วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกันสังคม ตัวถล่มเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 1937

หลังจากปี 1930 โลกได้เข้าสู่สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  โดยการค้าระหว่างประเทศลดลงกว่า 50% และ การว่างงานได้สูงขึ้นถึง 25%   แม้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยจนมาระัดับที่ต่ำมากๆ   แต่ผลลัพธ์ก็คือยังเกิดภาวะที่ยากลำบากอย่างยิ่ง  จนเกือบถึงขั้นล่มสลายทางสังคมและเศรษฐกิจทุนนิยม

จนกระทั่งจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์  ได้เสนอให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ  เพิ่มงบประมาณเ้ข้าไปแบบขาดดุลจำนวนมาก  เพื่อสร้างอุปสงค์ให้เพียงพอเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้   แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้โดยญีุ่ปุ่นก่อน  หลังจากนั้นก็อเมริกาและยุโรป  นำมาใช้ต่อมา   อเมริกามีการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพียง 3% GDP ในปี 1929  ได้เพิ่มมาเป็นถึง 40% GDP ในยุคถัดมาโดยประธานาธิบดีรูสเวลต์

อย่างไรก็ดี  เมื่อถึงปี 1937  ประธานาธิบดีรูสเวต์เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจนกำลังการผลิตกลับมาเหมือนปี 1929  จึงได้เดินหน้ารัดเข็มขัดการคลังนปีนั้น   กลับพบว่า 1 ปีหลังจากนั้นเศรษฐกิจดิ่งตัวลงอย่างเร็ว   การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึงเกือบ 30% ภายในไม่กี่เดือน  โดยเฉพาะสินค้าคงทนยิ่งลดลงหนัก  อัตราการว่างงานเพิ่มจาก 14.3% ในปี 1937  สูงขึ้นเป็น 19.0% ในปี 1938  เพิ่มจาก 5 ล้านคนเป็น 12 ล้านคน  ภายการผลิตก็ลดจากระดับสูงสุดปี 1937 ถึง 37%  

ถึงกระนั้น ศจ.แบร์โล  (Robert Barro)  ไ้ด้ชี้ประเด็นว่านั่นไม่ใช่เพราะ ผลจากการรัดเข็มขัดของนโยบายการคลัง  เขาเืชื่อว่าค่าตัวทวี (multiplier) ของทฤษฎีเคนส์นั้นมีค่าเข้าใกล้ศูนย์   โดยรัฐบาลจะมาแย่งเงินจากภาคเอกชนไป  และ ในปี 1937 นั้น  รัฐบาลรัดเข็มขัดเพียงแค่ 1% GDP  แต่กลับทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงได้ถึง 4.8%   แม้แต่ที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เองก็ไม่เชื่อว่าค่าตัวทวีจะสูงได้ขนาดนั้น

ผมคิดว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างเร็วระหว่างปี 1937-38  อาจเป็น  "พรบ.ประกันสังคม" นั่นเอง  การบังคับใช้ พรบ.ประกันสังคมในปี 1937  ได้บังคับให้ผู้ใช้แรงงาน  บริษัทและรัฐบาลต้องร่วมกันสมทบเงินเพื่อออมเงินในระยะยาว   แม้เืรื่องนี้จะเหมาะสมอย่างยิ่งเพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคตระยะยาว  แต่ระยะสั้นๆ แล้ว  จะทำให้กำลังซื้อของผู้ใช้แรงงานลดลด  เพราะ "ไม่มีของฟรีในโลก"  เป็นการทำ "เคลื่อนเป็นนิ่ง"   สิ่งนี้เองน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการถดถอยเป็นรอบที่ 2 ในช่วงเวลานั้น

เช่นเดียวกับประเทศไทย  หลังจากมีการเ็ก็บเงินสมทบเพิ่มจาก 1% เป็น 3% เป็น 5% เข้าระบบประกันสังคม  ก็ส่งผลประเทศไทยมีระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน  ในทางตรงกันข้าม  การลดเงินสมทบเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อบรรเทาจากผลกระทบของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และ วิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่   ก็พบว่าสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ได้   การดำเนินนโยบายด้านประกันสังคมอาจต้องชั่งน้ำหนักถึง "อนาคต" และ "ปัจจุบัน"  ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น