เลิกทาสอีกครั้งเถอะ..ประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีเลิกทาสมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยตอนนั้นมีทาสถึง 1 ใน 3 ของประชากร โดยลูกทาสในเรือนเบี้ย ยังคงเป็นทาสต่อเนื่องกันเรื่อยมา และ พระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งนี้เอง พระองค์ท่านทรงได้รับพระสมัญญาว่า “พระปิยมหาราช”
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และ การเมืองอย่างเห็นได้ชัด มีประชากรที่แบ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง และ ชนชั้นล่าง อย่างเห็นได้ชัด ลองมาดูในรายละเอียด
ทาสทางเศรษฐกิจ : ประชาชนไทยจำนวนมากที่ต้องติดหนี้สินนอกระบบ ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึงกว่า 10% ต่อเดือน หากติดหนี้ราว 3 หมื่นบาท ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 3 พันบาทต่อเดือน โดยเขาอาจมีรายได้ต่อเดือนเพียง 6 พันบาทต่อเดือน จึงเหลือเงินติดกระเป๋าเพียง 3 บาทเท่านั้นเพื่อกินอยู่ นั่นหมายถึง รายได้ราวครึ่งหนึ่งต้องจ่ายให้กับ “นายทุนเงินกู้” เหลือรายได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ใช้เพื่อยังชีพ และ หนี้สินก็ยังมีอยู่ต่อไป ไม่สามารถจะลดเงินต้นลงได้เลย เพราะ ลำพังแค่การจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียวก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว ประชาชนกลุ่นนี้จึงดูเหมือนเป็นทาสทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมนั่นเอง แทบไม่มีโอกาสเป็นไทแก่ตัวได้เลย
วิธีเลิกทาสเศรษฐกิจก็คือ ต้องยอมให้ผู้ทำงานในระบบทั้งประกันสังคม และ ข้าราชการนั้น สามารถยืมเงินตนเองออกมาเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยโหดได้ โดยให้ สปส. และ กบข. ทำการค้ำประกันเงินกู้ให้ 9 ส่วน และ ดอกเบี้ย 9% ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 9 ปี ผมเรียกว่า “สินเชื่อ99” คาดว่าจะมีเงินไหลเข้าระบบได้สูงถึง 9 แสนล้านบาท ใหญ่กว่า กองทุนหมู่บ้านสมัยรัฐบาลทักษิณ 11 เท่าตัว และ ใหญ่กว่าโครงการเช็คช่วยชาติถึง 45 เท่าตัว
วิธีนี้จะทำให้คนไทยเป็น “ไท” แก่ตัว ถึงแม้ว่าจะเป็นสินเชื่อแต่ก็เป็นสินเชื่อที่อิงอยู่กับเงินออมของแต่ละบุคคล การผ่อนรายงวดอาจลดจากระดับ 5-10% ของเงินกู้ เหลือเพียง 1.3% เท่านั้น ทำให้ลดภาระการผ่อนต่อเดือนลงไปได้อย่างมาก ทำให้เหลือเงินติดกระเป๋าเพื่อจับจ่ายใช้สอยได้มากยิ่งขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น สำหรับคนที่มีเงินเหลือ ยังสามารถนำไปปล่อยกู้ให้กับญาติสนิทมิตรสหาย เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยได้อีกด้วย กู้เงินออมตนเองมา 9% ต่อปี แต่ปล่อยกู้ไป 2% ต่อเดือน ก็อาจได้ส่วนต่างดอกเบี้ยถึง 15% ต่อปี ของยอดเงินปล่อยกู้ นี่เป็นการยกระดับจาก “ชนชั้นกรรมาชีพ” สู่ “ชนชั้นนายทุน” ได้ภายในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น แทนที่จะจะต้องใช้เวลาหลายสิบปี
ทาสทางการเมือง : ประชาชนเกือบทั้งประเทศที่มีอายุถึงเกณฑ์มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี มีประชากรเพียงหยิบมือเท่านั้นที่สามารถสมัครชิง สส. ได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดทางการศึกษา และ เงินทุน .... ชาวไร่ชาวนา เลือก ตัวแทน ได้มาแต่นายทุน ประชาชนยังคงเป็นทาสของ นายทุนการเมือง และ เสนาอำมาตย์ต่อไป
นายทุนใหญ่ อุปถัมภ์ นายทุนเล็ก เพื่อให้เป็น สส. ส่วนตัวเองก็อาจได้ถึงระดับรัฐมนตรี เพราะ มี สส.ในสังกัดอยู่หลายคน ส่วนนายทุนเบิ้มก็อาจได้เป็นถึงนายกฯ เรื่องแบบนี้เราเคยได้เห็นกันมาแล้ว ระบบแบบนี้ คือ “ธนาธิปไตย” การใช้ “เงิน” เป็นหลัก เพราะ การเลือกตั้งในปัจจุบันต้องใช้เงินทุนทั้งถูกและผิดกฎหมายจำนวนมากมาย หลีกไม่พ้นที่นายทุนนักการเมือง จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในในการเลือกตั้งทุกครั้ง
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐมนตรีหลายๆ คน ก็สามารถทำการทุจริตคอรัปชั่น โดยที่ประชาชนไม่สามารถจะโต้แย้งอะไรได้เลย เพราะ ใครกันละครับจะโกงแบบมีใบเสร็จให้เห็นๆ กันได้ชัดเจน และยามเมื่อทหารต้องการผลประโยชน์บ้าง ก็พร้อมฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเสีย โดยที่ประชาชนไม่มีโอกาสโต้แย้งอะไรได้เลยเช่นกัน นี่คือ ระบบ “อมาตยาธิปไตย” หรือการใช้ “เส้น” เป็นหลัก
ประชาชนจึงตกอยู่ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่าง “เงิน” กับ “เส้น” โดยไม่มีสิทธิมีเสียงอะไรเลย คนธรรมดาไม่สามารถเป็น สส.ได้ ด้วยข้อจำกัดทั้งการศึกษา และ เงินทุน จะมีก็แต่นายทุน หรือ นอมินีของนายทุนเท่านั้น จึงจะเข้ามาในระบบแบบนี้ได้ การไม่มีโอกาสเข้าไปเป็นตัวแทนทางการเมืองของชุมชนนี่แหละ คือ “ทาสทางการเมือง” นั่นเอง
วิธีเลิกทาส คือ การใช้ระบบตัวแทนหมู่บ้าน ที่เป็นคนดี พร้อมทำงานเพื่อส่วนรวม โดยให้หมู่บ้าน 7.6 หมื่นแห่งเลือกตัวแทนของตนเองออกมา แล้วจับสลากให้สวรรค์เป็นคนกำหนดอีกทีว่าใครจะได้เป็น สส. โดยระบบนี้จะมาทดแทนสส.ระบบเขต ส่วนระบบสัดส่วนยังคงไว้ตามเดิม
ด้วยวิธีนี้ การใช้เงินเพื่อจูงใจในการซื้อสิทธิขายเสียง แทบจะไม่มี เพราะ แม้จะได้เป็นตัวแทนหมู่บ้านก็มีโอกาสเพียง 1 ในพัน เท่านั้น ที่จะได้เป็น สส.จริง เราจะได้คนที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านจริงๆ ไม่ใช่เลือกกี่ครั้งได้แต่นายทุนนักการเมืองมาตลอด
เมื่อมีการเลิกทาสทั้ง 2 กรณีนี้ ประเทศไทยจะน่าอยู่ขึ้นอีกมาก และ ความแตกแยกอาจลดลงมากเลยก็ได้ในสังคมไทยนี้ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
ดัชนี "เรืองศิริกูลชัย" : ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงทางการคลัง
หากถามว่า "หนี้ภาครัฐไทย ไม่เป็นไรใช่ไหม" รัฐบาลก็คงตอบว่า "สบายมาก ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง" แต่ถ้าถามฝ่ายค้านละก็ "เรื่องใหญ่เลย การเพิ่มหนี้ภาครัฐอย่างเร็ว น่าจะสร้างวิกฤติการคลังได้" นี่เป็นมุมมอง 2 ด้านที่แตกต่างกัน
เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าทำไม กรีซ ซึ่งมีหนี้สาธารณะต่อ จีดีพี ที่ 165% หรือ อิตาลีที่ 120% กลับพบกับวิกฤติการคลังแบบเป็นเรื่องเป็นราว หนักหนาสาหัสกว่า ญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวเลขนี้อยู่ที่ 212% คำตอบนั้นอาจเป็นได้ว่า กรีซ และ อิตาลี ต้องมีการไฟแนนซ์เงินจากต่างประเทศ ทำให้ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ขณะที่ญี่ปุ่นนั้นพึ่งพิงเงินออมในประเทศเป็นหลัก โดยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีนั้น กรีซยืนที่ 20.7% อิตาลีที่ 5% ขณะที่ญี่ปุ่นยืนราว 0.8% เท่านั้นเอง
ผมจึงมีความยินดีที่จะนำเสนอดัชนีวัดความเสี่ยงการคลังที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ "นามสกุล" ของผมเอง “ดัชนีเรืองศิริกูลชัย” (Ruangsirikulchai Index เรียกสั้นๆว่า Ruang Index) เพื่อชี้ความเสี่ยงการคลังของประเทศต่างๆ โดยนำเอา ค่าหนี้สาธารณะ ต่อ GDP คูณด้วย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี โดยมีแนวคิดว่า ประเทศเหล่านี้หากรีไฟแนนซ์เป็นหนี้ระยะยาว 10 ปีทั้งหมด ณ ปัจจุบันแล้ว จะต้องเสียเฉพาะค่าดอกเบี้ยจ่าย คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ GDP โดยส่วนใหญ่แล้วเงินตรงนี้จะจ่ายไปยัง นักลงทุนสถาบันทั้งใน และ ต่างประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล และ เงินนี้ก็จะจมไปกับกองทุนไม่ออกมาหมุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเป็นการสูญเสียทางการคลังแบบเปล่าประโยชน์ ค่าเหล่านี้หาได้ง่ายและมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน ทำให้ update ต่อสถานการณ์การคลัง
Ruangsirikulchai Index = Pulbic Debt/GDP * 10 Yr Gov.Bond Yield
เราอาจแบ่งความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คล้ายกับระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่น ดังนี้
ความเสี่ยงระดับ 1 (ค่าดัชนีอยู่ต่ำกว่า 1.5%) หมายถึง รัฐบาลไม่มีภาระหนักหนานักในการจ่ายดอกเบี้ย ความเสี่ยงการคลังยังอยู่ในระดับต่ำ ยังไม่ต้องรีบร้อนที่นำเอา "การคลังไท้เก๊ก" มาใช้ สามารถใช้นโยบายการคลังเดิมๆ ของเคนส์ได้ต่อไป เช่น เยอรมนีมีค่าดัชนี "เรืองศิริกูลชัย" ที่ 1.3% (หนี้ภาครัฐต่อ GDP 81% และ ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ 1.63%)
ความเสี่ยงระดับ 2 (ค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 1.5%-3%) หมายถึง มีความเสี่ยงของการคลังอยู่ในระดับปานกลาง ประเทศเหล่านี้ควรเร่งรีบศึกษา "การคลังไท้เก๊ก" ซึ่งใช้หลักการยืมพลังแทนการนโยบายการคลังแบบเดิมๆ ประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่มีความเสี่ยงระดับนี้ เช่น อังกฤษ 1.6% (85.7% และ 1.87%) ญี่ปุ่น 1.7% (212% และ 0.81% ) อเมริกา 1.85% (103% และ 1.80%) และ ประเทศไทยค่าดัชนียืนที่ 1.6% (41.7% และ 3.85% ตามลำดับ)
ความเสี่ยงระดับ 3 (ค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 3-5%) หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับสูง ต้องรีบนำ "การคลังไท้เก๊ก" เพื่อรัดเข็มขัดพร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจโดยด่วน เช่น ประเทศสเปนมีค่าดัชนีนี้ที่ 4.0% (68.5% และ 5.84% )
ความเสี่ยงระดับ 4 (ดัชนีอยู่ระหว่าง 5-10% )หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับสูงมากๆ ต้องรีบนำ "การคลังไท้เก๊ก" เพื่อรัดเข็มขัดพร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจโดยด่วนที่สุด รอช้าไม่ได้เลย เช่น ประเทศอิตาลียืนที่ 6.0% (120% และ 5.0%) ไอร์แลนด์ 8.4% (108% และ 7.7%) และ โปรตุเกส 9.3% (108% และ 8.65%)
ความเสี่ยงระดับ 5 (ดัชนียืนสูงกว่า 10% ) หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับวิกฤติที่สุด ประเทศเข้าข่าย "ล้มละลายทางการคลัง" จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากภายนอกและปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ เช่น กรีซมีค่าดัชนีสูงถึง 34.2% (165% และ 20.7% ตามลำดับ) จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศนี้จึงเข้าขั้น “ล้มละลาย” ไปแล้ว โดยที่แม้รัฐบาลพยายามจะลดการขาดดุลการคลังลง ตามแผนก็คือการลดได้จาก 12.7% GDP เหลือ 8.7% GDP ซึ่งก็ยังเป็นระดับสูงอยู่ดี และ GDP ยังมีแนวโน้มจะลดลงจากมาตรการรัดเข็มขัดการคลัง จึงพบกับการประท้วงไปทั่วประเทศ
ดัชนีนี้สำหรับประเทศ อังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่นั้น ก็อยู่ในระดับต่ำกว่า “3” ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 แม้จะยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ ควรมีการศึกษาเรื่องของ "การคลังไท้เก๊ก” ซึ่งผนวกเอาเคล็ดวิชาของ "มวยไท้เก๊ก" คือ "ยืมแรงสะท้อนแรง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน" มารวมเข้ากับทฤษฎีการคลังเดิมๆ ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนกรอบแนวคิด (paradigm shift) ทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่นี่อาจเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์สำหรับประเทศ PIIGS ที่จำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง แต่ก็ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กันด้วย
โดยหากเป็นกรอบแนวคิดของสำนักเคนส์ การรัดเข็มขัดการคลังจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงมาก (เพราะค่าตัวทวีสูงกว่า 1) และ หากเป็นกรอบแนวคิดของสำนักการเงินนิยม นั่นจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเล็กน้อย (เพราะค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) แต่ในกรอบแนวคิดของ "การคลังไท้เก๊ก" นั้น รัฐบาลจะสามารถรัดเข็มขัดการคลังในโครงการที่ตัวทวีติดลบ รวมถึงการยืมพลังจากกองทุนบำนาญ จึงสามารถทำเรื่องยากๆ นี้โดยเศรษฐกิจไม่แย่ลงแต่กลับดีขึ้นได้
หากท่านผู้นำประเทศ PIIGS ได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็น่าจะดีใจเป็นอันมาก สามารถนำไปบอกประชาชนได้เลยว่า "เราได้พบทฤษฎีใหม่แล้วที่สามารถรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยกันได้ ประชาชนจะมีว่างงานลดลงและมีรายได้สูงขึ้น" เท่านี้ก็จะลดแรงต้านลดการประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดการคลังไปได้มาก
ปัจจุบันจะพบว่าตัวแปรทั้ง 3 ตัว คือ ตัวเลขหนี้สาธารณะนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นอาจสูงขึ้นไปอีกจากการขาดดุลการคลังในระดับสูงต่อไป สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ตัว GDP นั้นมีแนวโน้มยืนๆ หรืออาจลดลงได้หากประเมินว่ามีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอยและ การรัดเข็มขัดการคลัง รวมถึงตัวแปรผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีนั้นก็อาจสูงขึ้นได้จากความเสี่ยงทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นและการไหลออกของเงินทุน คล้ายกรณีของประเทศ PIIGS ดังนั้นจะพบว่าทั้งโลก พบกับแรงกดดันจากตัวแปรทั้ง 3 ที่อาจทำให้ “ดัชนีเรืองศิริกูลชัย” เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายได้ในอนาคต
สำหรับประเทศไทยของเรา หากดูจากค่าดัชนีนี้จะพบว่าความเสี่ยงอยู่ระดับใกล้เคียงกับ อังกฤษ ญี่ปุ่นและอเมริกาเลยทีเดียว เพราะ อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่ ยิ่งมีแผนจะก่อหนี้ภาครัฐสูงถึง 2 ล้านล้านบาทก็ยิ่งน่ากังวล แม้ความเสี่ยงของไทยยังห่างชั้นกับประเทศ PIIGS อยู่มาก แต่ก็อยู่ระดับเดียวกับญี่ปุ่น หากใช้ค่า "ดัชนีเรืองศิริกูลชัย" เป็นตัววัด
ดังนั้น สิ่งที่ไทยควรทำก็คือ แทนที่จะเดินหน้าทำ "สมดุลการคลัง" ให้รายรับและรายจ่ายของรัฐบาลสมดุลนั้น คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำได้ หรือหากจะทำจริงๆ น่าจะส่งผลทางลบต่อเศรษฐกิจได้ไม่น้อย ควรมุ่งสู่ "สมดุลการคลังไท้เก๊ก" คือ การทำให้ "ดัชนีเรืองศิริกูลชัย" อยู่ในระดับทรงตัวนั่นเอง หมายถึง หากจะสร้างหนี้ภาครัฐเพิ่ม ก็ต้องมี GDP เติบโตเพิ่มตามในสัดส่วนเดียวกัน หากประเมินว่า GDP จะเติบโต 5% เงินเฟ้อ 3% ต่อปี การที่รัฐบาลทำขาดดุลการคลังราว 4 แสนล้านบาทต่อปี (เพิ่มหนี้ภาครัฐราว 8% ต่อปี) ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมเพราะจะทำให้หนี้ภาครัฐ ต่อ GDP อยู่ในระดับทรงตัว และ ดูแลให้หนี้ภาครัฐพึ่งพิงเงินออมในประเทศเป็นหลัก เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเงินทุนไหลออกจนอัตราดอกเบี้ยระยะยาวพุ่งสูงแบบประเทศ PIIGS
เชื่อได้ว่า วิกฤติการคลัง จะเริ่มรุนแรงมากขึ้นภายใน 2-3 ปีนี้ โดยเริ่มมาจากประเทศเขตยูโรโซนที่อ่อนแอก่อน จากนั้นก็จะเริ่มขยายวงกว้างออกไป ในเขตยุโรปทั้งหมด รวมไปถึงอเมริกา และญี่ปุ่น กรอบแนวคิดใหม่ที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมๆ ไปกับแก้ไขวิกฤติการคลังด้วยนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ และ “การคลังไท้เก๊ก” (Taiji Fiscal Theory) อาจเป็นคำตอบนั้นครับ
ข้อมูล : www.tradingeconomics.com และ www.bloomberg.com วันที่ 19 กันยายน 2555
เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าทำไม กรีซ ซึ่งมีหนี้สาธารณะต่อ จีดีพี ที่ 165% หรือ อิตาลีที่ 120% กลับพบกับวิกฤติการคลังแบบเป็นเรื่องเป็นราว หนักหนาสาหัสกว่า ญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวเลขนี้อยู่ที่ 212% คำตอบนั้นอาจเป็นได้ว่า กรีซ และ อิตาลี ต้องมีการไฟแนนซ์เงินจากต่างประเทศ ทำให้ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ขณะที่ญี่ปุ่นนั้นพึ่งพิงเงินออมในประเทศเป็นหลัก โดยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีนั้น กรีซยืนที่ 20.7% อิตาลีที่ 5% ขณะที่ญี่ปุ่นยืนราว 0.8% เท่านั้นเอง
ผมจึงมีความยินดีที่จะนำเสนอดัชนีวัดความเสี่ยงการคลังที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ "นามสกุล" ของผมเอง “ดัชนีเรืองศิริกูลชัย” (Ruangsirikulchai Index เรียกสั้นๆว่า Ruang Index) เพื่อชี้ความเสี่ยงการคลังของประเทศต่างๆ โดยนำเอา ค่าหนี้สาธารณะ ต่อ GDP คูณด้วย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี โดยมีแนวคิดว่า ประเทศเหล่านี้หากรีไฟแนนซ์เป็นหนี้ระยะยาว 10 ปีทั้งหมด ณ ปัจจุบันแล้ว จะต้องเสียเฉพาะค่าดอกเบี้ยจ่าย คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ GDP โดยส่วนใหญ่แล้วเงินตรงนี้จะจ่ายไปยัง นักลงทุนสถาบันทั้งใน และ ต่างประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล และ เงินนี้ก็จะจมไปกับกองทุนไม่ออกมาหมุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเป็นการสูญเสียทางการคลังแบบเปล่าประโยชน์ ค่าเหล่านี้หาได้ง่ายและมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน ทำให้ update ต่อสถานการณ์การคลัง
Ruangsirikulchai Index = Pulbic Debt/GDP * 10 Yr Gov.Bond Yield
เราอาจแบ่งความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คล้ายกับระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่น ดังนี้
ความเสี่ยงระดับ 1 (ค่าดัชนีอยู่ต่ำกว่า 1.5%) หมายถึง รัฐบาลไม่มีภาระหนักหนานักในการจ่ายดอกเบี้ย ความเสี่ยงการคลังยังอยู่ในระดับต่ำ ยังไม่ต้องรีบร้อนที่นำเอา "การคลังไท้เก๊ก" มาใช้ สามารถใช้นโยบายการคลังเดิมๆ ของเคนส์ได้ต่อไป เช่น เยอรมนีมีค่าดัชนี "เรืองศิริกูลชัย" ที่ 1.3% (หนี้ภาครัฐต่อ GDP 81% และ ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ 1.63%)
ความเสี่ยงระดับ 2 (ค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 1.5%-3%) หมายถึง มีความเสี่ยงของการคลังอยู่ในระดับปานกลาง ประเทศเหล่านี้ควรเร่งรีบศึกษา "การคลังไท้เก๊ก" ซึ่งใช้หลักการยืมพลังแทนการนโยบายการคลังแบบเดิมๆ ประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่มีความเสี่ยงระดับนี้ เช่น อังกฤษ 1.6% (85.7% และ 1.87%) ญี่ปุ่น 1.7% (212% และ 0.81% ) อเมริกา 1.85% (103% และ 1.80%) และ ประเทศไทยค่าดัชนียืนที่ 1.6% (41.7% และ 3.85% ตามลำดับ)
ความเสี่ยงระดับ 3 (ค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 3-5%) หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับสูง ต้องรีบนำ "การคลังไท้เก๊ก" เพื่อรัดเข็มขัดพร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจโดยด่วน เช่น ประเทศสเปนมีค่าดัชนีนี้ที่ 4.0% (68.5% และ 5.84% )
ความเสี่ยงระดับ 4 (ดัชนีอยู่ระหว่าง 5-10% )หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับสูงมากๆ ต้องรีบนำ "การคลังไท้เก๊ก" เพื่อรัดเข็มขัดพร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจโดยด่วนที่สุด รอช้าไม่ได้เลย เช่น ประเทศอิตาลียืนที่ 6.0% (120% และ 5.0%) ไอร์แลนด์ 8.4% (108% และ 7.7%) และ โปรตุเกส 9.3% (108% และ 8.65%)
ความเสี่ยงระดับ 5 (ดัชนียืนสูงกว่า 10% ) หมายถึง ความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับวิกฤติที่สุด ประเทศเข้าข่าย "ล้มละลายทางการคลัง" จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากภายนอกและปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ เช่น กรีซมีค่าดัชนีสูงถึง 34.2% (165% และ 20.7% ตามลำดับ) จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศนี้จึงเข้าขั้น “ล้มละลาย” ไปแล้ว โดยที่แม้รัฐบาลพยายามจะลดการขาดดุลการคลังลง ตามแผนก็คือการลดได้จาก 12.7% GDP เหลือ 8.7% GDP ซึ่งก็ยังเป็นระดับสูงอยู่ดี และ GDP ยังมีแนวโน้มจะลดลงจากมาตรการรัดเข็มขัดการคลัง จึงพบกับการประท้วงไปทั่วประเทศ
ดัชนีนี้สำหรับประเทศ อังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่นั้น ก็อยู่ในระดับต่ำกว่า “3” ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับ 2 แม้จะยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ ควรมีการศึกษาเรื่องของ "การคลังไท้เก๊ก” ซึ่งผนวกเอาเคล็ดวิชาของ "มวยไท้เก๊ก" คือ "ยืมแรงสะท้อนแรง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน" มารวมเข้ากับทฤษฎีการคลังเดิมๆ ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนกรอบแนวคิด (paradigm shift) ทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่นี่อาจเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์สำหรับประเทศ PIIGS ที่จำเป็นต้องรัดเข็มขัดการคลัง แต่ก็ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กันด้วย
โดยหากเป็นกรอบแนวคิดของสำนักเคนส์ การรัดเข็มขัดการคลังจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงมาก (เพราะค่าตัวทวีสูงกว่า 1) และ หากเป็นกรอบแนวคิดของสำนักการเงินนิยม นั่นจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเล็กน้อย (เพราะค่าตัวทวีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) แต่ในกรอบแนวคิดของ "การคลังไท้เก๊ก" นั้น รัฐบาลจะสามารถรัดเข็มขัดการคลังในโครงการที่ตัวทวีติดลบ รวมถึงการยืมพลังจากกองทุนบำนาญ จึงสามารถทำเรื่องยากๆ นี้โดยเศรษฐกิจไม่แย่ลงแต่กลับดีขึ้นได้
หากท่านผู้นำประเทศ PIIGS ได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็น่าจะดีใจเป็นอันมาก สามารถนำไปบอกประชาชนได้เลยว่า "เราได้พบทฤษฎีใหม่แล้วที่สามารถรัดเข็มขัดการคลัง พร้อมๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยกันได้ ประชาชนจะมีว่างงานลดลงและมีรายได้สูงขึ้น" เท่านี้ก็จะลดแรงต้านลดการประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดการคลังไปได้มาก
ปัจจุบันจะพบว่าตัวแปรทั้ง 3 ตัว คือ ตัวเลขหนี้สาธารณะนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นอาจสูงขึ้นไปอีกจากการขาดดุลการคลังในระดับสูงต่อไป สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ตัว GDP นั้นมีแนวโน้มยืนๆ หรืออาจลดลงได้หากประเมินว่ามีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอยและ การรัดเข็มขัดการคลัง รวมถึงตัวแปรผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีนั้นก็อาจสูงขึ้นได้จากความเสี่ยงทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นและการไหลออกของเงินทุน คล้ายกรณีของประเทศ PIIGS ดังนั้นจะพบว่าทั้งโลก พบกับแรงกดดันจากตัวแปรทั้ง 3 ที่อาจทำให้ “ดัชนีเรืองศิริกูลชัย” เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายได้ในอนาคต
สำหรับประเทศไทยของเรา หากดูจากค่าดัชนีนี้จะพบว่าความเสี่ยงอยู่ระดับใกล้เคียงกับ อังกฤษ ญี่ปุ่นและอเมริกาเลยทีเดียว เพราะ อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่ ยิ่งมีแผนจะก่อหนี้ภาครัฐสูงถึง 2 ล้านล้านบาทก็ยิ่งน่ากังวล แม้ความเสี่ยงของไทยยังห่างชั้นกับประเทศ PIIGS อยู่มาก แต่ก็อยู่ระดับเดียวกับญี่ปุ่น หากใช้ค่า "ดัชนีเรืองศิริกูลชัย" เป็นตัววัด
ดังนั้น สิ่งที่ไทยควรทำก็คือ แทนที่จะเดินหน้าทำ "สมดุลการคลัง" ให้รายรับและรายจ่ายของรัฐบาลสมดุลนั้น คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำได้ หรือหากจะทำจริงๆ น่าจะส่งผลทางลบต่อเศรษฐกิจได้ไม่น้อย ควรมุ่งสู่ "สมดุลการคลังไท้เก๊ก" คือ การทำให้ "ดัชนีเรืองศิริกูลชัย" อยู่ในระดับทรงตัวนั่นเอง หมายถึง หากจะสร้างหนี้ภาครัฐเพิ่ม ก็ต้องมี GDP เติบโตเพิ่มตามในสัดส่วนเดียวกัน หากประเมินว่า GDP จะเติบโต 5% เงินเฟ้อ 3% ต่อปี การที่รัฐบาลทำขาดดุลการคลังราว 4 แสนล้านบาทต่อปี (เพิ่มหนี้ภาครัฐราว 8% ต่อปี) ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมเพราะจะทำให้หนี้ภาครัฐ ต่อ GDP อยู่ในระดับทรงตัว และ ดูแลให้หนี้ภาครัฐพึ่งพิงเงินออมในประเทศเป็นหลัก เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเงินทุนไหลออกจนอัตราดอกเบี้ยระยะยาวพุ่งสูงแบบประเทศ PIIGS
เชื่อได้ว่า วิกฤติการคลัง จะเริ่มรุนแรงมากขึ้นภายใน 2-3 ปีนี้ โดยเริ่มมาจากประเทศเขตยูโรโซนที่อ่อนแอก่อน จากนั้นก็จะเริ่มขยายวงกว้างออกไป ในเขตยุโรปทั้งหมด รวมไปถึงอเมริกา และญี่ปุ่น กรอบแนวคิดใหม่ที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมๆ ไปกับแก้ไขวิกฤติการคลังด้วยนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ และ “การคลังไท้เก๊ก” (Taiji Fiscal Theory) อาจเป็นคำตอบนั้นครับ
ข้อมูล : www.tradingeconomics.com และ www.bloomberg.com วันที่ 19 กันยายน 2555
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553
ก้าวข้าม "ธนาธิปไตย" สู่ "ประชาธิปไตย" ที่แท้จริง
ก้าวข้าม “ธนาธิปไตย” สู่ “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริง
ในยามที่บ้านเมืองมีปัญหาของการเมืองสุมเข้ามาเช่นนี้ ผมขออนุญาตการเปลี่ยนหัวเรื่องจากด้าน “เศรษฐกิจ” มาเสนอความเห็นด้าน “การเมือง” บ้าง
อย่างที่พวกเราล้วนรู้ดีกันอยู่ว่าระบบการเลือกตั้งในปัจจุบันนั้น ต้องมีการใช้เงินทุนเพื่อหาเสียงกันเป็นจำนวนมากหลายล้านบาท ทั้งแบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การทำแผ่นพับ โฆษณาผ่านสื่อ หรือ ป้ายหาเสียง รวมทั้งที่แบบผิดกฎหมาย (แต่แอบทำ) อีกเป็นจำนวนมาก เราจึงมักได้ผู้แทนราษฎร (สส.) ที่เป็นเจ้าที่ดิน หรือนายทุน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนา และ คนงาน
เมื่อนายทุนได้เข้ามาเป็น สส. ก็มุ่งหวังผลประโยชน์เพื่อถอนทุนคืน จึงอาจเชื่อมโยงไปถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ง่ายๆ เรื่องแบบนี้พวกเรารู้ดีกันมาหลายสิบปีแล้ว ว่าโดยรูปแบบปัจจุบันนั้นคล้าย “ประชาธิปไตย” แต่โดยเนื้อแท้แล้ว คือ “ธนาธิปไตย” ที่มุ่งการใช้เงินทุนเป็นหลักเพื่อเข้ามาในสภา เพื่อแสงหาผลกำไรเป็นเงินทุนทางการเมืองกลับไปนั่นเอง
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะเสนอ แนวทางการเลือกตั้งแบบใหม่ เพื่อให้ประเทศก้าวข้าม “ธนาธิปไตย” ไปให้ได้ โดยยังคงอยู่ในกรอบแห่ง “ประชาธิปไตย” อยู่ดี นั่นคือ “ระบบตัวแทนหมู่บ้าน”
ด้วยระบบนี้ก็คือ การจัดให้หมู่บ้าน 7.8 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศได้เลือกตัวแทนหมู่บ้าน 1 คน ซึ่งเป็นคนดีและพร้อมทำงานเพื่อสังคม จากนั้นก็สุ่มเลือกแบบจับสลากขึ้นมาราว 80 คน จังหวัดละ 1 คนยกเว้นจังหวัดใหญ่ๆ ได้ 2 คน ด้วยวิธีการนี้จึงเป็นการเลือกด้วย “ประชาชน” ชั้นหนึ่ง แล้วจึงให้ “สวรรค์” เป็นคนเลือกอีกขั้นหนึ่ง โดยรูปแบบแล้วคล้ายการ “เสี่ยงโชค” แต่เนื้อแท้แล้วเป็น “ประชาธิปไตย” อย่างมาก เพราะ ชาวบ้านมีโอกาสเข้ามาเป็น สส. ได้ ทั้งๆที่ระบบปัจจุบันนั้นโอกาสนั้นไม่มีเอาเสียเลย
ด้วยระบบแบบนี้ แรงจูงใจในการซื้อเสียงแทบไม่มีเลย เพราะ แม้จะได้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านก็มีโอกาสเพียง 1 ในพัน เท่านั้นที่จะได้เป็น สส.ตัวจริง เมื่อไม่มีการลงทุนในการหาเสียง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องถอนทุนทางการเมือง จะลดปัญหาของการทุจริตคอรัปชั่นไปในตัว ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยระบบแบบนี้เราจะได้ตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่ว่า ชาวนาเลือกตัวแทนทีไร จะได้นายทุน อยู่ร่ำไป
ผมเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้ง “เสื้อเหลือง” ที่เน้นความบริสุทธิ์ซื่อตรง “เสื้อแดง” ที่เน้นเรื่องขอประชาธิปไตย รวมไปถึง “เสื้อขาว” ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย มีคนกลุ่มเดียวที่อาจเสียประโยชน์จากตรงนี้ก็คือ สส.ในระบบปัจจุบันนั่นเอง
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะ คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ชี้ชะตาหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการเลือกตั้ง หากขัดผลประโยชน์ของพวกเขาก็อาจไม่ผ่านได้ง่ายๆ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และประเทศชาติ ดังนั้น พรรคการเมืองใดที่ไม่สนับสนุนแนวคิดนี้ก็อาจหมายถึง การสูญเสียฐานเสียงของประชาชนจำนวนมากได้ง่ายๆ
สิ่งที่ควรจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1. คุณสมบัติของ สส. ที่กำหนดให้ต้องจบปริญญาตรี นั้นไม่เหมาะสมเลย เป็นการตัดสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้มีสิทธิในการสมัครเป็นตัวแทนชาวบ้าน เราต้องการคนที่มาเป็นปากเสียงของประชาชนนะครับ ไม่ใช่ มาเป็นนักวิชาการเพื่อแก้โจทย์คณิตศาสตร์ชั้นสูง แคลคูลัส แบบนั้น
ผมคิดว่าแค่ระดับ อ่านออกเขียนได้บวกลบเลขเป็น ก็น่าจะพอแล้ว จบชั้นประถมศึกษาก็น่าจะเพียงพอแล้ว เราต้องการคนดีที่พร้อมทำเพื่อสังคม ควรเปิดสิทธินั้นให้กับคนดีๆ ไม่ใช่ไปตัดสิทธิของประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่ให้เป็น สส.ได้
2. เพิ่มแบบของการเลือกตั้ง จากแค่ 2 แบบคือ ระบบแบ่งเขต และ ระบบสัดส่วน ก็เพิ่ม “ระบบตัวแทนหมู่บ้าน” เข้าไปด้วย โดย 2 แบบเดิมจะเหลือ 400 คน ส่วนระบบใหม่นี้ก็ราว 80 คน เพื่อทดลองนำร่องดูก่อน สส.ที่ได้อาจมีระดับการศึกษาที่ต่ำลง แต่เป็นคนดี พร้อมทำเพื่อสังคมมากขึ้น ไม่ทุจริตโกงกิน ซึ่งก็คือ คุณภาพที่ดีขึ้นของ สส.นั่นเอง
จากการชุมนุมของ “คนเสื้อแดง” ในเดือนมีนาคมนี้ ผมกลับพบว่าแม้เสียงสนับสนุนต่อรัฐบาลจะดีขึ้นเนื่องจากสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างสวยงาม แต่ เงื่อนไขในการ “ไม่ยุบสภา” กลับลดลง เพราะ เศรษฐกิจก็ดีขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว และ พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกเสียงชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หาก “ยุบสภา” ณ เวลานี้ การเมืองไทยก็จะกลับไปสู่วังวนเดิมๆ ของ “ธนาธิปไตย” และ การเมืองน้ำเน่าต่อไป
ผมจึงคิดว่า ความคิดนี้อาจเป็นจุดเล็กๆ ที่ใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อการอยู่ต่อไปของสภา เพื่อดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการเลือกตั้งให้เสร็จ เพื่อปฏิรูปการเมืองให้สร้างสรรค์เป็น “ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง เราต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านธรรมดาๆ มีโอกาสเข้ามาเป็น สส.ในสภาได้ และ บางทีเรื่องนี้อาจเป็นจุดเล็กๆ เพื่อเริ่มต้นในการสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนสีต่างๆ ในประเทศไทยของเราครับ
ในยามที่บ้านเมืองมีปัญหาของการเมืองสุมเข้ามาเช่นนี้ ผมขออนุญาตการเปลี่ยนหัวเรื่องจากด้าน “เศรษฐกิจ” มาเสนอความเห็นด้าน “การเมือง” บ้าง
อย่างที่พวกเราล้วนรู้ดีกันอยู่ว่าระบบการเลือกตั้งในปัจจุบันนั้น ต้องมีการใช้เงินทุนเพื่อหาเสียงกันเป็นจำนวนมากหลายล้านบาท ทั้งแบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การทำแผ่นพับ โฆษณาผ่านสื่อ หรือ ป้ายหาเสียง รวมทั้งที่แบบผิดกฎหมาย (แต่แอบทำ) อีกเป็นจำนวนมาก เราจึงมักได้ผู้แทนราษฎร (สส.) ที่เป็นเจ้าที่ดิน หรือนายทุน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนา และ คนงาน
เมื่อนายทุนได้เข้ามาเป็น สส. ก็มุ่งหวังผลประโยชน์เพื่อถอนทุนคืน จึงอาจเชื่อมโยงไปถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ง่ายๆ เรื่องแบบนี้พวกเรารู้ดีกันมาหลายสิบปีแล้ว ว่าโดยรูปแบบปัจจุบันนั้นคล้าย “ประชาธิปไตย” แต่โดยเนื้อแท้แล้ว คือ “ธนาธิปไตย” ที่มุ่งการใช้เงินทุนเป็นหลักเพื่อเข้ามาในสภา เพื่อแสงหาผลกำไรเป็นเงินทุนทางการเมืองกลับไปนั่นเอง
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะเสนอ แนวทางการเลือกตั้งแบบใหม่ เพื่อให้ประเทศก้าวข้าม “ธนาธิปไตย” ไปให้ได้ โดยยังคงอยู่ในกรอบแห่ง “ประชาธิปไตย” อยู่ดี นั่นคือ “ระบบตัวแทนหมู่บ้าน”
ด้วยระบบนี้ก็คือ การจัดให้หมู่บ้าน 7.8 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศได้เลือกตัวแทนหมู่บ้าน 1 คน ซึ่งเป็นคนดีและพร้อมทำงานเพื่อสังคม จากนั้นก็สุ่มเลือกแบบจับสลากขึ้นมาราว 80 คน จังหวัดละ 1 คนยกเว้นจังหวัดใหญ่ๆ ได้ 2 คน ด้วยวิธีการนี้จึงเป็นการเลือกด้วย “ประชาชน” ชั้นหนึ่ง แล้วจึงให้ “สวรรค์” เป็นคนเลือกอีกขั้นหนึ่ง โดยรูปแบบแล้วคล้ายการ “เสี่ยงโชค” แต่เนื้อแท้แล้วเป็น “ประชาธิปไตย” อย่างมาก เพราะ ชาวบ้านมีโอกาสเข้ามาเป็น สส. ได้ ทั้งๆที่ระบบปัจจุบันนั้นโอกาสนั้นไม่มีเอาเสียเลย
ด้วยระบบแบบนี้ แรงจูงใจในการซื้อเสียงแทบไม่มีเลย เพราะ แม้จะได้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านก็มีโอกาสเพียง 1 ในพัน เท่านั้นที่จะได้เป็น สส.ตัวจริง เมื่อไม่มีการลงทุนในการหาเสียง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องถอนทุนทางการเมือง จะลดปัญหาของการทุจริตคอรัปชั่นไปในตัว ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยระบบแบบนี้เราจะได้ตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง ไม่ใช่ว่า ชาวนาเลือกตัวแทนทีไร จะได้นายทุน อยู่ร่ำไป
ผมเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้ง “เสื้อเหลือง” ที่เน้นความบริสุทธิ์ซื่อตรง “เสื้อแดง” ที่เน้นเรื่องขอประชาธิปไตย รวมไปถึง “เสื้อขาว” ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย มีคนกลุ่มเดียวที่อาจเสียประโยชน์จากตรงนี้ก็คือ สส.ในระบบปัจจุบันนั่นเอง
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะ คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ชี้ชะตาหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการเลือกตั้ง หากขัดผลประโยชน์ของพวกเขาก็อาจไม่ผ่านได้ง่ายๆ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และประเทศชาติ ดังนั้น พรรคการเมืองใดที่ไม่สนับสนุนแนวคิดนี้ก็อาจหมายถึง การสูญเสียฐานเสียงของประชาชนจำนวนมากได้ง่ายๆ
สิ่งที่ควรจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1. คุณสมบัติของ สส. ที่กำหนดให้ต้องจบปริญญาตรี นั้นไม่เหมาะสมเลย เป็นการตัดสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้มีสิทธิในการสมัครเป็นตัวแทนชาวบ้าน เราต้องการคนที่มาเป็นปากเสียงของประชาชนนะครับ ไม่ใช่ มาเป็นนักวิชาการเพื่อแก้โจทย์คณิตศาสตร์ชั้นสูง แคลคูลัส แบบนั้น
ผมคิดว่าแค่ระดับ อ่านออกเขียนได้บวกลบเลขเป็น ก็น่าจะพอแล้ว จบชั้นประถมศึกษาก็น่าจะเพียงพอแล้ว เราต้องการคนดีที่พร้อมทำเพื่อสังคม ควรเปิดสิทธินั้นให้กับคนดีๆ ไม่ใช่ไปตัดสิทธิของประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่ให้เป็น สส.ได้
2. เพิ่มแบบของการเลือกตั้ง จากแค่ 2 แบบคือ ระบบแบ่งเขต และ ระบบสัดส่วน ก็เพิ่ม “ระบบตัวแทนหมู่บ้าน” เข้าไปด้วย โดย 2 แบบเดิมจะเหลือ 400 คน ส่วนระบบใหม่นี้ก็ราว 80 คน เพื่อทดลองนำร่องดูก่อน สส.ที่ได้อาจมีระดับการศึกษาที่ต่ำลง แต่เป็นคนดี พร้อมทำเพื่อสังคมมากขึ้น ไม่ทุจริตโกงกิน ซึ่งก็คือ คุณภาพที่ดีขึ้นของ สส.นั่นเอง
จากการชุมนุมของ “คนเสื้อแดง” ในเดือนมีนาคมนี้ ผมกลับพบว่าแม้เสียงสนับสนุนต่อรัฐบาลจะดีขึ้นเนื่องจากสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างสวยงาม แต่ เงื่อนไขในการ “ไม่ยุบสภา” กลับลดลง เพราะ เศรษฐกิจก็ดีขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว และ พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกเสียงชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หาก “ยุบสภา” ณ เวลานี้ การเมืองไทยก็จะกลับไปสู่วังวนเดิมๆ ของ “ธนาธิปไตย” และ การเมืองน้ำเน่าต่อไป
ผมจึงคิดว่า ความคิดนี้อาจเป็นจุดเล็กๆ ที่ใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อการอยู่ต่อไปของสภา เพื่อดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการเลือกตั้งให้เสร็จ เพื่อปฏิรูปการเมืองให้สร้างสรรค์เป็น “ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง เราต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านธรรมดาๆ มีโอกาสเข้ามาเป็น สส.ในสภาได้ และ บางทีเรื่องนี้อาจเป็นจุดเล็กๆ เพื่อเริ่มต้นในการสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนสีต่างๆ ในประเทศไทยของเราครับ
เลิกรับจำนำ เลิกประกันรายได้ ไต่สู่ทางเลือกใหม่
รัฐบาลได้พยายามชี้แจงให้เห็นว่าระบบการประกันรายได้เกษตรกรนั้น ได้ประโยชน์ต่อคนถึง 3 ล้านครัวเรือน โดยใช้งบประมาณน้อยลงเหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับระบบรับจำนำข้าว ซึ่งมีประโยชน์ต่อชาวนาเพียง 3 แสนครอบครัว แต่ต้องใช้เงินงบประมาณถึง 7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 วิธีนี้ก็ไม่ได้สร้างความพอใจกับชาวนามากนัก ยังมีการเรียกร้องเพื่อให้ช่วยเหลือมากไปกว่านี้อีก เพราะเงินชดเชยที่ได้มันน้อยนิดเหลือเกิน แถมไม่รู้ว่าไปเข้ากระเป๋าใครเสียอีก
มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูงอย่างยั่งยืน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่น้อย..... ทางเลือกใหม่นั้นมีหรือไม่ ดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นไปไม่ได้ แต่ “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” (Taiji-Econ.) อาจมีคำตอบสำหรับเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่งนี้
รัฐบาลต้องมีการจัดตั้ง “กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย” หรือ Thai-Agri Fund ซึ่งเป็นการรวมแบบถ่วงน้ำหนักของสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ เข้าไปเป็นกองทุนรวม เพื่อแปลงสภาพจาก “สินค้า” ให้เป็น “สินทรัพย์” ในลักษณะนี้ ข้าว ยาง กุ้ง มัน ข้าวโพด ฯลฯ จะถูกเปลี่ยนสภาพจาก “สินค้า” เพื่อการบริโภค กลายเป็น “สินทรัพย์” เพื่อการรักษาความมั่งคั่งและเพื่อการลงทุน มีสภาพคล้ายกับ “น้ำมัน” และ “ทองคำ” ซึ่งมีราคาที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน ก็เพราะ มีการลงทุนในตลาดล่วงหน้า และ มีการลงทุนในกองทุนรวมน้ำมัน แล กองทุนรวมทองคำ อยู่ทั่วโลกในปริมาณมากมายนั่นเอง หากกองทุนบำนาญทั่วโลกมีความสนใจลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารก็จะเพิ่มดีมานด์ให้กับสินค้าเกษตรไทยอย่างมากมาย
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลยังต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง คือ ให้กองทุนบำนาญไทย ซึ่งรวมเงินกองทุนประกันสังคม (สปส.) กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) และ ประกันชีวิต ซึ่งจะมียอดสินทรัพย์รวมกันถึง 3 ล้านล้านบาท ณ ปลายปีนี้นั้น “ต้อง” ลงทุนใน กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย หรือ สัญญาซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ตั้งแต่ 2.5% ขึ้นไป ณ กลางปีนี้ และ 5% ณ ปลายปีนี้ เรื่องง่าย ๆเท่านี้ก็เหมือนกับการเพิ่มกำลังซื้อถึง 1.5 แสนล้านบาท ที่จะเข้าทยอยซื้อสินค้าเกษตรไทย เป็นสต๊อกอย่างยั่งยืน โดยอนาคตขนาดของกองทุนบำนาญจะใหญ่ขึ้นราวปีละ 4 แสนล้านบาท นั่นหมายถึง สินค้าเกษตรจะถูกเก็บเป็นสต๊อกเพิ่มขึ้นอีกปีละ 2 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่องยาวนาน ราคาข้าวจะไม่ถูกกดราคาออกมาเพียงแค่มีข่าวลือว่ารัฐบาลจะระบายสต๊อก 5 แสนตันหรือ 2 ล้านตัน
หากครึ่งหนึ่งของเงินนั้นลงทุนใน “ข้าว” ก็เป็นเงินถึง 7.5 หมื่นล้าน หรืออาจตกราว 7.5 ล้านตัน (ตันละ 1 หมื่นบาท) ซึ่งเป็นปริมาณที่มหาศาลและจะสนับสนุนราคาข้าวได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ จากราคาที่สูงขึ้นในตลาดล่วงหน้า ก็จะสะท้อนมาที่ราคาตลาดปัจจุบันให้สูงขึ้นเอง โดยพ่อค้าจะเป็นคนเก็บ สต๊อกเหล่านี้แทนรัฐบาล เรื่องราวทั้งหมดนี้ รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินงบประมาณใดๆ เลย ขณะที่เชื่อได้ว่า ราคาข้าวจะมีราคาที่สูงกว่าตลาด ณ ปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 20-30% ได้สบายๆ
สินทรัพย์ของ “เกษตรกร” ก็คือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่ง สปส. และ กบข. รวมไปถึง เงินออมประกันชีวิต ต้องพยายามช่วยกันสนับสนุนราคาให้อยู่ในระดับที่สูงพอ เกษตรกร ก็คือ พ่อแม่พี่น้อง ของผู้ประกันตน เรื่องนี้จะส่งผลดีทั้งในด้านของการเมือง สังคม และ เศรษฐกิจในทุกด้าน อย่างไรก็ดี ตัวเลขสัดส่วนการลงทุนของเงินกองทุนบำนาญนี้ รัฐบาลอาจปรับให้สูงขึ้นเป็น 7.5% หรือ 10% ก็ได้ หากเห็นว่าราคายังสูงขึ้นไม่เป็นที่พอใจ หรืออาจปรับลดเหลือไม่เกิน 3% ก็ได้ หากเห็นว่าราคาสินค้าเกษตรไทยเริ่มสูงเกินไปจนเป็นภาระหนักให้ชนชั้นแรงงาน นี่จึงเป็นเครื่องมือกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งอีกชิ้นหนึ่งของรัฐบาล เพื่อช่วยดูแลราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับที่ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจ
มองในด้านของกองทุนบำนาญ ที่อาจกังวลเรื่องของความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่กองทุนเหล่านี้ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนชนะอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี สินค้าเกษตรก็เป็นสัดส่วนที่สูงราว 40% ในการคำนวณอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว ดังนั้น มันก็สะท้อนผลตอบแทนอยู่ในตัวเอง นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของกองทุนบำนาญเพื่อเพิ่มราคาสินค้าเกษตรในระดับที่น่าพอใจได้อีกด้วย ดังนั้นโอกาสขาดทุนจึงแทบไม่มี
วิธีนี้อาจดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนเพียง 1% ต่อปีเสียอีก หากเกิดการขาดทุนขึ้นจริง รัฐบาลก็อาจชดเชยส่วนขาดทุนให้บ้าง แต่ก็คงอยู่ในระดับไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยเกษตรกรทั้งประเทศได้ประโยชน์ ขณะที่ปัจจุบันต้องใช้เงินถึง 4 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยเงินให้กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งอาจไม่ใช่เกษตรกรจริง เพราะ ชาวนาราว 80% นั้นได้สูญเสียที่ดินไปแล้ว และทำนาโดยเช่านาจากเจ้าที่ดิน การประกันรายได้ ณ ปัจจุบันจึงเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า เงินเข้ากระเป๋าเกษตรกรรายย่อย หรือ เข้ากระเป๋าของเจ้าที่ดินกันแน่
เพียงแค่ 2 ใน 18 กระบวนท่า เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) ก็สามารถช่วยเกษตรกรได้ทั้งประเทศ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่บาทเดียว ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นในระดับที่น่าพอใจอย่างยั่งยืนเสียด้วย จะไม่มีม็อบเกษตรกรอีกแล้ว เกษตรกรไทยอยู่ดีกินดีกันถ้วนหน้า หากประเทศไทยเริ่มต้นทำเรื่องแบบนี้ ก็เป็นไปได้ว่าอีกหลายประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลผลิตด้านการเกษตรเหลือส่งออกก็คงนำมาใช้ตามไปด้วย จะยิ่งส่งผลดีเป็นทวีคุณขึ้นไปอีก
รัฐบาลได้พยายามชี้แจงให้เห็นว่าระบบการประกันรายได้เกษตรกรนั้น ได้ประโยชน์ต่อคนถึง 3 ล้านครัวเรือน โดยใช้งบประมาณน้อยลงเหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับระบบรับจำนำข้าว ซึ่งมีประโยชน์ต่อชาวนาเพียง 3 แสนครอบครัว แต่ต้องใช้เงินงบประมาณถึง 7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 วิธีนี้ก็ไม่ได้สร้างความพอใจกับชาวนามากนัก ยังมีการเรียกร้องเพื่อให้ช่วยเหลือมากไปกว่านี้อีก เพราะเงินชดเชยที่ได้มันน้อยนิดเหลือเกิน แถมไม่รู้ว่าไปเข้ากระเป๋าใครเสียอีก
มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูงอย่างยั่งยืน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่น้อย..... ทางเลือกใหม่นั้นมีหรือไม่ ดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นไปไม่ได้ แต่ “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” (Taiji-Econ.) อาจมีคำตอบสำหรับเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่งนี้
รัฐบาลต้องมีการจัดตั้ง “กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย” หรือ Thai-Agri Fund ซึ่งเป็นการรวมแบบถ่วงน้ำหนักของสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ เข้าไปเป็นกองทุนรวม เพื่อแปลงสภาพจาก “สินค้า” ให้เป็น “สินทรัพย์” ในลักษณะนี้ ข้าว ยาง กุ้ง มัน ข้าวโพด ฯลฯ จะถูกเปลี่ยนสภาพจาก “สินค้า” เพื่อการบริโภค กลายเป็น “สินทรัพย์” เพื่อการรักษาความมั่งคั่งและเพื่อการลงทุน มีสภาพคล้ายกับ “น้ำมัน” และ “ทองคำ” ซึ่งมีราคาที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน ก็เพราะ มีการลงทุนในตลาดล่วงหน้า และ มีการลงทุนในกองทุนรวมน้ำมัน แล กองทุนรวมทองคำ อยู่ทั่วโลกในปริมาณมากมายนั่นเอง หากกองทุนบำนาญทั่วโลกมีความสนใจลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารก็จะเพิ่มดีมานด์ให้กับสินค้าเกษตรไทยอย่างมากมาย
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลยังต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง คือ ให้กองทุนบำนาญไทย ซึ่งรวมเงินกองทุนประกันสังคม (สปส.) กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) และ ประกันชีวิต ซึ่งจะมียอดสินทรัพย์รวมกันถึง 3 ล้านล้านบาท ณ ปลายปีนี้นั้น “ต้อง” ลงทุนใน กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย หรือ สัญญาซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ตั้งแต่ 2.5% ขึ้นไป ณ กลางปีนี้ และ 5% ณ ปลายปีนี้ เรื่องง่าย ๆเท่านี้ก็เหมือนกับการเพิ่มกำลังซื้อถึง 1.5 แสนล้านบาท ที่จะเข้าทยอยซื้อสินค้าเกษตรไทย เป็นสต๊อกอย่างยั่งยืน โดยอนาคตขนาดของกองทุนบำนาญจะใหญ่ขึ้นราวปีละ 4 แสนล้านบาท นั่นหมายถึง สินค้าเกษตรจะถูกเก็บเป็นสต๊อกเพิ่มขึ้นอีกปีละ 2 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่องยาวนาน ราคาข้าวจะไม่ถูกกดราคาออกมาเพียงแค่มีข่าวลือว่ารัฐบาลจะระบายสต๊อก 5 แสนตันหรือ 2 ล้านตัน
หากครึ่งหนึ่งของเงินนั้นลงทุนใน “ข้าว” ก็เป็นเงินถึง 7.5 หมื่นล้าน หรืออาจตกราว 7.5 ล้านตัน (ตันละ 1 หมื่นบาท) ซึ่งเป็นปริมาณที่มหาศาลและจะสนับสนุนราคาข้าวได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ จากราคาที่สูงขึ้นในตลาดล่วงหน้า ก็จะสะท้อนมาที่ราคาตลาดปัจจุบันให้สูงขึ้นเอง โดยพ่อค้าจะเป็นคนเก็บ สต๊อกเหล่านี้แทนรัฐบาล เรื่องราวทั้งหมดนี้ รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินงบประมาณใดๆ เลย ขณะที่เชื่อได้ว่า ราคาข้าวจะมีราคาที่สูงกว่าตลาด ณ ปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 20-30% ได้สบายๆ
สินทรัพย์ของ “เกษตรกร” ก็คือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่ง สปส. และ กบข. รวมไปถึง เงินออมประกันชีวิต ต้องพยายามช่วยกันสนับสนุนราคาให้อยู่ในระดับที่สูงพอ เกษตรกร ก็คือ พ่อแม่พี่น้อง ของผู้ประกันตน เรื่องนี้จะส่งผลดีทั้งในด้านของการเมือง สังคม และ เศรษฐกิจในทุกด้าน อย่างไรก็ดี ตัวเลขสัดส่วนการลงทุนของเงินกองทุนบำนาญนี้ รัฐบาลอาจปรับให้สูงขึ้นเป็น 7.5% หรือ 10% ก็ได้ หากเห็นว่าราคายังสูงขึ้นไม่เป็นที่พอใจ หรืออาจปรับลดเหลือไม่เกิน 3% ก็ได้ หากเห็นว่าราคาสินค้าเกษตรไทยเริ่มสูงเกินไปจนเป็นภาระหนักให้ชนชั้นแรงงาน นี่จึงเป็นเครื่องมือกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งอีกชิ้นหนึ่งของรัฐบาล เพื่อช่วยดูแลราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับที่ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจ
มองในด้านของกองทุนบำนาญ ที่อาจกังวลเรื่องของความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่กองทุนเหล่านี้ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนชนะอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี สินค้าเกษตรก็เป็นสัดส่วนที่สูงราว 40% ในการคำนวณอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว ดังนั้น มันก็สะท้อนผลตอบแทนอยู่ในตัวเอง นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของกองทุนบำนาญเพื่อเพิ่มราคาสินค้าเกษตรในระดับที่น่าพอใจได้อีกด้วย ดังนั้นโอกาสขาดทุนจึงแทบไม่มี
วิธีนี้อาจดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนเพียง 1% ต่อปีเสียอีก หากเกิดการขาดทุนขึ้นจริง รัฐบาลก็อาจชดเชยส่วนขาดทุนให้บ้าง แต่ก็คงอยู่ในระดับไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยเกษตรกรทั้งประเทศได้ประโยชน์ ขณะที่ปัจจุบันต้องใช้เงินถึง 4 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยเงินให้กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งอาจไม่ใช่เกษตรกรจริง เพราะ ชาวนาราว 80% นั้นได้สูญเสียที่ดินไปแล้ว และทำนาโดยเช่านาจากเจ้าที่ดิน การประกันรายได้ ณ ปัจจุบันจึงเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า เงินเข้ากระเป๋าเกษตรกรรายย่อย หรือ เข้ากระเป๋าของเจ้าที่ดินกันแน่
เพียงแค่ 2 ใน 18 กระบวนท่า เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) ก็สามารถช่วยเกษตรกรได้ทั้งประเทศ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่บาทเดียว ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นในระดับที่น่าพอใจอย่างยั่งยืนเสียด้วย จะไม่มีม็อบเกษตรกรอีกแล้ว เกษตรกรไทยอยู่ดีกินดีกันถ้วนหน้า หากประเทศไทยเริ่มต้นทำเรื่องแบบนี้ ก็เป็นไปได้ว่าอีกหลายประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลผลิตด้านการเกษตรเหลือส่งออกก็คงนำมาใช้ตามไปด้วย จะยิ่งส่งผลดีเป็นทวีคุณขึ้นไปอีก
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ สวรรค์บนดิน
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ สวรรค์บนดิน
รัฐบาลพยายามจะยกเอา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ด้วยการนำเอาความรู้ วัฒนธรรม และ ประวัติศาสตร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า และ บริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เป็นสัดส่วนสูงถึง 20% GDP ฟังดูแล้วก็สวยหรูดี แต่ชาวบ้าน ซึ่งรวมผมด้วย ก็ยังสงสัยอยู่ว่า สิ่งนี้จะช่วยให้เงินในกระเป๋าของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเพิ่มขึ้น อยู่ดีกินดีขึ้น ได้จริงละหรือ ??
นอกจากนี้ต่างชาติก็ออกจะรู้สึกกังวลอยู่ไม่น้อยกับ แนวคิดสร้างสรรค์แบบไทยๆ ในยุคปัจจุบัน เริ่มมาตั้งแต่ “อีลิทการ์ด” ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ด้วยการสร้างสรรค์เอาบัตรพลาสติกไปขายใบละ 1 ล้านบาทเพื่อหวังฟันกำไร แต่สุดท้ายรัฐบาลไทยกลับขาดทุนอย่างมากมายล้มเหลวไม่เป็นท่า การฟ้องร้องอย่างสร้างสรรค์ของ NGO ผ่านทางศาลปกครองเพื่อให้หยุดโครงการก่อสร้างต่างๆ ในมาบตาพุด ได้สร้างความเสียหายต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักของพวกเขาหลายแสนล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้น การประท้วงอย่างสร้างสรรค์ของคนเสื้อเหลือง ด้วยการปิดสนามบิน รวมไปถึง การประท้วงอย่างสร้างสรรค์ของคนเสื้อแดง ด้วยการปิดถนนเผาเมือง ก็ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงถึงกับ ปากอ้าตาค้างมาแล้ว ถึงแนวคิดสร้างสรรค์อย่างเหลือเชื่อจะรับได้ของคนไทยในยุคนี้
ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลควรรีบทำ คือ “การเลิกทาสระบบทุนนิยม” ต่างหาก ด้วย “สินเชื่อ99” ซึ่งเคยได้นำเสนอหลายครั้งแล้วนั้น โดยการให้ สปส. กบข. และ บลจ. มาค้ำประกันเงินกู้ให้กับผู้ประกันตน และ สมาชิก ของตนเอง ไม่เกิน 9 ส่วนของเงินออมแต่ละคน ในอัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี (แบงก์รัฐได้ 6% สถาบันค้ำประกันได้ 1.5% และ รัฐบาลได้ 1.5% ) ระยะเวลาผ่อนไม่เกิน 9 ปี ได้รับเงินใน 9 วันเท่านั้น คาดว่าจะมีกระแสเงินสดไหลเข้าระบบได้ถึง 9 แสนล้านบาท โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเบี้ยวหนี้เลย เพราะหากใครไม่จ่าย 3 เดือนติดกันก็ยึดเงินออมนั้นมาหักลบกลบหนี้พร้อมเบี้ยปรับได้เลย
ด้วยวิธีเช่นนี้ แทนที่ชนชั้นแรงงานจะตกเป็น “ทาส” ของนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยโหด พวกเขาสามารถเป็น “อิสรภาพ” ด้วยเงินออมของตนเอง ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับบางคนที่มีหนี้สินน้อย หรือ ไม่มีเลย สามารถยกระดับตนเองขึ้นเป็น “นายทุน” ได้อีกด้วย เช่น สามารถปล่อยกู้ให้ญาติสนิทมิตรสหาย ได้หลายหมื่นบาทหรืออาจเป็นหลักแสน ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และ พวกเขาก็ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยนี้ไป ด้วยกลไกนี้จึงสร้างระบบที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างง่ายดาย เพราะ ได้สร้างนายทุนรุ่นใหม่เป็นล้านคน สำหรับลูกหนี้ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนจะลดลงไปกว่าครึ่ง
นี่จึงเป็นวิธีการในการ “เลิกทาสครั้งที่ 2” นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นการเลิกทาสครั้งแรก เป็นการยกระดับของชนชั้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 เดือน จากชนชั้นแรงงาน ก้าวข้ามสู่ชนชั้นนายทุนได้เลย ด้วยวิธีนี้ ประเทศไทยจึงกลายเป็น สวรรค์บนดินของคนไทยส่วนใหญ่ที่ปลดแอกจาก นายทุนดอกเบี้ยโหด
ไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังมีศักยภาพสูงมากในการเป็น “ศูนย์กลางเกษียณโลก” หรือ Retirement Center จากคนเกษียณในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีจำนวนมากถึง 200 ล้านคน เราควรตั้งเป้าหมายราว 1 ล้านคนเพื่อมาเกษียณประเทศไทยอย่างมีความสุขกาย และ สบายใจ ด้วยค่าครองชีพที่ต่ำ อาหาร การแพทย์ที่ดี รวมไปถึงภัยธรรมชาติน้อย
ตัวอย่างเช่น นายโกโบริ และ นางฮิเดโกะ ตัดสินใจเกษียณในไทย จึงขายคอนโดชานเมืองโตเกียว 20 ล้านบาท มาซื้อคอนโดชานเมืองกรุงเทพฯ หรือ หัวเมืองท่องเที่ยว 4 ล้านบาท ในขนาดพื้นที่เดียวกัน แล้วนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย 16 ล้านได้ดอกเบี้ยใช้อีกปีละ 6 แสนบาท เมื่อรวมกับเงินบำนาญซึ่งได้ทุกเดือนอีกราวเดือนละ 5 หมื่นหรือปีละ 6 แสนบาท พวกเขาจะได้เงินใช้จ่ายถึงปีละ 1.2 ล้าน หรือราว 1 แสนบาทต่อเดือน ซึ่งนับได้ว่าสูงมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานของคนไทยทั่วไป และหากเทียบกับการเกษียณในญี่ปุ่น ด้วยเงิน 5 หมื่นบาท จะเทียบเท่ากับกำลังซื้อในไทยเพียง 1 หมื่นบาทเท่านั้น สรุปแล้ว พวกเขาจะมีกำลังซื้อสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัวเลยทีเดียว แค่การสร้างที่อยู่อาศัยอีกราว 5 แสนยูนิตเพื่อคนเหล่านี้ก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังไม่นับรวมถึงการจับจ่ายใช้สอย และ การดึงญาติมิตรมาเพื่อท่องเที่ยวในเมืองไทยอีกเป็นจำนวนมาก
ญี่ปุ่นได้ส่งเงินสนับสนุนด้านสุขภาพให้คนชราราวหัวละ 3.5 แสนบาทต่อปี ไทยเราสามารถขอเจียดเงินส่วนนี้มา 1 แสนบาทก็พอ ดูแลสุขภาพคนชราเหล่านี้อย่างดี 5 หมื่นบาททำประกันชั้นสุดยอดกับโรงพยาบาลเอกชน 5 ดาว ขณะที่อีก 5 หมื่นบาท สามารถเก็บเข้าคลังเป็นรายได้รัฐได้เลยสบายๆ ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่นก็ประหยัดงบประมาณไปมากโขด้วย ส่วนต่างของต้นทุนการรักษาพยาบาล และ ค่าครองชีพนี้เอง ประเทศไทยจึงกลายเป็น สวรรค์บนดินของคนเกษียณกลุ่มนี้ไปด้วย
ไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อมีคนแก่ 1 ล้านคนเพิ่มขึ้นมา จำเป็นที่ไทยต้องอาศัยแรงงานจากอินโดจีนเพิ่มอีกเท่าตัวจากปัจจุบันราว 2 ล้านคน ก็อาจต้องเพิ่มเป็น 4 ล้านคน จัดระบบให้ดี สร้างสรรค์สังคมแห่งความเอื้ออาทร มาช่วยกันทำงาน มาช่วยกันจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจก็จะสะพัด ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งสวรรค์ของคนงานกลุ่มนี้ไปอีก
เพียง 3 จาก 18 กระบวนท่า “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” (Taiji-Econ.) ก็น่าจะใช้เป็นแผนระยะยาว 5 ปีของประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์ให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ทั้งทรัพย์สินเงินทอง และ จิตวิญญาณที่หล่อหลอมวัฒนธรรมดีๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า เตรียมรับทั้งเงินทั้งกล่อง กันเลยทีเดียว
หยุดทะเลาะ หยุดการเผชิญหน้ากันได้แล้ว ถอยกันคนละครึ่งก้าว จับมือกันเพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เป็น “สวรรค์บนดิน” ทั้งของคนไทยทั้งปวง รวมไปถึงคนต่างชาติอีกหลายล้านคนจะดีกว่าไหมครับ
รัฐบาลพยายามจะยกเอา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ด้วยการนำเอาความรู้ วัฒนธรรม และ ประวัติศาสตร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า และ บริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เป็นสัดส่วนสูงถึง 20% GDP ฟังดูแล้วก็สวยหรูดี แต่ชาวบ้าน ซึ่งรวมผมด้วย ก็ยังสงสัยอยู่ว่า สิ่งนี้จะช่วยให้เงินในกระเป๋าของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเพิ่มขึ้น อยู่ดีกินดีขึ้น ได้จริงละหรือ ??
นอกจากนี้ต่างชาติก็ออกจะรู้สึกกังวลอยู่ไม่น้อยกับ แนวคิดสร้างสรรค์แบบไทยๆ ในยุคปัจจุบัน เริ่มมาตั้งแต่ “อีลิทการ์ด” ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ด้วยการสร้างสรรค์เอาบัตรพลาสติกไปขายใบละ 1 ล้านบาทเพื่อหวังฟันกำไร แต่สุดท้ายรัฐบาลไทยกลับขาดทุนอย่างมากมายล้มเหลวไม่เป็นท่า การฟ้องร้องอย่างสร้างสรรค์ของ NGO ผ่านทางศาลปกครองเพื่อให้หยุดโครงการก่อสร้างต่างๆ ในมาบตาพุด ได้สร้างความเสียหายต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักของพวกเขาหลายแสนล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้น การประท้วงอย่างสร้างสรรค์ของคนเสื้อเหลือง ด้วยการปิดสนามบิน รวมไปถึง การประท้วงอย่างสร้างสรรค์ของคนเสื้อแดง ด้วยการปิดถนนเผาเมือง ก็ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงถึงกับ ปากอ้าตาค้างมาแล้ว ถึงแนวคิดสร้างสรรค์อย่างเหลือเชื่อจะรับได้ของคนไทยในยุคนี้
ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลควรรีบทำ คือ “การเลิกทาสระบบทุนนิยม” ต่างหาก ด้วย “สินเชื่อ99” ซึ่งเคยได้นำเสนอหลายครั้งแล้วนั้น โดยการให้ สปส. กบข. และ บลจ. มาค้ำประกันเงินกู้ให้กับผู้ประกันตน และ สมาชิก ของตนเอง ไม่เกิน 9 ส่วนของเงินออมแต่ละคน ในอัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี (แบงก์รัฐได้ 6% สถาบันค้ำประกันได้ 1.5% และ รัฐบาลได้ 1.5% ) ระยะเวลาผ่อนไม่เกิน 9 ปี ได้รับเงินใน 9 วันเท่านั้น คาดว่าจะมีกระแสเงินสดไหลเข้าระบบได้ถึง 9 แสนล้านบาท โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเบี้ยวหนี้เลย เพราะหากใครไม่จ่าย 3 เดือนติดกันก็ยึดเงินออมนั้นมาหักลบกลบหนี้พร้อมเบี้ยปรับได้เลย
ด้วยวิธีเช่นนี้ แทนที่ชนชั้นแรงงานจะตกเป็น “ทาส” ของนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยโหด พวกเขาสามารถเป็น “อิสรภาพ” ด้วยเงินออมของตนเอง ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับบางคนที่มีหนี้สินน้อย หรือ ไม่มีเลย สามารถยกระดับตนเองขึ้นเป็น “นายทุน” ได้อีกด้วย เช่น สามารถปล่อยกู้ให้ญาติสนิทมิตรสหาย ได้หลายหมื่นบาทหรืออาจเป็นหลักแสน ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และ พวกเขาก็ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยนี้ไป ด้วยกลไกนี้จึงสร้างระบบที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างง่ายดาย เพราะ ได้สร้างนายทุนรุ่นใหม่เป็นล้านคน สำหรับลูกหนี้ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนจะลดลงไปกว่าครึ่ง
นี่จึงเป็นวิธีการในการ “เลิกทาสครั้งที่ 2” นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นการเลิกทาสครั้งแรก เป็นการยกระดับของชนชั้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 เดือน จากชนชั้นแรงงาน ก้าวข้ามสู่ชนชั้นนายทุนได้เลย ด้วยวิธีนี้ ประเทศไทยจึงกลายเป็น สวรรค์บนดินของคนไทยส่วนใหญ่ที่ปลดแอกจาก นายทุนดอกเบี้ยโหด
ไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังมีศักยภาพสูงมากในการเป็น “ศูนย์กลางเกษียณโลก” หรือ Retirement Center จากคนเกษียณในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีจำนวนมากถึง 200 ล้านคน เราควรตั้งเป้าหมายราว 1 ล้านคนเพื่อมาเกษียณประเทศไทยอย่างมีความสุขกาย และ สบายใจ ด้วยค่าครองชีพที่ต่ำ อาหาร การแพทย์ที่ดี รวมไปถึงภัยธรรมชาติน้อย
ตัวอย่างเช่น นายโกโบริ และ นางฮิเดโกะ ตัดสินใจเกษียณในไทย จึงขายคอนโดชานเมืองโตเกียว 20 ล้านบาท มาซื้อคอนโดชานเมืองกรุงเทพฯ หรือ หัวเมืองท่องเที่ยว 4 ล้านบาท ในขนาดพื้นที่เดียวกัน แล้วนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย 16 ล้านได้ดอกเบี้ยใช้อีกปีละ 6 แสนบาท เมื่อรวมกับเงินบำนาญซึ่งได้ทุกเดือนอีกราวเดือนละ 5 หมื่นหรือปีละ 6 แสนบาท พวกเขาจะได้เงินใช้จ่ายถึงปีละ 1.2 ล้าน หรือราว 1 แสนบาทต่อเดือน ซึ่งนับได้ว่าสูงมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานของคนไทยทั่วไป และหากเทียบกับการเกษียณในญี่ปุ่น ด้วยเงิน 5 หมื่นบาท จะเทียบเท่ากับกำลังซื้อในไทยเพียง 1 หมื่นบาทเท่านั้น สรุปแล้ว พวกเขาจะมีกำลังซื้อสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัวเลยทีเดียว แค่การสร้างที่อยู่อาศัยอีกราว 5 แสนยูนิตเพื่อคนเหล่านี้ก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังไม่นับรวมถึงการจับจ่ายใช้สอย และ การดึงญาติมิตรมาเพื่อท่องเที่ยวในเมืองไทยอีกเป็นจำนวนมาก
ญี่ปุ่นได้ส่งเงินสนับสนุนด้านสุขภาพให้คนชราราวหัวละ 3.5 แสนบาทต่อปี ไทยเราสามารถขอเจียดเงินส่วนนี้มา 1 แสนบาทก็พอ ดูแลสุขภาพคนชราเหล่านี้อย่างดี 5 หมื่นบาททำประกันชั้นสุดยอดกับโรงพยาบาลเอกชน 5 ดาว ขณะที่อีก 5 หมื่นบาท สามารถเก็บเข้าคลังเป็นรายได้รัฐได้เลยสบายๆ ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่นก็ประหยัดงบประมาณไปมากโขด้วย ส่วนต่างของต้นทุนการรักษาพยาบาล และ ค่าครองชีพนี้เอง ประเทศไทยจึงกลายเป็น สวรรค์บนดินของคนเกษียณกลุ่มนี้ไปด้วย
ไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อมีคนแก่ 1 ล้านคนเพิ่มขึ้นมา จำเป็นที่ไทยต้องอาศัยแรงงานจากอินโดจีนเพิ่มอีกเท่าตัวจากปัจจุบันราว 2 ล้านคน ก็อาจต้องเพิ่มเป็น 4 ล้านคน จัดระบบให้ดี สร้างสรรค์สังคมแห่งความเอื้ออาทร มาช่วยกันทำงาน มาช่วยกันจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจก็จะสะพัด ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งสวรรค์ของคนงานกลุ่มนี้ไปอีก
เพียง 3 จาก 18 กระบวนท่า “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” (Taiji-Econ.) ก็น่าจะใช้เป็นแผนระยะยาว 5 ปีของประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์ให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ทั้งทรัพย์สินเงินทอง และ จิตวิญญาณที่หล่อหลอมวัฒนธรรมดีๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า เตรียมรับทั้งเงินทั้งกล่อง กันเลยทีเดียว
หยุดทะเลาะ หยุดการเผชิญหน้ากันได้แล้ว ถอยกันคนละครึ่งก้าว จับมือกันเพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เป็น “สวรรค์บนดิน” ทั้งของคนไทยทั้งปวง รวมไปถึงคนต่างชาติอีกหลายล้านคนจะดีกว่าไหมครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)