นครั้งแรกในแวดวงวิชาการไทย ที่พวกเราได้พบข้อผิดพลาดในเนื้อหาหลักของทฤษฎีระดับโลก นอกจากนี้เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) อาจจะช่วยในการอุดช่องโหว่เหล่านั้น อาจช่วยแก้ไขทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นได้ นั่นอาจหมายถึง ประเทศไทยอาจก้าวสู่การเป็นผู้นำในการส่งสัญญาณเตือน และ แนะนำนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างๆ ให้กับประเทศยักษ์ใหญ่ รวมไปถึงองค์กรอย่าง IMF และ ECB อีกด้วย
ผมจึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการให้รีบเร่งศึกษาในศาสตร์แขนงใหม่นี้ และ ทำการปรับปรุง "ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์" เสียใหม่ เพราะ การขาดดุลการคลังไม่แน่ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดอัตราดอกเบี้ยลงก็ไม่แน่ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นเงินเฟ้อ รีบปรับปรุง "ป้ายบอกทาง" ให้ทันสมัยและถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์ชนกันเอง ช่วยให้รถยนต์ที่วนๆ หลงทิศหลงทางมานานได้ไปสู่เป้าหมายอย่างถูกต้อง และที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้รถยนต์วิ่งอย่างเร็วไปที่ริมหน้าผา โดยที่คนขับซึ่งปฏิบัติตาม "ป้ายบอกทาง" นั้นยังหลงดีใจร้องบอกผู้โดยสารอยู่เลยว่า "พวกเรามาถูกทางแล้ว"
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจโลกตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนขับรถ ไม่ได้อยู่ที่สภาพรถ ไม่ได้อยู่ที่สภาพถนน แต่มันกลับอยู่ที่ "ป้ายบอกทาง" ต่างหาก ลองคิดดูว่า ป้ายบอกทางที่ล้าสมัยและผิดพลาด ชี้บอกว่า "airport" ให้วิ่งไปทางเหนือของ กทม. แทนที่จะชี้ไปทางทิศตะวันออก เพราะ สนามบินระหว่างประเทศย้ายจาก "ดอนเมือง" ไป "สุวรรณภูมิ" นานแล้ว วิ่งกันแบบผิดๆ อย่างนี้ อีกนานเท่าใดจึงจะถึงที่หมาย มีรถหลายคันที่วิ่งชนกันเอง และ ยังมีรถอีกหลายคันที่กำลังจะวิ่งลงเหว
อาจกล่าวได้ว่า หลังจากสมัยของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ "เศรษฐศาสตร์" ซึ่งเป็นวิชาการที่เกี่ยวกับปากท้องความเป็นอยู่ของคนเกือบทั้งโลก แต่การพัฒนาของทฤษฎีแบบมีนัยสำคัญนั้นแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ตรงกันข้ามกับการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ประชากรวิ่งไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาสำคัญของ "สังคมศาสตร์" นั้นมีความแตกต่างกับ "พุทธธรรม" และ "วิทยาศาสตร์" อย่างมาก เพราะ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสังคม และ เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทำให้ทฤษฎีการเงินและการคลังเก่าๆ นั้นใช้ไม่ได้ผลดังเดิม ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเทียบกับวิชาบัญชี หรือ วิชาการลงทุนแล้ว "เศรษฐศาสตร์" ยังมีความสับสนในเรื่องของ stock และ flow อยู่มากทีเดียว
มาลองดูกันที่ "ทฤษฎีการคลัง" ก่อน ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และ ยุโรป ล้วนแล้วแต่ติด "กับดักเคนส์" ทั้งสิ้น เป็นภาระหนี้สาธารณะที่แม้จะใส่เงินก้อนโตขาดดุลจำนวนมหาศาล ก็ยังไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแรง ในเรื่องนี้เอง แม้แต่เจ้าของทฤษฎีเคนส์ เมื่อถูกถามว่าในระยะยาวแล้ว ภาระหนี้สาธารณะที่พอกพูนขึ้นจะเป็นปัญหาหรือไม่ เคนส์ได้ตอบเป็นประโยคดังก้องโลกว่า "ในระยะยาวแล้ว พวกเราทุกคนจะตายหมด" ใช่แล้วครับ เคนส์ได้เสียชีวิตไปแล้ว และ ผู้สร้างหนี้ภาครัฐก้อนโตให้ประเทศพัฒนาแล้ว หลายๆ ท่านก็เสียชีวิตไปแล้ว แต่ปัญหาก็คือ แม้นักวิชาการหรือท่านผู้นำจะเสียชีวิตไป แต่หนี้สาธารณะนั้นยังคงอยู่เป็นภาระให้กับรุ่นลูกหลานอยู่ดี มันไม่ได้หายไปพร้อมๆ กับคนสร้างหนี้นะครับ
ในปัจจุบันมีการพูดถึง 2 ด้านของนโยบายการคลัง ด้านที่ 1 ก็คือ ควรจะขาดดุลการคลังหนักๆ ต่อไปเพื่อพยุงเศรษฐกิจจะดีกว่าไหม ?? ดูเหมือนอเมริกาจะเลือกทางนี้ ส่วนด้านที่ 2 คือ ควรจะรัดเข็มขัดการคลัง โดยยอมให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงบ้างจะดีกว่าไหม ?? ประเทศแถบยุโรปเลือกด้านนี้
เหรียญทั้ง 2 ด้านนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะ ด้านแรกนั้น จะทำให้เกิดหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดวิกฤติการคลังได้ ส่วนวิธีหลังนั้น อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก จนทำให้รายได้ภาษีของรัฐลดลง และรัฐอาจต้องใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือคนว่างงานมากขึ้น ในที่สุดแล้วจะทำให้การขาดดุลการคลังสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) จึงได้เสนอทางออกแบบ "เหรียญด้านที่ 3" เพราะเหรียญไม่จำเป็นต้องอออก "หัว" หรือ "ก้อย" มันอาจจะออก "กลาง" ก็ได้ ซึ่งผมได้นำเสนอไปแล้วในบทความ "รัดเข็มขัดการคลังอย่างไรให้เศรษฐกิจดีขึ้น" ซึ่งหลักการก็คือ ให้ลดรายจ่ายภาครัฐในส่วนที่เงินนั้นวิ่งเข้าสู่ stock (กองทุนต่างๆ) แทนที่จะเป็น flow ในการใช้จ่ายบริโภคและลงทุน ซึ่งเงินที่วิ่งสู๋ stock เหล่านั้นมีค่าตัวทวีคูณ (multiplier) ที่ต่ำกว่า 1 เงินขาดดุลการคลังนั้นจึงส่งผลลบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นผลบวก
ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ กอช. (กับดักการออมแห่งชาติ) ซึ่งรัฐบาลอาจใส่เงิน 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่แรงงานนอกระบบใส่เงินสมทบราวปีละ 3 หมื่นล้าน รวมเป็น 5 หมื่นล้านบาท แทนที่เงินจะไหลเป็น flow เพื่อบริโภคและลงทุน และสร้าง GDP 2 เท่าตัวได้ยอดถึง 1 แสนล้านบาท เงินกลับจมอยู่เป็นกองทุนซึ่งอาจได้ผลตอบแทนราว 2% ต่อปีได้ GDP เพียง 1 พันล้านบาท จะเห็นได้ว่าตัวเลขแตกต่างกันถึง 100 เท่าตัว ตัวทวีคูณของโครงการนี้อาจตกอยู่ที่ -5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าตัวเลข 1 เท่าอย่างมาก กอช.จะมีภาระผูกพัน 10 ปีเป็นอย่างต่ำก่อนที่จะเริ่มจ่ายเงินบำนาญ ด้งนั้น โครงการนี้จึงอาจสร้างความเสียหายต่อ GDP ไทยได้ถึง 1 ล้านล้านบาท (ราว 20 เท่าของความเสียหายทางเศรษฐกิจของอุทกภัยใหญ่ครั้งนี้) น่าแปลกใจไหมครับว่า ทำไม ครม.และสภาฯ จึงผ่านเรื่องแบบนี้มาได้อย่างง่ายดาย ??
การลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม และกบข. การลดวงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับ LTF,RMF รวมไปถึง การยืมพลังของกองทุนบำนาญมาเพื่อช่วยรัฐบาล เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการ "รัดเข็มขัดการคลัง" ที่ส่งผลบวกต่อ GDP ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศยุโรปในกลุ่ม PIIGS และ ญี่ปุ่น อาจต้องเร่งรีบศึกษาเพื่อนำไปใช้เพื่อแก้ไขวิกฤติการคลัง พร้อมๆ ไปกับกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว
สำหรับ "ทฤษฎีการเงิน" นั้น ความเชื่อที่ว่า "การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ" และ "การลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเร่งเงินเฟ้อ" นั้นเป็นความคิดที่ผิด โดยปัจจัยที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้เหมือนในอดีต แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามก็เพราะ ยังมีแรงสะท้อนกลับอีก 5 แรงที่ทฤษฎีการเงินเดิมๆ มองข้ามไป เช่น ต้นทุนการเงิน รายได้ของนายทุน และ การไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ นอกจานี้ยังมีปัจจัย "LOAD" (Liberalisation, Overcapacity, Aging Society และ Deleveraging) เป็นภาระถ่วงให้แรงกิริยาเดิมส่งผลน้อยลง และ แรงสะท้อนกลับส่งผลรุนแรงยิ่งขึ้น นันหมายถึง การหวังผลให้การลดอัตราดอกเบี้ยช่วยกระตุ้นสินเชื่อเพื่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศตนเองนั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้าม เกิดภาวะเงินฝืดแทน
และสำหรับ "ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยน" นั้น เงินยูโรสะท้อนเรื่องนี้เป็นอย่างดี หลังจากที่ชาวยุโรปเคยภาคภูมิใจกับ "ยูโร"เป็นอย่างมากเชื่อว่าจะช่วยในการค้าและการลงทุนได้อย่างดี แต่แท้ที่จริงแล้ว "ระบบเงินยูโร" คือ ต้นเหตุแห่งหายนะของยูโรโซนในปัจจุบัน กรีซมีอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง ดังนั้น ค่าเงินของกรีซควรจะอ่อนค่าลงในระยะยาว ขณะที่เยอรมันมีดอกเบี้ยและเงินเฟ้อต่ำ ค่าเงินควรจะแข็งค่าในระยะยาว (International Fisher Effect) แต่ทั้ง 2 ประเทศกลับใช้เงิน "ยูโร" เหมือนกัน นั่นหมายถึง เงินยูโร ควรจะทั้งอ่อนค่า และ แข็งค่า มันจึงเป็น "ความขัดแย้งกันเองของยูโร" (Paradox of Euro) ทางแก้ไขนั้น ก็คือ ควรต้องมีเงินอย่างน้อย 2 ระบบ ผมตั้งชื่อให้ว่า "Eura" เป็นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งควรใช้กับประเทศที่แข็งแรง อย่างเยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรีย ฯลฯ ยอมให้เงินยูโร อ่อนค่าลงไป เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ติดหนี้เหล่านี้ให้มีภาระหนี้ที่เบาลง ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพการส่งออกและท่องเที่ยวอีกด้วย
การที่ทฤษฎีการเงิน การคลัง และ อัตราแลกเปลี่ยน ชี้ทิศทางที่ผิดๆ อยู่เช่นนี้ จึงสร้างปัญหาต่อการกำหนดนโยบายของประเทศต่างๆ เพราะ ผู้กำหนดนโยบายล้วนเรียนมาจากตำราเล่มเดียวกัน เมื่อเชื่อผิดๆ ก็ย่อมดำเนินนโยบายผิดๆ ใน "ตำราเศรษฐศาสตร์" ปัจจุบันจะพบว่ามันสับสน และมีข้อผิดพลาดอยู่เป็นจำนวนมาก นี่อาจเป็นครั้งแรกในแวดวงวิชาการไทย ที่พวกเราได้พบข้อผิดพลาดในเนื้อหาหลักของทฤษฎีระดับโลก นอกจากนี้เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) อาจจะช่วยในการอุดช่องโหว่เหล่านั้น อาจช่วยแก้ไขทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นได้ นั่นอาจหมายถึง ประเทศไทยอาจก้าวสู่การเป็นผู้นำในการส่งสัญญาณเตือน และ แนะนำนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างๆ ให้กับประเทศยักษ์ใหญ่ รวมไปถึงองค์กรอย่าง IMF และ ECB อีกด้วย
ผมจึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการให้รีบเร่งศึกษาในศาสตร์แขนงใหม่นี้ และ ทำการปรับปรุง "ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์" เสียใหม่ เพราะ การขาดดุลการคลังไม่แน่ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดอัตราดอกเบี้ยลงก็ไม่แน่ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นเงินเฟ้อ รีบปรับปรุง "ป้ายบอกทาง" ให้ทันสมัยและถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์ชนกันเอง ช่วยให้รถยนต์ที่วนๆ หลงทิศหลงทางมานานได้ไปสู่เป้าหมายอย่างถูกต้อง และที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้รถยนต์วิ่งอย่างเร็วไปที่ริมหน้าผา โดยที่คนขับซึ่งปฏิบัติตาม "ป้ายบอกทาง" นั้นยังหลงดีใจร้องบอกผู้โดยสารอยู่เลยว่า "พวกเรามาถูกทางแล้ว"
วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ดอกเบี้ย และ เงินเฟ้อ : ความเชื่อผิดๆ
ดอกเบี้ย และ เงินเฟ้อ : ความเชื่อผิดๆ
ธนาคารกลางทั่วโลกมีความเชื่อคล้ายๆ กันว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสกัดเงินเฟ้อ และ การลดอัตราดอกเบี้ยลงจะช่วยกระตุ้นเงินเฟ้อเพิ่มนั้น....แท้ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.....
เหตุผลก็คือ แรงกิริยาที่เกิดจาการลด หรือ ขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยกระตุ้น หรือชะลอสินเชื่อเพื่อการบริโภคและการลงทุนนั้น แท้ที่จริงแล้ว ยังมีแรงปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทางตรงข้ามถึง 5 แรง ซึ่งผมได้ตั้งชื่อให้ว่า Taiji-Econ.'s Five Forces ดังนี้
1. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เงินเฟ้อจึงสูงขึ้น แทนที่จะชอลตัวลง
2. ผลตอบแทนเงินฝาก : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะส่งผลให้คนระดับนายทุน มีรายได้จากดอกเบี้ยรับสูงขึ้น เพิ่มกำลังซื้อขึ้น จึงทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นแทนที่จะชะลอตัวลง
3. ผลตอบแทนค่าเช่า : การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะเป็นการเพิ่ม yield ของค่าเช่าทางอ้อม ทำให้เจ้าที่ดินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ มีผลตอบแทนค่าเช่าที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ
4. เงินทุนต่างชาติไหลเข้าเพิ่ม : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ
5. เงินทุนไหลออกลดลง : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะทำให้เงินทุนที่ควรจะไหลออกเพื่อไปลงทุนต่างประเทศนั้น ลดลงกว่าระดับที่ควรจะเป็น กระแสเงินในประเทศจึงเหลือมาก เงินจึงเฟ้อ
เมื่อมีผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดเดิม การที่ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มแทนที่จะชะลอเงินเฟ้อ และ การที่ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (ดอกเบี้ยมาตรฐาน) และ ดอกเบี้ยระยะยาว (มาตรการ QE) ลง ก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงหรือเงินฝืด แทนที่จะเร่งอัตราเงินเฟ้อขึ้น
มี 4 ปัจจัยที่ทำให้แรงกิริยาแบบเดิมๆ นั้นส่งผลน้อยลง ขณะที่แรงสะท้อนกลับส่งผลแรงยิ่งขึ้น ทำให้ทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลตามคาด แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน โดยเฉพาะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ผมตั้งชื่อ 4 ปัจจัยนี้ว่า LOAD factors
1. L (Liberalisation) การเงินเสรี รวมไปถึงการค้าการลงทุนเสรีนั้น ทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยลง แทนที่จะไปเพิ่มสินเชื่อเพื่อการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน เงินทุนเหล่านั้นกลับหนีออกไปยังต่างประเทศเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่า
2. O (Overcapacity) มีกำลังการผลิตล้นเหลือแทบจะทุกภาคส่วนของโลก ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยลง จึงไม่ไปเพิ่มการลงทุนโดยตรง ไม่เพิ่มการจ้างงาน ไม่เพิ่มเงินเฟ้อ มีแต่จะไปเพิ่มในส่วนของการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรแทน
3. A (Aging Society) สังคมผู้สูงอายุ ทำให้การบริโภคลดลง ด้วยคนเกษียณมีรายได้ที่ลดลง พร้อมๆ ไปกับวิถีชีวิตที่บริโภคลดลงตามวัยด้วย การลดอัตราดอกเบี้ยลง กลับทำให้รายรับจากดอกเบี้ยเงินฝากของคนกลุ่มนี้ลดลง ทำให้กำลังซื้อ และ เงินเฟ้อของประเทศชะลอตัว
4. D (Deleveraging) ประเทศพัฒนาแล้วมีการสร้างหนี้อย่างมากในอดีต จำเป็นต้องมีการลดภาระหนี้สินลง ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลงเพื่อหวังกระตุ้นสินเชื่อจึงหวังได้ยาก
LOAD factors นี้เอง ทำให้ผลของทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่เห็นผล แต่แรงสะท้อนกลับยิ่งส่งผลที่มากขึ้น ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกเป็นสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหมด
นี่เป็นการค้นพบว่า “โลกกลม” ในทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ ขณะที่คนของธนาคารกลางทั่วโลก เห็นว่า “โลกแบน” ที่จริงแล้วคงไม่ถึงขนาดนั้น.... เพราะว่า ระดับเด็กประถม หรือ ชาวบ้านธรรมดาก็เข้าใจได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย ลองไปถามดูสิครับว่า “หากแม่ค้าต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับนายทุนนอกระบบสูงขึ้น ข้าวของในตลาดจะแพงขึ้นหรือว่าถูกลง” ผมเชื่อว่า แทบจะทุกคนตอบได้อย่างสบาย และ สำหรับเด็กประถมศึกษา ดูจากสมการ อัตราดอกเบี้ย (nominal rate) = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real rate) + เงินเฟ้อ (infloation) ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย....นั่นหมายถึง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั่นเอง เรื่องง่ายๆ เด็กๆ
แล้วทำไมเรื่องง่ายๆ ที่ชาวบ้านก็เข้าใจได้ถูกต้อง แต่ระดับผู้บริหารธนาคารกลางจึงเข้าใจผิดไปได้ ประเด็นอยู่ที่ “ตำราเศรษฐศาสตร์” ไงครับ พวกท่านเหล่านั้นเรียนตำราเล่มเดียวกัน จึงบริหารตาม “ภูมิปัญญาตำรา” ของเศรษฐศาสตร์การเงินที่บกพร่อง ขณะที่ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้นถูกต้องดีอยู่แล้ว ในอนาคตของเนื้อหาบทความนี้ถูกไปเสริมในทฤษฎีการเงินมหภาคก็อาจจะช่วยให้เข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ทางแก้ไขก็คือ ธนาคารกลางทั่วโลกต้องรีบดำเนินนโยบายแบบ “ย้อนศร” กับแบบเดิม ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งพยายามลดดอกเบี้ยมาหลายปี แต่อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำมากๆ ต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเร่งเงินเฟ้อ และ ขายพันธบัตรที่ธนาคารกลางสะสมเอาไว้จำนวนมาก (Anti-QE) อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะสั้นและยาว จะไปเพิ่มต้นทุนทางการเงิน กระตุ้นเงินเฟ้อ จะดึงดูดเงินต่างชาติเข้ามา และเงินจะไหลออกลดลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอย่าง อินเดีย และ เวียดนาม ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยมาเป็นปีแล้ว แต่เงินเฟ้อก็ยังสูงระดับ 8-9% มาตลอดเช่นกัน ต้องรีบลดอัตราลงมาเพื่อลดต้นทุนการเงิน ลดเงินเฟ้อลง ชะลอเงินไหลเข้าจากต่างชาติ
เรื่องแบบนี้อาจดูขัดกับความรู้สึกของผู้กำหนดนโยบาย แต่เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ของชาวบ้าน น่าสงสัยว่าจะมีธนาคารกลางของประเทศใดบ้าง ที่จะเปลี่ยนความเชื่อแบบผิดๆ แบบเดิมๆ ทิ้งเสีย เดินหน้านโยบาย “ย้อนศร” กับของเดิม เพื่อนำพาเศรษฐกิจโลกไปยังทิศทางที่ถูกต้องได้..... ขอเรียกร้องให้ ธปท.เริ่มก่อนเลยดีไหมครับ ???
ธนาคารกลางทั่วโลกมีความเชื่อคล้ายๆ กันว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสกัดเงินเฟ้อ และ การลดอัตราดอกเบี้ยลงจะช่วยกระตุ้นเงินเฟ้อเพิ่มนั้น....แท้ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.....
เหตุผลก็คือ แรงกิริยาที่เกิดจาการลด หรือ ขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยกระตุ้น หรือชะลอสินเชื่อเพื่อการบริโภคและการลงทุนนั้น แท้ที่จริงแล้ว ยังมีแรงปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทางตรงข้ามถึง 5 แรง ซึ่งผมได้ตั้งชื่อให้ว่า Taiji-Econ.'s Five Forces ดังนี้
1. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เงินเฟ้อจึงสูงขึ้น แทนที่จะชอลตัวลง
2. ผลตอบแทนเงินฝาก : หากขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะส่งผลให้คนระดับนายทุน มีรายได้จากดอกเบี้ยรับสูงขึ้น เพิ่มกำลังซื้อขึ้น จึงทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นแทนที่จะชะลอตัวลง
3. ผลตอบแทนค่าเช่า : การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะเป็นการเพิ่ม yield ของค่าเช่าทางอ้อม ทำให้เจ้าที่ดินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ มีผลตอบแทนค่าเช่าที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ
4. เงินทุนต่างชาติไหลเข้าเพิ่ม : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาหาผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ
5. เงินทุนไหลออกลดลง : ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะทำให้เงินทุนที่ควรจะไหลออกเพื่อไปลงทุนต่างประเทศนั้น ลดลงกว่าระดับที่ควรจะเป็น กระแสเงินในประเทศจึงเหลือมาก เงินจึงเฟ้อ
เมื่อมีผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดเดิม การที่ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มแทนที่จะชะลอเงินเฟ้อ และ การที่ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (ดอกเบี้ยมาตรฐาน) และ ดอกเบี้ยระยะยาว (มาตรการ QE) ลง ก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงหรือเงินฝืด แทนที่จะเร่งอัตราเงินเฟ้อขึ้น
มี 4 ปัจจัยที่ทำให้แรงกิริยาแบบเดิมๆ นั้นส่งผลน้อยลง ขณะที่แรงสะท้อนกลับส่งผลแรงยิ่งขึ้น ทำให้ทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลตามคาด แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน โดยเฉพาะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ผมตั้งชื่อ 4 ปัจจัยนี้ว่า LOAD factors
1. L (Liberalisation) การเงินเสรี รวมไปถึงการค้าการลงทุนเสรีนั้น ทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยลง แทนที่จะไปเพิ่มสินเชื่อเพื่อการลงทุน เพิ่มการจ้างงาน เงินทุนเหล่านั้นกลับหนีออกไปยังต่างประเทศเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่า
2. O (Overcapacity) มีกำลังการผลิตล้นเหลือแทบจะทุกภาคส่วนของโลก ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยลง จึงไม่ไปเพิ่มการลงทุนโดยตรง ไม่เพิ่มการจ้างงาน ไม่เพิ่มเงินเฟ้อ มีแต่จะไปเพิ่มในส่วนของการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรแทน
3. A (Aging Society) สังคมผู้สูงอายุ ทำให้การบริโภคลดลง ด้วยคนเกษียณมีรายได้ที่ลดลง พร้อมๆ ไปกับวิถีชีวิตที่บริโภคลดลงตามวัยด้วย การลดอัตราดอกเบี้ยลง กลับทำให้รายรับจากดอกเบี้ยเงินฝากของคนกลุ่มนี้ลดลง ทำให้กำลังซื้อ และ เงินเฟ้อของประเทศชะลอตัว
4. D (Deleveraging) ประเทศพัฒนาแล้วมีการสร้างหนี้อย่างมากในอดีต จำเป็นต้องมีการลดภาระหนี้สินลง ดังนั้น การลดดอกเบี้ยลงเพื่อหวังกระตุ้นสินเชื่อจึงหวังได้ยาก
LOAD factors นี้เอง ทำให้ผลของทฤษฎีการเงินแบบเดิมๆ ไม่เห็นผล แต่แรงสะท้อนกลับยิ่งส่งผลที่มากขึ้น ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกเป็นสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหมด
นี่เป็นการค้นพบว่า “โลกกลม” ในทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ ขณะที่คนของธนาคารกลางทั่วโลก เห็นว่า “โลกแบน” ที่จริงแล้วคงไม่ถึงขนาดนั้น.... เพราะว่า ระดับเด็กประถม หรือ ชาวบ้านธรรมดาก็เข้าใจได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย ลองไปถามดูสิครับว่า “หากแม่ค้าต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับนายทุนนอกระบบสูงขึ้น ข้าวของในตลาดจะแพงขึ้นหรือว่าถูกลง” ผมเชื่อว่า แทบจะทุกคนตอบได้อย่างสบาย และ สำหรับเด็กประถมศึกษา ดูจากสมการ อัตราดอกเบี้ย (nominal rate) = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real rate) + เงินเฟ้อ (infloation) ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย....นั่นหมายถึง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั่นเอง เรื่องง่ายๆ เด็กๆ
แล้วทำไมเรื่องง่ายๆ ที่ชาวบ้านก็เข้าใจได้ถูกต้อง แต่ระดับผู้บริหารธนาคารกลางจึงเข้าใจผิดไปได้ ประเด็นอยู่ที่ “ตำราเศรษฐศาสตร์” ไงครับ พวกท่านเหล่านั้นเรียนตำราเล่มเดียวกัน จึงบริหารตาม “ภูมิปัญญาตำรา” ของเศรษฐศาสตร์การเงินที่บกพร่อง ขณะที่ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” นั้นถูกต้องดีอยู่แล้ว ในอนาคตของเนื้อหาบทความนี้ถูกไปเสริมในทฤษฎีการเงินมหภาคก็อาจจะช่วยให้เข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ทางแก้ไขก็คือ ธนาคารกลางทั่วโลกต้องรีบดำเนินนโยบายแบบ “ย้อนศร” กับแบบเดิม ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งพยายามลดดอกเบี้ยมาหลายปี แต่อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำมากๆ ต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเร่งเงินเฟ้อ และ ขายพันธบัตรที่ธนาคารกลางสะสมเอาไว้จำนวนมาก (Anti-QE) อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะสั้นและยาว จะไปเพิ่มต้นทุนทางการเงิน กระตุ้นเงินเฟ้อ จะดึงดูดเงินต่างชาติเข้ามา และเงินจะไหลออกลดลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอย่าง อินเดีย และ เวียดนาม ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยมาเป็นปีแล้ว แต่เงินเฟ้อก็ยังสูงระดับ 8-9% มาตลอดเช่นกัน ต้องรีบลดอัตราลงมาเพื่อลดต้นทุนการเงิน ลดเงินเฟ้อลง ชะลอเงินไหลเข้าจากต่างชาติ
เรื่องแบบนี้อาจดูขัดกับความรู้สึกของผู้กำหนดนโยบาย แต่เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ของชาวบ้าน น่าสงสัยว่าจะมีธนาคารกลางของประเทศใดบ้าง ที่จะเปลี่ยนความเชื่อแบบผิดๆ แบบเดิมๆ ทิ้งเสีย เดินหน้านโยบาย “ย้อนศร” กับของเดิม เพื่อนำพาเศรษฐกิจโลกไปยังทิศทางที่ถูกต้องได้..... ขอเรียกร้องให้ ธปท.เริ่มก่อนเลยดีไหมครับ ???
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
QE สเตียรอยด์การเงิน
QE สเตียรอยด์การเงิน
Quntitative Easing หรือ QE นี้เองที่อเมริกาได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางนโยบายการเงิน รอบ 2 นี้ใช้เงินราว 6 แสนล้านเหรียญ สรอ. เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดึงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพื่อหวังช่วยกระตุ้นสินเชื่อ และ เพิ่มเงินเฟ้อ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว QE ก็เสมือนกับ สเตียรอยด์ ซึ่งจะใช้ก็ต่อเมื่อ
1. ยามาตรฐานใช้ไม่ได้ผลแล้ว คือ นโยบายการเงินแบบเดิมๆ นั้นกดอัตราดอกเบี้ยเฉียดศูนย์แต่ก็ยังไม่เห็นผลดีนัก
2. ได้ผลระยะสั้น แต่เสียหายระยะยาว คือ เห็นผลการรักษาได้ดีในระยะสั้น แต่ทำให้สุขภาพเสียหายอย่างหนักในระยะยาว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ???
ก็เพราะ การพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำลง และ เพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ไม่ถูกนำไปเป็น flow หรือ สินเชื่อซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยตรง แต่กลับไปเพิ่มเป็นเงินสดส่วนเกิน เมื่อผลตอบแทนที่แท้จริง (real rate) ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึง....การทำเช่นนี้ในระยะยาวแล้ว กลับส่งผลในทางตรงกันข้าม คือ ทำให้อัตราเงินเฟ้อนั้นต่ำลง จนเข้าสู่สภาวะเงินฝืดได้ง่ายๆ และ เป็นการติดกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)
และ เมื่อดูที่ International Fisher Effect Thoery ก็ชี้ให้เห็นว่า ในระยะยาวแล้ว ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย และ ส่งผลให้ค่าเงินมีแนวโน้มที่แข็งขึ้นเพื่อชดเชยส่วนนี้ คล้ายกับกรณีของประเทศญี่ปุ่น ต้นตำรับของ QE คือ ในช่วงแรกๆ เมื่อภายในประเทศให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศมาก ทำให้ค่าเงินอ่อนลงสักระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อเงินถูกนำคืนกลับพร้อมด้วยผลกำไรจากอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงกว่า และ กำไรค่าเงินอีกส่วน รวมกันกลับคืนสู่ประเทศต้นกำเนิด ก็จะกลับทำให้ค่าเงินนั้นแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
จะเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ QE เพื่อทำให้ค่าเงินอ่อนและเกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น....สุดท้ายแล้วในระยะยาว มันกลับส่งผลในทางตรงข้าม เนื่องจากไม่สามารถไปกระตุ้นการเพิ่มสินเชื่อได้ เนื่องจากดีมานด์ที่อ่อนแอ ดังนั้น เงินเหล่านั้นจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเงินลงทุนไปยังต่างประเทศแทน รวมไปถึงเงินเก็งกำไรในตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ และ ในที่สุดเมื่อเงินต้น พร้อมผลกำไรจากดอกเบี้ย และ ค่าเงิน กลับสู่แหล่งเดิม ค่าเงินกลับมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว พร้อมๆ กับ สภาพเงินฝืดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงนี้...แทนที่จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นศก. กลับทำให้ผลตอบแทนทุนลดลง ประชาชนที่หวังผลตอบแทนที่แท้จริงเท่าเดิมแล้ว...ผลก็คือ สภาวะอัตราเงินเฟ้อกลับลดลง จนเดินเข้าสู่ภาวะเงินฝืด พร้อมๆ กับแนวโน้มค่าเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากระแสเงินลงทุนที่ไหลย้อนกลับมา .... นี่จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะ เป็นผลที่ตรงกันข้ามกับที่หวังไว้แต่แรกของการทำ QE จึงได้ตั้งชื่อสิ่งนี้ไว้ว่า "สเตียรอยด์การเงิน"
Quntitative Easing หรือ QE นี้เองที่อเมริกาได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางนโยบายการเงิน รอบ 2 นี้ใช้เงินราว 6 แสนล้านเหรียญ สรอ. เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดึงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพื่อหวังช่วยกระตุ้นสินเชื่อ และ เพิ่มเงินเฟ้อ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว QE ก็เสมือนกับ สเตียรอยด์ ซึ่งจะใช้ก็ต่อเมื่อ
1. ยามาตรฐานใช้ไม่ได้ผลแล้ว คือ นโยบายการเงินแบบเดิมๆ นั้นกดอัตราดอกเบี้ยเฉียดศูนย์แต่ก็ยังไม่เห็นผลดีนัก
2. ได้ผลระยะสั้น แต่เสียหายระยะยาว คือ เห็นผลการรักษาได้ดีในระยะสั้น แต่ทำให้สุขภาพเสียหายอย่างหนักในระยะยาว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ???
ก็เพราะ การพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำลง และ เพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ไม่ถูกนำไปเป็น flow หรือ สินเชื่อซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยตรง แต่กลับไปเพิ่มเป็นเงินสดส่วนเกิน เมื่อผลตอบแทนที่แท้จริง (real rate) ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึง....การทำเช่นนี้ในระยะยาวแล้ว กลับส่งผลในทางตรงกันข้าม คือ ทำให้อัตราเงินเฟ้อนั้นต่ำลง จนเข้าสู่สภาวะเงินฝืดได้ง่ายๆ และ เป็นการติดกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)
และ เมื่อดูที่ International Fisher Effect Thoery ก็ชี้ให้เห็นว่า ในระยะยาวแล้ว ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย และ ส่งผลให้ค่าเงินมีแนวโน้มที่แข็งขึ้นเพื่อชดเชยส่วนนี้ คล้ายกับกรณีของประเทศญี่ปุ่น ต้นตำรับของ QE คือ ในช่วงแรกๆ เมื่อภายในประเทศให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศมาก ทำให้ค่าเงินอ่อนลงสักระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อเงินถูกนำคืนกลับพร้อมด้วยผลกำไรจากอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงกว่า และ กำไรค่าเงินอีกส่วน รวมกันกลับคืนสู่ประเทศต้นกำเนิด ก็จะกลับทำให้ค่าเงินนั้นแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
จะเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ QE เพื่อทำให้ค่าเงินอ่อนและเกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น....สุดท้ายแล้วในระยะยาว มันกลับส่งผลในทางตรงข้าม เนื่องจากไม่สามารถไปกระตุ้นการเพิ่มสินเชื่อได้ เนื่องจากดีมานด์ที่อ่อนแอ ดังนั้น เงินเหล่านั้นจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเงินลงทุนไปยังต่างประเทศแทน รวมไปถึงเงินเก็งกำไรในตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ และ ในที่สุดเมื่อเงินต้น พร้อมผลกำไรจากดอกเบี้ย และ ค่าเงิน กลับสู่แหล่งเดิม ค่าเงินกลับมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว พร้อมๆ กับ สภาพเงินฝืดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงนี้...แทนที่จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นศก. กลับทำให้ผลตอบแทนทุนลดลง ประชาชนที่หวังผลตอบแทนที่แท้จริงเท่าเดิมแล้ว...ผลก็คือ สภาวะอัตราเงินเฟ้อกลับลดลง จนเดินเข้าสู่ภาวะเงินฝืด พร้อมๆ กับแนวโน้มค่าเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากระแสเงินลงทุนที่ไหลย้อนกลับมา .... นี่จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะ เป็นผลที่ตรงกันข้ามกับที่หวังไว้แต่แรกของการทำ QE จึงได้ตั้งชื่อสิ่งนี้ไว้ว่า "สเตียรอยด์การเงิน"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)