หากใช้คำว่า Stagflation เชื่อว่าคนเรียนเศรษฐศาสตร์มาจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นคำที่รวมเอา Stagnation+Inflation เข้าด้วยกัน โดยปกติแล้วอัตราเงินเฟ้อจะสูงก็เมื่อเศรษฐกิจดีมากกำลังซื้อมากกว่าอุปทาน จะไปในทิศทางเดียวกัน แต่ Stagflation เป็นสภาพเศรษฐกิจทีชะงักงัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อวิ่งไปอยู่ระดับสูง
โดยทั่วไปแล้วตามทฤษฎีการเงิน และ การคลัง การเติบโตทางเศรษฐิจ (Growth) จะไปในทิศทางเดียวกันกับ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) โดยที่
- ทฤษฎีการคลังของเคนส์ กล่าวไว้ว่า หากรัฐทุ่มงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น และ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น โดยอุปสงค์อาจสูงกว่าอุปทาน และหากรัดเข็มขัดการคลังก็จะได้ผลตรงกันข้าม
- ทฤษฎีการเงินของฟิชเชอร์ MV=PQ หมายถึง หากลดอัตราดอกเบี้ย และ/หรือ เพิ่มปริมาณเงิน จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และ อัตราเงินเฟ้อสูงชึ้นด้วย P (ระดับราคา) และ Q (GDP) จะสูงขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน และ หากรัดเข็มขัดการคลัง ก็จะทำให้ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ อัตราเงินเฟ้อลดลง หมายถึง P และ Q จะลดลงไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงตอนนี้หลังจากผมดูข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันของหลายประเทศ ผมมีความภูมิใจที่จะนำเสนอ 2 ศัพท์ใหม่ของวงการเศรษฐศาสตร์ที่ผมบัญญัติขึ้นเองล่าสุด นั่นก็คือ Receflation และ Deflagrowth
โดย Stagflation นั่น ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความเกรงอกเกรงใจ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การคลังและการเงิน (เคนส์และฟิชเชอร์) โดยไม่คิดจะแย้งกับทฤษฎีโดยตรง คือการเติบโตทรงตัวระดับใกล้ศูนย์ แต่เงินเฟ้อสูงขึ้นมาก แม้จะไม่ไปในทิศทางเดียวกันแต่ก็ไม่ถึงกับสวนทาง ซึ่งจะงัดข้อกับปรมรจารย์แบบตรงๆ อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า หากทฤษฎีผิดก็ควรว่ากันไปตามผิด.... หากไทยมีโอกาสหักล้างทฤษฎีได้ ก็ควรรีบกระทำ เพราะ โอกาสแบบนี้มีไม่มากนักที่ประเทศไทยจะสามารถหักล้างทฤษฎีของตะวันตกลงได้
2 คำศัพท์ใหม่ที่ผมบัญญัติขึ้นนั้น เพื่อการหักล้างทฤษฎีแบบตรงๆเลยดังนี้้
Receflation ก็คือ Recession + Inflation หมายถึง เศรษฐกิจถดถอย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูง
Deflagrowth ก็คือ Deflation + Growth หมายถึง เศรษฐกิจที่เติบโตได้ ภายใต้ภาวะเงินฝืด
โดยทั่วไปเหตุการณ์แบบนี้จะถือว่าไม่ปกติ เพราะ P และ Q เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม แต่ผมอยากจะบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เพราะ ทฤษฎีเดิมๆ มันผิดนั่นเอง
หากมองที่ Receflation อาจกล่าวได้ว่าเกิดจากต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างเร็ว โดยอาจแยกเป็น 4 เรื่อง
1. ต้นทุนพลังงานและค่าขนส่งสูงขึ้น : จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ เช่นกรณี Oil Shock ในอดีตโดยอาจเกิดจากภาวะสงคราม
2. ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น : โดยเฉพาะการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของค่าเงิน ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่กำลังเกิดในรัสเซีย เวเนซุเอล่า รวมไปถึง ประเทศไทยยุควิกฤติต้มยำกุ้ง
3. ต้นทุนการเงิน : โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องและ/หรือรวดเร็ว รวมไปถึง การกู้ยืมเงินสกุล
ต่างประเทศ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดกับรัสเซียในปัจจุบัน
4.ต้นทุนสูงจากภาวะฉุกเฉิน : ภัยพิบัติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หรือ มหาอุทกภัย ที่อาจทำให้เกิดภาวะอุปทานขาดแคลน ซึ่งรวมนี้รวมไปถึงภาวะสงคราม เช่น ยูเครนด้วย
ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น 4 ประการข้างต้นนี่เอง จะมีผลกดดันทางลบต่อเศรษฐกิจโดย รัสเซียนั้น ประเมินได้ว่า เศรษฐกิจจะถดถอยถึง 5% ในปี 2558 นี้และ อัตราเงินเฟ้อก็สูงไปถึง 15% ต่อปีแล้วและน่าจะสูงขึ้นได้อีก สำหรับตัวเลขล่าสุด รัสเซียจึงไม่ใช่แค่ Stagflation แต่เป็นถึงระดับ Receflation กันเลย และ เหตุการณ์แบบเดียวกันก็เกิดกับ เวเนซุเอลา และ ยูเครนในปัจจุบันด้วย และ ยังอาจเกิดกับประเทศอย่าง บราซิล ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย ส่วนประเทศไทยนั้น หากใครยังจำเหตุการณ์วิกฤติต้นยำกุ้งได้ นั่นก็จัดว่าเป็น Receflation เหมือนกัน
แต่สำหรับยูโรโซน และ ประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ต้องถือว่าเข้าเกณฑ์ของ "Deflagrowth" ซึ่งเป็นคำที่ผมบัญญัติขึ้นมาใหม่ล่าสุดเลย ซึ่งแสดงถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ Receflation คือ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อติดลบ แต่เศรษฐกิจก็ยังโตได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อดีตเชื่อกันว่าผิดปกติมาก แต่ด้วยทฤษฎี "การเงินไท้เก๊ก" พบว่ามันเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ด้วยต้นทุนการผลิต 4 เรื่องข้างต้นที่ลดลงอย่างเร็ว เช่น ราคาน้ำมันดิบดิ่งเหว ค่าเงินแข็งเร็วมาก และ อัตราดอกเบี้ยถึงขั้นติดลบ จึงน่าจะเชื่อได้ว่าไม่เพียง "ยูโรโซน" โดยเฉพาะประเทศ PIIGS เท่านั้น แต่ประเทศอย่าง สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ก็น่าจะเข้าข่ายไปด้วย รวมไปถึงสยามประเทศของพวกเราก็คล้ายๆ กัน
โดยสเปน ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก โดยอัตราเงินเฟ้อ -1.4% ถือว่าเงินฝืด ขณะที่ GDP เติบโตได้ 2% ถือว่าเติบโตในระดับที่ใช้ได้ เช่นเดียวกันกับ กรีซ และ โปรตุเกส ก็มีลักษณะของ Deflagrowth เช่นเดียวกัน แล้วประเทศไทยละ ?? ประเทศไทยเข้าเขตแดนเงินฝืด (Deflation) ไปแล้วแต่ไม่ใช่เศรษฐกิจถดถอย (Recession) 2 เรื่องนี้ต้องแยกกันอย่างชัดเจนอย่าได้สับสน โดยอัตราเงินเฟ้อ -0.4% ถือว่าเงินฝืด ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยลดลง (โดยเฉพาะผลจากราคาน้ำมันดิบร่วง) แต่เศรษฐกิจก็ดูเหมือนว่าฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง
นี่เป็นการหักล้างทฤษฎีการเงินของฟิชเชอร์ ที่มักอธิบายเสมอว่า อัตราการเติบโต และ อัตราเงินเฟ้อ มักจะไปด้วยกัน คือ ลดอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้ทั้ง 2 สิ่งนี้วิ่งสูงขึ้นคือ กระตุ้นทั้งการเติบโตและเงินเฟ้อขณะที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะชะลอการเติบโต และ สกัดเงินเฟ้อ ..... ได้เวลาหักล้าง นักเศรษฐศาสตร์เบอร์ 2 ของศตวรรษก่อน ซึ่งเป็นบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การเงิน (เออร์วิ่ง ฟิชเชอร์) แล้วละครับพี่น้อง
เรื่องนี้สำคัญมากๆ ที่จะกระทบต่อกรอบแนวคิดของทฤษฎีการเงินทั้งโลก คือ ทั้ง Recefflation และ Deflagrowth ไม่ใช่สิ่งผิดปกติตามแนวคิดของทฤษฎีเดิมอย่างใด แต่เป็นสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ โดยหากผู้กำหนดนโยบายการเงินหลงผิดกับทฤษฎีของฟิชเชอร์ดั่งปัจจุบัน รัสเซีย บราซิล และยูเครนก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ และ ผลลัพธ์คือประเทศเหล่านั้นจะเข้าสู่ภาวะ Receflation จะไม่สามารถสกัดเงินเฟ้อได้ แต่ทำให้เงินเฟ้อสูงและเศรษฐกิจถดถอย
ตรงกันข้ามประเทศในยูโรโซน และ สวิตเซอร์แลนด์ ก็จะลดอัตราดอกเบี้ยเรื่อยๆ ถึงระดับติดลบ นั่นจะไม่กระตุ้นเงินเฟ้อให้สูงขึ้น แต่กลับทำให้เกิดเงินฝืดและประเทศเข้าสู่ภาวะ Deflagrowth ได้ไม่ยาก
บางทีด้วย 2 คำศัพท์ใหม่นี้โลกอาจจะต้องเขียนตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคกันใหม่เลยด้วยซ้ำ และมีโอกาสสูงเลยที่ 2 คำศัพท์ใหม่คือ Receflation และ Deflagrowth น่าจะอยู่ในตำราเล่มใหม่นั้นด้วย คิดแบบนั้นเหมือนกับผมเลยใช่ไหมครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558
ยูโรโซนผจญเพลิงศึกผาแดง
แม้ว่ากรีซ ยังคงอยูในยูโรโซน แม้จะมีปัญหาทางเศรษฐกิจรุมเร้าอย่างหนักหน่วงก็ตามเปรียบเหมือนเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ผู้นำในยูโรโซน กังวลว่า กรีซอาจจะออกจากยูโรโซน แต่ผมอยากจะบอกว่า สิ่งที่ควรกังวลกว่านั้นก็คือ การที่กรีซไม่ออกจากยูโรโซนเสียมากกว่า กรีซนั้นได้แปลกแยกออกจากสมาชิกในกลุ่มนี้นานแล้ว โดยอาจยกได้ 3 เรื่อง
1. ECB ดำเนินมาตรการ QE โดยเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศในยูโรโซน 6 หมื่นล้านยูโรทุกเดือน ยกเว้น "กรีซ"
2. ประเทศในยูโรโซนปรับปรุงการคลังดีขึ้นมาระดับหนึ่ง การขาดดุลลดลงมาได้บ้าง ยกเว้น "กรีซ" ที่ยังการขาดดุลการคลังถึง 12.2% ของ GDP ในปี 2013
3. ประเทศสมาชิกยูโรโซน ล้วนมีบอนด์ยีลระยะยาว (10ปี) ลดลงระดับหนึ่งเมื่อมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า ECB จะใช้มาตรการ QE ยกเว้นเฉพาะ "กรีซ" ที่บอนด์ยีลด์กลับวิ่งขึ้นไป จนตอนนี้สูงถึง 11.4% ไปแล้ว
ดังนั้น สรุปได้ว่า ตลาดเงินตลาดทุนนั้นได้ประเมินมานานแล้วว่า กรีซ ไม่ได้อยู่ในยูโรโซนแล้ว จะไม่สามารถชำระคืนเงินต้นเป็น "ยูโร" ได้เต็มจำนวนเป็นแน่
เรื่องนี้ขอให้นึกถึง สมรภูมิผาแดงในสมัยสามก๊ก โดยกองเรืองยูโรนั้นมีอยู่ 19 ลำ โดยมีอยู่ลำหนึ่งคือ "เรื่อกรีซ" ที่ไฟกำลังลุกโชน มีหนทางเลือกอยู่ 3 ทาง
1. พยายามดับไฟให้ได้ : ซึ่งได้พยายามทำมาแล้วถึง 5 ปี กลับพบว่า กรีซขาดความสามารถในการแข่งขันอยู่ดีภายใต้ระบบเงินยูโร การว่างงานในกรีซยังสูงถึง 25.8% นับว่าสาหัสมาก และ หนี้สินภาครัฐต่อ GDP ก็สูงสุดในยูโรโซน โดยสูงถึง 175% เมื่อทางเลือกที่ 1 ไม่สำเร็จก็เหลือ 2 และ 3
2. ปล่อยให้ไฟลุกโชนต่อไป : เรื่องนี้จะเป็นปัญหาแน่ เพราะ เรือลำที่อยู่ใกล้ๆ กับ กรีซ อย่างกลุ่มประเทศ PIIGS อาจติดไฟไปด้วยก็เป็นได้ หากบอนด์ยีลด์ของกรีซ วิ่งจาก 11% ไป 20% มันจะไม่กระทบต่อบอนด์ยีลด์ของประเทศ PIIGS เลยหรือ?? โดยเฉพาะประเทศที่เสี่ยงเป็นอันดับถัดมา คือ ไซปรัส และ โปรตุเกส ที่บอนด์ยีลด์อาจวิ่งไปได้สูงกว่าระดับ 5% นั่นหมายถึง แผนการ QE ของ ECB ที่หวังจะกดดอกเบี้ยระยะยาวของยูโรโซนให้ลดลงเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นเสียด้วยซ้ำ
3. ตัดกรีซออกจากกองเรือ : ผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะดีที่สุด ก็คือ Grexit เพื่อรักษาส่วนรวมเอาไว้ จำเป็นต้องรีบตัดเนื้อร้ายออกไปโดยเร็ว โดยต้องตัดโซ่ตรวนคือ "เงินยูโร" ออกจากกรีซ ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ ไม่เพียงเป็นผลดีต่อยูโรโซน แต่ยังเป็นผลดีต่อกรีซเองด้วยเพราะ กรีซจะสามารถฟื้นตัวได้จากการบูมส่งออกและท่องเที่ยว ประเด็นสำคัญที่สุดนั้นก็คือ แต่ละประเทศจะต้องใช้ค่าเงินที่เหมาะสมกับระดับความสามารถในการแข่งขันนั่นเอง จากทฤษฎี "ปริวรรตไท้เก๊ก" ก็จะพบว่า หาก 2 ประเทศมีค่าบอนด์ยีลด์ห่างกันเกินกว่า 3% แล้วละก็ 2 ประเทศนั้นไม่ควรผูกค่าเงินไว้ด้วยกันหรือใช้เงินสกุลเดียวกัน
โจโฉได้พ่ายแพ้ยับเยินสมรภูมิผาแดง ได้รำพึงกว่า "หากกุยแกยังอยู่ด้วยเรา เราคงมิต้องเสียหายยับเยินเช่นนี้" ก็ได้แต่หวังว่าในยามนี้ ท่านผู้นำของยูโรโซนจะมียอดกุนซืออย่าง "กุยแก" อยู่ข้างกาย โดยไม่เชื่อกลลวงของ "บังทอง" ที่ได้สร้างอุบายเอาไว้ ให้ผูกเรืออย่างแน่นหนาเป็นปึกแผ่นรักษาระบบยูโรเอาไว้แบบนี้ต่อไป (แนะนำโดยนักวิชาการจากอเมริกาและเอเชีย รวมถึง ยุโรปด้วย)
หากเป็นเช่นนั้น กองเรืองยูโรโซนจะได้ไม่ต้องเสียหายยับเยินเหมือนในอดีต ดั่งโจโฉในยุคสามก๊กที่สูญทัพเรือไปในกองเพลิงแทบจะหมดสิ้น.....
1. ECB ดำเนินมาตรการ QE โดยเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศในยูโรโซน 6 หมื่นล้านยูโรทุกเดือน ยกเว้น "กรีซ"
2. ประเทศในยูโรโซนปรับปรุงการคลังดีขึ้นมาระดับหนึ่ง การขาดดุลลดลงมาได้บ้าง ยกเว้น "กรีซ" ที่ยังการขาดดุลการคลังถึง 12.2% ของ GDP ในปี 2013
3. ประเทศสมาชิกยูโรโซน ล้วนมีบอนด์ยีลระยะยาว (10ปี) ลดลงระดับหนึ่งเมื่อมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า ECB จะใช้มาตรการ QE ยกเว้นเฉพาะ "กรีซ" ที่บอนด์ยีลด์กลับวิ่งขึ้นไป จนตอนนี้สูงถึง 11.4% ไปแล้ว
ดังนั้น สรุปได้ว่า ตลาดเงินตลาดทุนนั้นได้ประเมินมานานแล้วว่า กรีซ ไม่ได้อยู่ในยูโรโซนแล้ว จะไม่สามารถชำระคืนเงินต้นเป็น "ยูโร" ได้เต็มจำนวนเป็นแน่
เรื่องนี้ขอให้นึกถึง สมรภูมิผาแดงในสมัยสามก๊ก โดยกองเรืองยูโรนั้นมีอยู่ 19 ลำ โดยมีอยู่ลำหนึ่งคือ "เรื่อกรีซ" ที่ไฟกำลังลุกโชน มีหนทางเลือกอยู่ 3 ทาง
1. พยายามดับไฟให้ได้ : ซึ่งได้พยายามทำมาแล้วถึง 5 ปี กลับพบว่า กรีซขาดความสามารถในการแข่งขันอยู่ดีภายใต้ระบบเงินยูโร การว่างงานในกรีซยังสูงถึง 25.8% นับว่าสาหัสมาก และ หนี้สินภาครัฐต่อ GDP ก็สูงสุดในยูโรโซน โดยสูงถึง 175% เมื่อทางเลือกที่ 1 ไม่สำเร็จก็เหลือ 2 และ 3
2. ปล่อยให้ไฟลุกโชนต่อไป : เรื่องนี้จะเป็นปัญหาแน่ เพราะ เรือลำที่อยู่ใกล้ๆ กับ กรีซ อย่างกลุ่มประเทศ PIIGS อาจติดไฟไปด้วยก็เป็นได้ หากบอนด์ยีลด์ของกรีซ วิ่งจาก 11% ไป 20% มันจะไม่กระทบต่อบอนด์ยีลด์ของประเทศ PIIGS เลยหรือ?? โดยเฉพาะประเทศที่เสี่ยงเป็นอันดับถัดมา คือ ไซปรัส และ โปรตุเกส ที่บอนด์ยีลด์อาจวิ่งไปได้สูงกว่าระดับ 5% นั่นหมายถึง แผนการ QE ของ ECB ที่หวังจะกดดอกเบี้ยระยะยาวของยูโรโซนให้ลดลงเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นเสียด้วยซ้ำ
3. ตัดกรีซออกจากกองเรือ : ผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะดีที่สุด ก็คือ Grexit เพื่อรักษาส่วนรวมเอาไว้ จำเป็นต้องรีบตัดเนื้อร้ายออกไปโดยเร็ว โดยต้องตัดโซ่ตรวนคือ "เงินยูโร" ออกจากกรีซ ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ ไม่เพียงเป็นผลดีต่อยูโรโซน แต่ยังเป็นผลดีต่อกรีซเองด้วยเพราะ กรีซจะสามารถฟื้นตัวได้จากการบูมส่งออกและท่องเที่ยว ประเด็นสำคัญที่สุดนั้นก็คือ แต่ละประเทศจะต้องใช้ค่าเงินที่เหมาะสมกับระดับความสามารถในการแข่งขันนั่นเอง จากทฤษฎี "ปริวรรตไท้เก๊ก" ก็จะพบว่า หาก 2 ประเทศมีค่าบอนด์ยีลด์ห่างกันเกินกว่า 3% แล้วละก็ 2 ประเทศนั้นไม่ควรผูกค่าเงินไว้ด้วยกันหรือใช้เงินสกุลเดียวกัน
โจโฉได้พ่ายแพ้ยับเยินสมรภูมิผาแดง ได้รำพึงกว่า "หากกุยแกยังอยู่ด้วยเรา เราคงมิต้องเสียหายยับเยินเช่นนี้" ก็ได้แต่หวังว่าในยามนี้ ท่านผู้นำของยูโรโซนจะมียอดกุนซืออย่าง "กุยแก" อยู่ข้างกาย โดยไม่เชื่อกลลวงของ "บังทอง" ที่ได้สร้างอุบายเอาไว้ ให้ผูกเรืออย่างแน่นหนาเป็นปึกแผ่นรักษาระบบยูโรเอาไว้แบบนี้ต่อไป (แนะนำโดยนักวิชาการจากอเมริกาและเอเชีย รวมถึง ยุโรปด้วย)
หากเป็นเช่นนั้น กองเรืองยูโรโซนจะได้ไม่ต้องเสียหายยับเยินเหมือนในอดีต ดั่งโจโฉในยุคสามก๊กที่สูญทัพเรือไปในกองเพลิงแทบจะหมดสิ้น.....
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558
กำเนิด Rueng Alert และ Fragile Nineteen
ก่อนหน้านี้ ชาวตะวันตกได้สร้างคำ "Fragile Five" ซึ่งหมายถึง ประเทศที่อ่อนแอ 5 ประเทศมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง และ เสี่ยงต่อการไหลออกของเงินทุน ซึงได้แก่ ประเทศ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และ แอฟริกาใต้นั้น ประเทศเหล่านี้ล้วนมีอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเพื่อพยายามดึงดูดเงินทุนเอาไว้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างเร็ว ได้ขยายวงกว้างออกไปให้ประเทศในตลาดเกิดใหม่อีกหลายประเทศที่เสี่ยงต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และ ขาดดุลการคลังสูงอีกด้วย
อาจจัดอันดับประเทศที่เสี่ยงจากเงินทุนไหลออกได้ทั้งหมด 19 ประเทศ ผมเรียกเป็น Fragile Nineteen นับได้ว่าเป็นคำคล้องจองอย่างดี โดยใช้เกณฑ์ 50 ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ 3% ขึ้นไป (ไม่รวมจีน) จะจัดได้ตามลำดับของอัตราดอกเบี้ยสูงไปต่ำได้ดังนี้คือ อาร์เจนติน่า (19.99%) เวเนซุเอลา (19.3%) รัสเซีย (17%) อิหร่าน ไนจีเรีย บราซิล ปากีสถาน อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี อิรัก แอฟริกาใต้ คาซักสถาน โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เม็กซิโก และ ชิลี จะเห็นได้ว่าหลักๆ แล้วก็คือ ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่กระจายอยู่ทั่วโลกนั่นเอง
ประเทศเหล่านี้้มีความเสี่ยงของเงินทุนไหลออก จึงต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับสูงเข้าไว้ บางประเทศแทนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย กลับไปปรับขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายการเงินที่่น่าจะผิดทิศผิดทาง เช่น รัสเซีย บราซิล ปัญหาก็คือ นั่นอาจทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ลงได้อีก ยิ่งทำให้ความเชือมั่นของนักลงทุนต่างชาติลดน้อยถอยลงไปอีก ต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นยิ่งจะไปทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามและ อาจส่งผลในมุมกลับไปเร่งการไหลออกของเงินทุนก็เป็นได้
เรื่องต่อมา ผมมีความยินดีจะเสนอดัชนีใหม่ Rueng Alert ที่จะวัดค่าโดยใช้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เทียบสัดส่วนกับ GDP แทนที่จะนำไปเทียบกับการนำเข้า โดยวิธีนี้น่าจะวัดความเสี่ยงของกระแสเงินทุนไหลออกได้ดีกว่า แนวคิดนี้จะเป็นพี่น้องกับ Rueng Alarm ที่ทำการวัดค่าโดยประเมินจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดวิกฤติกระแสเงินทุนไหลออกได้เช่นกัน
พบว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีค่าของ เงินทุนสำรองฯ ต่ำๆ เมื่อเทียบกับ GDP จะยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยอาจกล่าวได้ว่าค่าที่ต่ำกว่า 10% ถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ระหว่าง 10-15% ความเสี่ยงสูง 15-20% ความเสี่ยงปานกลาง และถ้าสูงกว่า 20% ถือว่าอยู่เสี่ยงระดับต่ำ และ หากสูงกว่า 25% ขึ้นไปก็จัดว่าปลอดภัย
ประเทศที่มีค่า Rueng Alert ต่ำๆ เช่น อาร์เจนติน่า เวเนซุเอลา ไนจีเรีย อียิปต์ และ ปากีสถานนั้นมีค่านี้อยู่ระหว่าง 4-6% เท่านั้น ซึ่งจัดค่าเสี่ยงสูงมาก หากใช้เกณฑ์นี้ก็ถือว่าเสี่ยงกว่าประเทศใน Fragile Five เสียอีก โดย อินโดนีเซีย และ แอฟริกาใต้ที่ 13% ถือว่าเสี่ยงสูง ขณะที่ บราซิล 16% อินเดีย 17% ตุรกี และ รัสเซียที่ 18% ซึ่งถือว่าเสี่ยงระดับปานกลาง และเมื่อดูอันดับเครดิตก็พบว่า 5 ประเทศนั้นเสี่ยงกว่าเพราะมีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า Fragile Five ด้วย
ส่วนประเทศไทย ยังสบายปลอดภัยมากๆ เพราะ ค่านี้อยู่สูงถึง 41% อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากการแพร่เชื้อของวิกฤติเงินทุนไหลออกของประเทศกลุ่ม Fragile Nineteen ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับลดอันดับเครดิตของบริษัทจัดอันดับโดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันและพลังงาน ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูกันต่อไป
อาจจัดอันดับประเทศที่เสี่ยงจากเงินทุนไหลออกได้ทั้งหมด 19 ประเทศ ผมเรียกเป็น Fragile Nineteen นับได้ว่าเป็นคำคล้องจองอย่างดี โดยใช้เกณฑ์ 50 ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ 3% ขึ้นไป (ไม่รวมจีน) จะจัดได้ตามลำดับของอัตราดอกเบี้ยสูงไปต่ำได้ดังนี้คือ อาร์เจนติน่า (19.99%) เวเนซุเอลา (19.3%) รัสเซีย (17%) อิหร่าน ไนจีเรีย บราซิล ปากีสถาน อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี อิรัก แอฟริกาใต้ คาซักสถาน โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เม็กซิโก และ ชิลี จะเห็นได้ว่าหลักๆ แล้วก็คือ ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่กระจายอยู่ทั่วโลกนั่นเอง
ประเทศเหล่านี้้มีความเสี่ยงของเงินทุนไหลออก จึงต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับสูงเข้าไว้ บางประเทศแทนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย กลับไปปรับขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายการเงินที่่น่าจะผิดทิศผิดทาง เช่น รัสเซีย บราซิล ปัญหาก็คือ นั่นอาจทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ลงได้อีก ยิ่งทำให้ความเชือมั่นของนักลงทุนต่างชาติลดน้อยถอยลงไปอีก ต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นยิ่งจะไปทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามและ อาจส่งผลในมุมกลับไปเร่งการไหลออกของเงินทุนก็เป็นได้
เรื่องต่อมา ผมมีความยินดีจะเสนอดัชนีใหม่ Rueng Alert ที่จะวัดค่าโดยใช้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เทียบสัดส่วนกับ GDP แทนที่จะนำไปเทียบกับการนำเข้า โดยวิธีนี้น่าจะวัดความเสี่ยงของกระแสเงินทุนไหลออกได้ดีกว่า แนวคิดนี้จะเป็นพี่น้องกับ Rueng Alarm ที่ทำการวัดค่าโดยประเมินจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดวิกฤติกระแสเงินทุนไหลออกได้เช่นกัน
พบว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีค่าของ เงินทุนสำรองฯ ต่ำๆ เมื่อเทียบกับ GDP จะยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยอาจกล่าวได้ว่าค่าที่ต่ำกว่า 10% ถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ระหว่าง 10-15% ความเสี่ยงสูง 15-20% ความเสี่ยงปานกลาง และถ้าสูงกว่า 20% ถือว่าอยู่เสี่ยงระดับต่ำ และ หากสูงกว่า 25% ขึ้นไปก็จัดว่าปลอดภัย
ประเทศที่มีค่า Rueng Alert ต่ำๆ เช่น อาร์เจนติน่า เวเนซุเอลา ไนจีเรีย อียิปต์ และ ปากีสถานนั้นมีค่านี้อยู่ระหว่าง 4-6% เท่านั้น ซึ่งจัดค่าเสี่ยงสูงมาก หากใช้เกณฑ์นี้ก็ถือว่าเสี่ยงกว่าประเทศใน Fragile Five เสียอีก โดย อินโดนีเซีย และ แอฟริกาใต้ที่ 13% ถือว่าเสี่ยงสูง ขณะที่ บราซิล 16% อินเดีย 17% ตุรกี และ รัสเซียที่ 18% ซึ่งถือว่าเสี่ยงระดับปานกลาง และเมื่อดูอันดับเครดิตก็พบว่า 5 ประเทศนั้นเสี่ยงกว่าเพราะมีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า Fragile Five ด้วย
ส่วนประเทศไทย ยังสบายปลอดภัยมากๆ เพราะ ค่านี้อยู่สูงถึง 41% อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากการแพร่เชื้อของวิกฤติเงินทุนไหลออกของประเทศกลุ่ม Fragile Nineteen ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับลดอันดับเครดิตของบริษัทจัดอันดับโดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันและพลังงาน ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูกันต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558
ห้อยต่องแต่ง....แบงก์ยุโรป
แบงก์ยุโรป ยังคงเป็นปัญหาต่อไป จากกฎบาเซิล III ที่แบงก์จำเป็นต้องเพิ่มทุนจำนวนมาก จากเงินทุน Tier 1 ยังไม่เพียงพอ โดยเรื่องนี้ได้จุดประเด็นด้วย การที่แบงก์แซนแทนเดอร์ ซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่สุดของสเปน ได้ประกาศเพิ่มทุนถึง 7.5 พันล้านยูโร ซึ่งจะทำให้เงินทุน Tier1 ของแบงก์ขึ้นจาก 8.5% เป็น 10% อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า เงินทุนยังไม่เพียงพอ อาจต้องมีการเพิ่มทุนอีกครั้งราว 5 พันล้านยูโร จึงส่งผลให้ราคาหุ้นตกลงไปถึง 14% (9 มค.) และ ฉุดแบงก์อื่นๆ ของยุโรปลงตามไปด้วย โดยดัชนีหุ้นแบงก์ของยุโรปตกไปกว่า 3% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน
เรื่องนี้นับได้ว่าสำคัญมาก เพราะ ลดทอนผลกระทบทางบวกของ ECB ที่จะดำเนินมาตรการ QE ซื้อพันธบัตรราว 5 แสนล้านยูโรซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ด้วย ทำให้หุ้นของแบงก์ยุโรปร่วงลงไปกว่า 3%
เรื่องราวนี้ยังอีกยาวไกล เพราะ มีการคาดการณ์ว่าแบงก์ในประเทศอ่อนแออย่าง อิตาลี โปรตุเกส กรีซ ก็อาจต้องทำแบบเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น แบงก์ในประเทศอย่าง เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็อาจจะทำด้วย จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดหุ้นยุโรปได้อีกไม่น้อย
ยังไม่นับรวมถึง ปัญหาการเมืองในกรีซ ที่หากพรรคฝ่ายค้านชนะ ก็อาจทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้ มีการคุยเรื่องการลดหนี้และการรัดเข็มขัดการคลังอีกครั้งหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบให้กรีซต้องออกจากยุโรโซนได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีปัญหาแบบ "หนีเสือปะจระเข้" เพราะ หากกรีซยังคงอยู่ จะทำให้กรีซไม่สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง เพราะ ค่าเงินยูโรจะค้ำคอไว้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันย่ำแย่ต่อไป การว่างงานอยู่สูงกว่าระดับ 25% แต่หากจะออกจาก "ยูโร" ก็จะทำให้ความเชื่อมั่นถดถอยได้ รวมถึงหนี้สินต่างๆ ที่เป็นเงินยูโร อาจต้องมีการปรับสูงขึ้นอีกหากคำนวณตามค่าเงินสกุล Drachma ของกรีซที่อาจจะกลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อช่วยให้การส่งออก การท่องเที่ยว และ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น
ความไม่เชื่อมั่นในสกุลยูโรอาจปะทุขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน และ แบงก์ของยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เรื่องนี้คงต้องจับตาดูกันต่อไป
เรื่องนี้นับได้ว่าสำคัญมาก เพราะ ลดทอนผลกระทบทางบวกของ ECB ที่จะดำเนินมาตรการ QE ซื้อพันธบัตรราว 5 แสนล้านยูโรซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ด้วย ทำให้หุ้นของแบงก์ยุโรปร่วงลงไปกว่า 3%
เรื่องราวนี้ยังอีกยาวไกล เพราะ มีการคาดการณ์ว่าแบงก์ในประเทศอ่อนแออย่าง อิตาลี โปรตุเกส กรีซ ก็อาจต้องทำแบบเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น แบงก์ในประเทศอย่าง เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็อาจจะทำด้วย จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดหุ้นยุโรปได้อีกไม่น้อย
ยังไม่นับรวมถึง ปัญหาการเมืองในกรีซ ที่หากพรรคฝ่ายค้านชนะ ก็อาจทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้ มีการคุยเรื่องการลดหนี้และการรัดเข็มขัดการคลังอีกครั้งหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบให้กรีซต้องออกจากยุโรโซนได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีปัญหาแบบ "หนีเสือปะจระเข้" เพราะ หากกรีซยังคงอยู่ จะทำให้กรีซไม่สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง เพราะ ค่าเงินยูโรจะค้ำคอไว้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันย่ำแย่ต่อไป การว่างงานอยู่สูงกว่าระดับ 25% แต่หากจะออกจาก "ยูโร" ก็จะทำให้ความเชื่อมั่นถดถอยได้ รวมถึงหนี้สินต่างๆ ที่เป็นเงินยูโร อาจต้องมีการปรับสูงขึ้นอีกหากคำนวณตามค่าเงินสกุล Drachma ของกรีซที่อาจจะกลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อช่วยให้การส่งออก การท่องเที่ยว และ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น
ความไม่เชื่อมั่นในสกุลยูโรอาจปะทุขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน และ แบงก์ของยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เรื่องนี้คงต้องจับตาดูกันต่อไป
วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558
วิกฤติวอดก้า อย่าได้กะพริบตา
รัสเซียได้เดินหน้าเข้าสู่เขตแดนอันตรายของวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว โดยน่าจะใช้ชื่อว่า "วิกฤติวอดก้า" เนื่องจากราคาน้ำมันดิบทีร่วงลงอย่างมากถึง 50% จาก 100 เหรียญ เหลือเพียง 50 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลก็ดิ่งลงหนักด้วยถึงระดับ 50% จากความกังวลค่าเงินไหลออก และ เศรษฐกิจอาจถดถอยได้ถึงระดับ 5% ต่อปี โดยค่าเงินได้ร่วงจาก 30 ไปเป้น 60 รูเบิลต่อ 1 ดอลลาร์ แม้จะมีการขึั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาเป็น 17% ก็ตามก็ไม่ได้ช่วยอะไรนัก
เรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรบ้าง ... ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น Fragile Five หรือ ประเทศที่อ่อนแอทั้ง 5 ซึ่งพึ่งพิงเงินทุนต่างชาติสูง ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง มีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าเงินแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งได้แก่ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และ แอฟริกาใต้นั้น ประเทศทั้ง 5 นี้อาจขยายวงโดยรวมเอา "รัสเซีย" เข้าไปด้วย ด้วยเหตุผลที่คล้ายๆ กัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศในอเมริกากลางและใต้ อย่าง อาร์เจนติน่า ชิลี โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และ เมกซิโก ก็มีความเสี่ยง รวมถึงอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง ไนจีเรีย อียิปต์ ก็ด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น อิรัก อิหร่าน ก็เช่นเดียวกัน รวมๆ แล้ว จาก Fragile Five ก็อาจกลายเป็น Fragile Fifteen ไปเลย ที่จะมีปัญหาของเงินทุนไหลออก และ ค่าเงินอ่อนค่าลงอย่างเร็ว
การที่รัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้จะถูกต้องตามตำราและทฤษฎี แต่อย่างไรก็ดีนั่นดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ผิด เพราะ อัตราดอกเบี้ยสูง-เงินเฟ้อสูง-ค่าเงินแนวโน้มอ่อนค่า 3 สิ่งนี้จะไปด้วยกันเป็นเซ็ตเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับประเทศในกลุ่ม Fragile Five อยู่ก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้น การที่รัสเซียพยายามผลักดันในอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะไม่ช่วยสกัดเงินเฟ้อ แต่กลับทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ซึงก็เป็นเช่นนั้นจริง อัตราเงินเฟ้อวิ่งไประดับ 11% ได้แล้วอย่างน่ากังวล และยังมีแนวโน้มสูงไปอีก เมื่อเงินเฟ้อสูงหมายถึง กำลังซื้อของเงินรูเบิลมีค่าต่ำลง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะยาวนั่นเอง
เฉพาะค่าเงินรูเบิลที่อ่อนลงก็ทำให้ GDP ของรัสเซียและของโลก หายไปแล้ว 1 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อรวมกับการอ่อนค่าของเงินยูโรและปอนด์ (กระทบราว 3 ล้านล้านดอลล์) ยังมีค่าเงินของประเทศใหญ่ 20 อันดับแรกอย่าง ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก บราซิล เกาหลีใต้ ตุรกี และ อินโดนีเซีย ก็ล้วนอ่อนค่าลงหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์เช่นกัน โดยดูจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่งขึ้นมากราว 14% ก็อาจกล่าวได้ว่า GDP โลกได้หายไปแล้วถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 10% เลยทีเดียว ดังนััน การคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี 2558 นี้จะโตได้ถึง 4-5% จึงน่าจะเพ้อฝันอยู่มาก ประเมินจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเช่นนี้แล้ว ส่งออกไทยมีโอกาสติดลบ 4-5% เสียมากกว่า
วิกฤติวอดก้า ยังมีอีก 3 ขั้นตอนที่ควรจะต้องกังวล เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันดิบ และ ค่าเงินของประเทศผู้ค้าน้ำมันที่อ่อนลง ดังนี้
1. ลด : โดยน่าจะมีการปรับลดอันดับเครดิตของ บริษัทพลังงาน สถาบันการเงิน และ ประเทศผู้ค้าน้ำมันอีกหลายแห่ง ตามราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากรายได้และสินทรัพย์ลดลงมาก ภายในไตรมาสแรกและสองของปีนี้อยู่หลายบริษัทและหลายประเทศ
2. เบี้ยว : เมื่อถูกปรับลดอันดับเครดิต ทำให้การไฟแนนซ์เงินทำได้ยากขึ้นและแพงขึ้น ขณะที่รายได้ก็แย่ลงอยู่แล้วจากราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงอย่างเร็ว หนี้สินต่างประเทศในรูปดอลลาร์ก็มีอยู่มาก ดังนั้น ก็พอคาดการณ์ได้ว่า จะมีการเบียวหนี้เพิ่มขึ้นเป็นแน่ สำหรับบริษัทพลังงานต่างๆ และ นั่นอาจรวมไปถึงรัฐบาลของบางประเทศด้วย
3. อุ้ม : รัฐบาลคงต้องอัดฉีดเงินทุนเพื่ออุ้ม บริษัทพลังงาน รวมถึง สถาบันการเงินหลายแห่งซึ่งถูกกระทบจากปัญหา NPL และ เมื่อเงินทุนภาครัฐไม่เพียงพอ สุดท้ายแล้ว IMF คงต้องส่งเงินมาอุ้มอีกหลายประเทศ แต่ IMF ก็มีเงินทุนไม่พอสำหรับการอุ้มหลายประเทศแบบนั้น ยิ่งประเทศใหญ่แบบ "รัสเซีย" แล้ว เชื่อว่าจีนน่าจะเข้ามามีบทบาทแทน IMF ในการอุ้มภาครัฐของหลายประเทศที่มีปัญหากับประเทศสหรัฐอเมริกา ข่าวล่าๆ ก็มีว่า เริ่มเข้าช่วยเหลือ รัสเซีย และ เวเนซุเอล่าแล้ว
3 ขั้นตอนนี้คงไม่จบง่ายๆ อาจจะต้องวน 3 เรื่องคือ "ลด-เบี้ยว-อุ้ม" กันหลายรอบ ประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึงกว่า 2 ปีกว่าขั้นตอนเจ็บปวดเหล่านี้จะจบลงได้ โลกเคยชินกับการเห็นฟองสบู่สินทรัพย์อย่างหุ้นและอสังหาริมทรัพย์แตกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องของ ฟองสบู่สินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะน้ำมัน) แตกให้เห็นกันบ้าง
สำหรับไทย ประเทศที่น่ากังวลที่สุดถัดจากรัสเซียที่จะกระทบการท่องเที่ยวได้ถึง 1 ล้านคน ก็อาจเป็นประเทศอินโดนีเซีย เพราะ ในฐานะพี่ใหญ่ของ AEC ที่มีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 40% หากเกิดปัญหาเงินทุนไหลออก จนต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF หรือประเทศจีนอีก ก็คงเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรวมตัวเป็น AEC ในปลายปีนี้
เรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรบ้าง ... ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น Fragile Five หรือ ประเทศที่อ่อนแอทั้ง 5 ซึ่งพึ่งพิงเงินทุนต่างชาติสูง ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง มีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าเงินแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งได้แก่ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และ แอฟริกาใต้นั้น ประเทศทั้ง 5 นี้อาจขยายวงโดยรวมเอา "รัสเซีย" เข้าไปด้วย ด้วยเหตุผลที่คล้ายๆ กัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศในอเมริกากลางและใต้ อย่าง อาร์เจนติน่า ชิลี โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และ เมกซิโก ก็มีความเสี่ยง รวมถึงอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง ไนจีเรีย อียิปต์ ก็ด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น อิรัก อิหร่าน ก็เช่นเดียวกัน รวมๆ แล้ว จาก Fragile Five ก็อาจกลายเป็น Fragile Fifteen ไปเลย ที่จะมีปัญหาของเงินทุนไหลออก และ ค่าเงินอ่อนค่าลงอย่างเร็ว
การที่รัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้จะถูกต้องตามตำราและทฤษฎี แต่อย่างไรก็ดีนั่นดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ผิด เพราะ อัตราดอกเบี้ยสูง-เงินเฟ้อสูง-ค่าเงินแนวโน้มอ่อนค่า 3 สิ่งนี้จะไปด้วยกันเป็นเซ็ตเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับประเทศในกลุ่ม Fragile Five อยู่ก่อนแล้วนั่นเอง ดังนั้น การที่รัสเซียพยายามผลักดันในอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะไม่ช่วยสกัดเงินเฟ้อ แต่กลับทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ซึงก็เป็นเช่นนั้นจริง อัตราเงินเฟ้อวิ่งไประดับ 11% ได้แล้วอย่างน่ากังวล และยังมีแนวโน้มสูงไปอีก เมื่อเงินเฟ้อสูงหมายถึง กำลังซื้อของเงินรูเบิลมีค่าต่ำลง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะยาวนั่นเอง
เฉพาะค่าเงินรูเบิลที่อ่อนลงก็ทำให้ GDP ของรัสเซียและของโลก หายไปแล้ว 1 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อรวมกับการอ่อนค่าของเงินยูโรและปอนด์ (กระทบราว 3 ล้านล้านดอลล์) ยังมีค่าเงินของประเทศใหญ่ 20 อันดับแรกอย่าง ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก บราซิล เกาหลีใต้ ตุรกี และ อินโดนีเซีย ก็ล้วนอ่อนค่าลงหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์เช่นกัน โดยดูจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่งขึ้นมากราว 14% ก็อาจกล่าวได้ว่า GDP โลกได้หายไปแล้วถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 10% เลยทีเดียว ดังนััน การคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี 2558 นี้จะโตได้ถึง 4-5% จึงน่าจะเพ้อฝันอยู่มาก ประเมินจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเช่นนี้แล้ว ส่งออกไทยมีโอกาสติดลบ 4-5% เสียมากกว่า
วิกฤติวอดก้า ยังมีอีก 3 ขั้นตอนที่ควรจะต้องกังวล เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันดิบ และ ค่าเงินของประเทศผู้ค้าน้ำมันที่อ่อนลง ดังนี้
1. ลด : โดยน่าจะมีการปรับลดอันดับเครดิตของ บริษัทพลังงาน สถาบันการเงิน และ ประเทศผู้ค้าน้ำมันอีกหลายแห่ง ตามราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากรายได้และสินทรัพย์ลดลงมาก ภายในไตรมาสแรกและสองของปีนี้อยู่หลายบริษัทและหลายประเทศ
2. เบี้ยว : เมื่อถูกปรับลดอันดับเครดิต ทำให้การไฟแนนซ์เงินทำได้ยากขึ้นและแพงขึ้น ขณะที่รายได้ก็แย่ลงอยู่แล้วจากราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงอย่างเร็ว หนี้สินต่างประเทศในรูปดอลลาร์ก็มีอยู่มาก ดังนั้น ก็พอคาดการณ์ได้ว่า จะมีการเบียวหนี้เพิ่มขึ้นเป็นแน่ สำหรับบริษัทพลังงานต่างๆ และ นั่นอาจรวมไปถึงรัฐบาลของบางประเทศด้วย
3. อุ้ม : รัฐบาลคงต้องอัดฉีดเงินทุนเพื่ออุ้ม บริษัทพลังงาน รวมถึง สถาบันการเงินหลายแห่งซึ่งถูกกระทบจากปัญหา NPL และ เมื่อเงินทุนภาครัฐไม่เพียงพอ สุดท้ายแล้ว IMF คงต้องส่งเงินมาอุ้มอีกหลายประเทศ แต่ IMF ก็มีเงินทุนไม่พอสำหรับการอุ้มหลายประเทศแบบนั้น ยิ่งประเทศใหญ่แบบ "รัสเซีย" แล้ว เชื่อว่าจีนน่าจะเข้ามามีบทบาทแทน IMF ในการอุ้มภาครัฐของหลายประเทศที่มีปัญหากับประเทศสหรัฐอเมริกา ข่าวล่าๆ ก็มีว่า เริ่มเข้าช่วยเหลือ รัสเซีย และ เวเนซุเอล่าแล้ว
3 ขั้นตอนนี้คงไม่จบง่ายๆ อาจจะต้องวน 3 เรื่องคือ "ลด-เบี้ยว-อุ้ม" กันหลายรอบ ประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึงกว่า 2 ปีกว่าขั้นตอนเจ็บปวดเหล่านี้จะจบลงได้ โลกเคยชินกับการเห็นฟองสบู่สินทรัพย์อย่างหุ้นและอสังหาริมทรัพย์แตกไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องของ ฟองสบู่สินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะน้ำมัน) แตกให้เห็นกันบ้าง
สำหรับไทย ประเทศที่น่ากังวลที่สุดถัดจากรัสเซียที่จะกระทบการท่องเที่ยวได้ถึง 1 ล้านคน ก็อาจเป็นประเทศอินโดนีเซีย เพราะ ในฐานะพี่ใหญ่ของ AEC ที่มีสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 40% หากเกิดปัญหาเงินทุนไหลออก จนต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF หรือประเทศจีนอีก ก็คงเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรวมตัวเป็น AEC ในปลายปีนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)