วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

QE สเตียรอยด์การเงิน

QE สเตียรอยด์การเงิน

Quntitative Easing หรือ QE นี้เองที่อเมริกาได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางนโยบายการเงิน รอบ 2 นี้ใช้เงินราว 6 แสนล้านเหรียญ สรอ. เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ดึงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เพื่อหวังช่วยกระตุ้นสินเชื่อ และ เพิ่มเงินเฟ้อ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว QE ก็เสมือนกับ สเตียรอยด์ ซึ่งจะใช้ก็ต่อเมื่อ
1. ยามาตรฐานใช้ไม่ได้ผลแล้ว คือ นโยบายการเงินแบบเดิมๆ นั้นกดอัตราดอกเบี้ยเฉียดศูนย์แต่ก็ยังไม่เห็นผลดีนัก
2. ได้ผลระยะสั้น แต่เสียหายระยะยาว คือ เห็นผลการรักษาได้ดีในระยะสั้น แต่ทำให้สุขภาพเสียหายอย่างหนักในระยะยาว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ???

ก็เพราะ การพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำลง และ เพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ไม่ถูกนำไปเป็น flow หรือ สินเชื่อซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยตรง แต่กลับไปเพิ่มเป็นเงินสดส่วนเกิน เมื่อผลตอบแทนที่แท้จริง (real rate) ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึง....การทำเช่นนี้ในระยะยาวแล้ว กลับส่งผลในทางตรงกันข้าม คือ ทำให้อัตราเงินเฟ้อนั้นต่ำลง จนเข้าสู่สภาวะเงินฝืดได้ง่ายๆ และ เป็นการติดกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)

และ เมื่อดูที่ International Fisher Effect Thoery ก็ชี้ให้เห็นว่า ในระยะยาวแล้ว ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย และ ส่งผลให้ค่าเงินมีแนวโน้มที่แข็งขึ้นเพื่อชดเชยส่วนนี้ คล้ายกับกรณีของประเทศญี่ปุ่น ต้นตำรับของ QE คือ ในช่วงแรกๆ เมื่อภายในประเทศให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ต่ำ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศมาก ทำให้ค่าเงินอ่อนลงสักระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อเงินถูกนำคืนกลับพร้อมด้วยผลกำไรจากอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงกว่า และ กำไรค่าเงินอีกส่วน รวมกันกลับคืนสู่ประเทศต้นกำเนิด ก็จะกลับทำให้ค่าเงินนั้นแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

จะเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ QE เพื่อทำให้ค่าเงินอ่อนและเกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น....สุดท้ายแล้วในระยะยาว มันกลับส่งผลในทางตรงข้าม เนื่องจากไม่สามารถไปกระตุ้นการเพิ่มสินเชื่อได้ เนื่องจากดีมานด์ที่อ่อนแอ ดังนั้น เงินเหล่านั้นจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเงินลงทุนไปยังต่างประเทศแทน รวมไปถึงเงินเก็งกำไรในตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ และ ในที่สุดเมื่อเงินต้น พร้อมผลกำไรจากดอกเบี้ย และ ค่าเงิน กลับสู่แหล่งเดิม ค่าเงินกลับมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว พร้อมๆ กับ สภาพเงินฝืดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงนี้...แทนที่จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นศก. กลับทำให้ผลตอบแทนทุนลดลง ประชาชนที่หวังผลตอบแทนที่แท้จริงเท่าเดิมแล้ว...ผลก็คือ สภาวะอัตราเงินเฟ้อกลับลดลง จนเดินเข้าสู่ภาวะเงินฝืด พร้อมๆ กับแนวโน้มค่าเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากระแสเงินลงทุนที่ไหลย้อนกลับมา .... นี่จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะ เป็นผลที่ตรงกันข้ามกับที่หวังไว้แต่แรกของการทำ QE จึงได้ตั้งชื่อสิ่งนี้ไว้ว่า "สเตียรอยด์การเงิน"

2 ความคิดเห็น:

  1. เห็นด้วยน่ะครับ ผมว่ามันน่าจะมีผลระยะยาวกับเมกาเอง

    ปล. ผใอยากศึกษาเรื่อง กับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)และ “กับดักเคนส์” (Keynes Trap) พี่มีหนังสือแนะนำไหมคับ

    ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ
  2. "กับดักเคนส์" ผมเป็นคนตั้งชื่อไว้เอง...
    กับดักที่เกิดจากทฤษฎีเคนส์นั่นแหละ...หนี้สาธารณะท่วมหัว ขณะที่การฟื้นตัว ศก.เป็นไปอย่างเชื่องช้า
    ยังไม่มีเป็นหนังสือนะครับ

    ตอบลบ