ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก (Taiji Econ.): แนวคิดพิชิตวิกฤติเศรษฐกิจโดยรัฐไม่ต้องกู้ (1)
พุธที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ชื่อนี้คงคุ้นตาคนไทยดี แต่หลายคนคงไม่เคยรู้ว่า ชื่อนี้มีที่มาจากที่ใด คงคิดแค่ว่า "แฮมเบอร์เกอร์" เป็นอาหารยอดนิยมของอเมริกาเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผมเป็นผู้ตั้งชื่อให้วิกฤติครั้งนี้เอง เมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งก่อนเกิดวิกฤติจริงนานกว่า 2 ปี โดยเชื่อว่า ฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น จะแตกตัวลง เหมือนกับขนมปัง 2 ก้อน ที่ประกบให้เศรษฐกิจอเมริกาและคนอเมริกัน แบนแต๋อยู่ตรงกลาง และประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง ซึ่งก็หนักหนาสาหัสตามคาดจริงๆ
เอาละครับ ปัญหาไม่อยู่ที่ว่า ใครเป็นคนตั้งชื่อวิกฤติ สิ่งที่พวกเราต้องการรู้ ก็คือ กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ ซึ่งอาจใช้พิชิตวิกฤติครั้งนี้ได้โดยไม่เป็นภาระการคลังต่างหาก ผมจบการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบกับความล้มเหลวกับการใช้นโยบายของเคนส์ มา 18 ปี โดยสาเหตุน่าจะมาจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากนี้ ผมได้คาดการณ์วิกฤติครั้งนี้ล่วงหน้ากว่านักเศรษฐศาสตร์หลายคน ทำให้หาวิธีแก้ไขได้เร็วกว่า แต่นั่นอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะจุดสำคัญ ก็คือ หลัก "กาลามสูตร" ต่างหาก การไม่เชื่อสิ่งที่อยู่ในตำรา และเชื่อๆ กันมาแต่เดิม จะทำให้เราพบกับความรู้ใหม่
แต่เดิมนั้น สมการ GDP ก็คือ Y = C+I+(X-M) เท่านั้น จนเมื่อ เคนส์ มาพบว่าที่จริงแล้ว รัฐบาลควรจะกู้ยืมมาใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นตัวจุดสตาร์ทให้กับระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นได้ เขาเพียงเติม G-T เข้าไป โดยการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และลดภาษีลง เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้แล้ว และทฤษฎีนี้ก็ถูกกล่าวขวัญกันมานานถึงเกือบ 80 ปี
Y = C+I+(X-M) + (G-T) ปัจจุบันเราจึงมีนโยบาย 3 ด้าน คือ
1. นโยบายการเงิน เพื่อดูแล C และ I ช่วยเพิ่มการใช้จ่ายและลงทุนของภาคเอกชน
2. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ดูแล X-M เพื่อช่วยเพิ่มการส่งออก และชะลอการนำเข้า
3. นโยบายการคลัง ดูแล G-T ด้วยการใช้จ่ายภาครัฐ และลดภาษีลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นี่จึงเป็นที่มาของนโยบาย 3 อ่อน "ดอกเบี้ยอ่อน บาทอ่อน และการคลังอ่อน" ซึ่งใช้ต้านวิกฤติเศรษฐกิจกันมาช้านาน
หากเชื่อตามสมการเช่นนี้จริง เมื่ออัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมาก แต่ภาคเอกชนก็ยังไม่ฟื้น เราก็จะเหมือนนักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งโลก ที่เชื่อว่า "เราจำเป็น" ต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ และในเมื่อเรามีเงินไม่พอ "เราจำเป็นต้องกู้" นี่คือ แนวทางที่ประเทศอเมริกา และเกือบทั้งโลก พยายามใช้กันอยู่ แต่ก็พยายามหาทางออกจากภาระหนี้สาธารณะสูงเกินไปด้วยเช่นกัน แต่ความเป็นจริง ก็คือ ทางออกนั้นไม่มี มีแต่ทางลงเหวเท่านั้น โดยญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 200% และอเมริกาสูงถึง 80% และสูงเกิน 100% ในเร็ววันนี้ ไทยเราควรเดินตามเส้นทางนี้หรือ เพราะภาระการใช้จ่ายด้านการประกันสุขภาพเพราะคนแก่มากขึ้น และดอกเบี้ยพันธบัตรที่สูงขึ้นตามยอดหนี้ ขณะที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง
วิธีง่ายที่สุดในการค้นพบความรู้ใหม่ ก็คือ การ "ไม่เชื่อ" ในความรู้เดิมครับ ผมจึงคิดเปลี่ยนสมการ GDP เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายอีก 4 ด้านขึ้นมาที่ไม่เป็นภาระการคลัง แถมรัฐบาลยังอาจได้เงินพิเศษเพิ่มด้วย ผมเรียกว่า "นโยบายประชาชมชอบ" เพราะประชาชนชอบใจ และรัฐบาลไม่เสียเงิน ซึ่งเหนือชั้นกว่า "ประชานิยม" อยู่หนึ่งขั้น โดยสามารถสร้างนโยบายถึง 18 กระบวนท่า จากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊กนี้ มาดูกันเลยดีกว่า
Y = C+I+ (X-M) + (G-T)
C+I = f(i,(PB-PC),A,F,L)
โดย C+I จะไม่ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับอีกอย่างน้อย 4 เรื่องด้วย
i คือ อัตราดอกเบี้ย
PB คือ ผลประโยชน์จากกองทุนบำนาญ PC การจ่ายเงินสมทบกองทุนบำนาญ
A คือ มูลค่าทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลง F คือ คนต่างด้าวที่มาพำนักอาศัยในไทย และ L คือ ยอดสินเชื่อที่เปลี่ยนแปลง
มันเป็นเรื่องที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้วว่า หากเราสมทบกองทุนบำนาญน้อยลง ดึงเงินจากกองทุนออกมามากขึ้น นำมาใช้จ่ายเศรษฐกิจก็จะหมุนได้หลายรอบ และหากราคาทรัพย์สินสูงขึ้นทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ก็จะทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นด้วย รู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่า หากมีคนต่างด้าวมาพำนักในไทยมากขึ้น ก็จะสร้างดีมานด์ในประเทศให้สูงขึ้นไป รู้ๆ กันอยู่ว่า หากมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม เศรษฐกิจก็จะเดินหน้าเติบโต เรื่องเหล่านี้เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว เหมือนกับที่เคนส์รู้ๆ ว่า การใช้จ่ายภาครัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ผมก็เพียงใส่ตัวแปรเหล่านี้เข้าไป เพื่อช่วยเห็นได้ชัดๆ ว่า จริงๆ แล้ว ยังมีนโยบายอีกถึง 4 ด้าน ที่สามารถช่วยรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยไม่ต้องใช้แต่งบประมาณอย่างเดียว แต่ใช้เคล็ด "ยืมพลัง" เหมือนไทเก๊กที่ยืมพลังจากศัตรู เพื่อสู้กับศัตรูตัวจริง คือ "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" ต่างหาก
สำหรับ "แรงงานต่างด้าว" "คนชรา" คือ ศัตรูของรัฐบาล เป็นภาระมาแย่งงาน เป็นภาระในการดูแลสุขภาพ เราจะยืมพลังพวกเขามาช่วย ส่วน "กองทุนบำนาญ" แทบไม่เคยมีใครชี้ว่า แท้ที่จริงแล้วนี่ก็คือ ศัตรูของรัฐบาลเช่นกัน เพราะรัฐบาลต้องใส่เงินสมทบใน กบข. สปส. (ประกันสังคม) กสล. (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) และยังต้องหักลดหย่อนภาษีให้อีกในกรณีของ RMF, LTF และประกันชีวิต ไม่เพียงเท่านั้น รัฐยังต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรให้กับกองทุนเหล่านี้ทุกๆ ปี ปีละนับแสนล้านบาท กองทุนบำนาญดูดดีมานด์จากภาครัฐและเอกชนไปกองเงินไว้เฉยๆ ปีละ 3 แสนล้านบาท เราจะ "ยืมพลัง" เขามาเช่นกัน
เอาละครับ ไทเก๊ก 18 กระบวนท่า มีอะไรบ้าง เริ่มสนใจแล้วใช่ไหมครับ... ผมเชื่อว่าหากทำตามนี้ รัฐบาลจะเลิกพูดว่า "เราจำเป็นต้องกู้" โปรดหยุดสร้างหนี้ให้ลูกหลานได้แล้วครับ เพราะด้วยวิธีง่ายๆ เช่นนี้ GDP น่าจะเติบโตได้ระดับสูงกว่า 5-6% ต่อปีได้ในปีหน้า รากหญ้าและชนชั้นกลางจะมีเงินหมุนได้มากขึ้น 8-9 แสนล้านบาท รายละเอียดของ 18 กระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" นั้น ไว้ติดตามกันในตอนต่อไปนะครับ
--------------------------------------------------------------------------------
แนวคิดพิชิตวิกฤติโดยรัฐไม่ต้องกู้ (จบ)
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก (Taiji Econ.): กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ต่อจากตอนที่แล้ว "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" เป็นหลักการยืมพลัง นอกเหนือจากพลังของงบประมาณ เพื่อให้นโยบายอีก 4 ด้าน คือ นโยบายบำนาญ นโยบายราคาสินทรัพย์ นโยบายคนต่างด้าว และนโยบายสินเชื่อ มากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่เป็นภาระการคลัง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ที่เกี่ยวข้องกับโลกมี 2 เรื่องที่ต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
1. เรียกร้องให้ประเทศทั่วโลก กำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นต่อสภาพเศรษฐกิจของตนเอง ด้วยวิธีนี้จะสร้างสมดุลการค้าให้กับโลกได้ และ ไม่สร้างปัญหาฟองสบู่การลงทุนเกินตัว ในประเทศต่างๆ
2. เรียกร้องประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะอเมริกา ให้ขึ้นภาษีน้ำมัน เพื่อสร้างสมดุลการใช้พลังงานโลก คนในประเทศที่ร่ำรวยกว่า ควรจะต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าประเทศยากจน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อน
3. ลดเงินสมทบ : เสนอให้ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลงครึ่งหนึ่ง และ กบข. กสล. ยกเลิกการเก็บไปเลยทั้งรัฐ ข้าราชการ บริษัทและพนักงาน เป็นเวลา 1 ปี เราจะได้ดีมานด์กลับมาราว 1 แสนล้านบาท และรัฐบาลก็เหลือเงินมากขึ้น
4. ลดวงเงินหักลดหย่อนภาษี : สำหรับ กบข. กสล. LTF RMF ให้เหลือทุกอย่าง 1 แสนบาท เท่ากับประกันชีวิต เศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องอุ้มคนรวย เมื่อไม่มีผลประโยชน์ทางภาษี คนรวยๆ ก็จะออมน้อยลง และนำมาใช้จ่ายหมุนเงินมากขึ้น เงินที่เพิ่มนี้คาดว่าจะได้อีกราว 3 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลยังเก็บภาษีได้มากขึ้นด้วย
5. "สินเชื่อ 999" : นี่คือท่าไม้ตายเลยนะ คือ รัฐยอมให้ข้าราชการและผู้ประกันตน รวมถึงสมาชิก กสล. สามารถยืมเงินออมของตนเองได้ไม่เกิน 9 ส่วน ในอัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี (แบงก์รัฐเก็บ 6% สปส.หรือ กบข.เก็บ 1.5% และ รัฐบาลเก็บ 1.5%) ผ่อนขั้นต่ำ 0.9% ของยอดสินเชื่อ โดย กบข. สปส. และ บลจ. ที่ดูแลเงินเป็นผู้ค้ำประกัน คาดว่ายอดเงินสูงถึง 9 แสนล้านบาท (เงินก้อนนี้ใหญ่กว่ากองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลทักษิณ 11 เท่าตัว ใหญ่กว่าเช็คช่วยชาติถึง 45 เท่าตัว) เงินนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบ และสินเชื่อบุคคล ทำให้ประชาชนเหลือเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันบาทต่อเดือน ขณะที่รัฐบาลได้เงินค่าธรรมเนียมราว 1.3 หมื่นล้านบาทฟรีๆ
6. เพิ่มสวัสดิการสังคมผ่าน สปส. : ขยายการสงเคราะห์บุตรจาก 6 ปี เป็น 12 ปี และให้ "เบี้ยแทนคุณ" แก่บิดามารดาผู้ประกันตนหัวละ 500 บาท ต่างหากจากเบี้ยยังชีพคนชราของรัฐ โดยดึงเงินจากกองทุนประกันสังคมออกมา เงินตรงนี้จะเพิ่มกำลังซื้อได้อีกราว 2 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลไม่รับภาระเลย
7. กำหนดให้กองทุนบำนาญ ลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนสูงขึ้นจากราว 7% ณ ปัจจุบัน เป็นสูงกว่า 10% ณ กลางปี 2553 15% ณ ปลายปี 2553 และ 20% ณ ปลายปี 2554 เพราะประเทศอื่นๆ ทั่วโลกลงทุนในหุ้นสูงถึง 50% การกำหนดเช่นนี้ จะมีเงินเข้าตลาดหุ้นถึงกว่า 4 แสนล้านบาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป
8. พยายามใช้เงินจากกองทุนน้ำมัน 2 หมื่นล้านให้หมดอย่างเร็ว โดยลดการเก็บเงินเข้ากองทุนทันที แล้วเหลือเฉพาะชดเชยให้กับพลังงานบางตัวเท่านั้น เงินตรงนี้จะไปเพิ่มเป็นกำลังซื้อให้ประชาชนหมุนได้ 2 รอบก็ 4 หมื่นล้าน ดีกว่าการเก็บไว้เฉยๆ
9. ปลดล็อกให้คนต่างด้าวลงทุนหุ้นได้เต็มที่ ไม่มีกำหนดสัดส่วน ยกเว้นเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ลงทุนสาธารณูปโภค
10. จัดตั้งกองทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่มีมูลค่าต่ำเกินไป จะยกระดับ P/E ที่เหมาะสม และเพิ่มมูลค่าโดยรวมให้กับตลาดหุ้นได้
11. กำหนดให้กองทุนบำนาญต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ 5% ของขนาดกองทุน
12. สนับสนุนให้สามารถนำอสังหาริมทรัพย์มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับคนชราได้ กรณี Reverse Mortgage
13. ลดข้อจำกัดคนต่างด้าว อาทิเช่น ให้ถือครองคอนโด 100% ให้สิทธิการเช่า 99 ปี เป็นต้น
14. สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย คล้ายกรณีน้ำมัน ทองคำ เป็นการเปลี่ยนจากสินค้าเป็นสินทรัพย์ จะมีเงินเข้าช่วยซื้อสินค้าเกษตรเป็นสต็อกนับหลายหมื่นล้าน
15. กำหนดให้กองทุนบำนาญต้องลงทุนในกองทุนรวมสินค้าเกษตร หรือสัญญาซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาด AFET รวมๆ แล้ว 5% ขึ้นไปของยอดกองทุนเป็นเงินถึง 1.5 แสนล้าน เท่านี้รัฐก็ไม่ต้องรับภาระขาดทุนจากการประกันราคา หรือการรับจำนำอีก
16. ดึงดูดผู้เกษียณอายุจากประเทศพัฒนาแล้ว โดยลดข้อจำกัดการให้วีซ่าระยะยาวลงมา คาดว่าจะได้ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มราว 1 ล้านคน จากกลุ่มเป้าหมาย 200 ล้านคน เพราะค่าครองชีพไทยต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วถึง 5 เท่าตัว นี่เป็นวิธีการเพิ่ม GDP ให้ไทย 1 ล้านล้านบาท จะมีการจ้างงานเพิ่ม 3.5 ล้านคน นอกจากนี้ อาจเสนอให้ประเทศเหล่านั้น จ่ายเงินค่าดูแลสุขภาพด้วย อาทิเช่น ญี่ปุ่นปกติจ่ายเงินเพื่อดูแลคนแก่ถึงหัวละ 3.5 แสนบาท รัฐบาลไทยขอแค่ 1 แสนบาทก็พอ เอาไปให้ รพ.เอกชน 5 หมื่นบาทดูแลสุขภาพอย่างดี ที่เหลือนำเข้ารัฐได้เงินอีกหลายหมื่นล้านบาท
17. เมื่อแรงงานไม่พอ เปิดให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอย่างถูกต้องรวมแล้วอาจถึง 4 ล้านคน เก็บค่าวีซ่าเข้ารัฐได้อีกแล้ว และเป็นการเพิ่มดีมานด์ในประเทศด้วยการสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้ใช้จ่ายในประเทศไทย นอกจากนี้ อาจให้สินเชื่อกับคนกลุ่มนี้ด้วย อาจจะเพิ่มกำลังซื้อได้นับแสนล้านบาท
18. สนับสนุนสินเชื่อในลักษณะใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน อาทิเช่น บุคคลธรรมดา ให้รถยนต์ และกองทุนบำนาญ สำหรับ SME ก็ใช้เครื่องจักรและวัตถุดิบ เป็นต้น และ ลดเงื่อนไขการปล่อยกู้ในลักษณะของฟาสต์แทรกต์ ซึ่งทำกันอยู่แล้ว และอาจเสนอให้รัฐวิสาหกิจอย่าง ร.ฟ.ท. มาค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย โดยใช้ที่ดินค้ำ และเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ก็อาจทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้และกำไรเพิ่มปีละหมื่นล้านบาท
ข้อ 1-2 นั้นเพื่อสร้างสมดุลของโลก
ข้อ 3-8 เป็นยืมพลังจากกองทุนบำนาญ และ กองทุนน้ำมัน
ข้อ 9-15 เป็นนโยบายเพิ่มราคาสินทรัพย์ (รวมสินค้าเกษตร)
ข้อ 16-17 เป็นยืมพลังจากคนต่างด้าว
ข้อ 18 เป็นนโยบายสินเชื่อที่ตอนนี้พยายามทำกันอยู่แล้ว
ฝากให้นักวิชาการ และรัฐบาลนำไปพิจารณาดูนะครับ เชื่อว่าจะช่วยพิชิตวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ได้ โดยรัฐบาลไม่ต้องกู้ยืมเงินเลยก็ว่าได้ เพราะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเร็ว และภาษีที่เก็บได้จะเพิ่มขึ้นเอง เป็นนโยบาย "ประชาชมชอบ" ที่เหนือชั้นกว่า "ประชานิยม"
และหากรัฐบาลไทย อเมริกา และญี่ปุ่น นำไปใช้และประสบความสำเร็จในการฟื้นเศรษฐกิจและแก้ไขวิกฤติการคลังไปด้วย บางทีเราอาจเห็นสมการ GDP ใหม่ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก (Taiji Econ.)ตามตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคทั่วโลกก็ได้ นั่นหมายถึง ท่านผู้อ่านจะได้เป็นบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่ได้เรียนรู้กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ล่าสุดนี้ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-econ.) คือ แนวคิดที่ใช้กฎ 3 ข้อของไท้เก๊กมาช่วย ด้วยการ "รักษาสมดุล" "ยืมพลังสะท้อนพลัง" และ "ในนิ่งมีเคลื่อน ในเคลื่อนมีนิ่ง" ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันที่้บกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ท่านเห็นตัว V แต่ผมเห็น W
ท่านเห็นตัว V แต่ผมเห็น W
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลงานด้วยความมั่นใจ ว่า ประเทศไทยมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แบบตัว V อย่างรวดเร็ว คล้ายๆ กับหลายประเทศในโลก แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2 เมื่อเทียบปีต่อปีแล้วจะติดลบถึงกว่า 5% ก็ตาม อันนี้ผมเชื่อ แต่สิ่งที่เราควรกังวล ก็คือ ขาลงครั้งที่ 2 ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นลักษณะของตัว W มากกว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อาจมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน
1. ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ย้อนรอยวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศไทยก็มีการฟื้นตัวเป็นรูป W เช่นกัน โดยการฟื้นตัวครั้งแรกนั้น หลักๆ แล้ว เกิดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ จนเมื่อดูแล้วว่าเศรษฐกิจไม่ฟื้นจริง ความเชื่อมั่นจึงเสื่อมถอยทำให้เศรษฐกิจดำดิ่งลงอีกครั้ง เป็นจุดต่ำสุด 2 ครั้ง
2. นโยบายตลาดเงิน เมื่อมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการเก็งกำไรกันอย่างมากในตลาดสินทรัพย์ทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ แต่เพื่อป้องกันการเก็งกำไรจึงมีการเข้าไปควบคุมสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรนี้ โดยเห็นได้จากประเทศจีน นอกจากนี้ การคาดการณ์ถึงอัตราดอกเบี้ยที่จะวิ่งสูงขึ้นในอนาคต ก็ทำให้เศรษฐกิจที่ทำท่าจะฟื้นตัวชะลอตัวลงอีกครั้ง
3. นโยบายการคลัง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมา จะทำให้รัฐบาลเริ่มหาทางออก ในการลดการขาดดุลงบประมาณลง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะหนักหนาเกินไป ด้วยการหาทางขึ้นภาษี หรือลดสวัสดิการสังคมลง อันจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีกครั้งหนึ่ง
4. ตลาดหุ้น ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าราว 3 เดือนนั้น ได้บ่งบอกสัญญาณบางอย่าง โดยเฉพาะจากตลาดหุ้นจีน ซึ่งเป็นตลาดนำในการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กลับส่งสัญญาณกลับทิศลง ด้วยข่าวของการเข้าไปควบคุมสินเชื่อเพื่อเก็งกำไร ดังนั้น หากตลาดหุ้นจีน เปลี่ยนทิศเป็นขาลงตั้งแต่ต้นสิงหาคม ก็หมายถึง เราอาจต้องตั้งรับกับเศรษฐกิจขาลงรอบใหม่ ประมาณปลายปีนี้ก็ได้ และตลาดหุ้นมักมีการสร้างฐาน 2 ครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่แท้จริงก่อนเป็น "ขาขึ้น" หรือตลาดกระทิงที่แท้จริง
ด้วยสัญญาณเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งเตือนภัยไปยังรัฐบาลทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ที่จะต้องเตรียมหามาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับเศรษฐกิจขาลงครั้งที่ 2 นี้ โดยที่ความเชื่อมั่นและความอดทนของประชาชนเริ่มเหลือน้อยลงทุกที ในขณะที่การขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะก็อยู่ในภาวะที่เสี่ยงมากต่อภาระภาษีในอนาคตของรุ่นลูกหลาน นั่นหมายถึง การใช้นโยบายการคลังต่อไปถูกจำกัดลง
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผมอยากจะเตือนท่านว่า การฟื้นตัวจากวิกฤติครั้งใหญ่นั้นด้วยเหตุผล 4 ประการข้างต้น มักจะมีการฟื้นตัวแบบ W มากกว่า ด้วยเหตุที่การฟื้นตัวครั้งแรกเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อประชาชนพบว่า ยังคงมีปัญหามากมายทั้งการว่างงาน สินค้าขายไม่ได้ ดอกเบี้ยก็ทำท่าจะขึ้น เศรษฐกิจก็จะกลับทิศปักหัวลงอีกครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูสิ่งต่างๆ ก่อนที่การฟื้นตัวจริงจะเกิดตามมาในที่สุด
รัฐบาลมีการจัดโครงการ "ไทยเข้มแข็ง" ซึ่งใช้เงินถึง 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอในการรับมือเศรษฐกิจขาลงหนที่ 2 ใช่หรือไม่ คำตอบก็คือมันไม่ง่ายเช่นนั้น เหตุผล ก็คือ การใช้นโยบายการคลังนั้นมีข้อเสียอยู่ 3 อย่าง คือ "ช้า รั่ว และหนัก"
ช้า คือ ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่กำหนดโครงการประมูล จัดซื้อจัดจ้าง เบิกจ่าย เสียเวลานานมาก
รั่ว คือ การรั่วไหลของเงินไปยังกระเป๋าของนักการเมือง ข้าราชการ ซึ่งก็คือการคอร์รัปชันนั่นเอง
หนัก คือ เป็นภาระหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นในอนาคต และหมายถึง ภาระภาษีของคนรุ่นถัดไปนั่นเอง
เหตุที่ประเทศไทยฟื้นตัวไม่แข็งแรง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียนั้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากปัญหาการเมือง และไข้หวัด 2009 แต่ก็มีส่วนหลักมาจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถทำการขาดดุลงบประมาณได้ระดับ 12% GDP เหมือนประเทศอื่นๆ อย่างจีน หรืออเมริกา ประเทศไทยเราทำได้อยู่ระดับ 6% GDP เท่านั้นเอง ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายงบประมาณ และแรงต่อต้านทางการเมือง ที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลกู้เงินมากนัก ด้วยการขาดดุลเช่นนี้แล้ว ประเทศไทยยังคงมีการออมส่วนเกินจากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจถึง 7 แสนล้านบาทในปีนี้ และการออมที่มากเกินนั้น ก็คือ ปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ไม่เต็มศักยภาพ
รัฐบาลพยายามลงทุนผ่าน "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อลดการออมส่วนเกินในภาคเอกชน คือ ลงทุนนำร่องก่อน อย่างไรก็ดี การคลังมีปัญหาในด้าน "ช้า รั่ว และ หนัก" ดังนั้น หากมองอีกด้าน แก้ไขปัญหาด้วยการ "ลดเงินออม" โดยตรงก็จะทำให้ "เร็ว ครบ และ เบา" ซึ่งจะทำให้เงินถึงมือประชาชนถึง 9 แสนล้านบาท ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งใหญ่กว่า "เช็คช่วยชาติ" ถึง 45 เท่าตัว แต่สำคัญ คือ รัฐไม่ต้องเสียเงินเลย ได้เงินกินเปล่ากว่า 2 หมื่นล้านบาทอีกด้วย เพียงแค่ 2 กระบวนท่าใน 18 กระบวนท่าของเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก ด้วยการ "ยืมพลัง" จากกองทุนบำนาญซึ่งมีสินทรัพย์ถึง 2.5 ล้านล้านบาท ก็จะสามารถเพิ่มอุปสงค์ที่ขาดแคลน ณ ปัจจุบัน และลดการออมส่วนเกินของภาคเอกชนไปได้มากแล้ว
ผมเชื่อครับว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวช้าๆ ได้จริง แต่ปัญหา ก็คือ เราได้เตรียมรับมือกับขาลงครั้งที่ 2 นี้แล้วหรือยัง ผมเชื่อว่า "ไทยเข้มแข็ง" นั้น "ช้า รั่ว และหนัก" ไม่ทันกาลต่อการใช้เงินเพื่อฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที เพราะเงินที่จะใช้ก่อนถึงปลายปีนี้ราว 5 หมื่นล้านเท่านั้นเอง รัฐบาลอาจต้องหาแผนสำรอง ซึ่งหากเป็น "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ก็อาจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างเร็ว เป็นที่พอใจมากของประชาชน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังอาจได้รับชื่อเสียงว่าเป็นผู้นำด้านนโยบายแนวใหม่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลกก็เป็นได้ครับ
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลงานด้วยความมั่นใจ ว่า ประเทศไทยมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แบบตัว V อย่างรวดเร็ว คล้ายๆ กับหลายประเทศในโลก แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2 เมื่อเทียบปีต่อปีแล้วจะติดลบถึงกว่า 5% ก็ตาม อันนี้ผมเชื่อ แต่สิ่งที่เราควรกังวล ก็คือ ขาลงครั้งที่ 2 ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นลักษณะของตัว W มากกว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อาจมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน
1. ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ย้อนรอยวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศไทยก็มีการฟื้นตัวเป็นรูป W เช่นกัน โดยการฟื้นตัวครั้งแรกนั้น หลักๆ แล้ว เกิดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ จนเมื่อดูแล้วว่าเศรษฐกิจไม่ฟื้นจริง ความเชื่อมั่นจึงเสื่อมถอยทำให้เศรษฐกิจดำดิ่งลงอีกครั้ง เป็นจุดต่ำสุด 2 ครั้ง
2. นโยบายตลาดเงิน เมื่อมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการเก็งกำไรกันอย่างมากในตลาดสินทรัพย์ทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ แต่เพื่อป้องกันการเก็งกำไรจึงมีการเข้าไปควบคุมสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรนี้ โดยเห็นได้จากประเทศจีน นอกจากนี้ การคาดการณ์ถึงอัตราดอกเบี้ยที่จะวิ่งสูงขึ้นในอนาคต ก็ทำให้เศรษฐกิจที่ทำท่าจะฟื้นตัวชะลอตัวลงอีกครั้ง
3. นโยบายการคลัง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมา จะทำให้รัฐบาลเริ่มหาทางออก ในการลดการขาดดุลงบประมาณลง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้สาธารณะหนักหนาเกินไป ด้วยการหาทางขึ้นภาษี หรือลดสวัสดิการสังคมลง อันจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอีกครั้งหนึ่ง
4. ตลาดหุ้น ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าราว 3 เดือนนั้น ได้บ่งบอกสัญญาณบางอย่าง โดยเฉพาะจากตลาดหุ้นจีน ซึ่งเป็นตลาดนำในการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กลับส่งสัญญาณกลับทิศลง ด้วยข่าวของการเข้าไปควบคุมสินเชื่อเพื่อเก็งกำไร ดังนั้น หากตลาดหุ้นจีน เปลี่ยนทิศเป็นขาลงตั้งแต่ต้นสิงหาคม ก็หมายถึง เราอาจต้องตั้งรับกับเศรษฐกิจขาลงรอบใหม่ ประมาณปลายปีนี้ก็ได้ และตลาดหุ้นมักมีการสร้างฐาน 2 ครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่แท้จริงก่อนเป็น "ขาขึ้น" หรือตลาดกระทิงที่แท้จริง
ด้วยสัญญาณเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งเตือนภัยไปยังรัฐบาลทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ที่จะต้องเตรียมหามาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับเศรษฐกิจขาลงครั้งที่ 2 นี้ โดยที่ความเชื่อมั่นและความอดทนของประชาชนเริ่มเหลือน้อยลงทุกที ในขณะที่การขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะก็อยู่ในภาวะที่เสี่ยงมากต่อภาระภาษีในอนาคตของรุ่นลูกหลาน นั่นหมายถึง การใช้นโยบายการคลังต่อไปถูกจำกัดลง
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผมอยากจะเตือนท่านว่า การฟื้นตัวจากวิกฤติครั้งใหญ่นั้นด้วยเหตุผล 4 ประการข้างต้น มักจะมีการฟื้นตัวแบบ W มากกว่า ด้วยเหตุที่การฟื้นตัวครั้งแรกเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อประชาชนพบว่า ยังคงมีปัญหามากมายทั้งการว่างงาน สินค้าขายไม่ได้ ดอกเบี้ยก็ทำท่าจะขึ้น เศรษฐกิจก็จะกลับทิศปักหัวลงอีกครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูสิ่งต่างๆ ก่อนที่การฟื้นตัวจริงจะเกิดตามมาในที่สุด
รัฐบาลมีการจัดโครงการ "ไทยเข้มแข็ง" ซึ่งใช้เงินถึง 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอในการรับมือเศรษฐกิจขาลงหนที่ 2 ใช่หรือไม่ คำตอบก็คือมันไม่ง่ายเช่นนั้น เหตุผล ก็คือ การใช้นโยบายการคลังนั้นมีข้อเสียอยู่ 3 อย่าง คือ "ช้า รั่ว และหนัก"
ช้า คือ ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่กำหนดโครงการประมูล จัดซื้อจัดจ้าง เบิกจ่าย เสียเวลานานมาก
รั่ว คือ การรั่วไหลของเงินไปยังกระเป๋าของนักการเมือง ข้าราชการ ซึ่งก็คือการคอร์รัปชันนั่นเอง
หนัก คือ เป็นภาระหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นในอนาคต และหมายถึง ภาระภาษีของคนรุ่นถัดไปนั่นเอง
เหตุที่ประเทศไทยฟื้นตัวไม่แข็งแรง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียนั้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากปัญหาการเมือง และไข้หวัด 2009 แต่ก็มีส่วนหลักมาจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถทำการขาดดุลงบประมาณได้ระดับ 12% GDP เหมือนประเทศอื่นๆ อย่างจีน หรืออเมริกา ประเทศไทยเราทำได้อยู่ระดับ 6% GDP เท่านั้นเอง ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายงบประมาณ และแรงต่อต้านทางการเมือง ที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลกู้เงินมากนัก ด้วยการขาดดุลเช่นนี้แล้ว ประเทศไทยยังคงมีการออมส่วนเกินจากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจถึง 7 แสนล้านบาทในปีนี้ และการออมที่มากเกินนั้น ก็คือ ปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ไม่เต็มศักยภาพ
รัฐบาลพยายามลงทุนผ่าน "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อลดการออมส่วนเกินในภาคเอกชน คือ ลงทุนนำร่องก่อน อย่างไรก็ดี การคลังมีปัญหาในด้าน "ช้า รั่ว และ หนัก" ดังนั้น หากมองอีกด้าน แก้ไขปัญหาด้วยการ "ลดเงินออม" โดยตรงก็จะทำให้ "เร็ว ครบ และ เบา" ซึ่งจะทำให้เงินถึงมือประชาชนถึง 9 แสนล้านบาท ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งใหญ่กว่า "เช็คช่วยชาติ" ถึง 45 เท่าตัว แต่สำคัญ คือ รัฐไม่ต้องเสียเงินเลย ได้เงินกินเปล่ากว่า 2 หมื่นล้านบาทอีกด้วย เพียงแค่ 2 กระบวนท่าใน 18 กระบวนท่าของเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก ด้วยการ "ยืมพลัง" จากกองทุนบำนาญซึ่งมีสินทรัพย์ถึง 2.5 ล้านล้านบาท ก็จะสามารถเพิ่มอุปสงค์ที่ขาดแคลน ณ ปัจจุบัน และลดการออมส่วนเกินของภาคเอกชนไปได้มากแล้ว
ผมเชื่อครับว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวช้าๆ ได้จริง แต่ปัญหา ก็คือ เราได้เตรียมรับมือกับขาลงครั้งที่ 2 นี้แล้วหรือยัง ผมเชื่อว่า "ไทยเข้มแข็ง" นั้น "ช้า รั่ว และหนัก" ไม่ทันกาลต่อการใช้เงินเพื่อฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที เพราะเงินที่จะใช้ก่อนถึงปลายปีนี้ราว 5 หมื่นล้านเท่านั้นเอง รัฐบาลอาจต้องหาแผนสำรอง ซึ่งหากเป็น "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ก็อาจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างเร็ว เป็นที่พอใจมากของประชาชน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังอาจได้รับชื่อเสียงว่าเป็นผู้นำด้านนโยบายแนวใหม่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลกก็เป็นได้ครับ
กอช. กับดักการออมแห่งชาติ
กอช. แปลว่า "กับดัก" การออมแห่งชาติ?
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ทั้งรัฐบาล และนักวิชาการล้วนประสานเสียงกัน พูดถึงข้อดีของโครงการนี้ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ เรื่องนี้ได้ผ่าน ครม.มาแล้ว เพื่อสร้างหลักประกันทางการเงินให้กับแรงงานนอกระบบราว 26 ล้านคนให้มีเงินบำนาญ เพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาท ณ ปัจจุบัน ได้รับการชื่นชมจากทุกฝ่าย ว่า เป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประชาชนคนไทยในระยะยาว อย่างไรก็ดี ผมขอออกเสียงคัดค้านในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุผลทางวิชาการ เนื่องจากเห็นผลเสียของโครงการนี้ต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ความรู้ง่ายๆ เลยที่แม้แต่เด็กประถมก็รู้ โดยที่ไม่ต้องจบดอกเตอร์ แต่หลายคนมองข้ามไป ก็คือ "โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี" หากเด็กๆ อยากจะเก็บออมมากขึ้นเพื่ออนาคต พวกเขาก็ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อขนมน้อยลงในปัจจุบัน ค่าขนมถึงจะเหลือได้มากขึ้น และหากเงินค่าขนมที่ได้รับน้อยลงตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ว่า ถ้าคิดจะออมเงินมากขึ้น พวกเขาก็อาจจะต้องอดอาหารมื้อกลางวันไปเลย
พวกเราย่อมรู้ๆ กันเป็นอย่างดีว่า การใช้จ่ายที่น้อยลงของคนหนึ่ง จะไปกระทบรายได้ที่ลดลงของอีกคนหนึ่ง อาทิเช่น ผมเคยกินข้าว 2 จาน แต่ผมอยากประหยัดเลยกินเหลือแค่ 1 จาน ผมประหยัดเงินได้ 25 บาท แต่แม่ค้าขายข้าวแกงจะมีรายได้ลดลง 25 บาทเช่นกัน ดังนั้น การออมมากเกินไป จะทำให้รายได้ของคนอีกกลุ่มหนึ่งลดลง และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้าลง
Paradox of thrift หรือ "ความขัดแย้งจากการประหยัด" ประโยคที่ถูกทำให้ดังโดยจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ได้กล่าวถึงว่า หากแต่ละคนพยายามจะประหยัดเก็บออมมากขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล จะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อไป รายได้จะลดลง และผลสุดท้าย ทำให้การออมที่หวังไว้จะทำไม่ได้ อย่างไรก็ดี มีบทความที่ชี้ให้เห็นถึง "ด้านมืด" ของกองทุนบำนาญน้อยมาก และมีบทวิเคราะห์วิจัยน้อยมากเช่นกัน ที่กล่าวถึง ผลกระทบต่อ GDP จากการตัดตั้งกองทุน กอช.
ปัจจุบันไทยมีการออมที่มากเกินไปอยู่แล้ว โดยดูได้จากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 7 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ คือ "การออม" ที่ มากกว่าการลงทุน ตกราว 8% GDP ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก นอกจากนี้ แม้รัฐพยายามลดการออมที่มากเกิน ด้วยการขาดดุลงบประมาณราว 6% GDP แต่นั่นก็หมายถึงว่า สำหรับภาคเอกชนแล้ว มีการ "ออมที่มากเกิน" ถึง 14% GDP ซึ่งเป็นส่วนที่การออมสูงกว่าการลงทุนอย่างมากมายกว่า 1 ล้านล้านบาท (โดยกำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำมากจนหวังจะเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนไม่ได้) ในเมื่อเราออมมากเกินอยู่แล้ว ยังมีแนวคิดจะสร้างระบบเงินออมผ่านกองทุน กอช.นี้อีก จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่ออุปสงค์รวมอย่างยิ่ง
อาจกล่าวได้ถึงข้อเสียของ กอช. ได้ดังต่อไปนี้
1. ไม่ยุติธรรม : สมทบเงินเข้าเฉพาะแรงงานนอกระบบ ขณะที่แรงงานในระบบนั้นไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเลย โดยเฉพาะกรณีกองทุนชราภาพของระบบประกันสังคม
2. เป็นภาระภาครัฐและหนี้สาธารณะ : อาจเป็นภาระภาครัฐถึงปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท หากมีผู้เข้าร่วมโครงการมาก นอกจากนี้ ยังมีภาระในการลดหย่อนภาษีด้วย และรัฐบาลก็ไม่มีทางอื่นใดนอกจากกู้เงินมาเพื่อใช้สมทบเงิน ซึ่งก็จะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะต่อไป
3. บิดเบือนกลไกตลาด : ปกติแล้วผลตอบแทนตอนนี้หากเป็นระยะสั้นจะได้ราว 1-2% ต่อปีเท่านั้น ระยะยาวก็ได้เพียง 3-4% ต่อปี แต่ กอช. สำหรับผู้ส่งเงินสมทบจะได้ผลตอบแทนสูงถึง 50-100% แล้วแต่ช่วงอายุ เพราะรัฐบาลจะสมทบให้เป็นเงิน 50-100 บาท หากผู้ออมใส่เงิน 100 บาททุกเดือน การทำเช่นนี้ จะทำให้การออมตามปกติผ่านธนาคาร และประกันชีวิต ลดลงได้
4. เสถียรภาพของกองทุน : เป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินบำนาญให้สูงไปหรือไม่ อาทิเช่น จ่ายบำนาญถึงกว่าเดือนละ 1 พันบาท ขณะที่เก็บสมทบแค่เดือนละ 100 บาท ในที่สุดแล้ว กองทุนอาจไม่เหลือเงินมากพอก็ได้ในระยะยาว
5. ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า : นี่อาจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ด้วยเงินราว 5 หมื่นล้านบาททุกปีที่ภาคเอกชน และรัฐบาลร่วมกันสมทบเข้า กอช.นั้น จะทำให้ประชาชนพยายามเจียดเงินมาออม เพราะได้ผลตอบแทนสูง จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายปัจจุบันลดลงไปอีก หากคิดที่ตัวทวีคูณ คือ 2 เท่าอาจหมายถึง GDP ที่หายไปราว 1 แสนล้านบาท (ราว 1% GDP) ทุกๆ ปีต่อจากนี้ไป 10 ปีเต็มๆ
ปัจจุบันปัญหาของเศรษฐกิจ ก็คือ การขาดแคลนอุปสงค์ที่เพียงพอ ดังนั้น รัฐบาลมีทางทำได้ 3 ทางเพื่อเพิ่มอุปสงค์ นอกเหนือจากนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ ธปท.ดูแลอยู่แล้ว คือ
1. นโยบายการคลัง ซึ่งก็ได้ทำผ่านแผนกระตุ้นระยะสั้นมาแล้ว ต่อเนื่องด้วย "ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง" แต่ก็ยังคงมีปัญหาตามที่ผมว่าไว้ คือ "ช้ารั่วและหนัก"
2. นโยบายกึ่งการคลัง โดยเข้าไปสนับสนุน และค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ แต่ปัญหาของเรื่องนี้ ก็คือ "ความกลัว" อาทิเช่น กลัวเงินฝากไปพอ กลัวเงินทุนไม่เพียงพอ กลัวจะกลายเป็นหนี้เสีย และกลัวความผิดในข้อหาปล่อยสินเชื่อโดยไม่รอบคอบ เป็นต้น
3. นโยบายเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก โดยรัฐเข้าไปยืมพลังจาก "กองทุนบำนาญ" อาทิเช่น ลดเงินสมทบภาคบังคับลงมา อนุญาตให้นำเงินออมบำนาญใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ หรือว่าให้กองทุนบำนาญลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และสินค้าเกษตรมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น
จะเห็นว่า กอช. นั้นขัดแย้งกับข้อ 3. โดยสิ้นเชิง ผมรู้สึกแปลกใจต่อข้อคิดเห็นของนักวิชาการจำนวนมากที่สนับสนุนโครงการนี้ ว่า พวกเขาได้มองอย่างรอบด้านแล้วหรือไม่ ผมอยากบอกให้ชัดๆ อีกครั้งหนึ่ง ว่า "ในโลกนี้ ไม่มีของฟรีหรอกครับ" หากอยากจะจัดตั้งสวัสดิการเช่นนี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต รัฐบาลต้องเตรียมตัวทำใจตั้งรับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าเดิมราว 1% ทุกๆ ปีให้ดี แต่เพื่อประเทศไทย เนื่องจากโครงการนี้แม้จะดีในระยะยาว แต่ขัดแย้งกับภารกิจหลัก คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ผมคิดว่าเก็บเข้าลิ้นชักไปสักพักก่อนจะดีกว่าครับ
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ทั้งรัฐบาล และนักวิชาการล้วนประสานเสียงกัน พูดถึงข้อดีของโครงการนี้ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ เรื่องนี้ได้ผ่าน ครม.มาแล้ว เพื่อสร้างหลักประกันทางการเงินให้กับแรงงานนอกระบบราว 26 ล้านคนให้มีเงินบำนาญ เพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาท ณ ปัจจุบัน ได้รับการชื่นชมจากทุกฝ่าย ว่า เป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประชาชนคนไทยในระยะยาว อย่างไรก็ดี ผมขอออกเสียงคัดค้านในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุผลทางวิชาการ เนื่องจากเห็นผลเสียของโครงการนี้ต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ความรู้ง่ายๆ เลยที่แม้แต่เด็กประถมก็รู้ โดยที่ไม่ต้องจบดอกเตอร์ แต่หลายคนมองข้ามไป ก็คือ "โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี" หากเด็กๆ อยากจะเก็บออมมากขึ้นเพื่ออนาคต พวกเขาก็ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อขนมน้อยลงในปัจจุบัน ค่าขนมถึงจะเหลือได้มากขึ้น และหากเงินค่าขนมที่ได้รับน้อยลงตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ว่า ถ้าคิดจะออมเงินมากขึ้น พวกเขาก็อาจจะต้องอดอาหารมื้อกลางวันไปเลย
พวกเราย่อมรู้ๆ กันเป็นอย่างดีว่า การใช้จ่ายที่น้อยลงของคนหนึ่ง จะไปกระทบรายได้ที่ลดลงของอีกคนหนึ่ง อาทิเช่น ผมเคยกินข้าว 2 จาน แต่ผมอยากประหยัดเลยกินเหลือแค่ 1 จาน ผมประหยัดเงินได้ 25 บาท แต่แม่ค้าขายข้าวแกงจะมีรายได้ลดลง 25 บาทเช่นกัน ดังนั้น การออมมากเกินไป จะทำให้รายได้ของคนอีกกลุ่มหนึ่งลดลง และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้าลง
Paradox of thrift หรือ "ความขัดแย้งจากการประหยัด" ประโยคที่ถูกทำให้ดังโดยจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ได้กล่าวถึงว่า หากแต่ละคนพยายามจะประหยัดเก็บออมมากขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล จะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อไป รายได้จะลดลง และผลสุดท้าย ทำให้การออมที่หวังไว้จะทำไม่ได้ อย่างไรก็ดี มีบทความที่ชี้ให้เห็นถึง "ด้านมืด" ของกองทุนบำนาญน้อยมาก และมีบทวิเคราะห์วิจัยน้อยมากเช่นกัน ที่กล่าวถึง ผลกระทบต่อ GDP จากการตัดตั้งกองทุน กอช.
ปัจจุบันไทยมีการออมที่มากเกินไปอยู่แล้ว โดยดูได้จากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 7 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ คือ "การออม" ที่ มากกว่าการลงทุน ตกราว 8% GDP ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก นอกจากนี้ แม้รัฐพยายามลดการออมที่มากเกิน ด้วยการขาดดุลงบประมาณราว 6% GDP แต่นั่นก็หมายถึงว่า สำหรับภาคเอกชนแล้ว มีการ "ออมที่มากเกิน" ถึง 14% GDP ซึ่งเป็นส่วนที่การออมสูงกว่าการลงทุนอย่างมากมายกว่า 1 ล้านล้านบาท (โดยกำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำมากจนหวังจะเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนไม่ได้) ในเมื่อเราออมมากเกินอยู่แล้ว ยังมีแนวคิดจะสร้างระบบเงินออมผ่านกองทุน กอช.นี้อีก จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่ออุปสงค์รวมอย่างยิ่ง
อาจกล่าวได้ถึงข้อเสียของ กอช. ได้ดังต่อไปนี้
1. ไม่ยุติธรรม : สมทบเงินเข้าเฉพาะแรงงานนอกระบบ ขณะที่แรงงานในระบบนั้นไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเลย โดยเฉพาะกรณีกองทุนชราภาพของระบบประกันสังคม
2. เป็นภาระภาครัฐและหนี้สาธารณะ : อาจเป็นภาระภาครัฐถึงปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท หากมีผู้เข้าร่วมโครงการมาก นอกจากนี้ ยังมีภาระในการลดหย่อนภาษีด้วย และรัฐบาลก็ไม่มีทางอื่นใดนอกจากกู้เงินมาเพื่อใช้สมทบเงิน ซึ่งก็จะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะต่อไป
3. บิดเบือนกลไกตลาด : ปกติแล้วผลตอบแทนตอนนี้หากเป็นระยะสั้นจะได้ราว 1-2% ต่อปีเท่านั้น ระยะยาวก็ได้เพียง 3-4% ต่อปี แต่ กอช. สำหรับผู้ส่งเงินสมทบจะได้ผลตอบแทนสูงถึง 50-100% แล้วแต่ช่วงอายุ เพราะรัฐบาลจะสมทบให้เป็นเงิน 50-100 บาท หากผู้ออมใส่เงิน 100 บาททุกเดือน การทำเช่นนี้ จะทำให้การออมตามปกติผ่านธนาคาร และประกันชีวิต ลดลงได้
4. เสถียรภาพของกองทุน : เป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินบำนาญให้สูงไปหรือไม่ อาทิเช่น จ่ายบำนาญถึงกว่าเดือนละ 1 พันบาท ขณะที่เก็บสมทบแค่เดือนละ 100 บาท ในที่สุดแล้ว กองทุนอาจไม่เหลือเงินมากพอก็ได้ในระยะยาว
5. ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า : นี่อาจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ด้วยเงินราว 5 หมื่นล้านบาททุกปีที่ภาคเอกชน และรัฐบาลร่วมกันสมทบเข้า กอช.นั้น จะทำให้ประชาชนพยายามเจียดเงินมาออม เพราะได้ผลตอบแทนสูง จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายปัจจุบันลดลงไปอีก หากคิดที่ตัวทวีคูณ คือ 2 เท่าอาจหมายถึง GDP ที่หายไปราว 1 แสนล้านบาท (ราว 1% GDP) ทุกๆ ปีต่อจากนี้ไป 10 ปีเต็มๆ
ปัจจุบันปัญหาของเศรษฐกิจ ก็คือ การขาดแคลนอุปสงค์ที่เพียงพอ ดังนั้น รัฐบาลมีทางทำได้ 3 ทางเพื่อเพิ่มอุปสงค์ นอกเหนือจากนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ ธปท.ดูแลอยู่แล้ว คือ
1. นโยบายการคลัง ซึ่งก็ได้ทำผ่านแผนกระตุ้นระยะสั้นมาแล้ว ต่อเนื่องด้วย "ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง" แต่ก็ยังคงมีปัญหาตามที่ผมว่าไว้ คือ "ช้ารั่วและหนัก"
2. นโยบายกึ่งการคลัง โดยเข้าไปสนับสนุน และค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ แต่ปัญหาของเรื่องนี้ ก็คือ "ความกลัว" อาทิเช่น กลัวเงินฝากไปพอ กลัวเงินทุนไม่เพียงพอ กลัวจะกลายเป็นหนี้เสีย และกลัวความผิดในข้อหาปล่อยสินเชื่อโดยไม่รอบคอบ เป็นต้น
3. นโยบายเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก โดยรัฐเข้าไปยืมพลังจาก "กองทุนบำนาญ" อาทิเช่น ลดเงินสมทบภาคบังคับลงมา อนุญาตให้นำเงินออมบำนาญใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ หรือว่าให้กองทุนบำนาญลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และสินค้าเกษตรมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น
จะเห็นว่า กอช. นั้นขัดแย้งกับข้อ 3. โดยสิ้นเชิง ผมรู้สึกแปลกใจต่อข้อคิดเห็นของนักวิชาการจำนวนมากที่สนับสนุนโครงการนี้ ว่า พวกเขาได้มองอย่างรอบด้านแล้วหรือไม่ ผมอยากบอกให้ชัดๆ อีกครั้งหนึ่ง ว่า "ในโลกนี้ ไม่มีของฟรีหรอกครับ" หากอยากจะจัดตั้งสวัสดิการเช่นนี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต รัฐบาลต้องเตรียมตัวทำใจตั้งรับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าเดิมราว 1% ทุกๆ ปีให้ดี แต่เพื่อประเทศไทย เนื่องจากโครงการนี้แม้จะดีในระยะยาว แต่ขัดแย้งกับภารกิจหลัก คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ผมคิดว่าเก็บเข้าลิ้นชักไปสักพักก่อนจะดีกว่าครับ
จาก "กับดักสภาพคล่อง" สู่ "กับดักเคนส์"
จาก "กับดักสภาพคล่อง" สู่ "กับดักเคนส์"
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
เราหลายคนคงรู้จัก "กับดักสภาพคล่อง" (Liquidity Trap) เป็นอย่างดี โดยทฤษฎีของเคนส์ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ ว่า สภาพที่แม้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับเกือบศูนย์ แต่ก็ยังผู้คนก็ยังไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ไม่กล้าลงทุนอยู่ดี จึงเกิดสภาพคล่องที่ล้นเกินอย่างมาก ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดได้ในสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรง กรณีของ Great Depression ในอดีต
จนเมื่อจอห์น เมนาร์ด เคนส์ ได้เสนอวิธีการให้รัฐบาลกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายงบประมาณขาดดุล สร้างอุปสงค์รวม เพื่อดึงให้เศรษฐกิจพ้นภาวะตกต่ำ คือ ให้รัฐบาลให้จ่ายเงินแทนภาคเอกชนไปก่อน ประเทศต่างๆ ก็เห็นดีเห็นงามกันไปหมด แม้จะเป็นการสร้างหนี้สาธารณะ เพราะวิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะว่างงาน ซึ่งอาจเชื่อมโยงต่อเป็นปัญหาสังคมได้
อย่างไรก็ดี การใช้นโยบายการคลังแบบนี้อย่างต่อเนื่อง ประเทศต่างๆ จะเสพติดนโยบายการคลังขาดดุลจนไม่สามารถจะหยุดได้ เพราะเมื่อคิดจะหยุดวิธีนี้ โดยการชะลอการใช้จ่ายของภาครัฐ หรือคิดจะขึ้นภาษี เศรษฐกิจก็จะทรุดตัวลงอีกครั้งทันที ดังนั้น เมื่อเสพติดมากๆ หนี้สาธารณะก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่ายๆ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่นได้เพิ่มจากระดับ 65% เป็น 200% ภายในเวลา 17 ปี เฉลี่ยแล้ว ญี่ปุ่นสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 8% GDP เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจเติบโตได้ปีละ 1-2% เท่านั้น นั่นหมายความว่า อันที่จริงแล้วสำหรับภาคเอกชนนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยนานมาแล้ว
การตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถที่จะหาทางออกได้ นอกจากการเพิ่มหนี้สาธารณะและโยนภาระนี้ให้กับคนรุ่นถัดไปเช่นนี้เองที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก เรียกว่า "กับดักเคนส์" (Keynes Trap) ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอเมริกานั้นก็ใช้การขาดดุลการคลังถึง 12% GDP แต่ก็แค่พยุงให้เศรษฐกิจติดลบเล็กน้อยเท่านั้น ประเทศอังกฤษและยุโรปก็ไม่ต่างกันมากนัก ประเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ติด "กับดักเคนส์" มาได้ 2 ปีเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่ติด "กับดักเคนส์" นานถึง 17 ปีแล้ว
หากดำเนินวิธีการตาม "สำนักคลาสสิก" คือ รัฐบาลไม่ต้องเข้าแทรกแซงใดๆ ก็จะติด "กับดักสภาพคล่อง" เศรษฐกิจก็จะตกต่ำต่อไป รัฐบาลทั่วโลกไม่มีใครชอบวิธีนี้ จึงหันมาใช้แนวคิดของ "สำนักเคนส์" ซึ่งก็จะติด "กับดักเคนส์" นั่นเอง แล้วจะมีวิธีซึ่งเป็นทางออกให้ไม่ต้องติดกับดักทั้ง 2 นี้ได้ไหม
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊กได้เสนอให้ใช้หลักการ "ยืมพลัง" ของ "เจ้าหนี้" ซึ่งเป็นผู้ที่แข็งแกร่งทางการเงินมากกว่า "ลูกหนี้" ซึ่งปัจจุบันรับภาระหนักอยู่
มองในระดับโลก ก็คือ จีนซึ่งเป็น "เจ้าหนี้" ของการค้าโลกที่ได้ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวนมหาศาลแต่ละปี และยังมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสะสมถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยจีนได้ปรับค่าเงินลงมา 33% ในปี 2538 จากระดับ 5.8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นอัตราที่ 8.3 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งเหตุการณ์นั้นเอง ทำให้ไทยสูญเสียการแข่งขันทางการส่งออกโดยสิ้นเชิง ภายใต้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับเงินดอลลาร์ ระดับ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ นั้น ไม่สามารถจะแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตจากจีนได้เลย นี่เป็นตัวจุดชนวนสำคัญที่ทำให้ไทยจำเป็นต้อง "ลดค่าเงิน" จนเชื่อมโยงไปถึง "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ในที่สุด ในเวลา 2 ปีต่อมา การที่จีนดำเนินนโยบายโดยไม่คำนึงถึงเพื่อนบ้าน ซึ่งขายสินค้าคล้ายกันเช่นนั้น ได้ส่งผลเสียหายต่อวิกฤติค่าเงินของเอเชียในเวลาต่อมานั่นเอง แม้ภายหลังค่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่จีนยังคงได้ดุลการค้ามหาศาลต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ควรจะได้มีการถกกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสมดุลการค้าให้กับโลก
ดังนั้น อเมริกา ซึ่งเป็น "ลูกหนี้" ของโลก ไม่ควรจะรับภาระหนักอีกต่อไป ในการสร้างอุปสงค์ให้กับโลก แต่ควรให้จีนรับบทบาทนี้แทน หากจีนสามารถขึ้นค่าเงินให้แข็งอย่างเร็ว 20-25% ก็จะเหมือนสร้างอุปสงค์ใหม่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นขนาดของประเทศไทยราว 4 ประเทศที่เหมือนเกิดขึ้นมาใหม่ คนจีนรวยขึ้นนำเข้าสินค้ามากขึ้นไปเที่ยวมากขึ้น และสินค้าของอาเซียนอย่างไทยจะส่งออกไปแข่งขันในประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจทั้งโลก
เมื่อมองในระดับแต่ละประเทศก็เห็นว่า รัฐบาลซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่ควรแบกรับภาระในการกระตุ้นเศรษฐกิจจนเกินไป เพราะภาระการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร รวมกับภาระการประกันสังคม ทั้งประกันสุขภาพ และเบี้ยบำนาญคนชรานั้นหนักหนาสาหัสนัก มีแนวโน้มว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนหยุดไม่ได้ อเมริกาและอังกฤษ จะมีค่านี้สูงกว่า 100% ภายใน 2 ปี และภายในเวลา 15 ปี ค่านี้จะยืนสูงกว่า 200% คล้ายๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น หากไม่มีการปฏิรูปการคลังอย่างเป็นรูปธรรม
รัฐบาลควรจะให้ "เจ้าหนี้" รายใหญ่ซึ่งก็คือ กองทุนบำนาญ ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่นั้นแบกรับภาระในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมมากกว่า อย่างกรณีของกองทุนชราภาพของประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ติดหนี้สินดอกเบี้ยโหดทั้งในและนอกระบบอยู่แล้ว การที่มือข้างหนึ่งออมไว้ได้ 5% ต่อปี และกู้ยืมด้วยเงินยอดเดียวกันที่ 28% ต่อปีขึ้นไป มีแต่ทำให้ผู้ประกันตนจนลงๆ ตลอดเวลาด้วยผลต่างของอัตราผลตอบแทนนั่นเอง
Exit Strategy คือ ทางออกที่หลายๆ ประเทศกำลังแสวงหา นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ทำไปแล้วก็จะติดกับดักสภาพคล่อง และกับดักเคนส์ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ควรจะแสวงหากรอบแนวคิดใหม่ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยไม่ติดกับดักทั้ง 2 นี้ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก (Taiji Economics) อาจเป็นทางออกนั้นครับ
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
เราหลายคนคงรู้จัก "กับดักสภาพคล่อง" (Liquidity Trap) เป็นอย่างดี โดยทฤษฎีของเคนส์ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ ว่า สภาพที่แม้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับเกือบศูนย์ แต่ก็ยังผู้คนก็ยังไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ไม่กล้าลงทุนอยู่ดี จึงเกิดสภาพคล่องที่ล้นเกินอย่างมาก ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดได้ในสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรง กรณีของ Great Depression ในอดีต
จนเมื่อจอห์น เมนาร์ด เคนส์ ได้เสนอวิธีการให้รัฐบาลกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายงบประมาณขาดดุล สร้างอุปสงค์รวม เพื่อดึงให้เศรษฐกิจพ้นภาวะตกต่ำ คือ ให้รัฐบาลให้จ่ายเงินแทนภาคเอกชนไปก่อน ประเทศต่างๆ ก็เห็นดีเห็นงามกันไปหมด แม้จะเป็นการสร้างหนี้สาธารณะ เพราะวิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะว่างงาน ซึ่งอาจเชื่อมโยงต่อเป็นปัญหาสังคมได้
อย่างไรก็ดี การใช้นโยบายการคลังแบบนี้อย่างต่อเนื่อง ประเทศต่างๆ จะเสพติดนโยบายการคลังขาดดุลจนไม่สามารถจะหยุดได้ เพราะเมื่อคิดจะหยุดวิธีนี้ โดยการชะลอการใช้จ่ายของภาครัฐ หรือคิดจะขึ้นภาษี เศรษฐกิจก็จะทรุดตัวลงอีกครั้งทันที ดังนั้น เมื่อเสพติดมากๆ หนี้สาธารณะก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่ายๆ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่นได้เพิ่มจากระดับ 65% เป็น 200% ภายในเวลา 17 ปี เฉลี่ยแล้ว ญี่ปุ่นสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 8% GDP เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจเติบโตได้ปีละ 1-2% เท่านั้น นั่นหมายความว่า อันที่จริงแล้วสำหรับภาคเอกชนนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยนานมาแล้ว
การตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถที่จะหาทางออกได้ นอกจากการเพิ่มหนี้สาธารณะและโยนภาระนี้ให้กับคนรุ่นถัดไปเช่นนี้เองที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก เรียกว่า "กับดักเคนส์" (Keynes Trap) ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอเมริกานั้นก็ใช้การขาดดุลการคลังถึง 12% GDP แต่ก็แค่พยุงให้เศรษฐกิจติดลบเล็กน้อยเท่านั้น ประเทศอังกฤษและยุโรปก็ไม่ต่างกันมากนัก ประเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ติด "กับดักเคนส์" มาได้ 2 ปีเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่ติด "กับดักเคนส์" นานถึง 17 ปีแล้ว
หากดำเนินวิธีการตาม "สำนักคลาสสิก" คือ รัฐบาลไม่ต้องเข้าแทรกแซงใดๆ ก็จะติด "กับดักสภาพคล่อง" เศรษฐกิจก็จะตกต่ำต่อไป รัฐบาลทั่วโลกไม่มีใครชอบวิธีนี้ จึงหันมาใช้แนวคิดของ "สำนักเคนส์" ซึ่งก็จะติด "กับดักเคนส์" นั่นเอง แล้วจะมีวิธีซึ่งเป็นทางออกให้ไม่ต้องติดกับดักทั้ง 2 นี้ได้ไหม
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊กได้เสนอให้ใช้หลักการ "ยืมพลัง" ของ "เจ้าหนี้" ซึ่งเป็นผู้ที่แข็งแกร่งทางการเงินมากกว่า "ลูกหนี้" ซึ่งปัจจุบันรับภาระหนักอยู่
มองในระดับโลก ก็คือ จีนซึ่งเป็น "เจ้าหนี้" ของการค้าโลกที่ได้ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวนมหาศาลแต่ละปี และยังมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสะสมถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยจีนได้ปรับค่าเงินลงมา 33% ในปี 2538 จากระดับ 5.8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นอัตราที่ 8.3 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งเหตุการณ์นั้นเอง ทำให้ไทยสูญเสียการแข่งขันทางการส่งออกโดยสิ้นเชิง ภายใต้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับเงินดอลลาร์ ระดับ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ นั้น ไม่สามารถจะแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตจากจีนได้เลย นี่เป็นตัวจุดชนวนสำคัญที่ทำให้ไทยจำเป็นต้อง "ลดค่าเงิน" จนเชื่อมโยงไปถึง "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ในที่สุด ในเวลา 2 ปีต่อมา การที่จีนดำเนินนโยบายโดยไม่คำนึงถึงเพื่อนบ้าน ซึ่งขายสินค้าคล้ายกันเช่นนั้น ได้ส่งผลเสียหายต่อวิกฤติค่าเงินของเอเชียในเวลาต่อมานั่นเอง แม้ภายหลังค่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่จีนยังคงได้ดุลการค้ามหาศาลต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ควรจะได้มีการถกกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างสมดุลการค้าให้กับโลก
ดังนั้น อเมริกา ซึ่งเป็น "ลูกหนี้" ของโลก ไม่ควรจะรับภาระหนักอีกต่อไป ในการสร้างอุปสงค์ให้กับโลก แต่ควรให้จีนรับบทบาทนี้แทน หากจีนสามารถขึ้นค่าเงินให้แข็งอย่างเร็ว 20-25% ก็จะเหมือนสร้างอุปสงค์ใหม่ราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นขนาดของประเทศไทยราว 4 ประเทศที่เหมือนเกิดขึ้นมาใหม่ คนจีนรวยขึ้นนำเข้าสินค้ามากขึ้นไปเที่ยวมากขึ้น และสินค้าของอาเซียนอย่างไทยจะส่งออกไปแข่งขันในประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจทั้งโลก
เมื่อมองในระดับแต่ละประเทศก็เห็นว่า รัฐบาลซึ่งเป็นลูกหนี้ ไม่ควรแบกรับภาระในการกระตุ้นเศรษฐกิจจนเกินไป เพราะภาระการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร รวมกับภาระการประกันสังคม ทั้งประกันสุขภาพ และเบี้ยบำนาญคนชรานั้นหนักหนาสาหัสนัก มีแนวโน้มว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนหยุดไม่ได้ อเมริกาและอังกฤษ จะมีค่านี้สูงกว่า 100% ภายใน 2 ปี และภายในเวลา 15 ปี ค่านี้จะยืนสูงกว่า 200% คล้ายๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น หากไม่มีการปฏิรูปการคลังอย่างเป็นรูปธรรม
รัฐบาลควรจะให้ "เจ้าหนี้" รายใหญ่ซึ่งก็คือ กองทุนบำนาญ ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่นั้นแบกรับภาระในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมมากกว่า อย่างกรณีของกองทุนชราภาพของประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ติดหนี้สินดอกเบี้ยโหดทั้งในและนอกระบบอยู่แล้ว การที่มือข้างหนึ่งออมไว้ได้ 5% ต่อปี และกู้ยืมด้วยเงินยอดเดียวกันที่ 28% ต่อปีขึ้นไป มีแต่ทำให้ผู้ประกันตนจนลงๆ ตลอดเวลาด้วยผลต่างของอัตราผลตอบแทนนั่นเอง
Exit Strategy คือ ทางออกที่หลายๆ ประเทศกำลังแสวงหา นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ทำไปแล้วก็จะติดกับดักสภาพคล่อง และกับดักเคนส์ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ควรจะแสวงหากรอบแนวคิดใหม่ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยไม่ติดกับดักทั้ง 2 นี้ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก (Taiji Economics) อาจเป็นทางออกนั้นครับ
จตุสมดุล
จตุสมดุล : สมดุล 4 ประการที่ต้องปรับเปลี่ยน
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
จตุสมดุล คือ สมดุล 4 ประการ ซึ่งปัจจุบันโลกและไทยได้สูญเสียสิ่งนี้ไป ได้ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจมากมายจนถึงขั้นวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ รวมไปถึงวิกฤติการคลังของประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เรามาดูกันเป็นข้อๆ ว่า มีอะไรกันบ้าง
1. สมดุลการค้า : เห็นได้ชัดๆ เลยว่า อเมริกา ก็คือ ผู้นำเข้าตัวยงในอดีตจนถึงปัจจุบัน ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ราว 5% GDP อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ตัวเลขนี้ได้ลดลงเหลือราว 3% GDP เท่านั้นในปัจจุบัน และประเทศที่ได้ดุลกับอเมริกามากที่สุดนั้นก็ไม่พ้นประเทศจีน ซึ่งก็ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมากและต่อเนื่อง มีการเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเงินส่วนใหญ่ก็จะถูกนำกลับไปซื้อพันธบัตรอเมริกาอีกครั้ง ด้วยการเสียสมดุลเช่นนี้เอง ทำให้อเมริกาจมอยู่ในกองหนี้สิน เพราะค้าขายขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง และใช้จ่ายเกินตัวมาโดยตลอด ต้นทุนเงินต่ำๆ ได้ไปสร้างฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ฟองโตในประเทศอเมริกา และแตกลงในที่สุด
วิธีการแก้ไขสมดุลนี้ ผมคิดว่าไม่ใช่วิธีซึ่งอเมริกาจะมาขึ้นภาษียางรถยนต์ หรือสินค้าเป็นกรณีไปสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศจีน แต่อเมริกา ยุโรป และประเทศเอเชีย ควรร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศจีนได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าได้ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งน่าจะเป็นระดับ 20-25% จะส่งผลให้จีนเพิ่ม GDP ต่อโลกได้อย่างเร็วอีกราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ (4 เท่าของประเทศไทย) จีนจะนำเข้ามากขึ้น ส่งออกลดลง ช่วยประเทศได้ทั่วโลก สมดุลการค้าโลกก็จะกลับมาได้ ทั้งโลกควรจะต้อง "ยืมพลังจากจีน"
2. สมดุลการออม : สิ่งนี้ต่อเนื่องจากข้อก่อน เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัด ก็คือ การออมสุทธิ (การออมลบด้วยการลงทุน) นั่นเอง ดังนั้น ประเทศที่ออมมากเกินไป ก็คือ ประเทศจีน ส่วนประเทศที่ออมน้อยเกินไป ก็คือ อเมริกา การปรับค่าเงินหยวนจะช่วยให้จีนออมน้อยลงได้ ขณะเดียวกัน อเมริกาจะส่งออกได้มากขึ้น นำเข้าจากจีนลดลง ช่วยให้การออมสูงขึ้นได้เช่นกัน
สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการออมที่มากเกินอยู่สูงถึง 8% GDP จากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ดี สัดส่วนนี้น่าจะน้อยลงตามการลงทุนภาครัฐผ่านปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง"
นอกจากนี้แล้ว การออมส่วนบุคคลนั้น รัฐบาลให้หักลดหย่อนภาษีได้สำหรับ RMF และ LTF ซึ่งรวมกันเป็นเงินถึง 1 ล้านบาท สำหรับคนรวยๆ เท่านั้น ที่รัฐสนับสนุนยอมเสียเงินภาษี ซึ่งควรจะเรียกเก็บได้ปีละเกือบหมื่นล้านบาท ขณะที่มี "การบังคับ" ให้ผู้ประกันตนออมเงินเข้ากองทุนชราภาพประกันสังคม โดยที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ต้องไปกู้เงินดอกเบี้ยโหด ทั้งในและนอกระบบ ทำให้การออมสุทธิอาจติดลบ เนื่องมาจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น นี่เป็นการทำให้เสียสมดุลแห่งการออม โดยสนับสนุนคนรวยให้ออมมากๆ เกินไป และทำให้คนจนๆ ติดหนี้สินออมสุทธิได้น้อยลงอยู่ตลอด
ทางแก้ไข ก็คือ รัฐบาลต้องยอมอนุญาตให้สามารถยืมเงินออมของแต่ละบุคคลไปเพื่อแก้ไขหนี้สินดอกเบี้ยโหดของตนเอง หรือเพื่อการลงทุนได้ นอกจากนี้ ควรลดวงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับ RMF, LTF ลง ไม่ต้องอุ้มคนรวยจนเกินงาม ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก
3. สมดุลการคลัง : เป็นเรื่องที่ประเทศทั่วโลกกำลังกังวลใจ โดยมีญี่ปุ่นเป็นประเทศนำหน้าปัญหาในเรื่องนี้ โดยมีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% GDP และได้ติด "กับดักเคนส์" คือ เพิ่มหนี้สาธารณะมากกว่าการเพิ่มของ GDP นานมาถึง 17 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศอเมริกา และยุโรปติด "กับดักเคนส์" มาได้ราว 2 ปี โดยรัฐบาลมีภาระหนักมากในการประกันสุขภาพ และจ่ายเบี้ยบำนาญคนชราที่เพิ่มขึ้นตลอด นอกจากนี้ ภาระดอกเบี้ยพันธบัตรก็พอกพูนขึ้นทุกวันทุกเดือนทุกปี วิธีแก้ไขสมดุลในเรื่องนี้ คือ "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" โดยรัฐบาลควรยืมพลังจากแหล่งต่างๆ ทั้งกองทุนบำนาญ คนเกษียณต่างชาติ ตลาดหุ้นและแบงก์รัฐทั้งหลาย เพื่อมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณ
4. สมดุลการลงทุน : ตลาดหุ้นไทยมีการเสียสมดุลอย่างมาก ต่างชาติซึ่งมีการซื้อขายราว 15% เท่านั้น แต่กลับสามารถกำหนดทิศทางตลาดหุ้นได้ โดยหุ้นขนาดใหญ่ที่ต่างชาติสนใจถูกซื้อ จนทำให้ราคาแพงมากๆ โดยซื้อขายกันที่ P/E สูงกว่า 20 เท่า โดยมีแรงซื้อของกองทุนต่างๆ และนักลงทุนรายย่อยที่แห่ตามด้วย ขณะที่หุ้นในธุรกิจประเภทเดียวกันซึ่งตัวเล็กกว่านั้น กลับซื้อขายกันที่ P/E เพียง 5 เท่า เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นี่ชัดเจนมาก อาจกล่าวได้ว่าตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ไร้สมดุลของ P/E
วิธีแก้ไขในเรื่องนี้เป็นหนึ่งกระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" โดยให้มีการให้มีจัดตั้ง "กองทุนหุ้นเล็ก" เพื่อส่งเสริมการลงทุนในลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นฐานผลประกอบการ และดึงตลาดสู่สมดุลยิ่งขึ้น
"มวยไทเก๊ก" คือ เพลงมวยที่คิดค้นขึ้นโดยปรมาจารย์จางซันฟง มีอายุยาวนานกว่า 800 ปี โดยใช้หลักการของลัทธิเต๋า มี 3 ประเด็นหลัก คือ "อ่อนสยบแข็ง" "ยืมพลังศัตรู" และ "รักษาสมดุลหยินหยาง" ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหาก "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" (Taiji Economics) อาจเป็นทฤษฎีที่สามารถสร้างสมดุลให้กับเศรษฐกิจโลกได้ ผมจึงอยากขอร้องให้นักวิชาการ และผู้กำหนดนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศ ได้โปรดศึกษาในเรื่องนี้ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจไทยและโลกต่อไปครับ
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
จตุสมดุล คือ สมดุล 4 ประการ ซึ่งปัจจุบันโลกและไทยได้สูญเสียสิ่งนี้ไป ได้ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจมากมายจนถึงขั้นวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ รวมไปถึงวิกฤติการคลังของประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เรามาดูกันเป็นข้อๆ ว่า มีอะไรกันบ้าง
1. สมดุลการค้า : เห็นได้ชัดๆ เลยว่า อเมริกา ก็คือ ผู้นำเข้าตัวยงในอดีตจนถึงปัจจุบัน ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ราว 5% GDP อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ตัวเลขนี้ได้ลดลงเหลือราว 3% GDP เท่านั้นในปัจจุบัน และประเทศที่ได้ดุลกับอเมริกามากที่สุดนั้นก็ไม่พ้นประเทศจีน ซึ่งก็ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมากและต่อเนื่อง มีการเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเงินส่วนใหญ่ก็จะถูกนำกลับไปซื้อพันธบัตรอเมริกาอีกครั้ง ด้วยการเสียสมดุลเช่นนี้เอง ทำให้อเมริกาจมอยู่ในกองหนี้สิน เพราะค้าขายขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง และใช้จ่ายเกินตัวมาโดยตลอด ต้นทุนเงินต่ำๆ ได้ไปสร้างฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ฟองโตในประเทศอเมริกา และแตกลงในที่สุด
วิธีการแก้ไขสมดุลนี้ ผมคิดว่าไม่ใช่วิธีซึ่งอเมริกาจะมาขึ้นภาษียางรถยนต์ หรือสินค้าเป็นกรณีไปสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศจีน แต่อเมริกา ยุโรป และประเทศเอเชีย ควรร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศจีนได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าได้ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งน่าจะเป็นระดับ 20-25% จะส่งผลให้จีนเพิ่ม GDP ต่อโลกได้อย่างเร็วอีกราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ (4 เท่าของประเทศไทย) จีนจะนำเข้ามากขึ้น ส่งออกลดลง ช่วยประเทศได้ทั่วโลก สมดุลการค้าโลกก็จะกลับมาได้ ทั้งโลกควรจะต้อง "ยืมพลังจากจีน"
2. สมดุลการออม : สิ่งนี้ต่อเนื่องจากข้อก่อน เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัด ก็คือ การออมสุทธิ (การออมลบด้วยการลงทุน) นั่นเอง ดังนั้น ประเทศที่ออมมากเกินไป ก็คือ ประเทศจีน ส่วนประเทศที่ออมน้อยเกินไป ก็คือ อเมริกา การปรับค่าเงินหยวนจะช่วยให้จีนออมน้อยลงได้ ขณะเดียวกัน อเมริกาจะส่งออกได้มากขึ้น นำเข้าจากจีนลดลง ช่วยให้การออมสูงขึ้นได้เช่นกัน
สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการออมที่มากเกินอยู่สูงถึง 8% GDP จากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ดี สัดส่วนนี้น่าจะน้อยลงตามการลงทุนภาครัฐผ่านปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง"
นอกจากนี้แล้ว การออมส่วนบุคคลนั้น รัฐบาลให้หักลดหย่อนภาษีได้สำหรับ RMF และ LTF ซึ่งรวมกันเป็นเงินถึง 1 ล้านบาท สำหรับคนรวยๆ เท่านั้น ที่รัฐสนับสนุนยอมเสียเงินภาษี ซึ่งควรจะเรียกเก็บได้ปีละเกือบหมื่นล้านบาท ขณะที่มี "การบังคับ" ให้ผู้ประกันตนออมเงินเข้ากองทุนชราภาพประกันสังคม โดยที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ต้องไปกู้เงินดอกเบี้ยโหด ทั้งในและนอกระบบ ทำให้การออมสุทธิอาจติดลบ เนื่องมาจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น นี่เป็นการทำให้เสียสมดุลแห่งการออม โดยสนับสนุนคนรวยให้ออมมากๆ เกินไป และทำให้คนจนๆ ติดหนี้สินออมสุทธิได้น้อยลงอยู่ตลอด
ทางแก้ไข ก็คือ รัฐบาลต้องยอมอนุญาตให้สามารถยืมเงินออมของแต่ละบุคคลไปเพื่อแก้ไขหนี้สินดอกเบี้ยโหดของตนเอง หรือเพื่อการลงทุนได้ นอกจากนี้ ควรลดวงเงินหักลดหย่อนภาษีสำหรับ RMF, LTF ลง ไม่ต้องอุ้มคนรวยจนเกินงาม ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก
3. สมดุลการคลัง : เป็นเรื่องที่ประเทศทั่วโลกกำลังกังวลใจ โดยมีญี่ปุ่นเป็นประเทศนำหน้าปัญหาในเรื่องนี้ โดยมีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% GDP และได้ติด "กับดักเคนส์" คือ เพิ่มหนี้สาธารณะมากกว่าการเพิ่มของ GDP นานมาถึง 17 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศอเมริกา และยุโรปติด "กับดักเคนส์" มาได้ราว 2 ปี โดยรัฐบาลมีภาระหนักมากในการประกันสุขภาพ และจ่ายเบี้ยบำนาญคนชราที่เพิ่มขึ้นตลอด นอกจากนี้ ภาระดอกเบี้ยพันธบัตรก็พอกพูนขึ้นทุกวันทุกเดือนทุกปี วิธีแก้ไขสมดุลในเรื่องนี้ คือ "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" โดยรัฐบาลควรยืมพลังจากแหล่งต่างๆ ทั้งกองทุนบำนาญ คนเกษียณต่างชาติ ตลาดหุ้นและแบงก์รัฐทั้งหลาย เพื่อมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณ
4. สมดุลการลงทุน : ตลาดหุ้นไทยมีการเสียสมดุลอย่างมาก ต่างชาติซึ่งมีการซื้อขายราว 15% เท่านั้น แต่กลับสามารถกำหนดทิศทางตลาดหุ้นได้ โดยหุ้นขนาดใหญ่ที่ต่างชาติสนใจถูกซื้อ จนทำให้ราคาแพงมากๆ โดยซื้อขายกันที่ P/E สูงกว่า 20 เท่า โดยมีแรงซื้อของกองทุนต่างๆ และนักลงทุนรายย่อยที่แห่ตามด้วย ขณะที่หุ้นในธุรกิจประเภทเดียวกันซึ่งตัวเล็กกว่านั้น กลับซื้อขายกันที่ P/E เพียง 5 เท่า เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นี่ชัดเจนมาก อาจกล่าวได้ว่าตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ไร้สมดุลของ P/E
วิธีแก้ไขในเรื่องนี้เป็นหนึ่งกระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" โดยให้มีการให้มีจัดตั้ง "กองทุนหุ้นเล็ก" เพื่อส่งเสริมการลงทุนในลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นฐานผลประกอบการ และดึงตลาดสู่สมดุลยิ่งขึ้น
"มวยไทเก๊ก" คือ เพลงมวยที่คิดค้นขึ้นโดยปรมาจารย์จางซันฟง มีอายุยาวนานกว่า 800 ปี โดยใช้หลักการของลัทธิเต๋า มี 3 ประเด็นหลัก คือ "อ่อนสยบแข็ง" "ยืมพลังศัตรู" และ "รักษาสมดุลหยินหยาง" ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหาก "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" (Taiji Economics) อาจเป็นทฤษฎีที่สามารถสร้างสมดุลให้กับเศรษฐกิจโลกได้ ผมจึงอยากขอร้องให้นักวิชาการ และผู้กำหนดนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศ ได้โปรดศึกษาในเรื่องนี้ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจไทยและโลกต่อไปครับ
ทำไม ทฤษฎีเคนส์ จึงล้มเหลว
ทำไม "ทฤษฎีเคนส์" จึงล้มเหลว
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 กรุงเทพธุรกิจ
ตั้งแต่สมัยของอดัม สมิธ แนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิกได้บังเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากการแบ่งชนชั้นคล้ายศักดินา โดยปัจจัยการผลิตแบ่งออกเป็น ทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ดังนั้น ชนชั้นของนายทุน และเจ้าที่ดิน จึงอยู่สูงกว่าชนชั้นแรงงานที่มีจำนวนมากกว่า โดยประเมินว่า "ทุน" มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในฐานะปัจจัยการผลิต ซึ่งมีอยู่น้อยคนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตนี้ เขายังสนับสนุนการผลิตแบบแบ่งงานกันทำเฉพาะอย่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้แรงงาน อย่างไรก็ดี มนุษย์ได้ถูกแปรสภาพให้ทำงานซ้ำๆ คล้ายกับเครื่องจักร นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ "ทุนนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของคาร์ล มาร์กซ์ ได้ปฏิเสธแนวคิดนี้ โดยคิดว่า "ทุน" นั้น ไม่ควรคิดว่าเป็นปัจจัยการผลิต เขารังเกียจชนชั้นนายทุนมาก ขณะที่เขาคิดว่า มีแต่ "แรงงาน" เท่านั้น ที่เป็นปัจจัยการผลิต บุคคลไม่สมควรมีทรัพย์สินเป็นส่วนตัว นี่คือ แนวคิดของ "เศรษฐกิจสังคมนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งเห็นใจประชาชนผู้ว่างงาน ซึ่งไร้ทั้งงาน และไร้ทั้งเงิน ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เขาเสนอให้รัฐบาลทำการกู้ยืมเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน แนวคิดนี้ได้ช่วยลดแรงกดดันความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยชนชั้นนายทุนก็สูญเสียทุนไปมาก จากการล่มสลายของตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ โดยผลตอบแทนของทุนหรือดอกเบี้ยก็ตกต่ำสุดๆ ขณะที่ชนชั้นแรงงานก็สูญเสียงาน...ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของตนเองไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทุกฝ่ายพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ภายใต้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เคนส์จึงเสนอแนวคิดให้ยืมเงินคนรุ่นลูกหลานมาใช้ก่อน เพื่อไม่ให้คนรุ่นนี้ต้องลำบาก และ ขัดแย้งกันรุนแรง โดยใช้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการกู้ยืมผ่านพันธบัตรรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยไม่ต้องรอให้ตลาดปรับตัวเองในระยะยาวตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิก ก็ช่วยเหลือประชาชนไปได้มาก ตามประโยคดังก้องโลกของเคนส์ที่ว่า "In the long run, we are all dead." "หากรอให้ถึงระยะยาวเราก็ตายกันหมดแล้ว" แต่หากจะแปลประโยคนี้อย่างประชดประชัน ก็อาจหมายความถึง "ในระยะยาว พวกเรา (คนรุ่นเรา) ก็จะตายกันหมด ส่วนภาระหนี้สาธารณะนั้น ปล่อยให้ลูกหลานไปคิดกันเองในอนาคต"
ทฤษฎีของเคนส์ประสบความสำเร็จอย่างดี ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นๆ เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้นำแนวคิดของเคนส์มาใช้ โดย นาย ทาคาฮาชิ ซึ่งดำรงตำแหน่ง รมว.คลังสมัยนั้น ได้รับฉายา "เคนส์แห่งญี่ปุ่น" นำแนวคิดนี้มาใช้ก่อนประเทศอเมริกาและอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ก่อนที่ความคิดของเคนส์จะออกมาเป็นหนังสือในปี ค.ศ. 1936 และญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกเช่นกันที่ติด "กับดักเคนส์" จน มีหนี้สาธารณะสูงถึงกว่า 200% GDP
แนวคิดของเคนส์นั้น เป็นที่พอใจของรัฐบาลเกือบทั้งโลก เพราะทำให้รัฐสามารถดำเนินการโดยมีเป้าหมายแอบแฝงได้เสมอมา หากจะศึกษาถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของทฤษฎีเคนส์ ผมคิดว่าเราควรศึกษาประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ
ไม่เพียงแต่มุ่งหวังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงานเท่านั้น ในสมัยทศวรรษ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้กู้เงินมา เพื่อใช้ในการสร้างแสนยานุภาพทางการทหาร โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ อาณาจักรมหาเอเชียบูรพาอีกด้วย ในช่วง 15 ปีแห่งเศรษฐกิจในห้วงสงคราม มีการใช้เงินการคลังเพื่อการทหารสูงขึ้นเรื่อยๆ จนบางปีสัดส่วนนี้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณ เป้าหมายแฝง คือ ช่วยเหลือนายทุนบริษัทผลิตอาวุธ และอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อการสงคราม เมื่อ รมว.คลัง นายทาคาฮาชิได้เริ่มรู้ว่าหลงกลทหารเข้าแล้ว ก็คิดจะเริ่มปฏิเสธแนวทางกู้เงินมาเพื่อทหาร แต่เขาก็ถูกลอบสังหารอย่างรวดเร็ว
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างประเทศใหม่ ด้วยการทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อสร้างสาธารณูปโภค จนอาจกล่าวได้ว่า มีระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมและทันสมัยที่สุดในโลก หนี้สาธารณะได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเร็ว โดยมีเป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือนายทุนรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่
เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในการสร้างถนนที่ไม่มีรถวิ่ง สร้างสะพานที่ไม่มีรถข้าม ญี่ปุ่นก็หันมากู้เงินเพื่อส่งเสริมในด้านประกันสังคม (เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพ) พร้อมๆ กับกู้เงินมาเพื่อจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรแทน เป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือบริษัทยา โรงพยาบาล บริษัทประกันชีวิต และบริษัทจัดการกองทุนรวมต่างๆ
แต่ไม่ว่ายุคใด...นักการเมืองล้วนมีเป้าหมายแฝงเหมือนกัน เพื่อหวังการรั่วไหลของเงินงบประมาณเข้าสู่กระเป๋าตนเอง หรือการทุจริตคอร์รัปชันนั่นเอง
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเคยประสบความสำเร็จกับทฤษฎีของเคนส์มาเป็นอย่างดีอย่างน้อย 3 ครั้ง จากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The Great Depression) วิกฤติความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และวิกฤติราคาน้ำมันในทศวรรษ 1970 แต่เพราะเหตุใดญี่ปุ่นจึงได้ล้มเหลว เมื่อประสบกับปัญหาฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 1991 ประเทศนี้ได้เข้าติด "กับดักเคนส์" โดยสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์จีดีพีต่อปี โดยเศรษฐกิจแทบไม่ได้เติบโตเลย ในช่วงเวลา 18 ปีที่ผ่านมา
ผมคิดว่าเหตุผลสำคัญ ก็คือ "โครงสร้างประชากร" นั่นเอง จากสภาพที่เป็นลักษณะ "พีระมิด" เหมือนประเทศกำลังพัฒนาทั่วๆ ไปในอดีต ปัจจุบันโครงสร้างประชากรได้เปลี่ยนมาเป็น "พีระมิดหัวกลับ" ซึ่งหมายถึง ประชากรผู้สูงอายุได้สูงขึ้นถึง 1 ใน 4 ของทั้งหมด และเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงส่งผลลบ 5 ประการต่อสัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อ GDP 1. เมื่อคนชรามากขึ้น รายได้มีแนวโน้มเติบโตลดลง หมายถึง จีดีพีที่เติบโตช้าลง 2. เมื่อคนชรามากขึ้น การเก็บภาษีทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งคือรายได้ของรัฐบาลลดลง 3. เมื่อคนชรามากขึ้น ต้องมีการใช้จ่ายเพื่องานประกันสังคม อาทิเช่น เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพที่สูงขึ้นมาก 4. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลก็จะมีการลดหย่อนภาษีเพื่อการออมเงินบำนาญมากขึ้น ทำให้รายได้ภาษีลดลง 5. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรมากขึ้นตาม ให้กับกองทุนบำนาญซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล
หากเหตุผลนี้เป็นจริงแล้ว เราน่าจะคาดการณ์ได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา และยุโรป น่าจะประสบความล้มเหลวกับการใช้ทฤษฎีเคนส์เช่นกัน โดยมีสาเหตุหลัก คือ "โครงสร้างประชากร" ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง ประเทศไทยก็ไม่ควรประมาท เพราะหากเดินตามเส้นทางนี้ สัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อจีดีพี ที่คาดว่าจะสูงสุดที่ 60 เปอร์เซ็นต์นั้น อาจไม่ลดลงตามที่คาดกันไว้ ในทางตรงกันข้ามโอกาสที่จะวิ่งไม่หยุดเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นนั้นน่าจะมีโอกาสสูงกว่า
ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะหากรอบแนวคิดใหม่ เพื่อเป็นทางออกสำรองไว้สำหรับประเทศไทยของเรา "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ซึ่งใช้หลักการยืมพลังศัตรู และรักษาสมดุลหยินหยาง อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมครับ
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 กรุงเทพธุรกิจ
ตั้งแต่สมัยของอดัม สมิธ แนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิกได้บังเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานมาจากการแบ่งชนชั้นคล้ายศักดินา โดยปัจจัยการผลิตแบ่งออกเป็น ทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ดังนั้น ชนชั้นของนายทุน และเจ้าที่ดิน จึงอยู่สูงกว่าชนชั้นแรงงานที่มีจำนวนมากกว่า โดยประเมินว่า "ทุน" มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในฐานะปัจจัยการผลิต ซึ่งมีอยู่น้อยคนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตนี้ เขายังสนับสนุนการผลิตแบบแบ่งงานกันทำเฉพาะอย่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้แรงงาน อย่างไรก็ดี มนุษย์ได้ถูกแปรสภาพให้ทำงานซ้ำๆ คล้ายกับเครื่องจักร นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ "ทุนนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของคาร์ล มาร์กซ์ ได้ปฏิเสธแนวคิดนี้ โดยคิดว่า "ทุน" นั้น ไม่ควรคิดว่าเป็นปัจจัยการผลิต เขารังเกียจชนชั้นนายทุนมาก ขณะที่เขาคิดว่า มีแต่ "แรงงาน" เท่านั้น ที่เป็นปัจจัยการผลิต บุคคลไม่สมควรมีทรัพย์สินเป็นส่วนตัว นี่คือ แนวคิดของ "เศรษฐกิจสังคมนิยม"
เมื่อมาถึงยุคของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งเห็นใจประชาชนผู้ว่างงาน ซึ่งไร้ทั้งงาน และไร้ทั้งเงิน ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เขาเสนอให้รัฐบาลทำการกู้ยืมเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน แนวคิดนี้ได้ช่วยลดแรงกดดันความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยชนชั้นนายทุนก็สูญเสียทุนไปมาก จากการล่มสลายของตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ โดยผลตอบแทนของทุนหรือดอกเบี้ยก็ตกต่ำสุดๆ ขณะที่ชนชั้นแรงงานก็สูญเสียงาน...ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของตนเองไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทุกฝ่ายพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ภายใต้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เคนส์จึงเสนอแนวคิดให้ยืมเงินคนรุ่นลูกหลานมาใช้ก่อน เพื่อไม่ให้คนรุ่นนี้ต้องลำบาก และ ขัดแย้งกันรุนแรง โดยใช้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการกู้ยืมผ่านพันธบัตรรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยไม่ต้องรอให้ตลาดปรับตัวเองในระยะยาวตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์คลาสสิก ก็ช่วยเหลือประชาชนไปได้มาก ตามประโยคดังก้องโลกของเคนส์ที่ว่า "In the long run, we are all dead." "หากรอให้ถึงระยะยาวเราก็ตายกันหมดแล้ว" แต่หากจะแปลประโยคนี้อย่างประชดประชัน ก็อาจหมายความถึง "ในระยะยาว พวกเรา (คนรุ่นเรา) ก็จะตายกันหมด ส่วนภาระหนี้สาธารณะนั้น ปล่อยให้ลูกหลานไปคิดกันเองในอนาคต"
ทฤษฎีของเคนส์ประสบความสำเร็จอย่างดี ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นๆ เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้นำแนวคิดของเคนส์มาใช้ โดย นาย ทาคาฮาชิ ซึ่งดำรงตำแหน่ง รมว.คลังสมัยนั้น ได้รับฉายา "เคนส์แห่งญี่ปุ่น" นำแนวคิดนี้มาใช้ก่อนประเทศอเมริกาและอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ก่อนที่ความคิดของเคนส์จะออกมาเป็นหนังสือในปี ค.ศ. 1936 และญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกเช่นกันที่ติด "กับดักเคนส์" จน มีหนี้สาธารณะสูงถึงกว่า 200% GDP
แนวคิดของเคนส์นั้น เป็นที่พอใจของรัฐบาลเกือบทั้งโลก เพราะทำให้รัฐสามารถดำเนินการโดยมีเป้าหมายแอบแฝงได้เสมอมา หากจะศึกษาถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของทฤษฎีเคนส์ ผมคิดว่าเราควรศึกษาประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ
ไม่เพียงแต่มุ่งหวังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และช่วยปัญหาการว่างงานเท่านั้น ในสมัยทศวรรษ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้กู้เงินมา เพื่อใช้ในการสร้างแสนยานุภาพทางการทหาร โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ อาณาจักรมหาเอเชียบูรพาอีกด้วย ในช่วง 15 ปีแห่งเศรษฐกิจในห้วงสงคราม มีการใช้เงินการคลังเพื่อการทหารสูงขึ้นเรื่อยๆ จนบางปีสัดส่วนนี้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณ เป้าหมายแฝง คือ ช่วยเหลือนายทุนบริษัทผลิตอาวุธ และอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อการสงคราม เมื่อ รมว.คลัง นายทาคาฮาชิได้เริ่มรู้ว่าหลงกลทหารเข้าแล้ว ก็คิดจะเริ่มปฏิเสธแนวทางกู้เงินมาเพื่อทหาร แต่เขาก็ถูกลอบสังหารอย่างรวดเร็ว
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างประเทศใหม่ ด้วยการทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อสร้างสาธารณูปโภค จนอาจกล่าวได้ว่า มีระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมและทันสมัยที่สุดในโลก หนี้สาธารณะได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเร็ว โดยมีเป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือนายทุนรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่
เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในการสร้างถนนที่ไม่มีรถวิ่ง สร้างสะพานที่ไม่มีรถข้าม ญี่ปุ่นก็หันมากู้เงินเพื่อส่งเสริมในด้านประกันสังคม (เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพ) พร้อมๆ กับกู้เงินมาเพื่อจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรแทน เป้าหมายแฝงเพื่อช่วยเหลือบริษัทยา โรงพยาบาล บริษัทประกันชีวิต และบริษัทจัดการกองทุนรวมต่างๆ
แต่ไม่ว่ายุคใด...นักการเมืองล้วนมีเป้าหมายแฝงเหมือนกัน เพื่อหวังการรั่วไหลของเงินงบประมาณเข้าสู่กระเป๋าตนเอง หรือการทุจริตคอร์รัปชันนั่นเอง
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเคยประสบความสำเร็จกับทฤษฎีของเคนส์มาเป็นอย่างดีอย่างน้อย 3 ครั้ง จากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The Great Depression) วิกฤติความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และวิกฤติราคาน้ำมันในทศวรรษ 1970 แต่เพราะเหตุใดญี่ปุ่นจึงได้ล้มเหลว เมื่อประสบกับปัญหาฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 1991 ประเทศนี้ได้เข้าติด "กับดักเคนส์" โดยสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์จีดีพีต่อปี โดยเศรษฐกิจแทบไม่ได้เติบโตเลย ในช่วงเวลา 18 ปีที่ผ่านมา
ผมคิดว่าเหตุผลสำคัญ ก็คือ "โครงสร้างประชากร" นั่นเอง จากสภาพที่เป็นลักษณะ "พีระมิด" เหมือนประเทศกำลังพัฒนาทั่วๆ ไปในอดีต ปัจจุบันโครงสร้างประชากรได้เปลี่ยนมาเป็น "พีระมิดหัวกลับ" ซึ่งหมายถึง ประชากรผู้สูงอายุได้สูงขึ้นถึง 1 ใน 4 ของทั้งหมด และเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงส่งผลลบ 5 ประการต่อสัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อ GDP 1. เมื่อคนชรามากขึ้น รายได้มีแนวโน้มเติบโตลดลง หมายถึง จีดีพีที่เติบโตช้าลง 2. เมื่อคนชรามากขึ้น การเก็บภาษีทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งคือรายได้ของรัฐบาลลดลง 3. เมื่อคนชรามากขึ้น ต้องมีการใช้จ่ายเพื่องานประกันสังคม อาทิเช่น เบี้ยบำนาญ และประกันสุขภาพที่สูงขึ้นมาก 4. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลก็จะมีการลดหย่อนภาษีเพื่อการออมเงินบำนาญมากขึ้น ทำให้รายได้ภาษีลดลง 5. เมื่อคนชรามากขึ้น รัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรมากขึ้นตาม ให้กับกองทุนบำนาญซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล
หากเหตุผลนี้เป็นจริงแล้ว เราน่าจะคาดการณ์ได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา และยุโรป น่าจะประสบความล้มเหลวกับการใช้ทฤษฎีเคนส์เช่นกัน โดยมีสาเหตุหลัก คือ "โครงสร้างประชากร" ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง ประเทศไทยก็ไม่ควรประมาท เพราะหากเดินตามเส้นทางนี้ สัดส่วนหนี้สินสาธารณะต่อจีดีพี ที่คาดว่าจะสูงสุดที่ 60 เปอร์เซ็นต์นั้น อาจไม่ลดลงตามที่คาดกันไว้ ในทางตรงกันข้ามโอกาสที่จะวิ่งไม่หยุดเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นนั้นน่าจะมีโอกาสสูงกว่า
ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะหากรอบแนวคิดใหม่ เพื่อเป็นทางออกสำรองไว้สำหรับประเทศไทยของเรา "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ซึ่งใช้หลักการยืมพลังศัตรู และรักษาสมดุลหยินหยาง อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมครับ
กับดักประกันสังคม : ยิ่งออมยิ่งจน
กับดักประกันสังคม : ยิ่งออมยิ่งจน
มันเป็นไปได้อย่างไรกันกับเรื่องของ “ยิ่งออมยิ่งจน” พวกเราจะรู้จักเรื่องราวแบบ “ยิ่งออมยิ่งรวย” กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าอ่านสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ ท่านอาจต้องน้ำตาซึมเหมือนผม ซึ่งเป็นความเห็นใจต่อชะตากรรมของผู้ประกันตนที่ต้องติดกับดักของประกันสังคม “ยิ่งออมยิ่งจน” ผมขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายรีบเร่งแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วนก่อนที่จะคนทำงานในระบบจะล้มละลายกันครึ่งประเทศ
ประกันสังคม จะคุ้มครองผู้ประกันตน 7 กรณี แต่หลักๆ แล้ว พวกเราจะรู้จักกันในกรณีของการประกันสุขภาพ และ อุบัติเหตุ อย่างไรก็ดี สำหรับบทความตอนนี้ ผมมุ่งประเด็นไปยัง “กรณีชราภาพ” ซึ่งมีเงินกองทุนสะสมถึงราว 5 แสนล้านบาทเพื่อให้ผู้ประกันตนได้ใช้เงินยามเกษียณ
ยกตัวอย่าง นายพอเพียง ทำงานเป็น รปภ.อายุ 40 ปี เริ่มเข้าระบบประกันสังคม อัตราเงินเดือนที่ 7 พันบาท โดยได้รับเงินเดือนเพิ่มเดือนละ 500 บาทเป็นประจำทุกปีเมื่อผ่านไป 15 ปีเงินเดือนอยู่ที่ 1.4 หมื่นบาท เขาได้โบนัส 2 เดือนทุกปีเช่นกัน นำไปออมในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปีตลอดอายุกรมธรรม์) เขาตั้งใจจะใช้เงินแบบหมดทุกเดือน และนำโบนัสมาเก็บออมเพื่อใช้ยามเกษียณ ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่อยู่ในกรอบพอเพียงตามอัตภาพ
อย่างไรก็ดี เมื่อมีระบบประกันสังคมเข้ามา เขาต้องถูกบังคับออมเงิน 3% และ นายจ้างอีก 3% รวมเป็น 6% เข้าสะสมเป็นเงินออมชราภาพ หมายถึง เดือนละ 420 บาท ที่เขาควรจะดึงเงินออมของตนเองออกมาใช้ได้นั้นก็กลับนำมาใช้ไม่ได้ ต้องถูกบังคับออมกับกองทุนประกันสังคมเอาไว้ เขาจึงไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินแบบสินเชื่อเงินบุคคลเงินด่วน อัตราดอกเบี้ย 28% แทน ด้วยเงินก้อนเดียวกัน
เชื่อหรือไม่ว่า เวลาผ่านไป 15 ปี ยามเขาเกษียณนั้น หากกองทุนประกันสังคมให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 5% ตามคาด นายพอเพียง คนนี้จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพสูงถึง 1.6 แสนบาท นับว่าไม่น้อยเลย แถมยังมีเงินออมในกรมธรรม์ประกันชีวิต 3.8 แสนบาท รวมแล้ว 5.4 แสนบาท เขาน่าจะสบายๆ ใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะว่าเขากลับติดหนี้สินกับสถาบันการเงินทั้งแบงก์ และ นันแบงก์ ถึง 8.8 แสนบาท ด้วยกลไกของดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ยอดหนี้วิ่งเร็วมาก ดังนั้น เขาจึงเกษียณจากงาน ชำระหนี้สินด้วยเงินทั้งหมดที่รับมา พร้อมๆ กับหนี้สินสุทธิที่เหลืออยู่ถึง 3.4 แสนบาท โดยที่อาจไม่มีรายได้เลยในแต่ละเดือน เขาจะอยู่อย่างไร ??
ในทางตรงกันข้าม หากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปล่อยให้เขานำเงินออมตนเองออกมาใช้ได้ทุกเดือน เขาคนนี้ก็จะไม่ต้องติดหนี้สินดอกเบี้ยโหด แต่ละเดือนหมดไปพอดี และ มีเงินออมสุทธิสูงถึง 3.8แสนบาทจากกรมธรรม์ประกันชีวิตยามเกษียณ ซึ่งก็นับว่าดีกว่าระบบปัจจุบันมาก ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบประกันสังคมในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มจะทำให้ผู้ประกันตนส่วนใหญ่จนลง แทนที่ร่ำรวยขึ้น ตามการสร้างภาพที่สวยหรู เพราะราว 75% ของผู้ประกันตนติดหนี้สินอยู่แล้ว
นั่นหมายถึงว่า ทุกบาทของการถูกบังคับออมกับประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนกลุ่มที่ติดหนี้อยู่นี้ ได้รับผลตอบแทนที่ติดลบ 23% (5%-28%) คือ ถูกบังคับออมได้รับผลตอบแทนที่ 5% ต่อปีในเวลาเดียวกันก็ต้องไปกู้ยืมเงินก้อนเดียวกันที่ใช้ไม่พอในแต่ละเดือนต้องเสียดอกเบี้ย 28% ต่อปี สปส. และ กบข. จึงดูเหมือนว่าได้ร่วมมือทางอ้อมกับสถาบันการเงิน เพื่อดูดเอาผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยส่วนต่างนี้ไปจากมือผู้ประกันตนและข้าราชการ ซึ่งลองประเมินดูแล้วตัวเลขสูงนับแสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
ในทางตรงกันข้าม หากคนระดับเศรษฐีออมเงินผ่าน RMF, LTF นั้น ลงเงินตัวเองแค่ 63% ได้รับเงินจากรัฐบาลจากเงินลดหย่อนภาษี 37% และคาดหวังผลตอบแทนจากตลาดหุ้นราวเฉลี่ยปีละ 10% ดังนั้นรวมแล้วได้ 47% จากเงินต้นแค่ 63% นั่นคือได้รับผลตอบแทนการออม ที่ 75% ต่อปี สูงเหลือเชื่อเลยไหม
นี่จึงเป็นความอยุติธรรมอย่างยิ่งยวดในสังคมไทย ไม่เพียงแต่ปล่อยให้รายได้แตกต่างกันเป็นร้อยเท่าตัว แรงงานระดับรากหญ้าได้เงินเดือนแค่เดือนละไม่กี่พันบาท ขณะที่ระดับบริหารชั้นเศรษฐีนั้นได้รับกันหลายแสนหรือเป็นล้านต่อเดือน ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยนโยบายประกันสังคม และ LTF ในปัจจุบันยังตอกย้ำสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมยิ่งขึ้นไปอีกต่อผลตอบแทนการออม การลงทุนของประชาชน โดยผู้ประกันตนระดับรากหญ้าซึ่งติดหนี้สินนั้น ได้รับผลตอบแทนการบังคับออมที่ -23% (ถูกบังคับออมขณะเดียวกันก็ต้องกู้ยืมหนี้สินดอกเบี้ยโหด ดังนั้นยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งออมก็ยิ่งจน) ขณะที่ชนชั้นเศรษฐีรายได้ 4 ล้านบาทต่อปีขึ้นไปนั้น ผลตอบแทนการลงทุนคาดหวังได้ที่ +75% ต่อปี และทำให้คนกลุ่มนี้ออมเงินมากขึ้นและรวยขึ้นเพราะได้ผลตอบแทนสูงมาก แต่ใช้จ่าย ณ ปัจจุบันน้อยลง เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวช้า ขณะที่ผู้ประกันตนรากหญ้าก็ออมเช่นกันแต่เป็นแบบบังคับออม เศรษฐกิจไม่ดีนัก รายได้ของพวกเขาก็ไม่เพิ่มจึงจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้ผลตอบแทนการถูกบังคับออมสุทธิแล้วติดลบ
หากปล่อยให้ระบบนี้ดำเนินต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น....ผู้ประกันตนกว่าครึ่งจาก 9 ล้านคนเศษ ก็จะประสบกับปัญหาการล้มละลายทางการเงินไงครับ เพราะ มือข้างหนึ่งถูกบังคับออมเงินกับ สปส.ได้ 5% ขณะเดียวกันเงินไม่พอก็มืออีกข้างต้องไปกู้ยืมเงินดอกเบี้ย 28% ยิ่งออมกับ สปส.ก็ยิ่งจน ติดลบเรื่อยๆ สุดท้ายก็ล้มละลายทางการเงิน เพราะไม่มีปัญญาหาเงินมาผ่อนหนี้กับสถาบันการเงิน โดยสาเหตุหลักก็เพราะถูกบังคับออมโดยระบบประกันสังคมโดยไม่สามารถดึงเงินตนเองออกมาได้นั่นเอง
ทางแก้ไขนั้นก็มีอยู่แล้วใน “เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก” โดยเปิดสิทธิให้ สปส.ค้ำประกันเงินกู้ของผู้ประกันตนไม่เกิน 9 ส่วนของเงินออมแต่ละบุคคล อัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี ผมใช้ชื่อว่า “สินเชื่อ99” จะช่วยทำให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินออมของตนเองไปเพื่อรีไฟแนนซ์เงินกู้ดอกเบี้ยโหดได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยต่อเดือนไปได้กว่าครึ่ง
ผมขอเรียกร้องรัฐบาลและ บอร์ด สปส. รีบดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเรื่องนี้พวกท่านต้องรีบคืนผลประโยชน์นับแสนล้านบาทต่อปีให้แก่ผู้ประกันตน และ ข้าราชการรายได้น้อย ไม่ใช่ให้สถาบันการเงินมาตักตวงผลประโยชน์ตรงนี้ไปได้อย่างสบายๆ ไม่เพียงแต่ความยุติธรรมที่จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น เงินในมือของประชาชนก็จะเพิ่มขึ้นและช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างดีด้วย พวกท่านสมควรจะต้องรีบพิจารณาเรื่องนี้โดยเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้อีกไม่นาน แรงงานไทยในระบบ หรือผู้ประกันตนอาจต้องประสบกับปัญหาล้มละลายทางการเงินกว่าครึ่งประเทศก็เป็นได้ครับ
มันเป็นไปได้อย่างไรกันกับเรื่องของ “ยิ่งออมยิ่งจน” พวกเราจะรู้จักเรื่องราวแบบ “ยิ่งออมยิ่งรวย” กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าอ่านสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ ท่านอาจต้องน้ำตาซึมเหมือนผม ซึ่งเป็นความเห็นใจต่อชะตากรรมของผู้ประกันตนที่ต้องติดกับดักของประกันสังคม “ยิ่งออมยิ่งจน” ผมขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายรีบเร่งแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วนก่อนที่จะคนทำงานในระบบจะล้มละลายกันครึ่งประเทศ
ประกันสังคม จะคุ้มครองผู้ประกันตน 7 กรณี แต่หลักๆ แล้ว พวกเราจะรู้จักกันในกรณีของการประกันสุขภาพ และ อุบัติเหตุ อย่างไรก็ดี สำหรับบทความตอนนี้ ผมมุ่งประเด็นไปยัง “กรณีชราภาพ” ซึ่งมีเงินกองทุนสะสมถึงราว 5 แสนล้านบาทเพื่อให้ผู้ประกันตนได้ใช้เงินยามเกษียณ
ยกตัวอย่าง นายพอเพียง ทำงานเป็น รปภ.อายุ 40 ปี เริ่มเข้าระบบประกันสังคม อัตราเงินเดือนที่ 7 พันบาท โดยได้รับเงินเดือนเพิ่มเดือนละ 500 บาทเป็นประจำทุกปีเมื่อผ่านไป 15 ปีเงินเดือนอยู่ที่ 1.4 หมื่นบาท เขาได้โบนัส 2 เดือนทุกปีเช่นกัน นำไปออมในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปีตลอดอายุกรมธรรม์) เขาตั้งใจจะใช้เงินแบบหมดทุกเดือน และนำโบนัสมาเก็บออมเพื่อใช้ยามเกษียณ ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่อยู่ในกรอบพอเพียงตามอัตภาพ
อย่างไรก็ดี เมื่อมีระบบประกันสังคมเข้ามา เขาต้องถูกบังคับออมเงิน 3% และ นายจ้างอีก 3% รวมเป็น 6% เข้าสะสมเป็นเงินออมชราภาพ หมายถึง เดือนละ 420 บาท ที่เขาควรจะดึงเงินออมของตนเองออกมาใช้ได้นั้นก็กลับนำมาใช้ไม่ได้ ต้องถูกบังคับออมกับกองทุนประกันสังคมเอาไว้ เขาจึงไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินแบบสินเชื่อเงินบุคคลเงินด่วน อัตราดอกเบี้ย 28% แทน ด้วยเงินก้อนเดียวกัน
เชื่อหรือไม่ว่า เวลาผ่านไป 15 ปี ยามเขาเกษียณนั้น หากกองทุนประกันสังคมให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 5% ตามคาด นายพอเพียง คนนี้จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพสูงถึง 1.6 แสนบาท นับว่าไม่น้อยเลย แถมยังมีเงินออมในกรมธรรม์ประกันชีวิต 3.8 แสนบาท รวมแล้ว 5.4 แสนบาท เขาน่าจะสบายๆ ใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะว่าเขากลับติดหนี้สินกับสถาบันการเงินทั้งแบงก์ และ นันแบงก์ ถึง 8.8 แสนบาท ด้วยกลไกของดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ยอดหนี้วิ่งเร็วมาก ดังนั้น เขาจึงเกษียณจากงาน ชำระหนี้สินด้วยเงินทั้งหมดที่รับมา พร้อมๆ กับหนี้สินสุทธิที่เหลืออยู่ถึง 3.4 แสนบาท โดยที่อาจไม่มีรายได้เลยในแต่ละเดือน เขาจะอยู่อย่างไร ??
ในทางตรงกันข้าม หากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ปล่อยให้เขานำเงินออมตนเองออกมาใช้ได้ทุกเดือน เขาคนนี้ก็จะไม่ต้องติดหนี้สินดอกเบี้ยโหด แต่ละเดือนหมดไปพอดี และ มีเงินออมสุทธิสูงถึง 3.8แสนบาทจากกรมธรรม์ประกันชีวิตยามเกษียณ ซึ่งก็นับว่าดีกว่าระบบปัจจุบันมาก ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบประกันสังคมในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มจะทำให้ผู้ประกันตนส่วนใหญ่จนลง แทนที่ร่ำรวยขึ้น ตามการสร้างภาพที่สวยหรู เพราะราว 75% ของผู้ประกันตนติดหนี้สินอยู่แล้ว
นั่นหมายถึงว่า ทุกบาทของการถูกบังคับออมกับประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนกลุ่มที่ติดหนี้อยู่นี้ ได้รับผลตอบแทนที่ติดลบ 23% (5%-28%) คือ ถูกบังคับออมได้รับผลตอบแทนที่ 5% ต่อปีในเวลาเดียวกันก็ต้องไปกู้ยืมเงินก้อนเดียวกันที่ใช้ไม่พอในแต่ละเดือนต้องเสียดอกเบี้ย 28% ต่อปี สปส. และ กบข. จึงดูเหมือนว่าได้ร่วมมือทางอ้อมกับสถาบันการเงิน เพื่อดูดเอาผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยส่วนต่างนี้ไปจากมือผู้ประกันตนและข้าราชการ ซึ่งลองประเมินดูแล้วตัวเลขสูงนับแสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
ในทางตรงกันข้าม หากคนระดับเศรษฐีออมเงินผ่าน RMF, LTF นั้น ลงเงินตัวเองแค่ 63% ได้รับเงินจากรัฐบาลจากเงินลดหย่อนภาษี 37% และคาดหวังผลตอบแทนจากตลาดหุ้นราวเฉลี่ยปีละ 10% ดังนั้นรวมแล้วได้ 47% จากเงินต้นแค่ 63% นั่นคือได้รับผลตอบแทนการออม ที่ 75% ต่อปี สูงเหลือเชื่อเลยไหม
นี่จึงเป็นความอยุติธรรมอย่างยิ่งยวดในสังคมไทย ไม่เพียงแต่ปล่อยให้รายได้แตกต่างกันเป็นร้อยเท่าตัว แรงงานระดับรากหญ้าได้เงินเดือนแค่เดือนละไม่กี่พันบาท ขณะที่ระดับบริหารชั้นเศรษฐีนั้นได้รับกันหลายแสนหรือเป็นล้านต่อเดือน ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยนโยบายประกันสังคม และ LTF ในปัจจุบันยังตอกย้ำสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมยิ่งขึ้นไปอีกต่อผลตอบแทนการออม การลงทุนของประชาชน โดยผู้ประกันตนระดับรากหญ้าซึ่งติดหนี้สินนั้น ได้รับผลตอบแทนการบังคับออมที่ -23% (ถูกบังคับออมขณะเดียวกันก็ต้องกู้ยืมหนี้สินดอกเบี้ยโหด ดังนั้นยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งออมก็ยิ่งจน) ขณะที่ชนชั้นเศรษฐีรายได้ 4 ล้านบาทต่อปีขึ้นไปนั้น ผลตอบแทนการลงทุนคาดหวังได้ที่ +75% ต่อปี และทำให้คนกลุ่มนี้ออมเงินมากขึ้นและรวยขึ้นเพราะได้ผลตอบแทนสูงมาก แต่ใช้จ่าย ณ ปัจจุบันน้อยลง เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวช้า ขณะที่ผู้ประกันตนรากหญ้าก็ออมเช่นกันแต่เป็นแบบบังคับออม เศรษฐกิจไม่ดีนัก รายได้ของพวกเขาก็ไม่เพิ่มจึงจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้ผลตอบแทนการถูกบังคับออมสุทธิแล้วติดลบ
หากปล่อยให้ระบบนี้ดำเนินต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น....ผู้ประกันตนกว่าครึ่งจาก 9 ล้านคนเศษ ก็จะประสบกับปัญหาการล้มละลายทางการเงินไงครับ เพราะ มือข้างหนึ่งถูกบังคับออมเงินกับ สปส.ได้ 5% ขณะเดียวกันเงินไม่พอก็มืออีกข้างต้องไปกู้ยืมเงินดอกเบี้ย 28% ยิ่งออมกับ สปส.ก็ยิ่งจน ติดลบเรื่อยๆ สุดท้ายก็ล้มละลายทางการเงิน เพราะไม่มีปัญญาหาเงินมาผ่อนหนี้กับสถาบันการเงิน โดยสาเหตุหลักก็เพราะถูกบังคับออมโดยระบบประกันสังคมโดยไม่สามารถดึงเงินตนเองออกมาได้นั่นเอง
ทางแก้ไขนั้นก็มีอยู่แล้วใน “เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก” โดยเปิดสิทธิให้ สปส.ค้ำประกันเงินกู้ของผู้ประกันตนไม่เกิน 9 ส่วนของเงินออมแต่ละบุคคล อัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี ผมใช้ชื่อว่า “สินเชื่อ99” จะช่วยทำให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินออมของตนเองไปเพื่อรีไฟแนนซ์เงินกู้ดอกเบี้ยโหดได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยต่อเดือนไปได้กว่าครึ่ง
ผมขอเรียกร้องรัฐบาลและ บอร์ด สปส. รีบดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเรื่องนี้พวกท่านต้องรีบคืนผลประโยชน์นับแสนล้านบาทต่อปีให้แก่ผู้ประกันตน และ ข้าราชการรายได้น้อย ไม่ใช่ให้สถาบันการเงินมาตักตวงผลประโยชน์ตรงนี้ไปได้อย่างสบายๆ ไม่เพียงแต่ความยุติธรรมที่จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น เงินในมือของประชาชนก็จะเพิ่มขึ้นและช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างดีด้วย พวกท่านสมควรจะต้องรีบพิจารณาเรื่องนี้โดยเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้อีกไม่นาน แรงงานไทยในระบบ หรือผู้ประกันตนอาจต้องประสบกับปัญหาล้มละลายทางการเงินกว่าครึ่งประเทศก็เป็นได้ครับ
กับดักเงินยูโร
กับดักเงินยูโร
เงินยูโร เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม คศ.1999 คือ สกุลเงินที่ประเทศในเขตยูโรโซนปัจจุบันมี 16 ประเทศจากสมาชิก EU 27 ประเทศ ตัดสินใจนำใช้เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าขายโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ในเขตยูโรโซน สกุลเงินนี้ครอบคลุมประชากรถึง 327 ล้านคนในยุโรป อีก 175 ล้านคนนอกเขตยุโรป นอกจากนี้ ยูโรโซนมีขนาดของเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา และหากรวมเศรษฐกิจทั้ง EU จะมีขนาดถึง 18 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งใหญ่กว่า สหรัฐอเมริกาเสียอีก อย่างไรก็ดี เมื่อใช้เงินสกุลนี้มาได้ราว 10 ปีเราเริ่มได้เห็นถึง “ด้านมืด” ของการใช้เงินสกุลเดียวได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
เมื่อฟิตซ์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของ “กรีซ” ลงสู่ระดับ BBB- จากระดับ A- เป็นการลดระดับความน่าเชื่อถือในรอบ 10 ปี และ เป็นครั้งแรกของกรีซที่ถูกลดระดับลงต่ำกว่า A นอกจากนี้ S&P ยังให้มุมมอง “เชิงลบ” จาก “ทรงตัว” ต่อประเทศสเปนอีกด้วย หลังจากปรับลดเครดิตจาก AAA เป็น AA+ มาตั้งแต่ต้นปีเดือน มกราคม 2009
ทำไมประเทศที่ดูเหมือนแข็งแกร่งเหล่านี้จึงได้ประสบปัญหาในเรื่องของเครดิตได้ เมื่อมองย้อนหลังไปดูก็จะพบว่าวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไม่ใหญ่นัก มักจะมีต้นเหตุหลักมาจาก “ระบบอัตราแลกเปลี่ยน” นั่นเอง โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนานเกินไป ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและต่อเนื่องหลายปี และ ในที่สุดความเชื่อมั่นก็ถดถอยจนเกิดการถอนเงินตราต่างประเทศออกอย่างเร็ว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับประเทศเม็กซิโก ในปี คศ.1994 ประเทศไทย (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ในปี คศ.1997 และ ประเทศอาร์เจนตินา ในปี 2002
ค่าเงินยูโรได้แข็งขึ้นอย่างเร็วจากระดับ 1 ยูโร ราว 0.8 ดอลลาร์ในปี คศ.2002 เป็น 1.6 ดอลลาร์ ในปี 2008 ได้เพิ่ม GDP ของประเทศในกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยประเทศกรีซ และ สเปน มี GDP ที่สูงขึ้นกว่า 150% คิดตามเหรียญ สรอ. ในระยะเวลา 7 ปี จนถึงปี 2008 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเติบโตขึ้นราว 40% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่แข็งค่าอย่างเร็วนี้ได้ทำให้ความสามารถแข่งขันในการส่งออก และท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นเกิดการนำเข้าสินค้าต่างๆ เข้ามามากมาย จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างหนักเป็นสัดส่วนถึงกว่า 10% GDP สำหรับประเทศกรีซ ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้ว และ สำหรับประเทศสเปน ก็ขาดดุลมากกว่า 7% มานาน 4 ปีแล้วเช่นกัน ในขณะที่ประเทศแกนกลางของเขตยูโร อย่าง ออสเตรีย เยอรมัน และ ฝรั่งเศส กลับไม่พบปัญหานี้
ประเทศริมขอบของเขตยูโร อย่าง กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี ต่างก็ต้องประสบกับปัญหาการที่ต้องพยายามประคองเศรษฐกิจให้ได้ ภายใต้สภาวะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า ประเทศเหล่านี้ได้ติด “กับดักเงินยูโร” เข้าแล้วโดยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างสูง บางประเทศอย่างสเปน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% บางประเทศอย่างอิตาลี ก็มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่า 100% ค่าเงินยูโรนี้จะเคลื่อนไหวอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่กว่าอย่าง เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของโลกเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงินยูโรยังถูกซื้อเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ซึ่งมีความเสี่ยงของการอ่อนค่า
หากเป็นประเทศอย่าง เม็กซิโก ไทย หรืออาร์เจนตินา ก็คือ การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างเร็ว และ ดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมา เศรษฐกิจจะตกต่ำไปราว 2-3 ปี จากนั้นก็เริ่มยืนได้และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ ใช้ค่าเงินยูโรอยู่แล้ว จะลดค่าเงินลงมาก็ไม่ได้ จะมีทางออกที่สวยงามสำหรับประเทศเหล่านี้หรือไม่
1. กลับไปใช้เงินตราสกุลดั้งเดิมก่อนใช้ยูโร ก็คือยอมแพ้ไม่สามารถเกาะค่าเงินตาม “ยูโร” ไปได้ ปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง เพื่อดึงสมดุลการค้ากลับมา
2. ทำทุกวิถีทางเพื่อให้เงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว อาจจะลงมากกว่า 15-20% เพื่อให้ภาระหนี้ของประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ลดลง และ เพื่อดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมาได้
3. รวมตัวกันจัดตั้งเงินสกุลใหม่ ผมขอใช้ชื่อ “ยูร่า” (EURA) ก็แล้วกัน เป็นค่าเงินที่จะอ่อนค่ากว่า “ยูโร” เพื่อให้ประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่งนัก มีเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศเยอรมัน ได้มาเลือกใช้กัน ตอนแรกอาจปรับค่าให้ต่ำกว่า ยูโรราว 10% จากนั้นก็อาจใช้ระบบ crawling peg เพื่อเกาะค่ากับ “ยูโร” แต่ยอมให้อ่อนค่าลงทีละน้อย ประเทศที่แข็งแกร่งทีม A ก็ใช้ “ยูโร” กันไป ส่วนประเทศที่พื้นฐานไม่ค่อยไหวอยู่ทีม B ก็อาจเลือกมาใช้ “ยูร่า” แทน โดยประเทศอังกฤษก็อาจสนใจเข้าร่วมในเครือข่ายนี้ด้วยก็เป็นได้
ระบบเงินสกุลเดียวที่เคยดูเหมือนจะสดใสในอดีต เมื่อใช้มาย่างเข้าปีที่ 10 เริ่มพบว่ามี “ด้านมืด” แล้ว สำหรับเอเชียก็เช่นกัน ไม่ควรนำแนวคิดเงินสกุลเดียวมาใช้เลย เพราะ พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และดุลบัญชีเดินสะพัด
สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น ก็ต้องคอยติดตามดูว่า พวกเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้หลุดพ้นจาก “กับดักเงินยูโร” ไปได้ ซึ่งหากบริหารจัดการแก้ไขปัญหาไม่ดีนัก ค่าเงินยูโรก็อาจดิ่งลงได้ถึง 20% ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อหรือ GDP ของโลกจะลดลงถึง 6% คิดเป็นดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในที่สุดแล้วอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ครับ
เงินยูโร เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม คศ.1999 คือ สกุลเงินที่ประเทศในเขตยูโรโซนปัจจุบันมี 16 ประเทศจากสมาชิก EU 27 ประเทศ ตัดสินใจนำใช้เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าขายโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ในเขตยูโรโซน สกุลเงินนี้ครอบคลุมประชากรถึง 327 ล้านคนในยุโรป อีก 175 ล้านคนนอกเขตยุโรป นอกจากนี้ ยูโรโซนมีขนาดของเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา และหากรวมเศรษฐกิจทั้ง EU จะมีขนาดถึง 18 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งใหญ่กว่า สหรัฐอเมริกาเสียอีก อย่างไรก็ดี เมื่อใช้เงินสกุลนี้มาได้ราว 10 ปีเราเริ่มได้เห็นถึง “ด้านมืด” ของการใช้เงินสกุลเดียวได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
เมื่อฟิตซ์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของ “กรีซ” ลงสู่ระดับ BBB- จากระดับ A- เป็นการลดระดับความน่าเชื่อถือในรอบ 10 ปี และ เป็นครั้งแรกของกรีซที่ถูกลดระดับลงต่ำกว่า A นอกจากนี้ S&P ยังให้มุมมอง “เชิงลบ” จาก “ทรงตัว” ต่อประเทศสเปนอีกด้วย หลังจากปรับลดเครดิตจาก AAA เป็น AA+ มาตั้งแต่ต้นปีเดือน มกราคม 2009
ทำไมประเทศที่ดูเหมือนแข็งแกร่งเหล่านี้จึงได้ประสบปัญหาในเรื่องของเครดิตได้ เมื่อมองย้อนหลังไปดูก็จะพบว่าวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไม่ใหญ่นัก มักจะมีต้นเหตุหลักมาจาก “ระบบอัตราแลกเปลี่ยน” นั่นเอง โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนานเกินไป ทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและต่อเนื่องหลายปี และ ในที่สุดความเชื่อมั่นก็ถดถอยจนเกิดการถอนเงินตราต่างประเทศออกอย่างเร็ว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับประเทศเม็กซิโก ในปี คศ.1994 ประเทศไทย (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ในปี คศ.1997 และ ประเทศอาร์เจนตินา ในปี 2002
ค่าเงินยูโรได้แข็งขึ้นอย่างเร็วจากระดับ 1 ยูโร ราว 0.8 ดอลลาร์ในปี คศ.2002 เป็น 1.6 ดอลลาร์ ในปี 2008 ได้เพิ่ม GDP ของประเทศในกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยประเทศกรีซ และ สเปน มี GDP ที่สูงขึ้นกว่า 150% คิดตามเหรียญ สรอ. ในระยะเวลา 7 ปี จนถึงปี 2008 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเติบโตขึ้นราว 40% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่แข็งค่าอย่างเร็วนี้ได้ทำให้ความสามารถแข่งขันในการส่งออก และท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นเกิดการนำเข้าสินค้าต่างๆ เข้ามามากมาย จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างหนักเป็นสัดส่วนถึงกว่า 10% GDP สำหรับประเทศกรีซ ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้ว และ สำหรับประเทศสเปน ก็ขาดดุลมากกว่า 7% มานาน 4 ปีแล้วเช่นกัน ในขณะที่ประเทศแกนกลางของเขตยูโร อย่าง ออสเตรีย เยอรมัน และ ฝรั่งเศส กลับไม่พบปัญหานี้
ประเทศริมขอบของเขตยูโร อย่าง กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี ต่างก็ต้องประสบกับปัญหาการที่ต้องพยายามประคองเศรษฐกิจให้ได้ ภายใต้สภาวะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า ประเทศเหล่านี้ได้ติด “กับดักเงินยูโร” เข้าแล้วโดยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างสูง บางประเทศอย่างสเปน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% บางประเทศอย่างอิตาลี ก็มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่า 100% ค่าเงินยูโรนี้จะเคลื่อนไหวอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่กว่าอย่าง เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของโลกเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงินยูโรยังถูกซื้อเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ซึ่งมีความเสี่ยงของการอ่อนค่า
หากเป็นประเทศอย่าง เม็กซิโก ไทย หรืออาร์เจนตินา ก็คือ การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างเร็ว และ ดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมา เศรษฐกิจจะตกต่ำไปราว 2-3 ปี จากนั้นก็เริ่มยืนได้และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ ใช้ค่าเงินยูโรอยู่แล้ว จะลดค่าเงินลงมาก็ไม่ได้ จะมีทางออกที่สวยงามสำหรับประเทศเหล่านี้หรือไม่
1. กลับไปใช้เงินตราสกุลดั้งเดิมก่อนใช้ยูโร ก็คือยอมแพ้ไม่สามารถเกาะค่าเงินตาม “ยูโร” ไปได้ ปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลง เพื่อดึงสมดุลการค้ากลับมา
2. ทำทุกวิถีทางเพื่อให้เงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว อาจจะลงมากกว่า 15-20% เพื่อให้ภาระหนี้ของประเทศริมขอบยูโรโซนเหล่านี้ลดลง และ เพื่อดึงสมดุลการค้าให้กลับคืนมาได้
3. รวมตัวกันจัดตั้งเงินสกุลใหม่ ผมขอใช้ชื่อ “ยูร่า” (EURA) ก็แล้วกัน เป็นค่าเงินที่จะอ่อนค่ากว่า “ยูโร” เพื่อให้ประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่งนัก มีเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศเยอรมัน ได้มาเลือกใช้กัน ตอนแรกอาจปรับค่าให้ต่ำกว่า ยูโรราว 10% จากนั้นก็อาจใช้ระบบ crawling peg เพื่อเกาะค่ากับ “ยูโร” แต่ยอมให้อ่อนค่าลงทีละน้อย ประเทศที่แข็งแกร่งทีม A ก็ใช้ “ยูโร” กันไป ส่วนประเทศที่พื้นฐานไม่ค่อยไหวอยู่ทีม B ก็อาจเลือกมาใช้ “ยูร่า” แทน โดยประเทศอังกฤษก็อาจสนใจเข้าร่วมในเครือข่ายนี้ด้วยก็เป็นได้
ระบบเงินสกุลเดียวที่เคยดูเหมือนจะสดใสในอดีต เมื่อใช้มาย่างเข้าปีที่ 10 เริ่มพบว่ามี “ด้านมืด” แล้ว สำหรับเอเชียก็เช่นกัน ไม่ควรนำแนวคิดเงินสกุลเดียวมาใช้เลย เพราะ พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และดุลบัญชีเดินสะพัด
สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น ก็ต้องคอยติดตามดูว่า พวกเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้หลุดพ้นจาก “กับดักเงินยูโร” ไปได้ ซึ่งหากบริหารจัดการแก้ไขปัญหาไม่ดีนัก ค่าเงินยูโรก็อาจดิ่งลงได้ถึง 20% ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อหรือ GDP ของโลกจะลดลงถึง 6% คิดเป็นดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในที่สุดแล้วอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ครับ
อย่ามัวแต่ "ดู-ไบ" จนเผลไผลลืม "ดู-ญวน"
อย่ามัวแต่ “ดู-ไบ” จนเผลอไผลลืม “ดู-ญวน”
การประกาศเลื่อนการชำระหนี้ราว 5.9 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.ไป 6 เดือนของดูไบเวิลด์ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงิน ตลาดหุ้น และ ทองคำไปทั่วโลก แต่อันที่จริงแล้วยังมีอีกเรื่องนี้ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน และ อาจถูกมองข้าไปก็คือ การประกาศลดค่าเงินด่องลง 5.4% และมีแนวโน้มจะลดค่าเงินลงได้อีกในอนาคต รัฐดูไบนั้นประชากรราว 1.2 ล้านคน ขณะที่เวียดนามมีประชากรถึง 87 ล้านคน และ อยู่ในภูมิภาคอาเซียนเพื่อนบ้านของไทยนี่เอง
เศรษฐกิจเวียดนาม ถือได้ว่าเป็น “มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” ของโลกประเทศหนึ่ง ที่สามารถดึงดูดการลงทุน และสร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 20 ปี เศรษฐกิจของที่นี่เติบโตขึ้นสูงถึง 10 เท่าตัว และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า 6% อย่างต่อเนื่องนานหลายปี แต่หากนั่นคือ ภาคที่ 1 แล้ว เรามักจะเห็นภาคที่ 2 หรือ “หายนะทางเศรษฐกิจ” ติดตามมาอยู่เสมอ ซึ่งเป็นบทเรียนฟองสบู่แตกใน “ญี่ปุ่น” “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในประเทศไทย “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ของอเมริกา และ ล่าสุดก็คือวิกฤติหนี้สินในดูไบ ทำไมเราจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในเวียดนาม ซึ่งอาจเป็นลูกระเบิดเวลาลูกต่อไปที่พร้อมจะดึงเศรษฐกิจเอเชียทั้งภูมิภาคลงมาอีกครั้ง
เวียดนามกำลังเดินอยู่บนถนนที่ “ไร้ความพอเพียง” ทะเยอทะยานเป็นอย่างมาก เศรษฐกิจปีนี้คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ถึงกว่า 5% แม้ประเทศส่วนใหญ่จะเอเชียรวมทั้งไทยจะเติบโตติดลบกันเป็นแถว สภาของเวียดนามได้ผ่านอภิมหาโครงการ 2 อย่าง คือ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะทาง 1550 กม.ซึ่งต้องใช้เงินทุนถึง 5.6 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. และ โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู 1.8 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. เพียงงบประมาณใน 2 เรื่องนี้ก็มีมูลค่าถึง 7.4 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. หรือราวๆ 80% ของจีดีพีเวียดนามเข้าไปแล้ว ถ้าเปรียบเทียบขนาดกับประเทศไทย ก็เหมือนกับมีการประกาศ 2 โครงการใหญ่ ขนาดราวๆ 7 ล้านล้านบาท เมื่อดูแล้วทำให้ “ไทยเข้มแข็ง” 1.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย
เวียดนามได้เดินอย่างเร็วจนมาถึงขอบหน้าผาแล้ว โดยมีอยู่หลายประการที่มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศไทยก่อนเกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” เป็นอย่างมาก
1. ขาดดุลการค้าอย่างหนักและต่อเนื่อง : เวียดนามได้ขาดดุลการค้าอย่างหนักกว่า 10% GDP มาตั้งแต่ปี 2550 และในปีนี้ก็เข้าปีที่ 3แล้ว แม้ว่าในช่วง 4 เดือนแรก เศรษฐกิจเวียดนามจะชะลอตัวลงบ้างทำให้ได้ดุลการค้าเป็นบวกราว 800 ล้านเหรียญ แต่ในช่วงเดือนล่าสุดคือ เดือนต.ค.นั้น เพียงเดือนเดียวกลับมีการขาดดุลการค้าสูงถึง 1.9 พันล้านเหรียญ สรอ. หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป เวียดนามอาจขาดดุลการค้าได้ถึง 2 หมื่นล้านเหรียญต่อปี หรือสูงกว่า 20% ของ GDP (GDP เวียดนามตกราว 9 หมื่นล้านเหรียญสรอ.)
2. ขาดดุลการคลังอย่างหนัก : มีการทำขาดดุลการคลังอย่างหนักเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 9% GDP ทั้งๆที่เวียดนามควรดำเนินนโยบายเพื่อชะลอเศรษฐกิจมากกว่า การทำเช่นนี้จึงเกิดการขาดดุลคู่แฝด ทั้ง ดุลการคลัง และ ดุลการค้า สิ่งนี้กำลังบอกว่าเวียดนาม กำลังตกอยู่ในปัญหาของ การลงทุนเกินตัว (over investment) หรือภาวะฟองสบู่นั่นเอง
3. ปริมาณเงินและสินเชื่อเติบโตสูงมากและต่อเนื่อง : แม้เศรษฐกิจทั่วโลกจะชะลอตัว สินเชื่อของไทยลดลงเล็กน้อย แต่ในเวียดนามสินเชื่อกลับมีการเติบโตสูงถึง 35% ซึ่งก็ไม่แตกต่างนักการเพิ่มของปริมาณเงิน (M2) และสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกันมานานหลายปีแล้ว
4. เวียดนามมีการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 42% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราทีสูงทีสุดในโลกประเทศหนึ่งเลยทีเดียว เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับไทยเช่นเดียวกันก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง
5. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ยืดหยุ่น : เวียดนามได้ผูกค่าเงินกับดอลลาร์ โดยมีการปรับให้อ่อนค่าลงเล็กน้อยเป็นระยะ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามบางปีสูงกว่า 20% ขึ้นไป ค่าเงินด่องที่ควรจะอ่อนค่าในระดับเดียวกับอัตราเงินเฟ้อตามทฤษฎีนั้นกลับปรับตัวไม่ทัน ทำให้ค่าเงินของเวียดนามมีแนวโน้มจะยืนค่าสูงกว่าความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ ซึ่งสะท้อนจากค่าเงินในตลาดมืดที่ด่องอ่อนค่ากว่าอัตราทางการ และ ทำให้เกิดภาวะความไม่เชื่อมั่นในค่าเงิน รวมไปถึงการขาดดุลการค้าจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ประชาชนได้ซื้อทองคำ และ ดอลลาร์เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรอีกด้วย
สิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำก็คือ ส่งสัญญาณการเตือนภัยไปยังเวียดนาม ขอให้ระมัดระวังการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ และ พร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไปให้คำแนะนำแก่เวียดนาม เพื่อช่วยเหลือให้เศรษฐกิจของเวียดนาม และ อาเซียนเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดีไม่สะดุดวิกฤติเศรษฐกิจใดๆ อีก โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2553 ไปนั้น เวียดนามจะรับไม้ต่อจากไทย กลายเป็น “ประธานอาเซียน” โดยสลับเปลี่ยนกันเป็นประธานเรียงตามตัวอักษร หากเศรษฐกิจเวียดนามมีปัญหาหนักจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่ออาเซียนทั้งภูมิภาคได้
ทางออกของเวียดนามยังคงมีหรือไม่....ยังอาจพอเป็นไปได้อยู่ แต่เวียดนามต้องยอมรับก่อนว่า เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปตอนนี้คือ “ปัญหา” เมื่อยอมรับปัญหานั้น ก็ต้องยอมกลืนเลือด กดเศรษฐกิจให้เย็นลงอย่างเร็ว ด้วยการหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจทุกรูปแบบต้องลดการขาดดุลการคลังลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปล่อยให้ค่าเงินด่องสะท้อนความเป็นจริง ซึ่งน่าจะเป็นตามราคาตลาดมืด (อ่อนกว่าอัตราทางการอยู่ราว 10%) และ ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ต้องดูแลสินเชื่อต่างๆ ไม่ให้เติบโตมากเกินไป พยายามทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่ำระดับ 3-4% ราว 2 ปีก็น่าจะทำให้เวียดนามเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่สะดุด และ สิ่งสุดท้ายก็คือ ขอความร่วมมือจาก จีนให้มีการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น เพื่อช่วยเหลือการส่งออกของเวียดนาม และ ลดการนำเข้าจากจีน เพื่อช่วยดุลการค้าที่นับวันจะแย่ลงของเวียดนามให้ปรับสู่สมดุลโดยเร็ว แต่หากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว ภายในปีหน้า 2553 ที่จะถึงนี้ เราก็อาจเห็นเวียดนาม เดินซ้ำรอย “ต้มยำกุ้ง” ของไทยไม่ยาก ฟองสบู่แตก ค่าเงินด่องอาจดิ่งเหว ซึ่งจะกระทบกับการส่งออกสินค้าเกษตร และ สิ่งทอของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไม่นับถึงความเสียหายจากการปล่อยกู้ และ การลงทุนที่เวียดนามของไทยอีกนับแสนล้านบาท
ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่ายังทันเวลาที่เวียดนามจะเลือกทางออกที่สวยงาม และ รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ไปได้ครับ
การประกาศเลื่อนการชำระหนี้ราว 5.9 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.ไป 6 เดือนของดูไบเวิลด์ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงิน ตลาดหุ้น และ ทองคำไปทั่วโลก แต่อันที่จริงแล้วยังมีอีกเรื่องนี้ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน และ อาจถูกมองข้าไปก็คือ การประกาศลดค่าเงินด่องลง 5.4% และมีแนวโน้มจะลดค่าเงินลงได้อีกในอนาคต รัฐดูไบนั้นประชากรราว 1.2 ล้านคน ขณะที่เวียดนามมีประชากรถึง 87 ล้านคน และ อยู่ในภูมิภาคอาเซียนเพื่อนบ้านของไทยนี่เอง
เศรษฐกิจเวียดนาม ถือได้ว่าเป็น “มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” ของโลกประเทศหนึ่ง ที่สามารถดึงดูดการลงทุน และสร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 20 ปี เศรษฐกิจของที่นี่เติบโตขึ้นสูงถึง 10 เท่าตัว และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า 6% อย่างต่อเนื่องนานหลายปี แต่หากนั่นคือ ภาคที่ 1 แล้ว เรามักจะเห็นภาคที่ 2 หรือ “หายนะทางเศรษฐกิจ” ติดตามมาอยู่เสมอ ซึ่งเป็นบทเรียนฟองสบู่แตกใน “ญี่ปุ่น” “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในประเทศไทย “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ของอเมริกา และ ล่าสุดก็คือวิกฤติหนี้สินในดูไบ ทำไมเราจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในเวียดนาม ซึ่งอาจเป็นลูกระเบิดเวลาลูกต่อไปที่พร้อมจะดึงเศรษฐกิจเอเชียทั้งภูมิภาคลงมาอีกครั้ง
เวียดนามกำลังเดินอยู่บนถนนที่ “ไร้ความพอเพียง” ทะเยอทะยานเป็นอย่างมาก เศรษฐกิจปีนี้คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ถึงกว่า 5% แม้ประเทศส่วนใหญ่จะเอเชียรวมทั้งไทยจะเติบโตติดลบกันเป็นแถว สภาของเวียดนามได้ผ่านอภิมหาโครงการ 2 อย่าง คือ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะทาง 1550 กม.ซึ่งต้องใช้เงินทุนถึง 5.6 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. และ โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู 1.8 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. เพียงงบประมาณใน 2 เรื่องนี้ก็มีมูลค่าถึง 7.4 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. หรือราวๆ 80% ของจีดีพีเวียดนามเข้าไปแล้ว ถ้าเปรียบเทียบขนาดกับประเทศไทย ก็เหมือนกับมีการประกาศ 2 โครงการใหญ่ ขนาดราวๆ 7 ล้านล้านบาท เมื่อดูแล้วทำให้ “ไทยเข้มแข็ง” 1.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย
เวียดนามได้เดินอย่างเร็วจนมาถึงขอบหน้าผาแล้ว โดยมีอยู่หลายประการที่มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศไทยก่อนเกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” เป็นอย่างมาก
1. ขาดดุลการค้าอย่างหนักและต่อเนื่อง : เวียดนามได้ขาดดุลการค้าอย่างหนักกว่า 10% GDP มาตั้งแต่ปี 2550 และในปีนี้ก็เข้าปีที่ 3แล้ว แม้ว่าในช่วง 4 เดือนแรก เศรษฐกิจเวียดนามจะชะลอตัวลงบ้างทำให้ได้ดุลการค้าเป็นบวกราว 800 ล้านเหรียญ แต่ในช่วงเดือนล่าสุดคือ เดือนต.ค.นั้น เพียงเดือนเดียวกลับมีการขาดดุลการค้าสูงถึง 1.9 พันล้านเหรียญ สรอ. หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป เวียดนามอาจขาดดุลการค้าได้ถึง 2 หมื่นล้านเหรียญต่อปี หรือสูงกว่า 20% ของ GDP (GDP เวียดนามตกราว 9 หมื่นล้านเหรียญสรอ.)
2. ขาดดุลการคลังอย่างหนัก : มีการทำขาดดุลการคลังอย่างหนักเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 9% GDP ทั้งๆที่เวียดนามควรดำเนินนโยบายเพื่อชะลอเศรษฐกิจมากกว่า การทำเช่นนี้จึงเกิดการขาดดุลคู่แฝด ทั้ง ดุลการคลัง และ ดุลการค้า สิ่งนี้กำลังบอกว่าเวียดนาม กำลังตกอยู่ในปัญหาของ การลงทุนเกินตัว (over investment) หรือภาวะฟองสบู่นั่นเอง
3. ปริมาณเงินและสินเชื่อเติบโตสูงมากและต่อเนื่อง : แม้เศรษฐกิจทั่วโลกจะชะลอตัว สินเชื่อของไทยลดลงเล็กน้อย แต่ในเวียดนามสินเชื่อกลับมีการเติบโตสูงถึง 35% ซึ่งก็ไม่แตกต่างนักการเพิ่มของปริมาณเงิน (M2) และสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกันมานานหลายปีแล้ว
4. เวียดนามมีการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 42% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราทีสูงทีสุดในโลกประเทศหนึ่งเลยทีเดียว เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับไทยเช่นเดียวกันก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง
5. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ยืดหยุ่น : เวียดนามได้ผูกค่าเงินกับดอลลาร์ โดยมีการปรับให้อ่อนค่าลงเล็กน้อยเป็นระยะ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามบางปีสูงกว่า 20% ขึ้นไป ค่าเงินด่องที่ควรจะอ่อนค่าในระดับเดียวกับอัตราเงินเฟ้อตามทฤษฎีนั้นกลับปรับตัวไม่ทัน ทำให้ค่าเงินของเวียดนามมีแนวโน้มจะยืนค่าสูงกว่าความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ ซึ่งสะท้อนจากค่าเงินในตลาดมืดที่ด่องอ่อนค่ากว่าอัตราทางการ และ ทำให้เกิดภาวะความไม่เชื่อมั่นในค่าเงิน รวมไปถึงการขาดดุลการค้าจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ประชาชนได้ซื้อทองคำ และ ดอลลาร์เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรอีกด้วย
สิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำก็คือ ส่งสัญญาณการเตือนภัยไปยังเวียดนาม ขอให้ระมัดระวังการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ และ พร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไปให้คำแนะนำแก่เวียดนาม เพื่อช่วยเหลือให้เศรษฐกิจของเวียดนาม และ อาเซียนเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดีไม่สะดุดวิกฤติเศรษฐกิจใดๆ อีก โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2553 ไปนั้น เวียดนามจะรับไม้ต่อจากไทย กลายเป็น “ประธานอาเซียน” โดยสลับเปลี่ยนกันเป็นประธานเรียงตามตัวอักษร หากเศรษฐกิจเวียดนามมีปัญหาหนักจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่ออาเซียนทั้งภูมิภาคได้
ทางออกของเวียดนามยังคงมีหรือไม่....ยังอาจพอเป็นไปได้อยู่ แต่เวียดนามต้องยอมรับก่อนว่า เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปตอนนี้คือ “ปัญหา” เมื่อยอมรับปัญหานั้น ก็ต้องยอมกลืนเลือด กดเศรษฐกิจให้เย็นลงอย่างเร็ว ด้วยการหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจทุกรูปแบบต้องลดการขาดดุลการคลังลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปล่อยให้ค่าเงินด่องสะท้อนความเป็นจริง ซึ่งน่าจะเป็นตามราคาตลาดมืด (อ่อนกว่าอัตราทางการอยู่ราว 10%) และ ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ต้องดูแลสินเชื่อต่างๆ ไม่ให้เติบโตมากเกินไป พยายามทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่ำระดับ 3-4% ราว 2 ปีก็น่าจะทำให้เวียดนามเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่สะดุด และ สิ่งสุดท้ายก็คือ ขอความร่วมมือจาก จีนให้มีการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น เพื่อช่วยเหลือการส่งออกของเวียดนาม และ ลดการนำเข้าจากจีน เพื่อช่วยดุลการค้าที่นับวันจะแย่ลงของเวียดนามให้ปรับสู่สมดุลโดยเร็ว แต่หากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว ภายในปีหน้า 2553 ที่จะถึงนี้ เราก็อาจเห็นเวียดนาม เดินซ้ำรอย “ต้มยำกุ้ง” ของไทยไม่ยาก ฟองสบู่แตก ค่าเงินด่องอาจดิ่งเหว ซึ่งจะกระทบกับการส่งออกสินค้าเกษตร และ สิ่งทอของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไม่นับถึงความเสียหายจากการปล่อยกู้ และ การลงทุนที่เวียดนามของไทยอีกนับแสนล้านบาท
ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่ายังทันเวลาที่เวียดนามจะเลือกทางออกที่สวยงาม และ รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ไปได้ครับ
เศรษฐกิจปี 53 อย่าย่ามใจว่าสดใสแน่
ตามที่มีการคาดการณ์โดยทั่วไปทั้งจากภาครัฐ และ เอกชนว่าเศรษฐกิจปี 2553 นั้นจะเติบโตได้สูงระดับ 3.5%-4% ได้ไม่ยากเย็น แต่เหตุใดเราจึงควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันอาจไม่เป็นเช่นนั้น แม้จะยังไม่นำเอาผลกระทบทางลบจากการเมืองเข้าไปรวมด้วยก็ตาม
GDP = C+I+G+(X-M) คือ สมการของ GDP ซึ่งเราจะมาดูกันทีละตัว
การบริโภคภาคเอกชน (C) แม้ว่าจะดูเหมือนมีการฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มเร่งตัวอย่างชัดเจน เป็นนโยบายการเงินที่จะติดเบรกกับการฟื้นตัวนี้ ไม่เพียงเท่านั้น การส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะกลับไปเป็น 5% จากที่เคยลดลงมาเหลือ 3% ของรายได้ทุกเดือนทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ในมือลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท และ หากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ผ่านสภาออกมาได้ก็จะดูดเงินออมเข้าไปได้ถึง 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ยอดเงิน 2 ส่วนนี้เงินซึ่งเป็นกำลังซื้อของประชาชนจะหายไป 7.5 หมื่นล้าน หรืออาจกระทบกับ GDP ได้ถึง 1.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้เงินกำลังซื้อก็ถูกดูดกับกองทุนเงินออมอย่าง RMF และ LTF ไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ซึ่งเป็นการโยนเงินภาษีของชาติไปช่วยเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนให้คนระดับเศรษฐี ทำให้พวกเขาออมเงินมากไป พลอยทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง และ เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวดีนัก
ด้านการลงทุนภาคเอกชน (I) นั้น หลังจากได้รับผลกระทบกรณีมาบตาพุด ทำให้ 65 โครงการยอดเงินระดับ 2 แสนล้านบาท ต้องหยุดชะงัก ซึ่งยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีก จากการที่ต่างชาติได้เปลี่ยนใจพับแผนการเข้าลงทุนในไทยไปหลายโครงการแล้ว ยังไม่รวมถึงการที่สมาคมต่อต้านโลกร้อนจะฟ้องศาลปกครองอีกถึง 181 โครงการ ซึ่งจะกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนได้อย่างมาก โดยอัตราการใช้กำลังผลิตก็ยังต่ำระดับ 65% เท่านั้น ไม่เอื้อต่อการขยายกำลังการผลิตเท่าใดนัก
เมื่อภาครัฐ ส่งเสริมการออมเพื่ออนาคต เหรียญอีกด้านก็สะท้อนมาที่ การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ลดลงในปัจจุบัน เมื่อรัฐจำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพของประชาชน เหรียญอีกด้านก็สะท้อนมาที่ การลงทุนภาคเอกชนในอุตสาหกรรมหนักที่ลดลง สรุปก็คือ การออม และ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญในระยะยาว แต่ในระยะสั้นๆ นั้นกลับส่งผลทางลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยได้
การใช้จ่ายภาครัฐ (G) เป็นเรื่องที่ควรจะหวังได้หรือไม่ ยังมีประเด็น 3ก. “กู้-กลัว-โกง” ที่ต้องพิจารณาซึ่งอาจทำให้การอนุมัติ และ เบิกจ่ายล่าช้าออกไปได้
กู้ : เมื่อเงินคงคลังไม่พอ ก็จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย พรก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทได้ผ่านไปแล้ว แต่ไทยก็ยังคงต้องระมัดระวังต่อการสร้างหนี้สาธารณะต่อ จีดีพี สูงกว่าเป้าหมาย 60% ได้ โดยในระยะยาวแล้ว สังคมผู้สูงอายุจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขนี้จะสูงขึ้นต่อเนื่องและหยุดไม่ค่อยได้
กลัว : มีความกังวลกันมากถึงการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ โดยเริ่มจากกระทรวงสาธารณสุข และ มีการเรียกร้องให้ตรวจสอบอีก 3 กระทรวงเพื่อป้องกันการทุจริต มีการกลัวว่าจะคุ้มค่าไหม จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม ซึ่งเรื่องพวกนี้ทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้าไปได้
โกง : อย่างไรก็ดีอาจเกิดการโกงขึ้นจริง ทำให้รั่วไหล ประสิทธิภาพของเงินทุนจะลดลง และอาจส่งผลให้โครงการล่าช้าได้ เพราะ ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ลงตัวกันเสียก่อน
จากทั้ง 3 เรื่องนี้เอง อาจทำให้การอนุมัติ และ เบิกจ่ายเงินของโครงการล่าช้า ทำให้ G ไม่สามารถส่งผลทางบวกต่อเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
สุดท้ายแล้ว เราจะหวังกับการส่งออก (X) ได้หรือไม่ ผมเห็นกับระเบิดถึง 3 ลูกที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปี 53 นี้
- วิกฤติเกี๊ยวซ่า : จีนได้ปล่อยให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ขึ้นมา มีการสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 200% ในปีก่อน และ ราคาก็สูงขึ้นถึงเท่าตัว ภายในปีเดียว สิ่งนี้เป็น “ฟองสบู่” โดยแท้ คอนโด 1 พันตารางฟุต มีราคาต่อ ตารางฟุตที่ 300-400 เหรียญสรอ. นั้น สูงถึง 80 เท่าของรายได้ต่อปีโดยเฉลี่ยของประชากรจีนในเมืองใหญ่ ขณะที่ตัวเลขที่เหมาะสมควรอยู่ราว 20-25 เท่าเท่านั้นเอง ฟองสบู่ลูกนี้น่าจะพร้อมจะแตกลงภายในปีนี้
- วิกฤติแหนมเนือง : เวียดนามได้เดินในเส้นทางเดียวกับไทย ที่มีการลงทุนเกินตัว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง และ ระบบ FX ไม่ยืดหยุ่นทำให้ความสามารถในการส่งออกตกต่ำ เราอาจเห็นค่าเงินด่องดิ่งลงอย่างเร็ว กระทบต่อเนื่องมายังการส่งออก การลงทุนของไทยได้
- วิกฤติยูโรโซน : ประเทศ PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) ซึ่งเป็นประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น อ่อนแอเกินไป แต่ก็ยังใช้เงินยูโรอยู่ ซึ่งจะส่งผลลบต่อค่าเงินยูโรได้อย่างมาก หากมีการลดอันดับเครดิตต่อเนื่อง หากค่าเงินยูโรลดลง 20% ก็จะส่งผลต่อกำลังซื้อเป็นดอลลาร์ของโลก ลดลงได้ราว 5%
ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ ล้วนมีต้นตอของปัญหาเดียวกันคือ “ระบบอัตราแลกเปลี่ยน FX ที่ไม่เหมาะสม” โดยจีนได้ peg กับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินหยวนจึงมีค่าอ่อนกว่าความเป็นจริงราว 20-30% ทำให้ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดสูง พร้อมๆ กับเงินทุนไหลเข้าอย่างมาก การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินนี้ทำได้ไม่หมด จึงส่งผลให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ขณะที่เวียดนามแม้จะ peg กับดอลลาร์เช่นกัน ทำให้ค่าเงินด่องของเวียดนาม สูงเกินจริงกว่าตลาดมืด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าอย่างหนัก การนำเข้าและลงทุนสูงเกินระดับร้อนแรงเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดวิกฤติเงินทุนไหลออกได้ในที่สุด สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น โครงสร้างเศรษฐกิจอ่อนแอ แต่ยังคงใช้ค่าเงินยูโรต่อไป ส่งผลให้ขาดดุลการค้าอย่างหนักต่อเนื่อง บางประเทศอย่างสเปนนั้น มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20%
หากกับระเบิด 3 ลูกนี้ “ตูมตาม” ขึ้นมาในปีนี้ การคาดหวังว่าการส่งออกจะเติบโตได้ 15% นั้นก็คงเป็นแค่ฝันกลางวันเท่านั้น สรุปก็คือ ยังคงมีความเสี่ยงมากมายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ แม้ว่าไตรมาสแรกจะดูดีมาก เพราะคงเติบโตได้สูงจากฐานที่ต่ำมากในปีก่อน แต่ถ้าดูทั้งปีแล้ว...เสี่ยงครับ
ควรหาแผนสำรองไว้ด้วย "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" หรือ Taiji Econ. นะครับ
GDP = C+I+G+(X-M) คือ สมการของ GDP ซึ่งเราจะมาดูกันทีละตัว
การบริโภคภาคเอกชน (C) แม้ว่าจะดูเหมือนมีการฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มเร่งตัวอย่างชัดเจน เป็นนโยบายการเงินที่จะติดเบรกกับการฟื้นตัวนี้ ไม่เพียงเท่านั้น การส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะกลับไปเป็น 5% จากที่เคยลดลงมาเหลือ 3% ของรายได้ทุกเดือนทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ในมือลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท และ หากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ผ่านสภาออกมาได้ก็จะดูดเงินออมเข้าไปได้ถึง 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ยอดเงิน 2 ส่วนนี้เงินซึ่งเป็นกำลังซื้อของประชาชนจะหายไป 7.5 หมื่นล้าน หรืออาจกระทบกับ GDP ได้ถึง 1.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้เงินกำลังซื้อก็ถูกดูดกับกองทุนเงินออมอย่าง RMF และ LTF ไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ซึ่งเป็นการโยนเงินภาษีของชาติไปช่วยเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนให้คนระดับเศรษฐี ทำให้พวกเขาออมเงินมากไป พลอยทำให้การบริโภคโดยรวมลดลง และ เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวดีนัก
ด้านการลงทุนภาคเอกชน (I) นั้น หลังจากได้รับผลกระทบกรณีมาบตาพุด ทำให้ 65 โครงการยอดเงินระดับ 2 แสนล้านบาท ต้องหยุดชะงัก ซึ่งยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีก จากการที่ต่างชาติได้เปลี่ยนใจพับแผนการเข้าลงทุนในไทยไปหลายโครงการแล้ว ยังไม่รวมถึงการที่สมาคมต่อต้านโลกร้อนจะฟ้องศาลปกครองอีกถึง 181 โครงการ ซึ่งจะกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนได้อย่างมาก โดยอัตราการใช้กำลังผลิตก็ยังต่ำระดับ 65% เท่านั้น ไม่เอื้อต่อการขยายกำลังการผลิตเท่าใดนัก
เมื่อภาครัฐ ส่งเสริมการออมเพื่ออนาคต เหรียญอีกด้านก็สะท้อนมาที่ การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ลดลงในปัจจุบัน เมื่อรัฐจำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพของประชาชน เหรียญอีกด้านก็สะท้อนมาที่ การลงทุนภาคเอกชนในอุตสาหกรรมหนักที่ลดลง สรุปก็คือ การออม และ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญในระยะยาว แต่ในระยะสั้นๆ นั้นกลับส่งผลทางลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยได้
การใช้จ่ายภาครัฐ (G) เป็นเรื่องที่ควรจะหวังได้หรือไม่ ยังมีประเด็น 3ก. “กู้-กลัว-โกง” ที่ต้องพิจารณาซึ่งอาจทำให้การอนุมัติ และ เบิกจ่ายล่าช้าออกไปได้
กู้ : เมื่อเงินคงคลังไม่พอ ก็จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย พรก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทได้ผ่านไปแล้ว แต่ไทยก็ยังคงต้องระมัดระวังต่อการสร้างหนี้สาธารณะต่อ จีดีพี สูงกว่าเป้าหมาย 60% ได้ โดยในระยะยาวแล้ว สังคมผู้สูงอายุจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขนี้จะสูงขึ้นต่อเนื่องและหยุดไม่ค่อยได้
กลัว : มีความกังวลกันมากถึงการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ โดยเริ่มจากกระทรวงสาธารณสุข และ มีการเรียกร้องให้ตรวจสอบอีก 3 กระทรวงเพื่อป้องกันการทุจริต มีการกลัวว่าจะคุ้มค่าไหม จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไหม ซึ่งเรื่องพวกนี้ทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้าไปได้
โกง : อย่างไรก็ดีอาจเกิดการโกงขึ้นจริง ทำให้รั่วไหล ประสิทธิภาพของเงินทุนจะลดลง และอาจส่งผลให้โครงการล่าช้าได้ เพราะ ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ลงตัวกันเสียก่อน
จากทั้ง 3 เรื่องนี้เอง อาจทำให้การอนุมัติ และ เบิกจ่ายเงินของโครงการล่าช้า ทำให้ G ไม่สามารถส่งผลทางบวกต่อเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
สุดท้ายแล้ว เราจะหวังกับการส่งออก (X) ได้หรือไม่ ผมเห็นกับระเบิดถึง 3 ลูกที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปี 53 นี้
- วิกฤติเกี๊ยวซ่า : จีนได้ปล่อยให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ขึ้นมา มีการสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 200% ในปีก่อน และ ราคาก็สูงขึ้นถึงเท่าตัว ภายในปีเดียว สิ่งนี้เป็น “ฟองสบู่” โดยแท้ คอนโด 1 พันตารางฟุต มีราคาต่อ ตารางฟุตที่ 300-400 เหรียญสรอ. นั้น สูงถึง 80 เท่าของรายได้ต่อปีโดยเฉลี่ยของประชากรจีนในเมืองใหญ่ ขณะที่ตัวเลขที่เหมาะสมควรอยู่ราว 20-25 เท่าเท่านั้นเอง ฟองสบู่ลูกนี้น่าจะพร้อมจะแตกลงภายในปีนี้
- วิกฤติแหนมเนือง : เวียดนามได้เดินในเส้นทางเดียวกับไทย ที่มีการลงทุนเกินตัว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง และ ระบบ FX ไม่ยืดหยุ่นทำให้ความสามารถในการส่งออกตกต่ำ เราอาจเห็นค่าเงินด่องดิ่งลงอย่างเร็ว กระทบต่อเนื่องมายังการส่งออก การลงทุนของไทยได้
- วิกฤติยูโรโซน : ประเทศ PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) ซึ่งเป็นประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น อ่อนแอเกินไป แต่ก็ยังใช้เงินยูโรอยู่ ซึ่งจะส่งผลลบต่อค่าเงินยูโรได้อย่างมาก หากมีการลดอันดับเครดิตต่อเนื่อง หากค่าเงินยูโรลดลง 20% ก็จะส่งผลต่อกำลังซื้อเป็นดอลลาร์ของโลก ลดลงได้ราว 5%
ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ ล้วนมีต้นตอของปัญหาเดียวกันคือ “ระบบอัตราแลกเปลี่ยน FX ที่ไม่เหมาะสม” โดยจีนได้ peg กับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินหยวนจึงมีค่าอ่อนกว่าความเป็นจริงราว 20-30% ทำให้ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดสูง พร้อมๆ กับเงินทุนไหลเข้าอย่างมาก การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินนี้ทำได้ไม่หมด จึงส่งผลให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ขณะที่เวียดนามแม้จะ peg กับดอลลาร์เช่นกัน ทำให้ค่าเงินด่องของเวียดนาม สูงเกินจริงกว่าตลาดมืด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าอย่างหนัก การนำเข้าและลงทุนสูงเกินระดับร้อนแรงเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดวิกฤติเงินทุนไหลออกได้ในที่สุด สำหรับประเทศริมขอบยูโรโซนนั้น โครงสร้างเศรษฐกิจอ่อนแอ แต่ยังคงใช้ค่าเงินยูโรต่อไป ส่งผลให้ขาดดุลการค้าอย่างหนักต่อเนื่อง บางประเทศอย่างสเปนนั้น มีอัตราการว่างงานสูงถึง 20%
หากกับระเบิด 3 ลูกนี้ “ตูมตาม” ขึ้นมาในปีนี้ การคาดหวังว่าการส่งออกจะเติบโตได้ 15% นั้นก็คงเป็นแค่ฝันกลางวันเท่านั้น สรุปก็คือ ยังคงมีความเสี่ยงมากมายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ แม้ว่าไตรมาสแรกจะดูดีมาก เพราะคงเติบโตได้สูงจากฐานที่ต่ำมากในปีก่อน แต่ถ้าดูทั้งปีแล้ว...เสี่ยงครับ
ควรหาแผนสำรองไว้ด้วย "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" หรือ Taiji Econ. นะครับ
ถ้าผมเป็น รมว.คลัง มีหวังหุ้นไทยไม่ลง
ถ้าผมเป็น รมว.คลัง มีหวังหุ้นไทยจะไม่ลง
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ที่ขึ้นหัวเรื่องแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผมมีบารมีมากพอจะเป็น รมว.คลังได้หรอกนะครับ เพียงแต่อยากฝากความคิดเห็นไปถึงท่านขุนคลังของโลก และผู้รับผิดชอบตลาดทุน ให้มองเห็นถึงแนวคิดว่าศักยภาพของประเทศไทย ก็สามารถจะพยุงตลาดหุ้นได้
ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่า รมว.คลัง จะมีอำนาจในการชี้เป็นชี้ตาย กำหนดทิศทางของตลาดหุ้นได้เชียวหรือ ขณะที่เขียนบทความอยู่นี่ดัชนีหุ้นไทยก็ตกลงมาราว 8% แล้ว จากระดับ 750 จุดเหลือแค่ 690 จุด และมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อเนื่อง เพราะปัจจัยเลวร้ายที่รุมเร้าจากทั้งภายนอกและภายใน ทั้งเศรษฐกิจโลก และการเมืองในประเทศ ...แล้วมันมีวิธีทำให้หุ้นไทยหยุดลงได้จริงๆ นะหรือ
ถ้าผมเป็น รมว.คลัง ผมจะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องโดยด่วนที่สุด ทั้งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เลขาฯ ก.ล.ต. นายกสมาคม บลจ. นายกสมาคมบริษัทประกันชีวิต เลขาฯ กบข. และเลขาฯ สปส. เพื่อกำหนดแนวทางนโยบาย 2 ด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ยกระดับเพดานขั้นต่ำของการลงทุนหุ้น สำหรับกองทุนบำนาญต่างๆ อาทิเช่น ประกันชีวิต กบข. กองทุนประกันสังคม (โดย สปส.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งรวมๆ ยอดเงินแล้วตอนนี้สูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันลงทุนอยู่ในหุ้นไทยราว 7% เท่านั้น
โดยอาจกำหนดให้ต้องลงทุนในหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 10% ณ กลางปี 2553 15% ณ ปลายปี 2553 รวมไปถึง 20% ณ ปลายปี 2554 การกำหนดเช่นนี้ เมื่อคำนวณจากยอดเงินสินทรัพย์ของกองทุนบำนาญ ณ ปลายปี 2554 น่าจะมีมากกว่า 3 ล้านล้านบาทแล้ว ยอดเงินที่จะเข้าซื้อเพื่อลงทุนในหุ้นไทยโดยกองทุนบำนาญก็น่าจะสูงถึง 4 แสนล้านบาทได้เลยภายใน 2 ปี
แม้อาจมีผู้คัดค้านถึงเรื่องความเสี่ยงของเงินตรงนี้อยู่บ้าง แต่ก็อาจยกเหตุผลเพื่อหักล้างได้ดังนี้
- ในต่างประเทศอย่าง อเมริกา หรือยุโรปนั้นมีการลงทุนในหุ้นอยู่แล้วสูงถึง 50% ดังนั้น การออกกฎเพื่อยกระดับเพดานการลงทุนในหุ้น สูงสุด 20% ณ ปลายปี 2554 นับได้ว่าเป็นระดับที่ไม่ได้หวือหวาเกินเลยแต่อย่างใด เราจะทำไปเพื่อให้มาตรฐานของไทยเข้าใกล้เคียงกับระดับสากลมากยิ่งขึ้น
- การลงทุนในหุ้นในอดีตนั้นให้ผลตอบแทนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับตราสารการเงินประเภทอื่นๆ คือ ให้ผลตอบแทนราว 10% ต่อปี แม้จะมีการผันผวนขึ้นบ้างลงบ้างก็ตาม แต่ในระยะยาวแล้วถือว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และคุ้มค่ามาก เรื่องนี้นักลงทุนหุ้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดี
- นี่เป็นการทำให้มูลค่าการลงทุนในหุ้นของกองทุนบำนาญ ใน สปส. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. ราวกองทุนละ 4 หมื่นล้านบาท ประกันชีวิตอีกราว 7 หมื่นล้านบาท ไม่ต้องเสื่อมค่าลงไปอาจจะเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลย ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประชาชนกลุ่มใหญ่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน แต่ก็ไม่ต้องอาศัยเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาช่วยเหลือ
- หากมองในแง่ชาตินิยม วิธีนี้เป็นการทำให้กองทุนบำนาญของคนไทย ได้ซื้อหุ้น ปตท. ปูนซิเมนต์ไทย ฯลฯ กลับคืนจากต่างชาติในราคาไม่แพงนัก
ด้วยเงิน 4 แสนล้านบาทนี้ จะช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยได้ค่อนข้างแน่นอน เพราะเป็นเม็ดเงินมหาศาลถึงเกือบ 8% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ เคยมีบทวิจัยตลาดทุนว่ากันไว้ว่า หากยอดเงินราว 2% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ จัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น จะสามารถยันตลาดหุ้นไว้ได้ค่อนข้างได้ผลดี ดังนั้น วงเงินขนาด 4 แสนล้าน หรือ 8% นี้ คงแทบไม่ต้องสงสัยว่าจะสามารถพยุงไว้ได้หรือไม่
หากตลาดหุ้นได้ขึ้นไปแรงพอสมควร กองทุนบำนาญก็อาจไม่ต้องใส่เงินเพื่อไล่ซื้อ เพราะหุ้นในพอร์ตได้ขึ้นไปมากแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไล่ซื้อในราคาที่แพงเกินไปแต่อย่างใด
2. จัดตั้งกองทุนหุ้นเล็ก... โดยเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นเล็กที่ไม่อยู่ใน SET 50 เพื่อเป็นการปรับสมดุล P/E ของตลาดหุ้น โดยหุ้นเหล่านี้จะมีค่า P/E ที่ต่ำเพียง 5-6 เท่าอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่หุ้นตัวใหญ่ๆ อาทิเช่น CPALL MINT ADVANC หรือ BEC เหล่านี้ มักจะมี P/E ที่สูง 18 เท่าขึ้นไป
วิธีการ ก็คือ ให้ตลาดหลักทรัพย์ กบข. และ สปส. ร่วมลงขันกันแห่งละ 200 ล้านบาท สมทบให้กับ บลจ.ที่จัดตั้งกองทุนหุ้นเล็กขึ้นมา (ปกติแล้ว จะไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน) ก็จะทำให้แต่ละ บลจ.ได้เงินเพื่อบริหารอย่างน้อยๆ 600 ล้านบาทแต่ละกองทุน ซึ่งทำให้คุ้มค่าต้นทุนการบริหารได้ หากมี 5 บริษัทจัดตั้งขึ้นมา เงินถึง 3 พันล้านบาท ก็พร้อมจะเข้าไปลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าน่าสนใจให้มีราคาที่สูงขึ้น และจะเป็นการสร้างสมดุล P/E ที่เหมาะสมให้กับตลาดหุ้นได้อย่างดี
ท่านผู้อ่านอาจร้อง โอ้โห...แบบนี้ก็น่าจะทำให้หุ้นไทยไม่ลงได้จริงๆ นะสิ นี่เป็นเพียง 2 ใน 18 กระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดใหม่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยไม่เพิ่มหนี้ภาครัฐ จะช่วยให้หลายๆ ประเทศรวมทั้งไทย ให้ไม่ต้องสร้างหนี้ภาครัฐเพิ่ม แต่ใช้การยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากกองทุนบำนาญ (ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หลักของรัฐบาล) มาช่วยเติมกำลังซื้อ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ แทนการใส่เงินงบประมาณลงไปตรงๆ
อยากฝากให้ผู้มีหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐได้ศึกษาในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ไว้ด้วย เพื่อช่วยประชาชนคนไทยหลายสิบล้านคนอยู่ดีกินดีขึ้น โดยไม่สร้างภาระหนี้ให้ลูกหลาน แต่บทสรุปของบทความนี้ ก็คือ แนะนำกันขนาดนี้แล้ว หวังว่าผมคงจะไม่เห็นหุ้นไทยต้องดิ่งลงไปอีกนะครับ
ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ที่ขึ้นหัวเรื่องแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผมมีบารมีมากพอจะเป็น รมว.คลังได้หรอกนะครับ เพียงแต่อยากฝากความคิดเห็นไปถึงท่านขุนคลังของโลก และผู้รับผิดชอบตลาดทุน ให้มองเห็นถึงแนวคิดว่าศักยภาพของประเทศไทย ก็สามารถจะพยุงตลาดหุ้นได้
ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่า รมว.คลัง จะมีอำนาจในการชี้เป็นชี้ตาย กำหนดทิศทางของตลาดหุ้นได้เชียวหรือ ขณะที่เขียนบทความอยู่นี่ดัชนีหุ้นไทยก็ตกลงมาราว 8% แล้ว จากระดับ 750 จุดเหลือแค่ 690 จุด และมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อเนื่อง เพราะปัจจัยเลวร้ายที่รุมเร้าจากทั้งภายนอกและภายใน ทั้งเศรษฐกิจโลก และการเมืองในประเทศ ...แล้วมันมีวิธีทำให้หุ้นไทยหยุดลงได้จริงๆ นะหรือ
ถ้าผมเป็น รมว.คลัง ผมจะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องโดยด่วนที่สุด ทั้งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เลขาฯ ก.ล.ต. นายกสมาคม บลจ. นายกสมาคมบริษัทประกันชีวิต เลขาฯ กบข. และเลขาฯ สปส. เพื่อกำหนดแนวทางนโยบาย 2 ด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ยกระดับเพดานขั้นต่ำของการลงทุนหุ้น สำหรับกองทุนบำนาญต่างๆ อาทิเช่น ประกันชีวิต กบข. กองทุนประกันสังคม (โดย สปส.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งรวมๆ ยอดเงินแล้วตอนนี้สูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันลงทุนอยู่ในหุ้นไทยราว 7% เท่านั้น
โดยอาจกำหนดให้ต้องลงทุนในหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 10% ณ กลางปี 2553 15% ณ ปลายปี 2553 รวมไปถึง 20% ณ ปลายปี 2554 การกำหนดเช่นนี้ เมื่อคำนวณจากยอดเงินสินทรัพย์ของกองทุนบำนาญ ณ ปลายปี 2554 น่าจะมีมากกว่า 3 ล้านล้านบาทแล้ว ยอดเงินที่จะเข้าซื้อเพื่อลงทุนในหุ้นไทยโดยกองทุนบำนาญก็น่าจะสูงถึง 4 แสนล้านบาทได้เลยภายใน 2 ปี
แม้อาจมีผู้คัดค้านถึงเรื่องความเสี่ยงของเงินตรงนี้อยู่บ้าง แต่ก็อาจยกเหตุผลเพื่อหักล้างได้ดังนี้
- ในต่างประเทศอย่าง อเมริกา หรือยุโรปนั้นมีการลงทุนในหุ้นอยู่แล้วสูงถึง 50% ดังนั้น การออกกฎเพื่อยกระดับเพดานการลงทุนในหุ้น สูงสุด 20% ณ ปลายปี 2554 นับได้ว่าเป็นระดับที่ไม่ได้หวือหวาเกินเลยแต่อย่างใด เราจะทำไปเพื่อให้มาตรฐานของไทยเข้าใกล้เคียงกับระดับสากลมากยิ่งขึ้น
- การลงทุนในหุ้นในอดีตนั้นให้ผลตอบแทนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับตราสารการเงินประเภทอื่นๆ คือ ให้ผลตอบแทนราว 10% ต่อปี แม้จะมีการผันผวนขึ้นบ้างลงบ้างก็ตาม แต่ในระยะยาวแล้วถือว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และคุ้มค่ามาก เรื่องนี้นักลงทุนหุ้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดี
- นี่เป็นการทำให้มูลค่าการลงทุนในหุ้นของกองทุนบำนาญ ใน สปส. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. ราวกองทุนละ 4 หมื่นล้านบาท ประกันชีวิตอีกราว 7 หมื่นล้านบาท ไม่ต้องเสื่อมค่าลงไปอาจจะเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลย ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประชาชนกลุ่มใหญ่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน แต่ก็ไม่ต้องอาศัยเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาช่วยเหลือ
- หากมองในแง่ชาตินิยม วิธีนี้เป็นการทำให้กองทุนบำนาญของคนไทย ได้ซื้อหุ้น ปตท. ปูนซิเมนต์ไทย ฯลฯ กลับคืนจากต่างชาติในราคาไม่แพงนัก
ด้วยเงิน 4 แสนล้านบาทนี้ จะช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยได้ค่อนข้างแน่นอน เพราะเป็นเม็ดเงินมหาศาลถึงเกือบ 8% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ เคยมีบทวิจัยตลาดทุนว่ากันไว้ว่า หากยอดเงินราว 2% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ จัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น จะสามารถยันตลาดหุ้นไว้ได้ค่อนข้างได้ผลดี ดังนั้น วงเงินขนาด 4 แสนล้าน หรือ 8% นี้ คงแทบไม่ต้องสงสัยว่าจะสามารถพยุงไว้ได้หรือไม่
หากตลาดหุ้นได้ขึ้นไปแรงพอสมควร กองทุนบำนาญก็อาจไม่ต้องใส่เงินเพื่อไล่ซื้อ เพราะหุ้นในพอร์ตได้ขึ้นไปมากแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไล่ซื้อในราคาที่แพงเกินไปแต่อย่างใด
2. จัดตั้งกองทุนหุ้นเล็ก... โดยเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นเล็กที่ไม่อยู่ใน SET 50 เพื่อเป็นการปรับสมดุล P/E ของตลาดหุ้น โดยหุ้นเหล่านี้จะมีค่า P/E ที่ต่ำเพียง 5-6 เท่าอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่หุ้นตัวใหญ่ๆ อาทิเช่น CPALL MINT ADVANC หรือ BEC เหล่านี้ มักจะมี P/E ที่สูง 18 เท่าขึ้นไป
วิธีการ ก็คือ ให้ตลาดหลักทรัพย์ กบข. และ สปส. ร่วมลงขันกันแห่งละ 200 ล้านบาท สมทบให้กับ บลจ.ที่จัดตั้งกองทุนหุ้นเล็กขึ้นมา (ปกติแล้ว จะไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน) ก็จะทำให้แต่ละ บลจ.ได้เงินเพื่อบริหารอย่างน้อยๆ 600 ล้านบาทแต่ละกองทุน ซึ่งทำให้คุ้มค่าต้นทุนการบริหารได้ หากมี 5 บริษัทจัดตั้งขึ้นมา เงินถึง 3 พันล้านบาท ก็พร้อมจะเข้าไปลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าน่าสนใจให้มีราคาที่สูงขึ้น และจะเป็นการสร้างสมดุล P/E ที่เหมาะสมให้กับตลาดหุ้นได้อย่างดี
ท่านผู้อ่านอาจร้อง โอ้โห...แบบนี้ก็น่าจะทำให้หุ้นไทยไม่ลงได้จริงๆ นะสิ นี่เป็นเพียง 2 ใน 18 กระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดใหม่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยไม่เพิ่มหนี้ภาครัฐ จะช่วยให้หลายๆ ประเทศรวมทั้งไทย ให้ไม่ต้องสร้างหนี้ภาครัฐเพิ่ม แต่ใช้การยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากกองทุนบำนาญ (ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หลักของรัฐบาล) มาช่วยเติมกำลังซื้อ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ แทนการใส่เงินงบประมาณลงไปตรงๆ
อยากฝากให้ผู้มีหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐได้ศึกษาในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" ไว้ด้วย เพื่อช่วยประชาชนคนไทยหลายสิบล้านคนอยู่ดีกินดีขึ้น โดยไม่สร้างภาระหนี้ให้ลูกหลาน แต่บทสรุปของบทความนี้ ก็คือ แนะนำกันขนาดนี้แล้ว หวังว่าผมคงจะไม่เห็นหุ้นไทยต้องดิ่งลงไปอีกนะครับ
คิดนอกกรอบ กับ วิกฤติรอบ 2
คิดนอกกรอบ กับ วิกฤติรอบ 2
ปัจจุบันเริ่มมีเสียงเตือนของความเสี่ยงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 (Double dip recession) ดังขึ้นมาจากทุกทิศทาง โดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ทั้ง ศจ.สติ๊กลิทซ์ ศจ.รูบินี และ ศจ.พอล ครุกแมน การเตือนในวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่นี้โดยข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งนโยบายดูแลความเสี่ยงสถาบันการเงินของอเมริกา และ การควบคุมสินเชื่อของจีน ตลอดจนปัญหาของประเทศในเขตยูโรโซน ความเสี่ยงเหล่านี้สะท้อนมาที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และ ค่าเงินยูโร สัญญาณเหล่านี้มักเตือนถึงอันตรายของเศรษฐกิจจริงที่จะตามมาราว 2-3 เดือน ดังนั้น นักลงทุน ประชาชน รัฐบาล และนักเศรษฐศาสตร์ควรคิดนอกกรอบอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติครั้งใหม่หากมันกำลังจะเกิดขึ้นจริง
นักลงทุน...ทั้งในหุ้น และ สินค้าโภคภัณฑ์ คนกลุ่มนี้ไม่เชื่อ และ ไม่ชอบ นักเศรษฐศาสตร์ที่ออกมาเตือนภัย “วิกฤติเศรษฐกิจ” นัก บางคนเรียกคล้ายๆ กับเป็น “หมอเดา” ด้วยซ้ำ แต่หากวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นจริง คนกลุ่มนี้ก็ทำได้เพียง สวดมนต์ อธิษฐาน และปลอบใจตนเอง ว่าสินทรัพย์ที่ถืออยู่นั้นเป็นของชั้นยอดมีมูลค่าที่ดี ... ทั้งกองทุนน้ำมัน ทองคำ หรือ หุ้นระดับยอดเยี่ยม บอกตัวเองว่าไม่ช้าไม่นานราคาต้องดีดกลับไปได้อย่างแน่นอน แต่ว่าหากจะคิดนอกกรอบของการถือครองหุ้น 100% หรือการลงทุนเต็มร้อยอยู่เสมอ โดยการถือเงินสดเพิ่ม หรือ ขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่าก็ได้
ประชาชนธรรมดา.... ปกติของกรอบการคิดก็คือ เศรษฐกิจแย่ให้อดออมให้มาก แต่ผมอยากจะบอกว่า ให้คิดนอกกรอบครับ.... “ใช้จ่ายเพื่อชาติ ดีกว่าอดออมเพื่อชาติ” เพราะ หากทุกคนพากันอดออมกันหมด เศรษฐกิจก็จะย่ำแย่ต่อไป ช่วยๆ กันคิดนอกกรอบครับ
รัฐบาลผู้กำหนดนโยบาย.... มักจะออกมาพูดเสมอว่า โอกาสเกิดวิกฤติรอบ 2 นั้นมีน้อยมาก เพราะ เขาไม่อยากจะต้องมาปวดหัวกับการคิดนโยบายมากนัก และต้องการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน อย่างไรก็ดี หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่จริง รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ใช้นโยบายการเงิน และ การคลัง ไปแบบสุดขั้วแล้ว และ ยังไม่ถอนมาตรการกระตุ้นแต่อย่างใด หากยังคงเห็นเศรษฐกิจปักหัวลงอีกครั้ง รัฐบาลทั่วโลกก็อาจทำได้แค่กุมขมับและมองตาปริบๆ เท่านั้น ดังนั้น โปรดคิดนอกกรอบโดยการยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากกองทุนบำนาญ แทนการใช้เงินงบประมาณตรงๆ
นักเศรษฐศาสตร์..... ถึงแม้คนกลุ่มนี้อาจคาดการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ และ เตือนภัยได้ก่อน แถมยังเรียกร้องให้คิดหากรอบแนวคิดใหม่ๆ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังวนอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่สามารถหาหนทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจได้นอกเหนือไปจาก นโยบายการเงิน การคลัง และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจุบันได้พบแล้วไม่ได้ผลดีนัก ทำให้หลายประเทศต้องประสบกับ “กับดักสภาพคล่อง” และ “กับดักเคนส์” ไปด้วยกัน คือ แม้จะขาดดุลการคลังเต็มที่ และ กดดอกเบี้ยเฉียดศูนย์ อัดสภาพคล่องเข้าไป เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัวดี และ มีภาระหนี้สาธารณะท่วมประเทศ ดังนั้น....คนกลุ่มนี้ควรจะพยายามมากขึ้นเช่นกัน.... มาดูตัวอย่างของ นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง เคนส์ดูบ้าง
เคนส์ได้ใช้ความกล้าหาญที่จะคิดนอกกรอบเมื่อ 80 ปีก่อน โดยแนะนำให้รัฐบาลกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อดำเนินนโยบายแบบขาดดุลการคลัง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ แต่ในยุคนั้น แม้แต่รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเคนส์ กลับยิ้มเยาะและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเสี่ยงๆ เช่นนั้น อย่างไรก็ดีมีรัฐบาลของอีกซีกโลกหนึ่ง นาย Takahashi ซึ่งเป็นอดีต รมว.คลังของญี่ปุ่น ได้อ่านแนวคิดของเคนส์และรีบนำมาใช้เป็นประเทศแรกในปี คศ.1931 ก่อนที่หนังสือของเคนส์จะตีพิมพ์ในอีก 5 ปีต่อมา ด้วยความกล้าหาญที่เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง และ เก้าอี้ รมว. อย่างมาก หากเกิดความผิดพลาดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยแนวคิดนอกกรอบของเคนส์ แต่ในที่สุดก็พบว่านโยบายของเคนส์ส่งผลดีอย่างมาก เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นไข้จาก The Great Depressionได้ภายในเวลาเพียงปีเดียว เร็วกว่าประเทศอื่นใดในโลก
ทำไมญี่ปุ่นจึงประสบความสำเร็จกับทฤษฎีเคนส์มาตลอดจากอดีตกาล แต่กลับล้มเหลวเมื่อ 18 ปีที่ผ่านมา ...คำตอบตรงนี้ผมคิดว่าคงเป็น “โครงสร้างประชากร” ที่เปลี่ยนไป จาก “ปิระมิด” ที่ทำให้คนที่จะมีรายได้และเสียภาษีมีสูงขึ้นในยุคสมัยก่อน กลับเปลี่ยนเป็น “ปิระมิดหัวกลับ” รัฐบาลต้องรับภาระในการประกันสุขภาพ และเบี้ยบำนาญมากขึ้นแทน คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญถ้าจะบอกว่า ประเทศที่มีคนสูงอายุมากนั้น มีแนวโน้มเดียวกันกับ ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงด้วย โดยญี่ปุ่นนั้นมีค่าเฉลี่ยอายูของคนทั้งประเทศที่ 44.2 อันดับ 2 ของโลก อิตาลี 43.3 และ กรีซ 41.8 ปี ก็ติด top10 ทั้ง 3 ประเทศและก็กำลังรับภาระหนักต่อหนี้สาธารณะที่สูงกว่า 100% GDP ขณะที่ไทยค่าเฉลี่ยอายุประชากรอยู่ที่ 33.3 และ ของทั้งโลกอยู่ที่ 28.4 ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยของอายุประชากรสูง จะไม่ประสบความสำเร็จนักกับการใช้ทฤษฎีเคนส์ ประเทศพัฒนาแล้วจะพบกับปัญหานี้ก่อนโดยเฉพาะญี่ปุ่นนำหน้าเลย แต่ประเทศไทยก็ประมาทไม่ได้ เพราะ ไทยเราประสบความสำเร็จกับการคุมกำเนิด และ การแพทย์ชั้นยอดในการยืดอายุประชากรได้ดีเยี่ยม 2 เรื่องนี้อาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต ดังนั้น ไทยเองก็ควรเริ่มคิดนอกกรอบได้แล้ว
ผมจึงขอเรียกร้องให้นักเศรษฐศาสตร์สวมวิญญาณของ “เคนส์” ในการไม่ยอมจำนนต่อกรอบแนวคิดดั้งเดิม และ ค้นหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วยกรอบแนวคิดใหม่ แม้ว่าอาจจะถูกยิ้มเยาะจากเศรษฐศาสตร์แนวคลาสสิกดั้งเดิมก็ตาม สำหรับผมแล้ว “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” คือ ผลลัพธ์ของความพยายามนั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วควรจะมีสิ่งที่ดีกว่านั้นเป็นแน่ และ ผมขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจ สวมวิญญาณของMr.Takahashi ฉายา “เคนส์แห่งญี่ปุ่น” ที่พร้อมจะยอมเสี่ยงนำเอาแนวคิดนอกกรอบไปเป็นนโยบายเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ
หากเศรษฐกิจมีการดิ่งตัวลงอีกครั้งจริง ประชาชนจะพบกับความยากลำบากในการครองชีพ ความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาลน่าจะสูงขึ้นอย่างมาก ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก บางทีผู้บริหารประเทศเหล่านั้นรวมทั้งประเทศไทยอาจต้องเลือกเสี่ยงอย่างกล้าหาญ ดำเนินนโยบายนอกกรอบอย่าง “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจก็เป็นได้ และหากเรื่องนี้ทำสำเร็จได้จริง ประชาชนคนไทยก็น่าจะอยู่ดีกินดีกันถ้วนหน้า ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยก็อาจลดลงได้อย่างน่าประหลาด ฝันนอกกรอบของผมจะเป็นจริงได้หรือไม่ครับ
ปัจจุบันเริ่มมีเสียงเตือนของความเสี่ยงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 (Double dip recession) ดังขึ้นมาจากทุกทิศทาง โดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ทั้ง ศจ.สติ๊กลิทซ์ ศจ.รูบินี และ ศจ.พอล ครุกแมน การเตือนในวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่นี้โดยข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งนโยบายดูแลความเสี่ยงสถาบันการเงินของอเมริกา และ การควบคุมสินเชื่อของจีน ตลอดจนปัญหาของประเทศในเขตยูโรโซน ความเสี่ยงเหล่านี้สะท้อนมาที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และ ค่าเงินยูโร สัญญาณเหล่านี้มักเตือนถึงอันตรายของเศรษฐกิจจริงที่จะตามมาราว 2-3 เดือน ดังนั้น นักลงทุน ประชาชน รัฐบาล และนักเศรษฐศาสตร์ควรคิดนอกกรอบอย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติครั้งใหม่หากมันกำลังจะเกิดขึ้นจริง
นักลงทุน...ทั้งในหุ้น และ สินค้าโภคภัณฑ์ คนกลุ่มนี้ไม่เชื่อ และ ไม่ชอบ นักเศรษฐศาสตร์ที่ออกมาเตือนภัย “วิกฤติเศรษฐกิจ” นัก บางคนเรียกคล้ายๆ กับเป็น “หมอเดา” ด้วยซ้ำ แต่หากวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นจริง คนกลุ่มนี้ก็ทำได้เพียง สวดมนต์ อธิษฐาน และปลอบใจตนเอง ว่าสินทรัพย์ที่ถืออยู่นั้นเป็นของชั้นยอดมีมูลค่าที่ดี ... ทั้งกองทุนน้ำมัน ทองคำ หรือ หุ้นระดับยอดเยี่ยม บอกตัวเองว่าไม่ช้าไม่นานราคาต้องดีดกลับไปได้อย่างแน่นอน แต่ว่าหากจะคิดนอกกรอบของการถือครองหุ้น 100% หรือการลงทุนเต็มร้อยอยู่เสมอ โดยการถือเงินสดเพิ่ม หรือ ขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงก็น่าจะเป็นเรื่องที่ฉลาดกว่าก็ได้
ประชาชนธรรมดา.... ปกติของกรอบการคิดก็คือ เศรษฐกิจแย่ให้อดออมให้มาก แต่ผมอยากจะบอกว่า ให้คิดนอกกรอบครับ.... “ใช้จ่ายเพื่อชาติ ดีกว่าอดออมเพื่อชาติ” เพราะ หากทุกคนพากันอดออมกันหมด เศรษฐกิจก็จะย่ำแย่ต่อไป ช่วยๆ กันคิดนอกกรอบครับ
รัฐบาลผู้กำหนดนโยบาย.... มักจะออกมาพูดเสมอว่า โอกาสเกิดวิกฤติรอบ 2 นั้นมีน้อยมาก เพราะ เขาไม่อยากจะต้องมาปวดหัวกับการคิดนโยบายมากนัก และต้องการสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน อย่างไรก็ดี หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่จริง รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ใช้นโยบายการเงิน และ การคลัง ไปแบบสุดขั้วแล้ว และ ยังไม่ถอนมาตรการกระตุ้นแต่อย่างใด หากยังคงเห็นเศรษฐกิจปักหัวลงอีกครั้ง รัฐบาลทั่วโลกก็อาจทำได้แค่กุมขมับและมองตาปริบๆ เท่านั้น ดังนั้น โปรดคิดนอกกรอบโดยการยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากกองทุนบำนาญ แทนการใช้เงินงบประมาณตรงๆ
นักเศรษฐศาสตร์..... ถึงแม้คนกลุ่มนี้อาจคาดการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ และ เตือนภัยได้ก่อน แถมยังเรียกร้องให้คิดหากรอบแนวคิดใหม่ๆ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังวนอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่สามารถหาหนทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจได้นอกเหนือไปจาก นโยบายการเงิน การคลัง และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจุบันได้พบแล้วไม่ได้ผลดีนัก ทำให้หลายประเทศต้องประสบกับ “กับดักสภาพคล่อง” และ “กับดักเคนส์” ไปด้วยกัน คือ แม้จะขาดดุลการคลังเต็มที่ และ กดดอกเบี้ยเฉียดศูนย์ อัดสภาพคล่องเข้าไป เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัวดี และ มีภาระหนี้สาธารณะท่วมประเทศ ดังนั้น....คนกลุ่มนี้ควรจะพยายามมากขึ้นเช่นกัน.... มาดูตัวอย่างของ นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง เคนส์ดูบ้าง
เคนส์ได้ใช้ความกล้าหาญที่จะคิดนอกกรอบเมื่อ 80 ปีก่อน โดยแนะนำให้รัฐบาลกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อดำเนินนโยบายแบบขาดดุลการคลัง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ แต่ในยุคนั้น แม้แต่รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเคนส์ กลับยิ้มเยาะและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเสี่ยงๆ เช่นนั้น อย่างไรก็ดีมีรัฐบาลของอีกซีกโลกหนึ่ง นาย Takahashi ซึ่งเป็นอดีต รมว.คลังของญี่ปุ่น ได้อ่านแนวคิดของเคนส์และรีบนำมาใช้เป็นประเทศแรกในปี คศ.1931 ก่อนที่หนังสือของเคนส์จะตีพิมพ์ในอีก 5 ปีต่อมา ด้วยความกล้าหาญที่เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง และ เก้าอี้ รมว. อย่างมาก หากเกิดความผิดพลาดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยแนวคิดนอกกรอบของเคนส์ แต่ในที่สุดก็พบว่านโยบายของเคนส์ส่งผลดีอย่างมาก เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นไข้จาก The Great Depressionได้ภายในเวลาเพียงปีเดียว เร็วกว่าประเทศอื่นใดในโลก
ทำไมญี่ปุ่นจึงประสบความสำเร็จกับทฤษฎีเคนส์มาตลอดจากอดีตกาล แต่กลับล้มเหลวเมื่อ 18 ปีที่ผ่านมา ...คำตอบตรงนี้ผมคิดว่าคงเป็น “โครงสร้างประชากร” ที่เปลี่ยนไป จาก “ปิระมิด” ที่ทำให้คนที่จะมีรายได้และเสียภาษีมีสูงขึ้นในยุคสมัยก่อน กลับเปลี่ยนเป็น “ปิระมิดหัวกลับ” รัฐบาลต้องรับภาระในการประกันสุขภาพ และเบี้ยบำนาญมากขึ้นแทน คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญถ้าจะบอกว่า ประเทศที่มีคนสูงอายุมากนั้น มีแนวโน้มเดียวกันกับ ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงด้วย โดยญี่ปุ่นนั้นมีค่าเฉลี่ยอายูของคนทั้งประเทศที่ 44.2 อันดับ 2 ของโลก อิตาลี 43.3 และ กรีซ 41.8 ปี ก็ติด top10 ทั้ง 3 ประเทศและก็กำลังรับภาระหนักต่อหนี้สาธารณะที่สูงกว่า 100% GDP ขณะที่ไทยค่าเฉลี่ยอายุประชากรอยู่ที่ 33.3 และ ของทั้งโลกอยู่ที่ 28.4 ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยของอายุประชากรสูง จะไม่ประสบความสำเร็จนักกับการใช้ทฤษฎีเคนส์ ประเทศพัฒนาแล้วจะพบกับปัญหานี้ก่อนโดยเฉพาะญี่ปุ่นนำหน้าเลย แต่ประเทศไทยก็ประมาทไม่ได้ เพราะ ไทยเราประสบความสำเร็จกับการคุมกำเนิด และ การแพทย์ชั้นยอดในการยืดอายุประชากรได้ดีเยี่ยม 2 เรื่องนี้อาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต ดังนั้น ไทยเองก็ควรเริ่มคิดนอกกรอบได้แล้ว
ผมจึงขอเรียกร้องให้นักเศรษฐศาสตร์สวมวิญญาณของ “เคนส์” ในการไม่ยอมจำนนต่อกรอบแนวคิดดั้งเดิม และ ค้นหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วยกรอบแนวคิดใหม่ แม้ว่าอาจจะถูกยิ้มเยาะจากเศรษฐศาสตร์แนวคลาสสิกดั้งเดิมก็ตาม สำหรับผมแล้ว “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” คือ ผลลัพธ์ของความพยายามนั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วควรจะมีสิ่งที่ดีกว่านั้นเป็นแน่ และ ผมขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจ สวมวิญญาณของMr.Takahashi ฉายา “เคนส์แห่งญี่ปุ่น” ที่พร้อมจะยอมเสี่ยงนำเอาแนวคิดนอกกรอบไปเป็นนโยบายเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ
หากเศรษฐกิจมีการดิ่งตัวลงอีกครั้งจริง ประชาชนจะพบกับความยากลำบากในการครองชีพ ความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาลน่าจะสูงขึ้นอย่างมาก ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก บางทีผู้บริหารประเทศเหล่านั้นรวมทั้งประเทศไทยอาจต้องเลือกเสี่ยงอย่างกล้าหาญ ดำเนินนโยบายนอกกรอบอย่าง “เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจก็เป็นได้ และหากเรื่องนี้ทำสำเร็จได้จริง ประชาชนคนไทยก็น่าจะอยู่ดีกินดีกันถ้วนหน้า ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยก็อาจลดลงได้อย่างน่าประหลาด ฝันนอกกรอบของผมจะเป็นจริงได้หรือไม่ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)